Forexthai.in.th ย่อให้
- T.Z.S. (Trend-Zone-Signal) คือกลยุทธ์การเทรด Forex ที่เน้นการวิเคราะห์ “แนวโน้ม” (Trend), “แนวรับ-แนวต้าน” (Zone) และ “สัญญาณ Price Action” (Signal) ประกอบกัน
- T.Z.S. เหมาะกับเทรดเดอร์มือใหม่ เพราะใช้เพียงการดูกราฟในการวิเคราะห์ ไม่ต้องใช้อินดิเคเตอร์ซับซ้อน
- หลักการของ T.Z.S. คือ “เข้าเทรด” เมื่อ Trend, Zone, และ Signal ยืนยันไปในทิศทางเดียวกันทั้ง 3 อย่างสมบูรณ์
- ข้อดีของ T.Z.S. คือ ใช้งานง่าย เน้นเทรดตามแนวโน้มเพิ่มโอกาสชนะและมีความแม่นยำสูง
- ข้อควรระวัง คือ อย่ารีบเทรดต้องรอให้ครบทั้ง 3 แบบ รวมถึง Zone อาจถูก Break ได้ตลอดและ Price Action อาจเป็นสัญญาณหลอก
ผมเองเขียนมาก็หลายกลยุทธ์การเทรดแล้ว ไม่ว่าจะเป็น Bull Trap, Spike, Cups and Caps ส่วนใหญ่กลยุทธ์เหล่านี้มักจะใช้ความเข้าใจในการเทรด Forex ระดับหนึ่ง แต่กลยุทธ์ที่ผมกำลังจะนำเสนอนี้ ค่อนข้างเหมาะกับเทรดเดอร์มือใหม่ นั่นก็คือ “กลยุทธ์ T.Z.S.” มันน่าสนใจแต่ไหนลองไปดูกันครับ
กลยุทธ์ T.Z.S. (Trend Zone Signal) คืออะไร?
- กลยุทธ์ T.Z.S. มันจากตัวย่อของ Trend Zone และ Signal ครับ หลักการก็คือเอา 3 ตัวนี้ มาวิเคราะห์ร่วมกัน หากทั้ง 3 ตัวนี้ยืนยันไปในทางเดียวกัน จังหวะนั้นเราจะเข้าเทรดทันที
- ทำไมผมถึงบอกว่ามันเหมาะกับมือใหม่ ก็เพราะมันใช้แค่การมองกราฟ+ตีเส้นอีกนิดหน่อย เราก็สามารถใช้กลยุทธ์นี้ได้แล้ว และทั้ง 3 นี้ (Trend Zone Signal) มันคือพื้นฐานสุดๆ สำหรับเทรดเดอร์ Forex
บทความแนะนำสำหรับผู้เริ่มเทรด Forex 
Trend
- มากันที่ตัวแรก Trend ก็คือ แนวโน้มของกราฟราคา ณ ปัจจุบันครับ โดยเราจะ ใช้ Trend line วาดจุดสูงสุด/ต่ำสุด ที่สูงขึ้น/ต่ำลง เรื่อยๆ เพื่อระบุ Trend หลักก่อนว่า เป็น ขาขึ้น, ขาลงหรือ SideWay ครับ
- เมื่อระบุได้แล้วว่า Trend หลักคืออะไร เราก็เทรดฝั่งเดียวกับ Trend เป็นหลักครับ
- หากเป็น Trend ขาขึ้น เน้น Long/Buy เป็นหลัก มีโอกาสทำกำไรมากกว่า
- หากเป็น Trend ขาลง เน้น Short/Sell เป็นหลัก มีโอกาสทำกำไรมากกว่า
- หากเป็น SideWay มือใหม่ไม่อยากให้เข้าเทรดสักเท่าไหร่ครับ แต่ถ้าชำนาญแล้วก็เก็บกินได้สั้นๆ

Zone
- ต่อมาเรามาระบุ Zone ของราคากันครับ ซึ่ง Zone ที่ว่านี้ก็คือ แนวรับ-แนวต้าน ของราคาครับ เราสามารถหาแนวรับ-แนวต้านได้หลายทาง เช่น
- ดูจุดที่กราฟราคาวิ่งมาแตะและกลับตัว+เกิดในบริเวณราคาเดียวกัน ซ้ำๆ
- ใช้อินดิเคเตอร์ Fibonacci Retracement เพื่อระบุก็ได้
- Zone หนึ่งนั้นสามารถเป็นได้ทั้งแนวรับ (เมื่อราคาลงมาชน) และแนวต้าน (เมื่อราคาขึ้นมาชน)
- ถ้าเป็น Trend ขาขึ้น กราฟย่อตัวลงมาแตะแนวรับ จุดนั้นแหละที่จะเข้าเทรด
- ถ้าเป็น Trend ขาลง กราฟพุ่งขึ้นมาแตะแนวต้าน จุดนั้นก็จะเป็นจุดเข้าเทรด
- จุดนี้จะค่อนข้างสำคัญเพราะแนวรับ-แนวต้าน เราจะใช้เป็นจุดเข้า-ออกออเดอร์ และหาจุดวาง SL (จุดหยุดขาดทุน), TP (จุดทำกำไร)

Signal
- ตัวสุดท้ายที่จะใช้ระบุการเข้าเทรดของเราคือ Signal นั่นก็คือสัญญาณ Price Action ที่ราคากำลังมีที่ท่าจะขึ้นหรือลง ซึ่งตัว Price Action มีหลายชนิดมาก เอาเป็นว่าถ้าเจอ 1 สัญญาณก็ถือว่าใช้ได้แล้วครับ เช่น
- รูปแบบแท่งเทียน : Pin Bar, Engulfing, Inside Bar, Outside Bar เป็นต้น
- รูปแบบกราฟ : Double Top/Double Bottom เป็นต้น
- เมื่อเอาทั้ง 3 มารวมกัน ก็จะได้กลยุทธ์ T.Z.S. ประมาณนี้ครับ ถ้าครบทั้ง 3 อย่าง ก็เข้าเทรดได้เลยครับ!
- เราจะดู Trend หลักก่อนว่าจะเข้าเทรดฝั่งไหน (Buy/Sell)
- จากนั้นก็ดู Zone ว่าจะออกออเดอร์ที่จุดไหน (ราคาเท่าไหร่)
- รอยืนยันจากสัญญาณ Price Action ว่ากราฟจะไปในทิศทางที่เราวิเคราะห์จริง

การใช้งาน T.Z.S. ในกราฟจริง
ทีนี้เรามาดูการเข้าเทรดแบบวิเคราะห์จริงจังโดยใช้ T.Z.S. แบบครบทั้ง 3 กันครับ ว่า กลยุทธ์นี้เราสามารถออกออเดอร์จุดไหนได้บ้างและทำกำไรได้จริงหรือเปล่า

- จากรูปกราฟ GBPUSD นี้ เราระบุได้ว่าราคากำลังอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น (Uptrend) ในภาพรวม เพราะ Trendline สีเขียว ที่ลากจากจุดต่ำสุด 1 ไปยังจุดต่ำสุด 2 มีลักษณะชันขึ้น ดังนั้นเราจะเล่น Buy เป็นหลัก
- ต่อมาก็ระบุ แนวรับ-แนวต้าน สังเกตุกรอบสีฟ้า เป็น Zone ที่ราคาย่อตัวลงมาและเด้งกลับขึ้นไปหลายครั้งแล้ว (มี 2 Zone เป็น Z1และ Z2) ถือเป็นแนวรับที่ค่อยข้างแข็งแรง สามารถใช้เป็นจุดเข้าออเดอร์ Buy ได้
- สุดท้าย ใน Zone กรอบสีฟ้าเราเห็นว่าตัวแท่งเทียนแสดง สัญญาณ (Signal) บางอย่างออกมาเป็นลักษณะ Bullish Pinbar ที่บ่งบอกถึงการกลับตัวพร้อมจะขึ้นไป
- เมื่อทั้ง T.Z.S. ยืนครบทั้ง 3 ว่าเหมาะกับการ BUY เราก็เข้าออเดอร์ ตามจุดที่ทั้ง 3 ยืนยันได้ ซึ่งในรูปสามารถทำได้ 2 ครั้ง และเป็นกำไรทั้งคู่
- เราตั้ง TP ของออเดอร์ที่ 1 ไว้ที่ Zone สีฟ้าที่ 2 ได้ และตั้ง TP ออเดอร์ที่ 2 ไว้ที่ Zone สีฟ้าที่ 3 ได้ เช่นกัน ส่วน SL ก็ตั้งตามระดับราคาที่หลุดจาก Zone ก่อนหน้าของออเดอร์นั้น
ข้อดีของการใช้ Trend Zone Signal
- ใช้อินดิเคเตอร์ไม่มาก (ใช้แค่เล้นและตีกรอบ) เทรดเดอร์ที่ไม่รู้อินดิเคเตอร์หรือไม่ชอบวิเคราะห์แบบล้ำลึก ใช้ตัวนี้ตัวเดียวก็เทรดได้แล้ว
- เนื่องจาก T.Z.S. เน้นเทรดตามแนวโน้มเป็นหลัก จึงมีโอกาสชนะมากกว่า
- กลยุทธ์ T.Z.S. มีความแม่นยำ 80% ขึ้นไป หากมันถูกยืนยันครบทั้ง 3 ทาง
ข้อควรระวังในการใช้งาน Trend Zone Signal
- สำหรับเทรดเดอร์มือใหม่ที่เพิ่งเริ่มใช้ อยากให้ระวังในการอดทนรอให้ยืนยันครบทั้ง 3 เสียก่อนค่อยเข้าเทรด เพราะถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไป = เพิ่มความเสี่ยงไปด้วย
- จำไว้ว่า Zone อาจจะเกิดการ Breakout ได้ตลอดเวลา เทรดเดอร์ต้องบริหารเงินทุนให้เพียงพอต่อการโดนกราฟลากเมื่อ Breakout และอย่าลืมตั้ง SL ทุกครั้ง
- รวมถึง Price Action บางรูปแบบ อาจเป็น “สัญญาณหลอก” (False Signal) ได้

วิดีโออธิบายเรื่อง Zone
การระบุและเทรดตาม Key Levels เครดิต By The Moving Average Focus นาทีที่ 0:45-05:14
จากบทความนี้ ผมมองว่าเรื่อง Zone ยังเป็นเรื่องที่หลายๆ คนยังไม่สามารถระบุได้แม่นยำมากเท่าไหร่ เทียบกับอีก 2 อัน ซึ่งทีมงานก็ไปเจอวิดีโอตัวหนึ่ง ที่อธิบายเกี่ยวกับ การระบุและเทรดตาม Key Levels โดยแนะนำให้ดูภาพใหญ่ของราคาในกรอบเวลาที่สูงขึ้น เพื่อหาแนวรับ-แนวต้านที่สำคัญ ซึ่งมองว่ามีประโยชน์เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้มากขึ้น
- Focus นาทีที่ 0:45 การหา Key Levels
- Focus นาทีที่ 2:30 อธิบายว่า Key Levels มักเป็นระดับราคาที่ธนาคารหรือสถาบันการเงิน เข้ามาเทรดและจุดนั้นราคามันจะกลายเป็น แนวรับ-แนวต้าน
- Focus นาทีที่ 3:40 อธิบายการเข้าเทรดใน Zone โดยต้องรอสัญญาณยืนยันเสียก่อน
- Focus นาทีที่ 4:30 การหา Trend ใน Timeframe ใหญ่ ประกอบการเทรด
สรุป
ใครที่อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว จากที่มอง Trend, แนวรับ-แนวต้าน, Price Action เป็นเรื่องที่แยกจากันคงจะต้องมองใหม่เพราะมันสามารถสร้างเป็นกลยุทธ์การเทรดที่ง่ายแต่ทรงพลังแบบนี้ได้และผมมักจะย้ำเสมอว่าการเทรดไม่ว่าจะใช้กลยุทธ์ใดก็ตามเทรดเดอร์ต้องมี Money Management เสมอรวมถึงการตั้ง SL ป้องกันความเสี่ยงทุกครั้ง
สุดท้ายก็คงไม่ฝากอะไรนอกจากฝากใช้กลยุทธ์นี้ดูสักครั้งเผื่อว่ามันจะเป็นตัวจุดประกายเล็กๆ ที่จะสามารถต่อยอดให้เป็นกลยุทธ์ใหม่และเอามาแบ่งปันกันในหมู่เทรดเดอร์ Forex นะครับ
ทีมงาน: forexthai.in.th