Forexthai.in.th ย่อให้

  • Trend Line คือเส้นที่ลากเชื่อมจุด Swing High/Low เพื่อดูแนวโน้มของราคา โดยทำหน้าที่เป็นแนวรับ/แนวต้าน และช่วยหาจังหวะเข้าเทรด
  • ประเภทของเทรนไลน์ มี 3 แบบ คือ ขาขึ้น (Uptrend), ขาลง (Downtrend), และออกข้าง (Sideways) โดยแต่ละแบบมีลักษณะและสัญญาณที่แตกต่างกัน
  • สิ่งสำคัญในการใช้เทรนไลน์ คือต้องลากผ่านจุด Swing อย่างน้อย 2 จุด, ความชันของเส้น บ่งบอกถึงความแข็งแกร่งของ Trend
  • ตัวอย่างการใช้ Trend Line แสดงให้เห็นถึงการเทรดตามแนวโน้มขาขึ้นและขาลง พร้อมทั้งสัญญาณเตือนเมื่อราคาหลุด Trend Line

Trend Line คืออะไร? เทคนิคการใช้ Trend Line

เทรดเดอร์ Forex หลายคนโดยเฉพาะมือใหม่เมื่อเริ่มเข้ามาสู่วงการเทรด Forex สิ่งแรกๆ ที่ต้องเจอเมื่อต้องการที่จะวิเคราะห์แนวโน้มราคาก็น่าจะใช้ Trend Line แน่นอน เพราะมันเป็นเทคนิคเบื้องต้นที่ง่ายที่สุดที่เราจะรู้ว่าตอนนี้ แนวโน้มราคาเป็นยังไงแถมยังทำกำไรได้เป็นกอบเป็นกำ ซึ่งวันนี้เราจะไปรู้จักกับเทรนไลน์กันให้มากขึ้น


Trend Line คืออะไร?

  • Trend Line ก็คือ เส้นที่ลากจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่ง เพื่อดูว่ากราฟราคากำลังอยู่ในแนวโน้มทิศทางไหน ซึ่งจุดนั้นต้องเป็นจุดที่มีนัยยะสำคัญอะไรบางอย่างของราคา
  • จุดนัยยะสำคัญของราคาก็อย่างเช่น จุดสูงสุด/ต่ำสุด ก่อนหน้า (Previous High/Low), แนวรับ (Support) และแนวต้าน (Resistance) ส่วนใหญ่จะเป็นพวกนี้
  • ถ้าถามว่า Trend Line มันกำลังบอกอะไรแก่เรา?
    • Trend Line กำลังบอกแนวโน้มของราคาว่ามันเป็น Trend “ขึ้น” หรือ “ลง” หรือ ”Sideway
    • Trend Line ทำหน้าที่เป็น “แนวรับ” ในขาขึ้นและ “แนวต้าน” ในขาลง
    • Trend Line ใช้เป็นจุดในการเข้าเทรดได้ หากเราสังเกตปฏิกิริยาของราคาที่ชนเข้ากันเส้นเทรนไลน์ เราจะรู้ได้ว่าควรออกออเดอร์ Buy/Sell
ตัวอย่างการตีเส้นแนวโน้ม 3 รูปแบบ
ตัวอย่างการตีเส้นแนวโน้มที่ครอบคลุมทั้ง 3 รูปแบบ ซึ่งจะเห็นว่าในแนวโน้มขาขึ้น (Uptrend) ก็ยังสามารถเกิดแนวโน้ม SideWay ภายในแบบย่อยๆได้เช่นกัน

ประเภทของ Trend Line

Trend Line มีทั้งอยู่ 3 รูปแบบด้วยกัน ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกับกราฟราคา Forex ที่เกิดขึ้นมาตลอดเวลา ดังนี้

1. Trend Line ขาขึ้น (Uptrend)

  • ลักษณะคือเส้นที่ลากเชื่อมจุดต่ำสุด (Swing Low) ของราคาก่อนหน้า 2 จุดขึ้นไป โดยมีความชันขึ้นไปทางขวา
  • เส้นนี้บ่งบอกว่าราคามีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยสังเกตจากราคามักจะทำ New High หรือจุดสูงสุดใหม่อยู่เรื่อยๆ รวมถึง จุดต่ำสุดใหม่ (New Low) ก็จะสูงกว่าจุดต่ำสุดเดิมด้วย
  • Trend นี้ เทรดเดอร์มักจะเข้าออเดอร์เมื่อกราฟราคาย่อตัวลงมา(แบบยังไม่ผ่าน Low เดิม) ชนเส้น Trend Line จากนั้นราคาก็จะพุ่งขึ้นทำจุดสูงสุดอีกครั้ง
  • สัญญาณเตือนของ Trend นี้คือหากราคาหลุด Trend Line ลงมา อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าขาขึ้นกำลังอ่อนแรงหรือจบลงแล้ว
ตัวอย่างการวาด Trend Line ขาขึ้น
ตัวอย่างการวาด Trend Line ขาขึ้น โดยเชื่อมจุดต่ำสุดที่เกิด New Low สูงขึ้นและจุดสูงสุดที่เกิด New High สูงขึ้น เพื่อระบุแนวโน้มขาขึ้นในกราฟราคา Forex

2. Trend Line ขาลง (Downtrend)

  • ลักษณะคือเส้นที่ลากเชื่อมจุดสูงสุด (Swing High) ของราคาอย่างน้อย 2 จุด โดยมีความชันลงไปทางขวา
  • เส้นนี้บ่งบอกว่าราคามีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ เราสามารถดูได้จากจุดสูงสุดใหม่จะอยู่ต่ำกว่าจุดสูงสุดเดิม ซึ่งจุดนี้ทำหน้าที่เป็นแนวต้านด้วย
  • เมื่อราคาชนเส้น Trend Line เทรดเดอร์มักจะเข้าออเดอร์ Sell เพราะรู้ว่าแนวโน้มกำลังเป็นขาลงราคามักจะชนแล้วเด้งกลับลงต่อ
  • แต่หากราคาทะลุ Trend Line ขึ้นไป อาจเป็นสัญญาณเตือนเช่นกันว่าขาลงกำลังอ่อนแรงหรือจบลง เหมือนกับ Trend Line ขาขึ้น
การวาด Trend Line ขาลง
การวาด Trend Line ขาลง โดยเชื่อมจุดสูงสุดที่เกิด New High ลาดต่ำลงและจุดต่ำสุดที่เกิด New Low ลาดต่ำลง เพื่อแสดงแนวโน้มขาลงของตลาด

3. Trend Line แนวขวาง (Sideways)

  • ลักษณะที่ 3 นี้จะเป็นเส้นที่ลากเชื่อมจุดเหมือน 2 เส้นที่ผ่านมา แต่ราคากลับไม่แสดงจุดสูงสุดหรือต่ำสุดใหม่ แต่ราคากลับขนานอยู่ในกรอบแนวรับ-แนวต้านเดิม
  • เส้นนี้กำลังบ่งบอกว่าราคายังไม่มีทิศทางที่ชัดเจนและเทรดเดอร์บางคนก็อาจจะยังไม่เทรดในช่วงนี้หรือบางคนอาจเทรดสั้นๆ ในกรอบแนวรับแนวต้านของราคา
  • เมื่อราคาหลุดจาก Trend นี้ไป อาจเป็นสัญญาณว่า Sideways Trend กำลังจบลงและเริ่มTrend ใหม่ว่าจะขึ้นหรือลง
ตัวอย่าง Trend Line แบบ SideWay
ตัวอย่าง Trend Line แบบ SideWay ที่ราคาจะเคลื่อนที่ภายในกรอบแนวรับ-แนวต้าน ไม่ทะลุทำเป็นแนวโน้มใดๆ สังเกตุได้จากระดับราคาต่ำสุดหรือสูงสุดจะมีแนวขนานเท่ากัน

สิ่งสำคัญที่ต้องจำในการใช้ Trend line ในการเทรด

  1. การลากเทรนไลน์ต้องใช้จุดสูงสุด (Swing High) หรือจุดต่ำสุด (Swing Low) อย่างน้อย 2 จุด ในการเชื่อมเส้น ถ้าเชื่อมได้หลายจุด เช่น 3 จุดขึ้นไปจะถือว่า เทรนไลน์นั้นแข็งแกร่งมาก
  2. เทรนไลน์ที่ ”ชัน” บ่งบอกถึง Trend ที่แข็งแกร่งและราคามีโมเมนตัมที่แรง กลับกัน Trend Line ที่ “ลาดเอียง” บ่งบอกถึง Trend ที่ราคามีโมเมนตัมน้อย
  3. การตีเส้นเทรนไลน์ อย่าลากเทรนไลน์แค่ให้ดูสวยงามหรือเข้าข้างความคิดของตัวเองต้องลากตามจุดสูงสุด/ต่ำสุดที่ชัดเจนและมีเหตุผลรองรับเสมอ

ตัวอย่างการใช้ Trend Line ในสถานการณ์จริง

เรามาดูตัวอย่างการใช้ Trend Line สำหรับกราฟจริงรวมถึงการวิเคราะห์แนวโน้มจากเส้นเทรนไลน์ ทั้งกรณีแบบขาขึ้นและขาลงกันบ้าง

การเทรดตามแนวโน้มขาขึ้น

ตัวอย่างการเทรดตามแนวโน้มขาขึ้น โดยใช้เส้น Trend Line
ตัวอย่างการเทรดตามแนวโน้มขาขึ้น โดยใช้เส้น Trend Line เป็นแนวรับในการวางจุด Buy (A และ B) และสังเกตการทะลุแนวรับที่จุด C ซึ่งอาจเป็นสัญญาณเปลี่ยนแนวโน้มและจุด D เป็นการยืนยันว่าแนวโน้มเปลี่ยนแล้ว
  • จุด A ราคามีการย่อตัวลงมาทดสอบ Trend Line เป็นครั้งแรกและเด้งขึ้นเป็นสัญญาณ “ซื้อ
  • จุด B ราคาย่อตัวลงมาทดสอบ Trend Line เป็นครั้งที่สองและเด้งขึ้นอีกครั้ง เป็นสัญญาณ “ซื้อ” ที่แข็งแกร่งขึ้น เพราะ Trend Line ผ่านการทดสอบมาแล้ว
  • จุด C ราคาหลุด Trend Line ลงมา เป็นสัญญาณเตือนว่าแนวโน้มขาขึ้นอาจอ่อนแรงหรือจบลง แนะนำว่ายังไม่ควรเข้าเทรดเพราะอาจจะเป็น False Breakout
  • จุด D ราคาลงต่อเนื่องหลังจากหลุด Trend Line และไม่สามารถทะลุกลับขึ้นไปได้ “ยืนยัน” ว่า Uptrend จบลงแล้ว

การเทรดตามแนวโน้มขาลง

ตัวอย่างการเทรดตามแนวโน้มขาลง โดยใช้เส้น Trend Line
ตัวอย่างการเทรดตามแนวโน้มขาลง โดยใช้เส้น Trend Line เป็นแนวต้าน ในการวางจุด Sell (A และ B) โดยจุด C เป็น False Breakout หลอกให้ “Sell” แต่ราคากลับทะลุเข้าเส้น Trend Line เหมือนเดิมและจุด D คือจุดที่ราคากลับไปทดสอบชน Trend Line และกลับลงมาอีกครั้งจึงเป็นจุดเข้า Sell ต่อ
  • จุด A และ B เป็นจังหวะในการออกออเดอร์ “ขาย (Sell)” ที่ดี เพราะราคาดีดขึ้นไปชนTrend Line แล้วลงต่อ
  • จุด C ราคาทะลุ Trend Line ขึ้นไป เป็นสัญญาณเตือนว่า Downtrend อาจอ่อนแรงหรือจบลง แต่ยังต้องรอยืนยันก่อน ไม่ควรออกออเดอร์ในช่วงนี้
  • จุด D ราคากลับลงมาอยู่ใน Trend Line สามารถรอ Retest จนมั่นใจและ Sell ได้ ดังนั้นจุด C จึงเป็น False Breakout ซึ่งเทรดเดอร์หลายคนที่รีบออกออเดอร์ BUY จนติดดอย ณ จุดนี้

วิดีโอเกี่ยวกับเส้นเทรนไลน์

ตัวอย่างการใช้เส้น Trend Line ในการเทรด เครดิต By Tom Crown Focus นาทีที่ 0:47-7:38

ทีมงานไปเจอวิดีโอหนึ่งที่เกี่ยวกับ การใช้เส้น Trend Line สำหรับการเทรด ซึ่งยูทูปเบอร์คนนี้ได้นำเสนอที่มองเห็นภาพชัดเจนพร้อมกับยกตัวอย่างในหลายๆ รูปแบบ ทางเราเลยคิดว่าน่าสนใจและมีประโยชน์สำหรับใครหลายๆ คนครับ

  • Focus นาทีที่ 0:47 วิธีการวาดเทรนไลน์ที่ถูกต้อง
  • Focus นาทีที่ 2:00 เหตุผลที่ควรใช้เทรนไลน์
  • Focus นาทีที่ 3:40 ตัวอย่าง Trend Line Breakout
  • Focus นาทีที่ 4:50 ตัวอย่าง Fake Breakout
  • Focus นาทีที่ 6:15 ตัวอย่าง Trend Continuation
  • Focus นาทีที่ 7:20 ตัวอย่าง Trend Line Liquidity

สรุป

สรุปแล้ว Trend Line คือเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคที่เรียบง่ายแต่ก็ทรงพลังไม่น้อย หลายคนสามารถทำกำไรได้จากการมองเห็นทิศทางของแนวโน้ม การระบุแนวรับ-แนวต้านและหาจังหวะเข้า-ออกออเดอร์ได้เพียงแค่ใช้ Trend Line แต่ก็อย่าลืมว่า Trend Line เป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งเท่านั้น เทรดเดอร์ควรใช้ร่วมกับ Indicators อื่นๆ เพื่อความแม่นยำมากขึ้น

และสุดท้ายแล้วการเริ่มฝึกฝนการใช้เทรนไลน์ตั้งแต่วันนี้จะพบว่าการวิเคราะห์อ่านทิศทางกราฟราคาและทำกำไรในตลาด Forex ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

บทความแนะนำสำหรับผู้เริ่มเทรด Forex 

Nakrob Seareechon

บรรณาธิการ/Web master

ปริญญาโทเศรษฐศาสตร์การเงิน พัฒนาระบบเทรดอัตโนมัติและพัฒนาเว็บไซต์ควบคู่การเทรดด้วยตนเอง

Krisorn Himmapan

Content Writer

ประสบการณ์เทรด Forex 12+ ปี จากพนักงานบริษัทสู่เทรดเดอร์อาชีพ เน้นกลยุทธ์ Long-term Trading

Nakrob Seareechon
บรรณาธิการ/Web master

ปริญญาโทเศรษฐศาสตร์การเงิน พัฒนาระบบเทรดอัตโนมัติและพัฒนาเว็บไซต์ควบคู่การเทรดด้วยตนเอง

อ่านประวัติเพิ่มเติม

Krisorn Himmapan
Content Writer

ประสบการณ์เทรด Forex 12+ ปี จากพนักงานบริษัทสู่เทรดเดอร์อาชีพ เน้นกลยุทธ์ Long-term Trading

อ่านประวัติเพิ่มเติม

ทีมงาน: forexthai.in.th

แสดงข้อคิดเห็น ให้กำลังใจ

comments