forexthai.in.th ย่อให้
- Bull Trap หรือกับดักกระทิง เป็นรูปแบบกราฟราคาที่ขึ้นทะลุแนวต้าน ทำให้เทรดเดอร์คิดว่าขาขึ้นมาแน่ แต่จริงๆ แล้วราคากลับร่วงลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจเกิดจากการปั่นราคา ข่าวลือหรือปัจจัยทางเทคนิค
- สัญญาณเตือน Bull Trap มีทั้งราคาที่พุ่งทะลุแนวต้านผิดปกติ, Volume เบาบาง, Indicators ส่งสัญญาณ Overbought, มีข่าวดีแต่ราคาไม่ไปต่อและรูปแบบ Candlestick น่าสงสัย
- ส่วนกลยุทธ์ในการรับมือ Bull Trap คือเข้าเทรดช้าๆ รอให้ราคายืนยันแนวโน้ม, ใช้ Indicators และ Volume ประกอบการตัดสินใจรวมถึงตั้ง Stop Loss ทุกครั้ง
- ตัวอย่าง Bull Trap และภาพประกอบ จากกราฟราคา EUR/USD แสดงให้เห็นถึง False Breakout และแรงขาย หลังจากราคาทะลุเส้นค่าเฉลี่ย 20 วัน ซึ่งเป็นสัญญาณ Bull Trap ที่ชัดเจน
กราฟราคาในตลาด Forex มีกับดักมากมายซ่อนอยู่ เคยมั้ย? เห็นกราฟราคาพุ่งขึ้นแรงคิดว่าขาขึ้นมาแน่ๆ รีบเข้าซื้อตาม แต่ไม่ทันไร ราคากลับร่วงลงไม่เป็นท่า เสียเงินไปฟรีๆ นั่นแหละ! คุณอาจกำลังตกเป็นเหยื่อของ Bull Trap ซึ่งวันนี้เราจะไปทำความรู้จักและวิธีหลีกเลี่ยงกับดักสุดอัตรายตัวนี้กัน
Bull Trap คืออะไร?
- Bull Trap หรือ กับดักกระทิง คือ รูปแบบกราฟราคาที่หลอกให้เทรดเดอร์ Forex คิดว่าราคาจะขึ้นต่อ แต่จริงๆ แล้วเป็น “สัญญาณหลอก” ที่ราคาเตรียมจะกลับตัวลง
- ถ้าแปลตรงตัวตามชื่อ Bull Trap ก็คือกับดักบนตลาดกระทิงหรือตลาดขาขึ้น ราคาวิ่งขึ้นทะลุแนวต้านสำคัญ สร้างความหวังให้เหล่าเทรดเดอร์คิดว่าราคาจะต้องไปต่อ
- โดยเฉพาะทรดเดอร์ที่กลัว “ตกรถ” จนเกินไป เห็นสัญญาณนี้ รีบเปิดออเดอร์ซื้อหวังเกาะกระแสขาขึ้น แต่หลังจากนั้นราคากลับร่วงลงอย่างรวดเร็วจนหลุดแนวต้านเดิม ทำให้นักเทรดที่ซื้อ ”ติดดอย”

กับดักกระทิงเกิดขึ้นได้ยังไง
สาเหตุที่ทำให้เกิดกับดักกระทิงอาจจะมาจากปัจจัยเบื้องต้น เช่น…
- จิตวิทยาการลงทุน
- ความโลภ (Greed) และ ความกลัว (Fear) ของเทรดเดอร์มีส่วนทำให้เกิด Bull Trap
- ช่วงตลาดขาขึ้น เทรดเดอร์มักจะเกิดความ “โลภ” อยากได้กำไรเยอะๆ พอเห็นราคาขึ้นก็รีบเข้าซื้อ โดยไม่ทันระวังหรือวิเคราะห์ให้ดี
- ปัจจัยทางเทคนิค
- การวิเคราะห์ทางเทคนิคที่ผิดพลาดก็มีส่วนทำให้เกิด Bull Trap เช่น การทะลุแนวต้าน (Breakout) ของกราฟ ก็เผลอคิดว่าราคาต้องไปต่อแน่นอน รีบเข้าซื้อทันที
- ข่าวลือ ข่าวปลอม
- มันมีจริงๆ กับข้อมูลที่เล่นกับจิตวิทยาของเทรดเดอร์ที่สร้างข่าวปลอมให้เทรดเดอร์รายย่อยทั้งหลายรีบเข้าซื้อแบบไม่ทันวิเคราะห์และเมื่อตลาดเฉลยก็พบว่าตัวเองติดกับดักเข้าไปแล้ว
- รายใหญ่ปั่นราคา
- นักลงทุนรายใหญ่หรือกองทุนใหญ่ที่เราเรียกว่า วาฬ มักจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิด Bull Trap พวกเขาอาจจงใจ “ปั่นราคา” ดันราคาขึ้นไปสูงๆ เพื่อหลอกล่อให้รายย่อยที่ “กลัวตกรถ” รีบเข้าซื้อตาม
- พอรายย่อยแห่กันเข้าซื้อ เหล่ารายใหญ่ก็เทขายสินทรัพย์กอบโกยกำไร ส่วนรายย่อยที่เข้าซื้อทีหลังก็ติดดอยกลายเป็นเหยื่อ Bull Trap ไป

สัญญาณเตือน กับดักกระทิง
ถ้าไม่อยากติดกับดักนี้ มันพอจะมีวิธีการสังเกตเบื้องต้นว่าตลาดกำลังพาเราเข้าไปสู่กับดัก Bull Trap หรือไม่
- ราคาพุ่งทะลุแนวต้านแบบ “ผิดปกติ”
- แนวต้าน คือระดับราคาที่เคยขัดขวางการขึ้นของราคาในอดีต หากราคาทะลุขึ้นไปอย่างรวดเร็ว ผิดปกติ โดยไม่มีปัจจัยพื้นฐานสนับสนุน ให้สงสัยไว้ก่อนเลยว่าอาจเป็น Bull Trap ได้
- อย่าลืมสังเกต Volume หรือปริมาณการซื้อขายประกอบ หาก Volume เบาบาง ขณะที่ราคาพุ่งขึ้น ยิ่งน่าสงสัยเข้าไปใหญ่
- หลังจากราคาทะลุแนวต้าน อาจจะเกิดรูปแบบกราฟที่แสดงถึงการกลับตัวลง เช่น Shooting Star, Engulfing Pattern มันแสดงถึงแรงขายที่เพิ่มขึ้น
- หากเราใช้อินดิเคเตอร์พวก RSI, Stochastic แล้วส่งสัญญาณว่า “ซื้อมากเกินไป” (Overbought) ขณะที่ราคาทะลุแนวต้าน ถือว่ามีความเสี่ยงที่จะโดน Bull Trap
- ข่าวดีแต่ราคาไม่ไปต่อ
- บางครั้ง มีข่าวดีออกมาสนับสนุนราคาพุ่งขึ้นทะลุแนวต้านแต่วิ่งขึ้นต่อได้ไม่นานก็ร่วงลงมา นี่ก็เป็นสัญญาณ Bull Trap เช่นกัน
- อาจะเป็นเพราะนักลงทุนรายใหญ่ได้คาดการณ์หรือรับรู้ข่าวนั้นอยู่ก่อนแล้วและรอให้รายย่อยเข้าซื้อเพื่อดันราคาไปต่ออีกนิดหน่อยและเทขายทั้งหมด
กลยุทธ์การรับมือกับดักกระทิง
เมื่อเราเป็นเทรดเดอร์มือใหม่อาจจะยังวิเคราะห์ราคาได้ไม่แตกฉานเท่ากับมืออาชีพ ดังนั้นทีมงาน Forexthai มีเคล็ดลับดีๆ มาบอกต่อเพื่อป้องกัน Bull Trap ที่อาจเกิดขึ้น
- เข้าเทรดช้าดีกว่าติดดอย
- จังหวะในการเข้าเทรดอาจเป็นตัวตัดสินผลแพ้ชนะในการเทรดเลยก็ได้ ซึ่ง Bull Trap มันชอบเทรดเดอร์ที่ชอบเข้าเทรดเร็วๆ รีบ Buy แบบไม่ต้องคิด
- วิธีเลี่ยงคือฝึกเข้าช้าสักนิด รอให้ราคามันยืนยันแนวโน้มที่ชัดเจนก่อนจะช่วยลดความเสี่ยง Bull Trap ได้เยอะ แต่อย่าช้าเกินจนราคาไปไกลแล้ว เทรดเดอร์ก้อาจจะตกรถได้
- “รอสัญญาณยืนยัน” ก่อน
- อย่างที่บอกว่ากลยุทธ์รับมือ Bull Trap รวมถึงกับดักอื่นๆ คือรอสัญญาณการกลับตัวที่ชัดเจนก่อน ซึ่งครื่องมือที่นิยมใช้ คือ เส้นค่าเฉลี่ย (Moving Average) เช่น เส้นค่าเฉลี่ย 20 วัน
- วิธีสังเกตคือ หากราคาลงมาต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย 20 วัน แล้วค่อยดีดขึ้นทะลุแนวต้าน อาจเป็นสัญญาณ Bull Trap ให้ระวังไว้ก่อน
- รอให้ราคายืนเหนือหรือต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย 20 วัน อย่างชัดเจนมั่นคงก่อนแล้วค่อยพิจารณาเข้าซื้อ/ขาย จะช่วยลดความเสี่ยง Bull Trap ได้มากขึ้น

ตัวอย่างจริงของ Bull Trap ในตลาด Forex
มีภาพตัวอย่างจริงของกราฟราคา EUR/USD ที่มีรูปแบบ Bull Trap ให้ผู้อ่านลองสังเกตและทำความเข้าใจแบบเห็นภาพมากขึ้น

จากรูปภาพดังกล่าวมีสัญญาณที่บ่งบอกว่าเป็น Bull Trap ดังนี้
- ราคาขึ้นไปทะลุเส้นค่าเฉลี่ย 20 วัน (เส้นสีฟ้า) ซึ่งทำหน้าที่เป็นแนวต้าน แต่หลังจากนั้นราคากลับร่วงลงมาอย่างรวดเร็วหลุดแนวต้านเดิม นี่คือสัญญาณ False Breakout ที่บ่งบอกถึง Bull Trap
- สังเกตุแท่งเทียนหลังจากทะลุแนวต้าน เป็นแท่งเทียนสีแดงยาว บ่งบอกถึง “แรงขาย” ที่เข้ามาอย่างหนัก ยิ่งตอกย้ำสัญญาณ Bull Trap
- หลังจาก False Breakout ราคากลับตัวลงมาต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย 20 วัน อย่างชัดเจนและมีแนวโน้มลงต่อเนื่อง ซึ่งราคาแอบขึ้นไป Retest เส้น MA 20 อีกรอบ ก่อนจะยืนยันและลงมาจริงๆ
- กรณีนี้จะกลายเป็นแนวโน้มขาขึ้นจริงก็ต่อเมื่อราคาที่พุ่งขึ้นไป ลงมา Retest เส้น MA 20 อีกรอบและพุ่งกลับขึ้นไปเท่ากว่าหรือสูงกว่าราคาที่ทะลุมาตอนแรก จะถือว่าเปลี่ยนเป็นแนวโน้มขึ้นของจริง
วิดีโอเกี่ยวกับ Bull Trap
วิธีหลีกเลี่ยง Bull Trap เครดิต By Bear Bull Traders Focus นาทีที่ 0:55-6:40
ทีมงาน Forexthai ไปเจอคลิปวิดีโอตัวหนึ่งเกี่ยวกับ วิธีหลีกเลี่ยง Bull Trap เลยอยากมาแบ่งปันกับผู้อ่านทุกท่าน เพราะเห็นว่ามีประโยชน์และเนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความของเรา
- Focus นาทีที่ 0.55 เทรด Over View วิเคราะห์แนวโน้มหลัก จาก Timeframe ใหญ่
- Focus นาทีที่ 2:15 วิเคราะห์การเทรดทั้ง Time & Sales และ Volume
- Focus นาทีที่ 4:40 สรุปสิ่งที่ต้องจดจำในการเทรด
สรุป
เป็นไงกันบ้างครับหลังจากที่ได้รู้กจักกับดักกระทิง มันน่ากลัวไม่น้อยเลยใช่ไหมสำหรับเทรดเดอร์มือใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์ ใครที่ได้รู้จักมันก่อนก็ได้เปรียบตรงที่หาวิธีหลีกเลี่ยงได้ก่อน ไม่งั้นคงต้องเสี่ยงติดดอยหาวิธีแก้กันวุ่นวายแน่นอน
สิ่งสำคัญคืออยากให้เทรดเดอร์มีความใจเย็นและมั่นใจที่จะเทรดตามแผนการเทรดที่ได้วางไว้ แค่นี้กับดักทั้งหลายก็เล่นงานเราได้น้อยมาก หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ช่วยให้เทรดเดอร์ไม่ติดกับดักทั้งหลายในตลาด Forex แห่งนี้นะครับ
ทีมงาน: forexthai.in.th