ปกติแล้วเวลาเราทำการเทรด forex เราจะต้องส่งคำสั่งซื้อ-ขาย เข้าไปที่โบรเกอร์เสียก่อน ซึ่งการทำแบบนี้นั้น บางทีเราอาจมีความรู้สึกครางแคลงใจว่า อาจมีการเก็บข้อมูลของเราเพื่อเอาไปทำสถิติในการเทรด หรืออื่นๆ ซึ่งอาจมีการตุกติกเกิดขึ้น (คิดแบบโลกไม่สวยน่ะครับ)

ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาในส่วนนี้ จึงมีโบรกเกอร์แบบ No Dealing Desks (NDD)12 หรือแปลง่าย ๆ ว่าเป็นโบรกเกอร์ที่ไม่ผ่านตัวกลางนั่นเอง ส่วนจะเป็นอย่างไรนั้น มาศึกษาไปพร้อม ๆ กันครับ

ประเภทของโบรคเกอร์

โบรกเกอร์ ก็คือบริษัทที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการรับส่งคำสั่งของเราเข้าไปสู่ตลาด Forex โดยโบรกเกอร์จะมีอยู่ 2 ประเภทหลัก ๆ คือ

1.Dealing Desk (DD) หรือที่เรียกว่า Market Maker คือ โบรกเกอร์ที่ดำเนินการผ่านเคาน์เตอร์จัดการ (Dealing Desk) จะมีห้องรวบรวมข้อมูลของลูกค้าไว้ และจะมีพนักงานคอยตรวจสอบข้อมูลของลูกค้า ออร์เดอร์ที่คุณสั่งก็จะอยู่ในมือของโบรกเกอร์ เมื่อเราทำการซื้อขาย โบรกเกอร์ก็จะทำการจับคู่กับอีกฝั่งหนึ่งให้เรา

2.No Dealing Desk (NDD) คือ โบรกเกอร์ที่มีการส่งข้อมูล ด้านคำสั่งซื้อขายของเราเข้าไปที่ส่วนกลางโดยตรง โดยที่ไม่ผ่าน server หลักของทางโบรกเกอร์ก่อน สามารถแยกย่อยได้อีก คือ

  • Straight Through Processing (STP)3 คือ การประมวลผลโดยตรง
  • Electronic Communication Network4 + Straight Through Processing   (ECN+STP) คือ ระบบอัตโนมัติเพื่อเก็บคำสั่งซื้อที่ตรงกัน + การประมวลผลโดยตรง

ซึ่งในบทความนี้จะขอเจาะประเด็นแต่เพียง NDD นะครับ เนื่องจากประเภทอื่นๆได้เขียนอย่างละเอียดไว้ในหัวข้อนั้นๆแล้วครับ ลองคลิกอ่านดูได้ เพราะถ้ารวมกันไว้ที่นี้หมด หน้าเว็บจะยาวไป คนอ่านคงตาลายครับ..หุหุ

โบรกเกอร์  No Dealing Desks (NDD) คืออะไร

NDD มีความหมายว่าโบรกเกอร์ที่มีการส่งข้อมูล ด้านคำสั่งซื้อขายของเราเข้าไปที่ส่วนกลางโดยตรง โดยที่ไม่ผ่าน server หลักของทางโบรกเกอร์ก่อน (ไม่ส่งคำสั่งซื้อขายของลูกค้าผ่านเคาน์เตอร์จัดการ คือ ไม่ผ่านห้องตรวจสอบข้อมูลของลูกค้า) ซึ่งหมายความว่าโบรคเกอร์นั้นไม่ได้หาผลประโยชน์ทางด้านอื่นในการเทรดของลูกค้าเลย ที่โบรคเกอร์ทำก็เพียงแค่เชื่อมโยงทั้งสองฝ่ายเข้าด้วยกันเท่านั้น

โบรกเกอร์ NDDs จึงเป็นเหมือนผู้สร้างสะพานเชื่อมต่อระหว่างสองที่ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายโดยตรง โดยโบรกเกอร์ NDDs จะมีรายได้จากการเรียกเก็บค่านายหน้าที่มีขนาดเล็กมากสำหรับแต่ละการซื้อขาย หรือคิดแค่ค่าสเปรดเพียงเล็กน้อย

แต่…ลักษณะของโบรกเกอร์ประเภทนี้ส่วนใหญ่จะมีสเปรดที่ไม่คงที่และอาจจะมีค่าคอมมิชชั่น แล้วค่าบริการต่างๆที่อาจจะมีราคาสูงกว่าแบบ DD ครับ


โบรกเกอร์  No Dealing Desks (NDD) คืออะไร forex

ถ้าเป็นแบบนี้จะเลือกโบรกเกอร์ประเภทไหนดี?

โบรกเกอร์แต่ละประเภทก็จะมีข้อดี-ข้อเสีย ที่แตกต่างกันออกไป เราจึงควรเลือกให้ตรงกับความต้องการของเราอย่างแท้จริง หรือประเมินจากการยอมรับได้ด้วยเหตุผลเฉพาะตัวของเราเอง อย่างเช่น ประเภท DD ก็จะมีค่าบริการที่ค่อนข้างถูกและสเปรดคงที่ และประเภท NDD ก็จะมีค่าบริการค่อนข้างสูงกว่าแต่ก็ได้รับบริการที่สูงกว่า และความปลอดภัยที่มากกว่า มาชดเชยครับ

แต่อย่างไรก็ตามเราก็ควรต้องเข้าไปดูเงื่อนไขของโบรกเกอร์แต่ละบริษัทด้วยนะครับว่าเป็นอย่างไร และมีความน่าเชื่อถือสูงไม เพราะบางทีโบรกเกอร์บางบริษัทในรูปแบบประเภท DD อาจจะมีความน่าเชื่อถือกว่าโบรเกอร์บางบริษัทที่เป็นประเภท NDD ด้วยซ้ำไปครับ

ปัจจุบันนี้ มีโบรกเกอร์ต่างๆมากมายเกิดขึ้นทำให้มีการแข่งขันกันอย่างมาก ดังนั้น โบรกเกอร์ต่างๆก็พยายามทำให้ตัวเองมีข้อดี มีจุดเด่นเยอะๆ เพื่อที่จะดึงดูดลูกค้า และถ้ามีข้อเสียมากเท่าไหร่ลูกค้าก็จะยิ่งมีน้อยลงไปเท่านั้น เพราะเดี๋ยวนี้การสมัครโบรกเกอร์ ตลอดจนกระทั่งการยืนยันตัวตนนับเป็นเรื่องง่าย ๆ แล้ว

ลูกค้าเมื่อเห็นว่าโบรกไหนไม่เวิร์คก็สามารถเปลี่ยนใจไปใช้อีกโบรกได้โดยใช้เวลาไม่นาน เป็นสาเหตุให้โบรเกอร์ส่วนใหญ่จะไม่โกงหรือเอาเปรียบลูกค้าแบบโต้งๆหรอกครับ เน้น !.. แค่ส่วนใหญ่เท่านั้นเองนะครับ ถ้าคุณโชคร้ายไปเจอส่วนน้อย ก็รีบเปลี่ยนซะครับ….^_^
โบรกเกอร์  No Dealing Desks (NDD) คืออะไร forex

ประโยชน์ของการเลือกโบรกเกอร์  No Dealing Desks (NDD)

1.ส่งคำสั่งซื้อขายได้อย่างรวดเร็ว

ประโยชน์ข้อแรกของการใช้ NDD คือ เราสามารถทำคำสั่งซื้อหรือขายไปได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งความเร็วตรงนี้มีผลโดยตรงต่อการเทรด forex เพราะยิ่งถ้าเป็นช่วงที่ตลาดมีการแกว่งตัวแรงๆ ถ้าเราสามารถเข้าไปเทรดได้ทัน นั่นหมายความว่าเราสามารถทำเงินและทำกำไรได้เร็วกว่ามากกว่า หรือรีบตัดการขาดทุนได้เร็วกว่าโบรกเกอร์ที่ไม่ใช่ NDD ครับ

2.ได้ราคาที่ใกล้เคียงกับราคาจริง

ข้อนี้จะมีส่วนสำคัญช่วยให้เรานั้นสามารถเลือกกลยุทธ์ในการทำการตลาดได้ง่ายยิ่งขึ้น อันเนื่องมาจากราคาที่มีความใกล้เคียงกับราคาจริงมากๆนั่นเอง ถ้าเป็นโบรกเกอร์ที่ไม่ใช่เป็นแบบ NDD แล้ว ก็อาจจะไม่สามารถทำลักษณะแบบนี้ได้  คำว่าราคาที่ใกล้ความจริง หมายความว่า ตลาดกลางจริง ๆ ซึ่งถ้าหากเราเปิดราคาของค่าเงินแต่ละที่ก็จะมีควาแตกต่างกันครับ เพราะว่าแต่ละ Broker ได้บวกค่าดำเนินการและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ไว้แล้ว หรือแม้แต่ธนาคารเวลาเราไปรับแลกเงินก็จะมีเหตุการณ์อย่างนี้ด้วยเช่นกัน 

3.ค่าเสปรดมีการแกว่งตัวหลายแบบ

ข้อดีต่อมาคือเรื่องของค่า สเปรดที่มีการแกว่งตัวหลายแบบขึ้นอยู่กับลักษณะ และช่วงเวลาของการเทรด หลักการง่ายๆคือ ถ้าช่วงเวลาดังกล่าวมีผู้เข้าทำการเทรด forex ในคู่เงินนั้นน้อยๆ ก็จะทำให้ค่าตัวนี้มีราคาสูง แต่ในทางตรงกันข้าม ก็จะทำให้มีราคาต่ำเช่นกัน จึงสามารถประยุกต์ข้อมูลตรงนี้ในการวางแผนการเทรดได้ อย่างเช่น การชิพไปเทรดในคู่เงินที่มีสเปรดต่ำๆ ครับ หรืออาจจะมีทางเลือกรอให้ช่วง Spread ที่มีการแกว่งตัวลดลง เพราะว่า สาเหตุของการแกว่งตัวหลายรูปแบบของ Spread นั้นอาจจะมาจากข่าวของค่าเงินก็เป็นได้ครับ 

โบรกเกอร์  No Dealing Desks (NDD) คืออะไร forex

โบรกเกอร์ที่เป็นแบบโบรกเกอร์  No Dealing Desks (NDD) 

ปัจจุบันโบรคเกอร์ประเภท NDD มีมากมายผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด แต่เราจะขอหยิบยกมาให้ทุกท่านชมเพียงเล็กน้อย ได้แก่

  1. โบรกเกอร์ exness
  2. โบรกเกอร์ FBS
  3. โบรกเกอร์ instaforex
  4. โบรกเกอร์ forex4you

โบรกเกอร์  No Dealing Desks (NDD) คืออะไร forex

บทสรุป

จะเห็นว่าการเทรด forex นั้นหากเราเลือกโบรกเกอร์ประเภท โบรกเกอร์ NDD เราจะรู้สึกมีความมั่นใจกว่าการเลือกโบรกเกอร์ที่ไม่ใช่แบบนี้เนื่องจากว่า ทำให้เรารู้สึกว่าข้อมูลต่างๆนั้นจะไม่ถูกขโมยออกไป หรือว่าเอาไปเล่นตุกติกก่อน อาจเป็นผลที่ทำให้เราได้กำไรน้อยลง ทำให้มั่นใจได้ว่า ราคาซื้อขาย ของคุณ เป็นอิสระจากการแทรกแซง

ทำให้คุณสามารถจดจ่อกับการซื้อขายของคุณได้เป็นอย่างดี และสามารถ ส่งคำสั่งซื้อขายได้อย่างรวดเร็ว ได้ราคาที่ใกล้เคียงกับราคาจริง ซึ่งนี่ถือเป็นคำศัพท์อีกคำที่สำคัญมาก ดังนั้นก่อนเลือกโบรเกอร์อันไหน อย่าลืมดูรายละเอียดในแง่มุมต่างๆให้ชัดเจนด้วยนะครับ

ทีมงาน: forexthai.in.th

References

  1. investopedia.com, NDD, ที่มา: https://www.investopedia.com/terms/n/no-dealing-desk.asp สืบค้นเมื่อวันที่ 21/12/2019
  2. wikipedia.org,ECN Bridge ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/MT4_ECN_Bridge สืบค้นเมื่อ 21/12/2019
  3. wikipedia.org,Straight-Throught Process ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Straight-through_processing สืบค้นเมื่อ 21/12/2019
  4. wikipedia.org,ECN ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Electronic_communication_network สืบค้นเมื่อ 21/12/2019

แสดงข้อคิดเห็น ให้กำลังใจ

comments