Forexthai.in.th ย่อให้
- ข้อสังเกตโบรกเกอร์ Forex จริง ๆ คือ จะไม่โทรหาหรือ inbox ชวนลงทุน ไม่มีการรับประกันกำไรเกินจริง และไม่เร่งรัดให้โอนเงิน
- ตรวจสอบใบอนุญาตจากหน่วยงานกำกับดูแลที่น่าเชื่อถือ เช่น FCA, ASIC, NFA เพื่อยืนยันความน่าเชื่อถือ
- โบรกเกอร์จริงต้องมีการอธิบายค่าธรรมเนียมอย่างชัดเจน มีประวัติยาวนาน และมีรีวิวจากลูกค้าจริง
- ประเมินคุณภาพการบริการลูกค้าและระบบสนับสนุน เช่น ต้องมีระบบฝาก-ถอนที่ดี และ customer support ที่สามารถให้คำตอบที่ชัดเจน
- โบรกเกอร์ที่หลอกลวง มักจะอวดชีวิตหรูหรา และความสำเร็จของลูกค้า (ซึ่งเป็นพวกหน้าม้า)
“สวัสดีครับ ผมเป็นเจ้าหน้าที่จากโบรกเกอร์ยูเรี่ยนเอ็กซ์ และที่ปรึกษาการลงทุนจากประเทศไซปรัส… ปีนี้เพิ่งจะเปิดบริษัทโบรกเกอร์ในประเทศไทยเป็นเจ้าแรก เพื่อเป็นการฉลอง โบรกเกอร์ของเราเปิดโอกาสให้คนไทยลงทุนในโบรกเกอร์ของเรา เพียงลงเงินกับเรา 100,000 บาท ก็จะได้ผลตอบแทน 20,000 บาททุกเดือนเป็นเวลา 2 ปี ความเสี่ยงต่ำ กำไรงาม ถ้าสนใจโอนภายในวันนี้ เราจะเพิ่มโบนัสให้อีก 20% ทุก ๆ เดือน….”
ถ้าคุณเจอแบบนี้เข้าไปคุณจะรู้ได้ยังไงครับว่าเขาเป็นโบรกเกอร์จริง หรือ นักต้มตุ๋น?
สารบัญบทความ click เพื่อเลือกอ่าน !!
ข้อสังเกตุพฤติกรรมโบรกเกอร์ตัวจริง
- ข้อสังเกตที่ 1 คือ โบรกเกอร์จะ “ไม่” โทรมา หรือ inbox มาเพื่อชวนใครลงทุน
- ข้อสังเกตที่ 2 คือ นักต้มตุ๋นมักจะรับรองกำไรงาม ทั้งที่ความเป็นจริงการลงทุนไม่สามารถการันตรีผลตอบแทนได้ขนาดนั้น
- ข้อสังเกตที่ 3 คือ เร่งให้โอนเงิน
- ข้อสังเกตที่ 4 คือ นักต้มตุ๋นมักจะอวดการใช้ชีวิตที่ หรูหรา ไฮโซ ภาพลักษณ์ดี อวดว่าผู้ใช้บริการกับเขามากมายหลายคน (หน้าม้า)
- ข้อสังเกตที่ 5 คือ มักจะชอบอวดความสำเร็จของคนที่ใช้บริการกับเขา (หน้าม้า)
นี่เป็นเพียง 5 ข้อสังเกตง่าย ๆ ที่สามารถนำไปใช้คัดกรองโบรกเกอร์จริง ๆ กับ กลุ่มแก๊งนักต้มตุ๋นได้ แต่อย่างไรก็ตามปัจจุบันก็ยังมีอีกหลาย ๆ กลุ่มที่มีความแนบเนียนในการหลอกลวงโดยการอุปโลกน์โบรกเกอร์ปลอม ๆ ขึ้นมา… ทีนี่เราจะมีวิธีจับไต๋ หรือ ตรวจสอบโบรกเกอร์ เหล่านี้ยังไงล่ะ?
บทความนี้จะเบิกเนตรให้คุณได้ทราบถึง 4 สิ่งที่สามารถแยกแยะระหว่างโบรกเกอร์จริง กับ โบรกเกอร์ปลอม ออกจากกันได้ง่าย ๆ ครับ
1. หน่วยงานกำกับดูแลและการออกใบอนุญาต
ปัจจุบันมีหน่วยงานจดทะเบียนโบรกเกอร์ Forex โดยเฉพาะ หน่วยงานนี้มีหน้าที่ในการตรวจสอบกำกับดูแลโบรกเกอร์ให้เป็นไปตามระเบียบเพื่อป้องกันการทุจริต และฉ้อโกงในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การทำแชร์ลูกโซ่ เป็นต้น ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้จะมีข้อบังคับและกฎเกณฑ์ที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ทว่าโดยทั่วไปก็จะมีข้อกำหนดราว ๆ นี้ครับ
- การตรวจสอบงบการเงินประจำปี โดยผู้ตรวจสอบบัญชี
- การตรวจสอบเงินทุนหมุนเวียนของบริษัท
- การเก็บรักษาเงินทุนของลูกค้าที่ต้องแยกบัญชีต่างหากไม่ให้เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่าย, ภาระหนี้สินของบริษัท
- การตรวจสอบมาตรฐานการบริการ และการตรวจสอบข้อร้องเรียน
- เงื่อนไขการชดเชยกรณีที่โบรกเกอร์ประสบปัญหาทางหนี้สินหรือล้มละลาย
อย่างไรก็ตาม ณ ปี 2566 ประเทศไทยเรายังไม่อนุญาตให้ผู้ใดก่อตั้งและจดทะเบียนโบรกเกอร์ Forex ภายในประเทศได้ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าโบรกเกอร์ต่าง ๆ มันจะมีสำนักงานอยู่ต่างประเทศกันทั้งสิ้น เช่น ประเทศอังกฤษ, ประเทศออสเตรเลีย, ประเทศอเมริกา, ประเทศไซปรัส, และประเทศเบลิซ เป็นต้น
ด้วยเหตุนี้เอง หากใครพบเห็น หรือ ได้ข่าวว่า โบรกเกอร์ xxx มาบอกคุณว่าเป็นโบรกเกอร์ใหม่ที่จัดพึ่งจัดตั้งและทะเบียนในประเทศ ให้คุณมั่นใจ 99.9% ได้เลยว่าเขาตั้งใจมาหลอกเอาเงินในกระเป๋าของคุณครับ
เอาล่ะครับเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาเลือกโบรกเกอร์ผมจะขอสรุปข้อมูลหน่วยงานที่กำกับดูแล และออกใบอนุญาตให้โบรกเกอร์ต่าง ๆ รวมไปถึงเงื่อนไขที่เขากำหนดให้โบรกเกอร์ปฏิบัติตามแบบคร่าว ๆ ดังนี้
ชื่อหน่วยงาน | ชื่อประเทศ | ข้อกำหนดต่อโบรกเกอร์ |
FCA
(Financial Conduct Authority, United Kingdom) |
อังกฤษ |
|
ASIC
(Australian Securities and Investments Commission) |
ออสเตรเลีย |
|
NFA
(National Futures Association) |
อเมริกา |
|
CySEC
(Cyprus Securities and Exchange Commission) |
ไซปรัส |
|
FSC
(The Financial Services Commission) |
เบลิช |
|
ตารางข้างบนนี้เป็นเพียงหน่วยงานบางส่วนเท่านั้น ซึ่งยังมีอีกหลาย ๆ ประเทศที่มีหน่วยงานดูแลอยู่ เช่น ประเทศแคนาดาก็จะมีหน่วยงาน BCSC, OSC, CIPF เข้ามาดูแล หากเป็นประเทศญี่ปุ่นก็จะมี FFAJ และ FSA กำกับดูแลอยู่ หากเป็นประเทศสวิซเซอร์แลนด์เองก็มี SFDF, FINMA, ARIF ดูแลอยู่ เป็นต้น
ดังนั้นนักลงทุน หรือ เทรดเดอร์ควรจะค้นหาข้อมูลเหล่านี้และเช็คให้ชัวร์ก่อนที่จะเลือกใช้โบรกเกอร์นั่น ๆ ครับ
2. ต้นทุนการซื้อขายและค่าธรรมเนียม
โบรกเกอร์จริง ๆ จะสามารถอธิบายถึงค่าใช้จ่าย ๆ ต่างที่เทรดเดอร์จะต้องจ่าย เช่น
- ค่าธรรมเนียมการฝาก – ถอนเงิน
- ราคา bid – ask, ค่าสเปรด
- ค่าคอมมิชชั่นต่าง ๆ เป็นต้น
ถ้าหากเป็นไปได้แล้วล่ะก็เทรดเดอร์เองควรจะศึกษา และเปรียบเทียบข้อมูลเหล่านี้กับโบรกเกอร์อื่น ๆ เพื่อประโยชน์สูงสุดของเทรดเดอร์เองด้วยครับ หรือถ้าใครไม่อยากหาข้อมูลเอง ผมแนะนำเว็บไซต์ thaibrokerforex.com เค้าจัดอันดับไว้ค่อนข้างละเอียดมากเลยทีเดียว
3. ชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือ
ต้องบอกกันอย่างตรง ๆ เลยครับว่า ชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือมีผลอย่างมากที่จะบ่งชี้ว่าโบรกเกอร์ไหนเป็นของจริงของปลอม เนื่องจากโบรกเกอร์ที่ได้รับใบอนุญาตมาจริง ๆ เขาจะสามารถอยู่รอดในตลาดได้นานมาก ๆ สาเหตุมีหลายประการ ยิ่งถ้าโบรกเกอร์ไหนมีประวัติการก่อตั้งมากกว่า 10 ปี ก็ยิ่งน่าเชื่อถือเข้าไปใหญ่
อีกหนึ่งทางเลือกที่จะดูชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือ คือ บทความรีวิว ทั้งหลายแหล่ เพราะคนกลุ่มนี้สามารถวิพากษ์วิจารณ์โบรกเกอร์ได้อย่างอิสระ คุณจะรู้เลยว่านิสัยใจคอของโบรกเกอร์แต่ละเจ้าเป็นอย่างไร มีข้อดี ข้อเสียอย่างไร เป็นโบรกเกอร์เถื่อนหรือเป็นโบรกเกอร์แชร์ลูกโซ่หรือไม่ครับ
4. การบริการลูกค้าและการสนับสนุนลูกค้า
โบรกเกอร์จัดเป็นการบริการในรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รู้กันเมื่อใครทำธุรกิจให้บริการ คนนั้นต้องบริการ อำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้ลูกค้าด้วยความสมัครใจ ดังนั้นเว็บไซต์ของโบรกเกอร์ควรจะมี
- ระบบการฝาก-ถอนเงินที่ดี
- ระบบสมัครสมาชิกที่ง่ายและปลอดภัย
- ต้องมีแพลตฟอร์มการเทรดที่ได้มาตรฐานสากล
- ต้องมีคู่มือแนะนำการใช้งานเป็นขั้นเป็นตอน
- โปรโมชั่นหรือโบนัสที่ไม่ขายฝันเกินความเป็นจริง เป็นต้น
นอกจากนี้การสนับสุนลูกค้า หรือที่เราพูดกันติดปากคือ Customer Support นั่นเอง สิ่งนี้คือเสน่ห์อย่างหนึ่งของโบรกเกอร์ ที่จะทำให้ผู้คนตัดสินใจใช้บริการอยู่หรือควรย้ายเงินไปใช้โบรกเกอร์อื่นที่ดีกว่า เพราะเมื่อเกิดปัญหาใด ๆ ก็ตามที่เทรดเดอร์แก้ไขไม่ได้ เขาจะต้องสามารถติดต่อพูดคุยกับทีม Support ให้ช่วยแก้ไขปัญหานั้น ๆ ได้ตลอดเวลาง
ดังนั้นแล้ว มันจึงเป็น “จุดสังเกตที่เหล่าโบรกเกอร์ปลอม ๆ ที่หมายจะหลอกกินเงินในกระเป๋าผู้คนจะไม่มีสิ่งนี้อยู่ครับ”
สรุป
โบรกเกอร์บนโลกนี้มีมากมายนับร้อย แต่อาจจะมีเพียงไม่กี่สิบโบรกเกอร์เท่านั้นที่เป็นของจริง จุดจับสังเกตุ 4 ข้อใหญ่ ๆ ที่อธิบายข้างต้นสามารถเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถช่วยให้คุณคัดกรองโบรกเกอร์จริง ออกจากโบรกเกอร์ปลอม หรือดูว่าโบรกเกอร์เข้าข่ายนักต้มตุ๋นได้
และโปรดหลีกเลี่ยงกลุ่มคนที่มักจะชอบบอกคุณว่า “มาลงทุนกับเราไหม เพียงแค่ลงเงิน XX บาท ก็จะได้ผลตอบแทน XX บาท โดยไม่ต้องทำอะไร” สุดท้ายนี้ขอทิ้งทวนไว้แบบนี้ครับว่า
“เงินเป็นของคุณ มันไม่มีใครที่รักและดูแลได้ดีเท่าตัวคุณเอง ดังนั้นอย่าฝากความหวังเอาไว้กับใคร”
ทีมงาน: forexthai.in.th