






หากคุณกำลังมองหาโบรกเกอร์ที่มีจุดแข็งครอบคลุมทั้งเรื่อง “การศึกษา การเทรด และการใช้งานจริง” FBS ถือว่าเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว โดยเฉพาะสำหรับนักเทรดที่เพิ่งเริ่มต้น เพราะ FBS มีหลายองค์ประกอบที่ช่วยให้การเริ่มต้นไม่ยุ่งยาก และยังรองรับการใช้งานในไทยอย่างครบครัน
ข้อมูลสำคัญของ FBS
- ก่อตั้ง: ปี 2009
- ใบอนุญาต: FSC Belize, CySEC, ASIC
- เวลาฝากเงิน ทันที – 20 นาที
- เวลาถอนเงิน: 15 นาที – 1 ชั่วโมง
- Leverage สูงสุด: 1:3000 (สำหรับบัญชีที่มี Equity ไม่เกิน $200)
- ฝากขั้นต่ำ: 350 บาท
- ถอนขั้นต่ำ: 300 บาท
- Spread EUR/USD เริ่มต้น: 0.7-1.5 pips (บัญชี Standard)
- Stop Out: 20%
- VPS ฟรี: มี
- CopyTrade: มี
- มีทีมซัพพอร์ตภาษาไทย
เปิดบัญชี FBS ฟรี
เปิดบัญชีง่าย ใช้เวลาเพียง 5 นาที ไม่มีค่าธรรมเนียม
จุดเด่นที่ทำให้ FBS น่าใช้งาน
หนึ่งในสิ่งที่ FBS ทำได้ดีมาก และแตกต่างจากหลายโบรกเกอร์ คือ การให้ความรู้แก่เทรดเดอร์อย่างจริงจังและมีระบบ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายใด ๆ เพิ่มเติม ซึ่งเหมาะกับคนที่ต้องการ “พัฒนาทักษะการเทรดไปพร้อมกับการใช้งานจริง”
คอร์สเรียน Forex สำหรับมือใหม่ (ฟรี 100%)
FBS มีหมวด “การศึกษา” (Education) ที่รวบรวมเนื้อหาการเรียนรู้แบบเข้าใจง่าย ตั้งแต่ระดับเริ่มต้นจนถึงระดับกลาง เช่น
- พื้นฐานตลาด Forex คืออะไร
- วิธีใช้งาน MT4 / MT5
- การวิเคราะห์แนวโน้มราคา
- ความรู้เรื่องข่าวเศรษฐกิจและผลกระทบ
- การจัดการความเสี่ยง (Risk Management)
สิ่งเหล่านี้ถูกออกแบบให้ เรียนได้ด้วยตนเอง ผ่านบทความ วิดีโอ และแบบทดสอบ ที่อยู่ในเว็บหลักของ FBS โดยตรง
วิดีโอสอนเทรด + คลิปอัปเดตข่าวทุกสัปดาห์
FBS มีวิดีโอสั้นที่อัปเดตอยู่ตลอด เช่น
- สรุปข่าวเศรษฐกิจประจำสัปดาห์
- แนวโน้มตลาดรายวันและรายสัปดาห์
- บทวิเคราะห์คู่เงินเด่น เช่น EUR/USD, XAU/USD (ทองคำ)
- เทคนิคการเทรดตามแนวโน้มหรือเทรดแบบ Sideway
สิ่งนี้ช่วยให้เทรดเดอร์ ไม่ต้องเสียเวลาติดตามข่าวจากหลายแหล่ง เพราะ FBS สรุปไว้ให้ในจุดเดียว ทั้งภาพและเสียง เข้าใจง่าย เหมาะกับคนที่ไม่มีเวลาเยอะ

บทวิเคราะห์ตลาดรายสัปดาห์โดยผู้เชี่ยวชาญ
ทุกสัปดาห์ FBS จะอัปเดตให้ดังนี้ครับ
- บทวิเคราะห์ทางเทคนิค พร้อมภาพกราฟแนวโน้ม
- การวิเคราะห์ข่าวสำคัญ เช่น Non-Farm, CPI, ดอกเบี้ย FED
- การคาดการณ์พฤติกรรมราคา ในคู่เงินหลักและทองคำ
เนื้อหาเหล่านี้เขียนโดยผู้เชี่ยวชาญของ FBS ที่อัปเดตให้ฟรีในเว็บไซต์ โดยสามารถใช้เป็นแนวทางในการวางแผนเทรดได้ทันที
มีการแจก “สรุปข่าวประจำวัน” แบบกระชับ
สำหรับสายที่ต้องการ “ดูแค่ไฮไลต์” ไม่อยากอ่านยาว ๆ FBS มีการสรุปข่าวประจำวัน ที่บอกว่า:
- วันนี้มีข่าวอะไรสำคัญ?
- คู่เงินไหนมีความเสี่ยง?
- ตลาดน่าจะเคลื่อนไหวแรงช่วงไหน?
เหมาะสำหรับนักเทรดระยะสั้นที่ต้องการ “เข้า – ออก” ตามจังหวะข่าว
ระบบเซิร์ฟเวอร์เทรดเสถียร ไม่มีรีโควต – เทรดได้แบบไม่สะดุด
หนึ่งในจุดเด่นที่ทำให้ FBS ได้รับความไว้วางใจจากนักเทรดจำนวนมากคือ ความเสถียรของระบบเทรด ที่เปิด-ปิดออเดอร์ได้อย่าง “รวดเร็วและแม่นยำ” แม้ในช่วงตลาดผันผวน และจากการทดสอบจริง พบว่า:
- การเปิดคำสั่งเทรดใช้เวลาเฉลี่ย เพียง 282 มิลลิวินาที
- ไม่มีอาการรีโควต (Requote) หรือคำสั่งล่าช้า
- ออเดอร์เข้าทันทีโดยไม่มีการค้าง
สำหรับนักเทรดที่ใช้กลยุทธ์เร็ว เช่น Scalping หรือเทรดช่วงข่าว ความเร็วและความแม่นยำของคำสั่งคือ “หัวใจสำคัญ” และแม้ในช่วงที่มีข่าวสำคัญ เช่น NFP หรือการปรับดอกเบี้ย:
- ค่า Spread ขยายเพียงเล็กน้อย เช่นจาก 11 จุด → สูงสุดแค่ 23 จุด
- ยังคงเปิด-ปิดออเดอร์ได้ตามปกติ
- ไม่มีอาการแพลตฟอร์มล่มหรือดีเลย์หนัก ๆ แบบโบรกเกอร์อื่น
นั่นหมายความว่า FBS เหมาะมากสำหรับ “เทรดเดอร์ที่ไม่อยากพลาดโอกาสสำคัญ” ในช่วงข่าวแรง
ความนิยมสูงในไทยและต่างประเทศ – แบรนด์ที่คนรู้จักทั่วโลก

FBS ไม่ใช่แค่โบรกเกอร์เล็ก ๆ ที่คนไม่รู้จัก แต่เป็นแบรนด์ที่มี ฐานลูกค้าแน่น ทั้งในไทยและระดับสากล และยังมีตัวตนที่ชัดเจนในโซเชียลมีเดียหลายช่องทาง
ความนิยมระดับโลก
- มีลูกค้ามากกว่า 27 ล้านบัญชี ทั่วโลก (ข้อมูลปี 2022)
- ผู้เข้าเว็บไซต์ com เฉลี่ย 436,000 ครั้ง/เดือน
- แอปเทรด FBS ถูกดาวน์โหลดมากกว่า 10 ล้านครั้ง บน Google Play
- รีวิวแอปสูงถึง 5 ดาว จากผู้ใช้งานกว่า 97,000 คน
ตัวเลขเหล่านี้สะท้อนว่า FBS ไม่ใช่แค่ “มีคนใช้งาน” แต่ มีคนใช้งานอย่างต่อเนื่องและพึงพอใจ
ความนิยมในประเทศไทย
FBS เริ่มทำตลาดไทยตั้งแต่ปี 2012 และปัจจุบันถือเป็นหนึ่งในโบรกเกอร์ที่ “มือใหม่ชาวไทย” นิยมใช้งานสูงที่สุด
- มีทีมซัพพอร์ตภาษาไทย
- เพจ Facebook ภาษาไทย “FBS Thailand” มีผู้ติดตามกว่า 302,000 คน
- ช่อง YouTube ภาษาไทย มีผู้ติดตามมากกว่า 147,000 คน
- มีคอนเทนต์และการสื่อสารที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมไทย
- ปริมาณผู้เข้าชมเว็บ FBS Thailand เฉลี่ย เกือบ 5,000 ครั้ง/เดือน
นี่แสดงให้เห็นว่า FBS ไม่ได้เป็นแค่โบรกเกอร์ต่างประเทศที่เข้ามา “เปิดตลาด” ในไทยเท่านั้น แต่เป็นโบรกที่มีฐานลูกค้าชาวไทยจำนวนมาก และพร้อมรองรับการใช้งานจริงในทุกมิติ
ข้อมูลเชิงเทคนิคที่เทรดเดอร์ต้องรู้
การเทรด Forex หรือสินทรัพย์อื่น ๆ ไม่ใช่แค่เรื่องของการเปิดกราฟแล้วกดซื้อ-ขายเท่านั้น แต่เบื้องหลังการเทรดที่ประสบความสำเร็จมักมี “ความเข้าใจในข้อมูลเชิงเทคนิค” ที่แม่นยำรองรับอยู่เสมอ
โดยเฉพาะเทรดเดอร์ที่ต้องการเทรดอย่างมืออาชีพ หรือหวังผลในระยะยาว จำเป็นต้องเข้าใจองค์ประกอบต่าง ๆ อย่างรอบด้าน… หัวข้อเหล่านี้คือแกนกลางของการวางแผนการเทรด เช่น
- ประเภทบัญชี และค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้อง
- เงื่อนไขการใช้ Leverage และความเสี่ยงที่ตามมา
- ค่า Spread, Slippage และ Swap ที่ส่งผลต่อต้นทุนจริง
- ความเร็วในการส่งคำสั่งเทรด (Execution Speed)
- ระบบฝากถอนเงิน รวมถึงค่าธรรมเนียมที่ซ่อนอยู่
- รวมถึงระบบจัดการความเสี่ยง (Risk Management) ที่ช่วยรักษาเงินทุน
ในบทความนี้ เราจะพาคุณเจาะลึกทุกประเด็นให้เข้าใจง่าย เหมาะสำหรับทั้งมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้น และเทรดเดอร์ที่อยากพัฒนาทักษะในระดับที่สูงขึ้น
ประเภทบัญชีและค่าธรรมเนียมการเทรด

บัญชี Standard ของ FBS เป็นบัญชีประเภทเดียวที่เปิดให้บริการในปี 2025 หลังจากบริษัทปรับลดจำนวนบัญชีเพื่อให้ใช้งานง่ายและบริหารจัดการได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
สเปรด (Spread) สำหรับบัญชีนี้เริ่มต้นที่ประมาณ 0.7 pip ในบางคู่เงิน แต่โดยเฉลี่ยแล้วจะอยู่ระหว่าง 1.1 ถึง 1.5 pip ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับกลางของตลาด
ไม่มีค่าคอมมิชชัน (Commission = 0) ทำให้เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการคำนวณต้นทุนซับซ้อน และเน้นการเทรดในจำนวนครั้งไม่ถี่เกินไป เช่น สายเทรดตามเทรนด์ หรือเทรดรายวัน (Swing Trading)
ประเภทบัญชี | สเปรดเริ่มต้น | ค่าคอมมิชชั่น | เหมาะสำหรับ |
---|---|---|---|
Standard | 0.7 pip | ไม่มี | มือใหม่, เทรดเดอร์ทั่วไป, เน้นใช้งานง่าย |
Cent (ยกเลิกในไทยแล้ว) | จาก 1 pip | ไม่มี | ผู้เริ่มต้นที่ต้องการฝึกเทรดด้วยเงินจริงจำนวนเล็กน้อย |
ECN (บางประเทศยังมี) | เริ่มที่ 0 pip | $6 ต่อรอบ (1 ล็อต) | เทรดเดอร์มืออาชีพ, สาย Scalping หรือเทรดความเร็ว |
Zero Spread (เลิกให้บริการทั่วไป) | 0 pip | สูงถึง $20 ต่อรอบ | เทรดเดอร์ที่ต้องการราคาตลาดตรง ไม่มีสเปรด |
Leverage และเงื่อนไขการใช้งาน
Leverage คือเครื่องมือที่ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถเปิดออเดอร์ใหญ่กว่าทุนจริง เช่น Leverage 1:3000 หมายถึง คุณสามารถควบคุมออเดอร์ได้มากถึง 3,000 เท่าของเงินในบัญชี
FBS ถือว่าเป็นหนึ่งในโบรกเกอร์ที่ให้ Leverage สูงที่สุดในตลาด โดยเฉพาะระดับ 1:3000 ที่เปิดให้ใช้งานจริงกับบัญชีใหม่ที่มียอดเงินไม่เกิน $200
ประเภทบัญชี | สเปรดเริ่มต้น | ค่าคอมมิชชั่น | เหมาะสำหรับ |
---|---|---|---|
Standard | 0.7 pip | ไม่มี | มือใหม่, เทรดเดอร์ทั่วไป, เน้นใช้งานง่าย |
Cent (ยกเลิกในไทยแล้ว) | จาก 1 pip | ไม่มี | ผู้เริ่มต้นที่ต้องการฝึกเทรดด้วยเงินจริงจำนวนเล็กน้อย |
ECN (บางประเทศยังมี) | เริ่มที่ 0 pip | $6 ต่อรอบ (1 ล็อต) | เทรดเดอร์มืออาชีพ, สาย Scalping หรือเทรดความเร็ว |
Zero Spread (เลิกให้บริการทั่วไป) | 0 pip | สูงถึง $20 ต่อรอบ | เทรดเดอร์ที่ต้องการราคาตลาดตรง ไม่มีสเปรด |
ถ้ามันดีแบบนี้ ทำไมถึงมีการลด Leverage ตามยอดเงิน?
เพื่อควบคุมความเสี่ยงของทั้งผู้ใช้งานและระบบ FBS จึงกำหนดให้ Leverage สูงสุดลดลงเรื่อย ๆ ตามยอด Equity (เงินในบัญชี) เพราะหากใช้ Leverage สูงเกินไปเมื่อมีเงินเยอะ จะทำให้ความผันผวนรุนแรงมากและอาจเกิดการล้างพอร์ตได้ง่าย
เงื่อนไข Spread และ Slippage
Spread (สเปรด) คือส่วนต่างระหว่างราคาซื้อ (Bid) และราคาขาย (Ask) ของสินทรัพย์ที่คุณเทรด เช่น คู่เงิน หรือทองคำ… สำหรับ FBS (บัญชี Standard) มีการคิดต้นทุนเทรดจาก “Spread อย่างเดียว” เพราะไม่มีค่าคอมมิชชันใด ๆ เพิ่มเติม
ในขณะที่ Slippage (สลิปเพจ) คือความคลาดเคลื่อนของราคาที่คุณสั่งซื้อขาย กับราคาที่ระบบเปิดออเดอร์จริง โดยทั่วไปจะเกิดขึ้นในช่วงข่าวแรง, ตลาดผันผวนหนัก, และ สภาพคล่องต่ำ
ในช่วงเวลาปกติของ FBS เกือบไม่มี Slippage ออเดอร์เปิดตรงจุดที่กดคำสั่ง แต่ในช่วงข่าวสำคัญ เช่น Non-Farm หรือการประกาศดอกเบี้ย Slippage อาจเกิดขึ้นเล็กน้อย แต่ยังถือว่า ไม่รุนแรง เมื่อเทียบกับโบรกเกอร์อื่นครับ
อย่างไรก็ตามเราพบว่าราคาบน FBS อาจ “กระโดด” หรือ “ไส้ยาวผิดปกติ” ในบางช่วง โดยเฉพาะ XAU/USD แต่มีบางกรณีที่ FBS คืนเงินให้ลูกค้า หากพิสูจน์ได้ว่าเกิดจากความผิดพลาดของระบบ
Swap และค่าธรรมเนียมถือออเดอร์ข้ามคืน
คู่เงินหลัก (Major Pairs) อย่าง USD/JPY ยังพอมี Swap ฝั่ง Long เป็นบวก ซึ่งน่าสนใจสำหรับสายถือยาว แต่คู่ที่มี “สองสกุลเงินดอกเบี้ยต่ำ” หรือ สกุลผันผวนสูง (เช่น GBP/JPY, ทองคำ หรือคริปโต) จะเจอ Swap ลบหนักมาก โดยเฉพาะ BTC/USD (คริปโต) – ค่าธรรมเนียม Swap สูงมาก และ ติดลบทั้งฝั่ง Buy และ Sell
คู่เงิน | Long Swap | Short Swap |
---|---|---|
EUR/USD | -6.39 USD | -1.56 USD |
USD/JPY | 4.20 USD | -14.27 USD |
GBP/JPY | -8.27 USD | -23.79 USD |
XAU/USD | -14.12 USD | -20.33 USD |
BTC/USD | -39.54 USD | -41.07 USD |
หมายเหตุ: ข้อมูลนี้คำนวณจาก 1 ล็อตมาตรฐาน (Standard Lot) และอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามสภาวะตลาดจริง

ความเร็วในการส่งคำสั่ง (Execution Speed)
ในช่วงไม่มีข่าว (เวลาปกติ)
- คำสั่งเฉลี่ยเปิดได้ภายใน 282 ms
- ไม่มีอาการหน่วง รีโควต หรือดีเลย์
- เหมาะกับการเทรดทุกสไตล์ ทั้ง Scalping, Day Trade และ Swing Trade
ในช่วงที่มีข่าวรุนแรง (ข่าวเศรษฐกิจใหญ่)
- ความเร็วเฉลี่ยอยู่ที่ 800–1,200 ms
- ถือว่ายังทำงานได้ดี เมื่อเทียบกับหลายโบรกที่อาจดีเลย์เป็นวินาทีหรือค้างออเดอร์
- อาจมี Slippage เล็กน้อย แต่ยังอยู่ในระดับที่ควบคุมได้
ประเภทคำสั่ง | ความเร็วเฉลี่ย |
---|---|
มีข่าวรุนแรง | ~800–1,200 มิลลิวินาที (ms) |
ไม่มีข่าว | ~282 มิลลิวินาที (ms) |
ระบบการฝาก-ถอนเงิน และค่าธรรมเนียม

ช่องทาง ธนาคารไทย
- รองรับ QR Code, กสิกร, กรุงศรี, กรุงเทพ
- ฝากขั้นต่ำเพียง 350 บาท
- ถอนขั้นต่ำเพียง 300 บาท
- ความเร็วดีมาก – ฝากเงิน QR ได้เงินทันที / ถอนเข้าธนาคารไทยไม่เกิน 1 ชม. (เคยทดสอบจริง กสิกร: 1 ชม. 13 นาที)
ข้อควรระวัง: ถึงจะไม่มีค่าธรรมเนียมถอนแบบตรง ๆ แต่ FBS มี “เรทการแลกเปลี่ยนที่เสียเปรียบ” ทำให้คุณขาดทุนเฉลี่ยประมาณ 1.88% แม้ยังไม่เริ่มเทรด!
ช่องทางคริปโต
- รองรับ USDT (TRC20, ERC20), BTC, ETH, USDC และอื่น ๆ
- ไม่มีเพดานสูงสุดในการฝากถอน
- ไม่มีค่าธรรมเนียมในการถอน (0%) แต่ค่าฝากขึ้นอยู่กับ Network Fee แต่ละบล็อกเชน
- เหมาะกับผู้ที่มีเหรียญคริปโตอยู่แล้ว และต้องการฝากถอนโดยไม่มีค่าธรรมเนียมแอบแฝง
ช่องทางฝากถอน | ระยะเวลาดำเนินการ | ค่าธรรมเนียม |
---|---|---|
ธนาคารไทย (QR, กสิกร, กรุงเทพ, กรุงศรี | ฝาก: ทันที – 20 นาที ถอน: 15 นาที – 1 ชม. | ฝาก: ไม่มี ถอน: เฉลี่ยขาดทุนจากเรท ≈ 1.88% |
คริปโต (USDT, BTC, ETH ฯลฯ) | ฝาก: 15–20 นาที ถอน: 15–20 นาที | ฝาก: ขึ้นกับค่าธรรมเนียมเครือข่าย ถอน: 0% |
บัตรเครดิต/เดบิต | ไม่รองรับสำหรับไทยในปี 2025 | - |
กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (Skrill, Neteller)* | *ยังไม่รองรับในไทยโดยตรง | - |
ระบบป้องกันความเสี่ยง (Risk Management)
ระบบป้องกันความเสี่ยงของ FBS ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้เทรดเดอร์ โดยเฉพาะมือใหม่ สามารถเทรดได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น แม้จะใช้ Leverage สูงก็ตาม โดยมีฟีเจอร์เด่นอย่าง Negative Balance Protection ที่จะปรับยอดเงินกลับเป็นศูนย์ทันทีหากพอร์ตติดลบ ช่วยป้องกันไม่ให้เป็นหนี้โบรกเกอร์ อีกทั้งยังมีระบบแจ้ง
เตือน Margin Call ที่ 40% และปิดออเดอร์อัตโนมัติเมื่อถึง Stop Out ที่ 20% เพื่อหยุดความเสียหายก่อนจะบานปลาย นอกจากนี้ยังมีการปรับ Leverage อัตโนมัติตามยอดเงินในบัญชี ซึ่งช่วยควบคุมความเสี่ยงได้อย่างชาญฉลาด และมีบทความให้ความรู้เรื่อง Money Management เพิ่มเติมอีกด้วย ถือเป็นโบรกเกอร์ที่ให้ความสำคัญกับ “การอยู่รอดในตลาด” ไม่แพ้การทำกำไรเลยครับ
การใช้ VPS และ EA ใน FBS
FBS รองรับการใช้งาน EA อย่างเต็มรูปแบบ ทั้งบนแพลตฟอร์ม MT4 / MT5 และสามารถใช้งาน VPS ฟรี ได้หากเข้าเงื่อนไข โดยระบบของ FBS ค่อนข้างเสถียร รองรับการรัน EA ได้ต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่เจอปัญหาคำสั่งค้างหรือรีโควต

เงื่อนไขการใช้งาน VPS ฟรีของ FBS
- ฝากเงินขั้นต่ำ $450 เข้าบัญชีเทรด
- เทรดอย่างน้อย 3 ล็อต/เดือน
- หลังครบเงื่อนไข กดขอใช้งานได้ที่ “โปรไฟล์ส่วนตัว” ในเมนู “VPS Hosting”
หากในเดือนใดคุณเทรดไม่ถึง 3 ล็อต ระบบจะ หักค่าบริการ $33 จากบัญชีของคุณโดยอัตโนมัติ
ถ้าบัญชีไม่มีเงิน ระบบจะ ปิด VPS อัตโนมัติ
ข้อดีของการใช้ VPS กับ EA บน FBS
- ใช้งานง่าย ไม่ต้องเฝ้ากราฟเอง
- มี Strategy Provider ให้เลือกเยอะ (เพราะคนใช้เยอะ)
- คัดลอกออเดอร์ได้แบบเรียลไทม์
- ไม่มีค่าธรรมเนียมแอบแฝง
ระบบ Copytrade ของ FBS เป็นยังไง
FBS เคยให้บริการแพลตฟอร์ม Copytrade ของตัวเอง โดยสามารถเลือกติดตามเทรดเดอร์ที่มีประวัติดี และคัดลอกการเทรดแบบเรียลไทม์ได้ แต่… “FBS ได้ประกาศยุติการให้บริการระบบ Copy Trade อย่างถาวร ตั้งแต่วันที่ 22 กันยายน 2022” โดยไม่ได้ระบุแผนว่าจะนำระบบกลับมาอีกในอนาคต
เหตุผลที่น่าจะเป็นไปได้
- อาจเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงด้านกฎหมายและใบอนุญาต
- ความซับซ้อนของระบบแบ่งผลกำไรและการบริหารความสัมพันธ์ระหว่างเทรดเดอร์กับผู้ตาม
- ต้องการโฟกัสกับระบบเทรดแบบปกติ และการให้ความรู้กับเทรดเดอร์มากกว่า
ข้อเสียของ FBS ที่คุณควรรู้ก่อนใช้งาน
แม้ว่า FBS จะมีจุดเด่นหลายด้าน ทั้งการใช้งานง่าย แหล่งความรู้เยอะ และระบบซัพพอร์ตที่เป็นมิตรกับคนไทย แต่ในขณะเดียวกันก็มีบางประเด็นที่คุณควร “รู้ล่วงหน้า” เพื่อวางแผนและบริหารความเสี่ยงให้ดียิ่งขึ้น ดังนี้
มีบัญชีเดียวให้เลือก – ไม่เหมาะกับทุกสไตล์การเทรด
FBS ปัจจุบันเปิดให้บริการเพียงบัญชี Standard เท่านั้น ไม่มีบัญชี ECN, Cent หรือ Raw Spread ให้เลือก ซึ่งทำให้บางกลยุทธ์ เช่น Scalping หรือลงทุนน้อยแบบฝึกฝน อาจไม่ตอบโจทย์เท่าที่ควร
ต้นทุนการเทรดทองคำสูงกว่าค่าเฉลี่ยตลาด
สำหรับสายเทรดทอง (XAU/USD) ต้องระวังเรื่องนี้เป็นพิเศษ เพราะค่า Spread เฉลี่ยอยู่ที่ 29.44 USD ต่อ 1 ล็อต ซึ่งสูงกว่าคู่แข่งรายใหญ่อย่าง Exness หรือ IC Markets ที่อยู่ราว ๆ 12–15 USD เท่านั้น
ค่าธรรมเนียมแฝงตอนฝากถอนสูงถึง 1.88%
แม้ระบบจะแจ้งว่า “ไม่มีค่าธรรมเนียม” แต่ความจริงคือคุณจะเสียเปรียบจาก เรทแลกเปลี่ยนตอนถอนเงิน ซึ่งทดสอบจริงแล้ว พบว่าขาดทุนประมาณ 1.88% โดยที่ยังไม่ทันได้เริ่มเทรด
กราฟบางช่วงมีความผิดปกติ (โดยเฉพาะช่วงข่าวแรง)
จากรีวิวผู้ใช้งานจริง มีบางกรณีที่พบกราฟราคา “กระโดดผิดปกติ” หรือ “ไส้เทียนผิดจากโบรกอื่น” โดยเฉพาะช่วงที่มีข่าวแรง ถึงแม้ FBS จะมีการคืนเงินให้ในบางเคส แต่ก็ยังเป็นจุดที่ต้องระวังหากคุณใช้กลยุทธ์ที่อ่อนไหวต่อจุดเข้า

ข้อมูลทีมบริหารไม่ชัดเจน
แม้ว่า FBS จะเป็นโบรกเกอร์ที่เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 2009 และมีลูกค้าทั่วโลกกว่า 27 ล้านราย แต่จุดที่ยังคงเป็นคำถามสำหรับเทรดเดอร์สายระมัดระวังคือ “ความโปร่งใสของทีมบริหาร” จากการตรวจสอบข้อมูลล่าสุด พบว่า…
- ผู้ที่ถูกระบุว่าเป็น CEO ปัจจุบันของ FBS คือ “Christos Kakourides” แต่ยังไม่มีการเปิดเผยประวัติส่วนตัว, สัญชาติ หรือการปรากฏตัวอย่างเป็นทางการในสื่อสายการเงินระดับโลก
- มีความ สับสนเกี่ยวกับผู้ก่อตั้ง บางแหล่งระบุชื่อเป็น Aaron Johnson (จาก LinkedIn), บางแห่งระบุเป็นคนไทยชื่อ Satthakarn Chuenkomol และอีกชื่อหนึ่งคือ Ali Heder ที่เคยมีบทบาทบริหารก่อนจะออกจากบริษัทในปี 2022
- เว็บไซต์ FBS ไม่มีหน้าข้อมูลทีมผู้บริหารอย่างเป็นทางการ แตกต่างจากโบรกเกอร์ชั้นนำอย่าง IC Markets หรือ Pepperstone ที่แสดงโครงสร้างบริษัทและผู้บริหารแบบโปร่งใส
ทำไมเรื่องนี้ถึงสำคัญ?
การรู้ว่า ใครคือผู้อยู่เบื้องหลัง และมีประวัติการทำงานแบบใด เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการวางใจลงทุน เพราะผู้บริหารที่มีตัวตนชัดเจนมักสะท้อนความโปร่งใส ความมั่นคง และการยอมรับในระดับสากล
ยิ่งในยุคที่มีโบรกเกอร์ผุดขึ้นมากมาย การที่โบรกเกอร์หนึ่ง “หลีกเลี่ยง” การแสดงตัวผู้บริหาร ก็อาจเป็นสัญญาณที่ทำให้นักลงทุนบางคน รู้สึกไม่มั่นใจ
ข้อสรุปจากผู้เชี่ยวชาญว่า FBS น่าใช้งานไหม?
คะแนนรีวิวรวม
7.22 จาก 10
จากมุมมองของผู้เชี่ยวชาญ FBS ถือเป็นโบรกเกอร์ที่ “น่าใช้งาน” สำหรับมือใหม่และเทรดเดอร์ทั่วไปที่มองหาแพลตฟอร์มที่ใช้งานง่าย มีแหล่งความรู้ครบ และระบบซัพพอร์ตที่เป็นมิตรกับคนไทย
จุดแข็งอยู่ที่ความเสถียรของระบบเทรด, การฝากถอนที่สะดวก และ Leverage สูงที่ยืดหยุ่น แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีข้อจำกัดบางจุด เช่น บัญชีที่เลือกได้น้อย, ค่าเทรดทองค่อนข้างสูง และข้อมูลองค์กรไม่เปิดเผยเท่าโบรกระดับสากล
ดังนั้น หากใช้ FBS ควรมีวินัยการเทรด และกระจายความเสี่ยงเพื่อความมั่นใจในระยะยาวครับ