IC Markets สำหรับเทรดเดอร์ที่เทรดมานานจนเชี่ยวชาญจะมุ่งเน้นในการหาโบรกเกอร์ฟอเร็กซ์ที่ดีๆ โดยจะพิจารณาดูทั้งด้านต้นทุนในการเทรด และเทคโนโลยีในการบริหารจัดการการเทรด เมื่อเอ่ยถึงความคุ้นเคยของบรรดานักเทรดกับโบรกเกอร์ฟอเร็กซ์ที่มาจากออสเตรเลีย แทบบอกได้เลยว่าไม่มีเทรดเดอร์ท่านไหนที่ไม่รู้จักโบรกเกอร์ IC Markets

IC Markets

โบรกเกอร์นี้ถือได้ว่าเป็นโบรกเกอร์ฟอเร็กซ์อันดับต้นๆ หรือ Top 5 ของโบรกเกอร์สัญชาติออสเตรเลีย เป็นโบรกเกอร์ที่ก่อตั้งด้วยหลักการที่ว่า โดยเทรดเดอร์เพื่อเทรดเดอร์” การให้บริการก็จะเน้นไปที่เทรดเดอร์ที่เทรดเป็นอาชีพ (active traders ) เทรดเดอร์ที่เทรดแบบเก็บสั้น (scalpers) หรือเทรดเดอร์มือใหม่ที่ต้องการมองหาเงื่อนไขหรือสิ่งแวดล้อมในการเทรดแบบมืออาชีพ

มีต้นทุนการเทรดไม่สูงและเข้าถึงได้ง่าย เพราะจุดยืนที่โบรกเกอร์นี้นำเสนอคือเชื่อมต่อช่องว่างระหว่าง ลูกค้ารายย่อยและลูกค้ารายใหญ่ (จำพวกสถาบันการเงิน) ด้วยการนำเสนอทางเลือกในการเทรดที่สมัยก่อนมีให้บริการเฉพาะเทรดเดอร์รายใหญ่ หรือเทรดเดอร์ที่มียอดเงินฝากสูงๆ เท่านั้น

IC Markets คืออะไร

IC Markets เป็นโบรกเกอร์ฟอเร็กซ์ที่จดทะเบียนในชื่อ International Capital Markets Pty Ltd. ปัจจุบันเป็นโบรกเกอร์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศออสเตรเลีย และเป็นโบรกเกอร์ที่เติบโตเร็วที่สุดติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลก IC Markets ตั้งขึ้นในปี 2007  ที่ Sydney ประเทศออสเตรเลีย และได้รับในอนุญาตดำเนินการให้บริการการเทรด Forex, CFDs, Futures จาก ASIC (Australian Securities and Investments Commission) และ FSA (Financial Financial Services Authority) ของ  Seychelless

VPS
ผู้สนใจ Forex สามารถศึกษารายละเอียด ได้ดังต่อไปนี้

โดยมีข้อมูลตามที่เว็บหลักบอกคือ โบรกเกอร์นี้ได้ประมวลผลการเทรดวอลลูมมูลค่ากว่า 646 พันล้านดอลลาร์ ในเดือนเมษายนปี 2019 โดยการให้บริการหรือสินค้าสำหรับเทรดเดอร์ก็จะเน้นไปที่เทรดเดอร์เริ่มต้นไปจนถึงเทรดเดอร์มืออาชีพ ถึงขนาดมีการโปรโมตว่า “ทางเลือกที่ต้องเลือก” สำหรับเทรดเดอร์ที่เทรดวอลลูมสูงๆ เทรดแบบเก็บสั้น หรือแม้แต่เทรดเดอร์ที่เทรดด้วยระบบเทรดอัตโนมัต (Algos หรือ EA)

เพราะมีศูนย์กลางข้อมูล เช่นที่ New York Equinix NY4 ที่มีการประมวลผลการเทรดกว่า 500,000 เทรดต่อวัน มีประเภทบัญชีสำหรับเทรดเดอร์เริ่มต้นไปจนถึงเทรดเดอร์มืออาชีพ หรือแม้กระทั่งเทรดเดอร์แบบ MAM/PAMM

IC Markets Web
IC Markets Web

ข้อดีของ โบรกเกอร์ IC Markets

  1. มีการแยกบัญชีลูกค้าต่างหากเพื่อความปลอดภัย กับธนาคารชั้นนำของประเทศ
  2. เป็นโบรกแบบ True ECN ที่มี Liquidity ระดับแบบเดียวที่พวกสถาบันการการเงินเทรด
  3. แพลตฟอร์มการเทรดมีทั้ง Metatrader 4/5 และ cTrader
  4. มีสินค้าให้เลือกเทรดหลากหลาย (ฟอเร็กซ์ สินค้าโภคภัณฑ์ ดัชนี พันธบัตร เงินดิจิทัล หุ้น ฟิวเจอร์)
  5. มี trading tools ฟรี (Trading Central, Autochartist, Advanced Ttrading Tools)
  6. มีสื่อการเรียนรู้และวีดีโอสำหรับการเรียนรู้มากมาย และอัพเดทอย่างต่อเนื่อง
  7. สำหรับเทรดเดอร์คนไทย สามารถฝากถอนผ่านธนาคารออนไลน์ไทยได้โดยตรง

ข้อเสียของโบรกเกอร์ IC Markets  

  1. การฝาก ทุนขั้นต่ำสำหรับการฝากครั้งแรก 200 ดอลลาร์ ซึ่งนับว่ามากเกินไปสำหรับเทรดเดอร์ที่ต้องการเริ่มต้น เพราะต้องการทดสอบเงื่อนไขการเทรดต่างๆ เช่น ต้นทุนการเทรด ความเร็วในการจัดการออเดอร์ เรื่องการถือออเดอร์ข้ามวัน เป็นต้น
  2. ไม่มีโปรโมชั่น (อาจเป็นเพราะโบรกเกอร์เองก็มั่นใจว่า ข้อเสนอหรือเงื่อนไขการเทรดดีพอไม่จำเป็นต้องมีโปรโมชั่นมาจูงใจลูกค้ามาก)

ความน่าเชื่อถือของ โบรกเกอร์ IC Markets

  • โบรกเกอร์ IC Markets ได้มีดำเนินการมานานตั้งแต่ปี 2007
  • ได้รับใบอนุญาตดำเนินการจาก ASIC ที่ถือได้ว่าเป็นหน่วยงานที่เข้มงวดมากในเรื่องของกฏระเบียบและการให้ใบอนุญาต (ดังนั้นเทรดเดอร์จึงสามารถมั่นใจและไว้วางใจได้)
  • มีแหล่ง liquidity providers กว่า 50 แหล่ง
  • เรื่องเงินทุนของลูกค้าแยกฝากไว้ที่ธนาคาร โดยที่ลูกค้า IC Markets (Australia) ก็จะแยกฝากไว้อยู่กับธนาคารแห่งชาติออสเตรเลีย (National Australian Bank – NAB) และธนาคาร Westpac ออสเตรเลีย (Westpac Banking Corporation) ส่วนลูกค้า IC Markets (Seychelles) แยกเงินทุนลูกค้าไว้ที่ Barclays Bank Seychelles
  • สินค้าให้เทรดมีหลากหลายทั้ง Forex, CFD, และ Futures
  • เรื่องของการดำเนินการคำสั่งหรือ Execution ทางโบรกเกอร์ได้ใช้ฮาร์ดแวร์แบบเดียวกันกับที่ใช้ในองค์กรขนาดใหญ่ และมีศูนย์ข้อมูลที่ NY4 และ LD5 ในนิวยอร์กและลอนดอน

 

การจดทะเบียนองค์กรควบคุมของโบรกเกอร์ IC Markets

  • ได้รับใบอนุญาตดำเนินการจาก ASIC (Australian Securities and Investments Commission) ของออสเตรเลีย ที่ถือว่าเป็นองค์กรที่เข้มงวดเป็นอย่างมากในเรื่องของกฏและการออกใบอนุญาต
  • ได้รับใบอนุญาตดำเนินการจาก FSA (Financial Services Authority) ของ Seychelless ในปี 2019

เกี่ยวกับค่าบริการการซื้อขายกับ IC Markets (สเปรด คอมมิชชั่น)

IC Markets ก็มีรูปแบบการคิดค่าธรรมเนียมการเทรดแบบโบรกเกอร์รายอื่นๆ คือ เป็นการคิดค่าธรรมเนียมจากสเปรดอย่างเดียว หรือเป็นการคิดค่าสเปรด บวกกับค่าคอมมิชชั่น (อย่าลืมว่ามีต้นทุนอีกอย่างที่เกิดขึ้นสำหรับการถือออเดอร์ข้ามวัน หรือที่เรียกว่า SWAP Fee ถ้าบัญชีที่คุณเปิดไม่ใช่บัญชีประเภท SWAP-Free ก็จะต้องมีต้นทุนเพิ่มขึ้นซึ่งเป็นเรื่องปกติของทุกโบรกเกอร์ฟอเร็กซ์) มีประเภทบัญชีเทรดดังนี้

  1. บัญชี Standard สำหรับ Metatrader 4/5 รวมต้นทุนการเทรดไว้ที่สเปรด เริ่มที่ 1.0 pip ไม่มีค่าคอมมิชชั่น
  2. บัญชี Raw Spread สำหรับ Metatrader 4/5 แยกต้นทุนการเทรดเป็นค่าคอมมิชชั่นและสเปรด สำหรับสเปรดถือว่าน้อยมากจะเริ่มจาก 0.0 pip เพราะเป็นราคาที่มาจากตลาดหรือ liquidity providers ต้นทุนก็ตกอยู่ที่ 7 ดอลลาร์ต่อการเทรด 1.00 ล็อต หรือ 1,000 ดอลลาร์ (การอ่านค่าคอมมิชชั่นท่านต้องอ่านให้ละเอียดเพราะบางโบรกเกอร์เช่น IC Markets ใช้คำว่า per lot per side อยู่ที่ 3.5 ดอลลาร์ หมายความว่า โบรกเกอร์จะคิดค่าคอมมิชชั่นทั้งจากการเปิดออเดอร์และการปิดออเดอร์นั้นๆ เช่นท่านเปิดเทรดล็อต 1.00 หรือ 1,000 ดอลลาร์ จะเกิดค่าคอมมิชชั่น 3.5 ดอลลาร์ แต่ถ้าท่านปิดออเดอรนั้นๆ ท่านก็จะเสียอีก 3.5 ดอลลาร์ นั่นหมายความว่าต้นทุนการเทรด 1.00 จะตกอยู่ที่ 7 ดอลลาร์ )
  3. บัญชี Raw Spread สำหรับ cTrader ต้นทุนอยู่ที่ 6 ดอล หรือสำหรับเปิดออเดอร์ 3.00 ดอล และปิดออเดอร์อีก 3.00 ดอลต่อออเดอร์โดยเปิดที่ล็อตมาตรฐาน 1.00 หรือออเดอร์ละ 1,000 ดอลลาร์ ถ้าเปรียบเทียบกันก็จะเห็นว่า cTrader Raw Spread นั้นถูกว่า Metatrader 4/5 Raw Spread

 Review Broker Forex

วิเคราะห์ วิจารย์ ข้อดี-ข้อเสีย ข้อมูลจากการเทรดด้วยบัญชีจริง โดยทีมงานหลายคน ...

บทสรุป รีวิว IC Markets

IC Markets เป็นโบรกเกอร์ชั้นนำ ทั้งด้านต้นทุนการเทรดและเทคโนโลยีในการเทรดที่ถือว่าดีมากๆ ที่บอกว่าเป็นเทคโนโลยีระดับเดียวกับที่เทรดเดอร์ระดับสถาบันการเงินเทรด มีการเสนอเงื่อนไขการเทรดผ่าน 3 ประเภทบัญชีหลักๆ คือ True ECN cTrader, True ECN Metatrader และ Standard ส่วนที่เป็น Metatrader ท่านสามารถเลือกได้ว่าจะเปิดเป็นบัญชีเทรดแบบ Metatrader 4 หรือ Metatrader 5

มีจุดเด่นที่เห็นมากมายเช่น ไม่มีค่าธรรมเนียมสำหรับบัญชี Standard และมีสเปรดต่ำโดยเริ่มที่ 1.0 ส่วนบัญชี ECN สเปรดอยู่ในระดับเดียวกับที่พวกสถาบันการเงินเทรดหรือน้อยมากๆ เป็นส่วนมาก เริ่มที่ 0.0 pip มีเรื่องการให้บริการ support 24/7 ให้เลือกหลายภาษา สำหรับคนไทยสามารถฝากถอนผ่านธนาคารออนไลน์ในไทยได้เลย (ในการฝากเข้าแทบจะทันที ส่วนการถอนไม่เกิน 24 ชั่วโมงทำการ ผมแนะให้ทำการถอนก่อน 8 โมงเช้าบ้านเราแล้วจะได้เงินวันนั้นตั้งแต่บ่ายโมงเป็นต้นไป ถ้าถอนหลังจาก 8 โมงเช้าท่านจะได้เงินวันทำการถัดไป)

มีสินค้าให้ลือกเทรดกว่า 236 ชนิด (Forex, Stocks, Commodities, Indices, Bonds และ Crytocurrency) แพลตฟอร์มสำหรับเทรดมีทั้ง Metatrader 4/5 และ cTrader สามารถเทรดทาง Windows, Mac, Web iOS หรือระบบ Android สำหรับเรื่องค่าคอมมิชชั่นในประเภทบัญชีที่แยกค่าสเปรดและค่าคอมมิชชั่นออกจากกัน ที่คิด 3.5 ดอลล่าร์/ลอต/ฝั่งนั้น ถ้าเราคิดรวมทั้งฝั่งเปิดและฝั่งปิดก็เท่ากับ 7 ดอลล่าร์ต่อลอต ซึ่งยังนับว่าน้อยกว่าโบรกเกอร์อื่นๆ ที่คิดเหมารวมทั้งสองฝั่งมาก จึงทำให้โบรกเกอร์นี้มีชื่อเสียงเป็นที่นิยมกันในเหล่านักเทรดมืออาชีพ

ทีมงาน: forexthai.in.th

แสดงข้อคิดเห็น ให้กำลังใจ

comments