Forexthai.in.th ย่อให้

  • แนวรับและแนวต้าน คือ เครื่องมือสำคัญในการวิเคราะห์ทางเทคนิค โดยแนวรับคือจุดที่ราคาไม่หลุดต่ำกว่านั้น ส่วนแนวต้านคือจุดที่ราคาไม่ผ่านขึ้นไป ทำให้เราสามารถคาดการณ์ทิศทางราคาได้
  • แนวรับแนวต้านแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ ตามความชันของกราฟ (Trendline) และตามแนวราบ (Horizontal line) ซึ่งแต่ละแบบมีจุดเด่นในการใช้งานต่างกัน
  • เครื่องมือที่ใช้หาแนวรับแนวต้านมีหลากหลาย ทั้งการวาดเส้นเอง เครื่องมือกำหนดตายตัว และ Indicator ต่างๆ เช่น Fibonacci, Moving Average
  • การเทรดโดยใช้แนวรับแนวต้านควรมองเป็น Zone และควรตั้ง Stop loss ให้เหมาะสม เพื่อจัดการความเสี่ยง

แนวรับ แนวต้าน คืออะไร?

เวลาที่เราดูทีวีหรือติดตามการวิเคราะห์จากนักลงทุนและนักวิเคราะห์จากสถาบันการเงินที่มีชื่อเสียง คำว่า “แนวรับ แนวต้าน” มักจะเป็นคำที่เราได้ยิน ได้เจอกันบ่อยๆ โดยเฉพาะในรายงานวิเคราะห์หุ้นต่างๆ ทั้งสองคำนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อการวางแผนและการใช้กลยุทธ์ในการเทรดทั้งหุ้นและ Forex

ดังนั้น เพื่อให้คุณมีความเข้าใจที่มากขึ้นเกี่ยวกับ 2 คำนี้ บทความนี้เราจะมาศึกษาถึงคำศัพท์สองคำนี้กันครับ


แนวรับ คืออะไร?

แนวรับ เปรียบเสมือนกำแพงที่คอยรองรับราคาไว้ เป็นเส้นที่ถูกลากขึ้นมาเนื่องจากราคาไม่สามารถทะลุผ่านลงไปได้ เช่น ถ้ามีแนวรับที่ 2.34535 แปลว่าราคามักจะไม่หลุดต่ำกว่าระดับนี้ ทำให้เราสามารถคาดการณ์ได้ว่าเมื่อราคาวิ่งเข้าใกล้ระดับ 2.34535 มักจะมีแรงซื้อเข้ามาดันราคาให้เด้งกลับขึ้นไป ทำให้เทรดเดอร์มักจะมองหาแนวรับเพื่อเปิดสถานะ Buy

แนวต้าน คืออะไร?

แนวต้านมีลักษณะตรงข้ามกับแนวรับ เป็นระดับราคาสูงสุดที่ราคามักจะไม่สามารถผ่านขึ้นไปได้ การลากเส้นแนวต้านนั้นใช้หลักการของเทรนด์ไลน์โดยลากผ่านยอดสูงสุด 3 จุด ตัวอย่างเช่น ถ้าราคาไม่เคยขึ้นเกิน 2.34535 เมื่อราคาปรับตัวขึ้นมาใกล้ระดับนี้ เทรดเดอร์ส่วนมากก็มักจะพิจารณาเปิดสถานะ Sell เพื่อทำกำไรจากการปรับฐาน ของราคา Sell ตามลงไป นั่นเองครับ

ประเภทของแนวรับแนวต้าน

การแบ่งประเภทของแนวรับแนวต้านที่จะนำเสนอนี้ มาจากประสบการณ์ตรงในการเทรด ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบหลัก คือ แนวรับแนวต้านตามความชันของกราฟ และแนวรับแนวต้านตามแนวราบ

1. แนวรับแนวต้านตามความชันของกราฟ (Trendline)

เรามาดูกันที่รูปแบบแรกก่อน สิ่งที่ต้องเข้าใจคือ แนวรับแนวต้านไม่จำเป็นต้องเป็นเส้นตรงในแนวราบเสมอไป อาจอยู่ในรูปของเทรนด์ไลน์ก็ได้ ซึ่งการใช้ Trendline เป็นแนวรับแนวต้านนั้นมีข้อดีคือ:

  • เพิ่มทางเลือกในการวิเคราะห์
  • สะท้อนพฤติกรรมราคาตามแนวโน้มได้ดี
  • เหมาะสำหรับตลาดที่มีเทรนด์ชัดเจนหรือแข็งแรง
เส้นแนวรับแนวต้าน
แนวรับแนวต้านใน Trendline

การใช้ Trendline เป็นแนวรับแนวต้านช่วยเพิ่มมุมมองในการวิเคราะห์ให้กว้างขึ้น ไม่จำกัดอยู่แค่การดูเส้นแนวราบ (Horizontal line) เพียงอย่างเดียว ที่สำคัญคือ เราต้องเปลี่ยนมุมมองจากการมองแนวรับแนวต้านเป็น “เส้น” ที่ราคาต้องสะดุดแน่นอน มาเป็นการมองเป็น “โซน” หรือ “บริเวณ” แทน

เหตุผลที่ต้องมองเป็นโซนเพราะในความเป็นจริง ราคามักไม่เคารพจุดราคาใดจุดราคาหนึ่งอย่างเป๊ะๆ แต่จะมีแนวโน้มที่จะกลับตัวในบริเวณใกล้เคียงกัน การมองเป็นโซนจะช่วยให้เราวางแผนการเทรดได้ยืดหยุ่นกว่า และควรตั้ง Stop Loss ให้ห่างจากโซนพอสมควร เพื่อป้องกันการถูกกำจัดสถานะด้วย False Break หรือการที่ราคาทะลุแนวเพียงเล็กน้อยก่อนกลับทิศทาง

2. แนวรับแนวต้านแบบเส้นตรง (Horizontal)

แนวรับแนวต้านแบบเส้นตรงเป็นรูปแบบที่วิเคราะห์ได้ง่าย และเป็นรูปแบบดั้งเดิมของการวิเคราะห์แนวรับแนวต้าน ตามรูปต่อไปนี้

แนวรับแนวต้าน
แนวรับแนวต้านแบบราบ

แนวรับแนวต้านแบบราบนี้ ใช้งานได้ไม่แตกต่างจากแนวรับแนวต้านแบบเทรนด์ไลน์ สิ่งที่ต้องระวังเกี่ยวกับการใช้งานแนวรับแนวต้านอย่างหนึ่ง คือ การใช้แนวรับแนวต้นเป็นแค่ Zone เช่นเดียวกัน จากรูปข้างต้นตอนท้าย ๆ จะเห็นว่า มันทะลุกรอบมาและสิ่งที่เราไม่ควรลืมเลยก็คือ การตั้ง Stop loss ในการเทรดแบบใช้แนวรับแนวต้าน

รูปแบบของแนวรับแนวต้าน

เราพูดถึงประเภทของแนวรับแนวต้านกันไปแล้ว เรามาพูดถึงประเภทของแนวรับแนวต้านกันบ้างกันดีกว่า หลายคนอาจจะไม่คิดว่า แนวรับแนวต้านอาจจะใช้ได้หลายรูปแบบ ดังต่อไปนี้

  1. รูปแบบของเครื่องมือประเภทวาดเอง – รูปแบบแนวรับแนวต้านของกลุ่มเครื่องมือที่ใช้ในกลุ่มนี้ได้แก่ Horizontal Line รูปแบบ Trend Line เครื่องมือประเภท Fibonnacci Retracement เครื่องมือประเภท Elliot Wave ก็สามารถใช้เป็นแนวรับแนวต้นได้
  2. รูปแบบกำหนดตายตัว – รูปแบบกำหนดตายตัว ของเครื่องมือได้แก่ รูปแบบราคา Price Pattern  ตัวอย่างของการเกิดรูปแบบ Double Top และ Double Bottom เราสามารถใช้รูปแบบของมันเป็นจุดแนวรับแนวต้าน หรือ รูปแบบหัวและไหล่ ในการกำหนดแนวรับแนวต้านของราคา รูปแบบกราฟแท่งเทียนบางประเภท หรือรูปแบบอื่น ๆ ซึ่งรูปแบบเหล่านี้ตายตัว
  3. รูปแบบ indicator – รูปแบบ indicator นั้นก็สามารถแยกย่อยเป็นอีก 2 รูปแบบย่อยได้แก่ รูปแบบของ indicator ประเภท oscillator และรูปแบบของ indicator ที่เป็น Trend Following เช่น  การใช้ Moving Average ในการสร้างแนวรับแนวต้าน เราสามารถใช้เส้น Moving Average ความเร็วที่แตกต่างกันสร้างแนวรับแนวต้านที่ 1 และที่ 2 ได้ หรือแม้แต่การใช้ Stochastic ในการวัดแนวรับแนวต้าน ผ่าน Overbought และ Oversold Zone ในการกำหนด ซึ่งสามารถทำได้เช่นกัน

รูปแบบของแนวรับแนวต้านที่กำหนด่มาดังกล่าว เทรดเดอร์มีหน้าที่จะต้องศึกษาและทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง เพราะว่า ถ้าหากเราศึกษาไม่ลึกในเครื่องมือใดแล้วเราจะเกิดความสับสนในการเทรด เราต้องใช้เครื่องมือจำเพาะเจาะจง และชำนาญ ไม่เปลี่ยนไปเปลี่ยนบ่อย จนทำให้ไม่เข้าใจอะไรจริงจังสักอย่าง

ประโยชน์ของ การรู้เรื่องเส้น แนวรับ แนวต้าน

  1. สามารถใช้หาจุดในการเปิดสัญญา Buy หรือ สัญญา Sell ได้อย่างง่ายๆ เพียงแค่ดูว่าราคาเข้าใกล้สู่เส้นแนวรับแนวต้านมากน้อยเพียงใด เป็นต้น แต่ว่าคุณอาจต้องใช้คู่กับอินดี้ตัวอื่นๆ ด้วยนะครับ ไม่ใช่ใช้แค่ตัวเดียวแล้วจบเลย
  2. ช่วยให้มองเห็นกรอบราคาของการวิ่งได้ ข้อดีประการต่อมาคือช่วยให้เรามองเห็นกรอบราคาของการวิ่งไปได้อย่างชัดเจน ตรงนี้เรามักจะลากทั้งเส้นแนวรับและเส้นแนวต้านควบคู่กันไปพร้อมๆกันนั่นเองครับ
แนวรับแนวต้านคืออะไร forex
แนวรับแนวต้าน

การหา indicator มาช่วยในการหาเส้นแนวรับและแนวต้าน

  1. คุณสามารถใช้ Fibonacci ในการหาเส้นแนวรับแนวต้านได้ด้วยเช่นเดียวกัน และสามารถทำนายกรอบแนวรับ แนวต้านได้ค่อนข้างแม่นยำมากๆเสียด้วย
  2. คุณสามารถใช้การลากเส้นเทรนไลน์ โดยการกำหนดยอด สูงสุดของราคา 3 จุดแล้วลากเส้น หรือ ยอดต่ำสุดของราคา 3 จุดแล้วลากเส้น เพื่อหาแนวรับแนวต้านก็สามารถทำได้
  3. ใช้เส้น MA ข้อนี้ง่ายที่สุดครับ คือการใช้เส้น SMA ในการหาแนวรับและแนวต้าน ซึ่งไม่น่าเชื่อว่ามืออีพมากมายบางทีก็ใช้แค่เส้น MA นี่ละครับ

สรุป

ตลอดการเทรด forex ของคุณ คุณไม่มีทางที่จะหนีได้เลยกับคำว่าแนวรับ และแนวต้าน ดังนั้น จงเตรียมพร้อมที่จะทำความเข้าใจและพร้อมที่จะศึกษาเรื่องของการใช้เครื่องมือหรือกลยุทธ์ใดๆ เพื่อการเขียนเส้นแนวรับและแนวต้านออกมาให้ได้ แล้วมันจะช่วยให้คุณเทรด forex ง่ายขึ้น มีความสะดวกขึ้นในการเทรด มากกว่าที่จะปฏิเสธ แน่นอนว่ามันไม่มีกลยุทธ์ใด ที่มีความยั่งยืน หรือเทรดได้ 100 % แต่ว่าสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เมื่ออยู่รวมกันก็จะทรงพลังมากขึ้น

Nakrob Seareechon

บรรณาธิการ/Web master

ปริญญาโทเศรษฐศาสตร์การเงิน พัฒนาระบบเทรดอัตโนมัติและพัฒนาเว็บไซต์ควบคู่การเทรดด้วยตนเอง

Krisorn Himmapan

Content Writer

ประสบการณ์เทรด Forex 12+ ปี จากพนักงานบริษัทสู่เทรดเดอร์อาชีพ เน้นกลยุทธ์ Long-term Trading

Nakrob Seareechon
บรรณาธิการ/Web master

ปริญญาโทเศรษฐศาสตร์การเงิน พัฒนาระบบเทรดอัตโนมัติและพัฒนาเว็บไซต์ควบคู่การเทรดด้วยตนเอง

อ่านประวัติเพิ่มเติม

Krisorn Himmapan
Content Writer

ประสบการณ์เทรด Forex 12+ ปี จากพนักงานบริษัทสู่เทรดเดอร์อาชีพ เน้นกลยุทธ์ Long-term Trading

อ่านประวัติเพิ่มเติม

ทีมงาน: forexthai.in.th

แสดงข้อคิดเห็น ให้กำลังใจ

comments

สารบัญบทความ