Forexthai.in.th ย่อให้

  • Money Management คือการวางแผนการเงินที่ไม่ใช่แค่การเทรด Forex แต่ยังสามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกเรื่องในชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการเงิน เช่น การออม การลงทุน เป็นต้น
  • Money Management ใน Forex นั้นเทรดเดอร์ควรใช้เงินเย็น, วางแผนการเทรด, กำหนด Stop-Loss และ Take Profit ทุกครั้งรวมถึงกระจายความเสี่ยง
  • ข้อดีของ MM คือ ช่วยควบคุมความเสี่ยง, เพิ่มโอกาสในการทำกำไร, ลดความเครียดและช่วยให้บรรลุเป้าหมายทางการเงิน
  • ข้อเสียของการไม่มี MM คือ เสี่ยงต่อการขาดทุนหนัก, เทรดแบบใช้อารมณ์, เกิดความเครียดและอาจล้มเลิกการเทรดไปในที่สุด

Money Management Forex

ในการเทรดแบบมืออาชีพ เทรดเดอร์ Forex ทั้งหลายควรมีจะมีกฎประจำตัวอย่างน้อย 3 ข้อนี้ครับ 1. กลยุทธ์การเทรดของตัวเอง 2. จิตวิทยาการลงทุน และสุดท้ายคือ 3. การใช้ “Money Management” ซึ่งในบทความนี้จะไปเจาะลึกกันในส่วนของ Money Management ในฉบับเทรดเดอร์ Forex ให้ละเอียดกันครับ


Money Management คืออะไรและทำยังไง?

  • Money Management แปลตรงตัวก็คือการบริหารจัดการเงิน พูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือการวางแผนการใช้เงิน ควบคุมรายรับรายจ่าย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของตัวเองครับ
  • ซึ่ง Money Management สามารถเอาไปประยุกต์ใช้ในกับทุกๆ เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเงิน ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือการเทรด Forex ด้วย (เรามักจะคุ้นเคยกับคำว่า MM)
  • ในเบื้องต้นการทำ Money Management แบบโดยรวมนั้นมีหลักการคร่าวๆ ดังนี้
    • กำหนดเป้าหมายทางการเงินของตัวเอง ว่าต้องการอะไร เช่น หารายได้เสริจากการลงทุน เป็นต้น
    • ต่อมาก็แบ่งเงินเป็นส่วนๆ ส่วนไหนใช้ทำอะไรต้องแบ่งให้ชัดเจน
    • จากนั้นก็ต้องมีการตรวจและประเมินผลลัพธ์อย่างสม่ำเสมอ ทำรายรับ-รายจ่าย ว่าเงินมันเพิ่มขึ้น ลดลงหรือเท่าเดิม
money management เบื้องต้น
การตั้งเป้าหมายทางการเงินของตัวเองเป็นสิ่งแรกของการ MM ว่าต้องการอะไร เช่น หารายได้เสริจากการลงทุน, วางแผนปั้นเงินเพื่อเกษียณ หรือหาเงินเที่ยวต่างประเทศ ซึ่งเป็นเป้าระยะสั้นหรือยาวก็ได้

การทำ Money Management กับ forex ให้ประสบความสำเร็จ

อย่างที่บอกไปว่าการทำ Money Management นั้นสามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกเรื่องที่มีเงินมาเกี่ยวข้อง ดังนั้นการเทรด Forex ก็สามารถทำ Money Management ได้เช่นกัน

1. วางแผนการเทรด

  • เริ่มต้นด้วยการใช้เงินเย็นในลงทุน (ไม่ใช่เงินเยนญี่ปุ่นนะครับ ฮ่าๆ) คือเงินที่ไม่มีความเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน เป็นเงินที่เก็บไว้เฉยๆ ไม่ได้ทำอะไร
    • ตั้งคำถามกับตัวเองว่า “คุณยอมรับการสูญเสียเงินนี้ได้ทั้งหมดไหม?” ถ้าคำตอบคือใช่ แสดงว่าเงินนั้นเอามาลงทุนได้ แต่ถ้าไม่ก็ไม่ควรเอามาลงทุนครับ
  • ต่อมาเทรดเดอร์ก็ต้องเริ่มมีแผนการเทรดแบบภาพรวมทั้งหมด เช่น
    • จำนวนเงินทุนสำหรับเทรด Forex โดยเฉพาะ
    • ระยะเวลาและรูปแบบกลยุทธ์การเทรดจะเป็นแบบสั้นหรือยาว เทรดสไตล์ที่ตัวเองถนัด
    • เจาะลึกมาอีกนิดโดยเลือกใช้ Leverage ที่เหมาะสมกับเงินทุนและกลยุทธ์เทรด
    • ใช้ขนาด Lot ให้เหมาะกับเงินทุน รวมถึงใช้ Stop Loss และ Take Profit ทุกครั้ง
2% rule
โดยทั่วไปแล้ว ค่า pip ของ 1 lot มาตรฐานในคู่เงินหลักจะเท่ากับ 10 ดอลลาร์สหรัฐฯ นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมตัวอย่างนี้ถึงใช้ 0.4 lots เพื่อคงอยู่ในระดับความเสี่ยง 50 pips 200$

2.ตั้งเป้ากำไร/ขาดทุนที่ชัดเจน

  • ขอเริ่มโดยการตั้ง Stop-Loss (SL) หรือ คำสั่งที่ช่วยปิด Order โดยอัตโนมัติ เมื่อราคาไปในทิศทางตรงข้ามกับที่เราคาดการณ์ไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้ขาดทุนมากกว่านี้
  • การตั้ง SL ก็ไม่ควรตั้งแบบมั่วๆ อีก มีหลักการในการ set ดังนี้
    • ใช้ แนวรับ-แนวต้าน, Trendline, เส้นค่าเฉลี่ยเป็นตัวกำหนดจุดวาง SL เพราะมันมีเหตุผลทางด้านราคามากกว่า
  • ส่วนการตั้ง Take Profit (TP) ก็คือคำสั่งปิด Order อัตโนมัติเหมือนกัน แต่เป็นกรณที่ราคาไปในทางที่เราคาดการณ์ไว้ เพื่อป้องกันความโลภ สามารถใช้หลักการเดียวกับ SL ในการตั้ง TP เพื่อโอกาสทำกำไรสูงสุด
หลักการ RRR
การใช้หลัก RRR เพื่อกำหนดกำไร/ขาดทุนให้ชัดเจน เช่น เทรดคู่เงิน AUDUSD คาดการณืไว้ว่าราคาจะขึ้น จึงเปิด Buy และกำหนด RRR ไว้ที่ 1:2 แปลว่าจะยอม SL ที่ 50 pips และ TP ที่ 100 pips เป็นต้น

3.ควบคุมอารมณ์ มีวินัย

  • หนึ่งในหลักการบริหารจัดการเงินก็คือการจัดการอารมณ์ของตัวเทรดเดอร์เอง เพราอารมณ์คือศัตรูอันดับ 1 ในการเทรด มากกว่าราคาที่พุ่งหรือดิ่งลงซะอีก
  • การที่เราจะควบคุมอารมณ์ได้นั้นต้องมีหลายปัจจัยเข้ามาช่วย เช่น
    • เริ่มต้นจากการใช้เงินเย็นมาลงทุน เห็นไหมครับว่าถ้าเราใช้เงินเย็น เราจะไม่กระวนกระวายเท่ากับใช้เงินที่จำเป็นมาเทรด
    • ทำตามแผนการเทรดและมีวินัยในการทำตามแผนเทรดอยู่เสมอ แม้บางครั้งจะขัดกับอารมณ์ก็ตาม
    • หาอะไรที่ทำให้จิตใจผ่อนคลายและทำให้เรามีสมาธิจดจ่อกับแผนการเทรดได้อย่างเต็มที่
    • เครื่องมือช่วยสำหรับการควบคุมอารมณ์คือการใช้ EA มาเทรดแทนเรา โดยเรา set ค่าต่างๆ ตามที่เราที่กำหนด ช่วยตัดอารมณ์จากการเทรดได้เยอะมาก
ประโยชน์ของการนำ EA มาช่วยเทรด
อีก 1 วิธีที่เทรดเดอร์นิยมใช้ในการควบคุมอารมณ์ในการเทรดคือ ใช้ EA ช่วยเทรด เพราะเนื่องจากจะ set ค่าคำสั่งเทรดต่างๆ ได้แล้ว ยังสามารถ Backtest ได้อีกด้วยว่า EA มีการเทรดที่มีประสิทธิภาพแค่ไหน

4.กระจายความเสี่ยง

  • การบริหารจัดการเงินทุนบางครั้งเราก็ต้องมีการกระจายความเสี่ยงในการลงทุนด้วย เพื่อไม่ให้ความเสี่ยงเกิดขึ้นกับสินทรัพย์ที่เราลงทุนเพียงอย่างเดียว โดยเน้นเลือกสินทรัพย์ที่ความสัมพันธ์เกี่ยวข้องต่ำ
    • ยกตัวอย่างเช่น เราเทรดคู่เงิน EURUSD ซึ่งถือว่าเป็นคู่เงินที่ผันผวนมาก เราอาจจะแบ่งเงินทุนอีกครึ่งนึงไปเทรดในสกุลเงินรองเช่น CADJPY ซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้องกับคู่แรกเลย
    • หรืออาจจะแบ่งไปเทรดพวกสินค้าโภคภัณฑ์อย่างทองคำ ที่ว่ากันว่าเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยก็ได้
การกระจายความเสี่ยง
การหาคู่เงินเพื่อเทรดกระจายความเสี่ยง ควรหาคู่เงินที่ไม่มีความสัมพันธ์กับคู่เงินที่เราเทรดอยู่ เช่น กำลังเทรด EURUSD และอยากกระจายความเสี่ยง ก็ไม่ควรเลือกสินทรัพย์ที่เกี่ยวกับสกุลเงิน EUR หรือ USD โดยตรง (ทางอ้อมไม่เป็นไร)

ข้อดีของการมี Money Management

การใช้ Money Management นั้นมีข้อดีอยู่แล้ว แต่เราจะจำแนกออกมาให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น ดังนี้ครับ

1.ควบคุมความเสี่ยง/เพิ่มโอกาสทำกำไร

  • การใช้ Money Management จะช่วยจำกัดการขาดทุนในการเทรดแต่ละครั้ง เนื่องจากการตั้ง SL ในการเทรด และป้องกันเงินทุนหมดจากการเทรดที่ขาดทุนรวมถึงยังสามารถทำให้เทรดเดอร์เทรดได้อย่างอุ่นใจขึ้น
  • และการมี Money Management ช่วยให้เทรดอย่างมีแบบแผน มีวินัย ตัดสินใจอย่างมีเหตุผล สิ่งเหล่านี้จะทำให้เพิ่มโอกาสและความมั่นคงในการทำกำไรในระยะยาว

2.ลดความเครียด

  • การมีแผนการเทรดและการบริหารเงินทุนที่ดี ช่วยลดความเครียด ความกังวล ได้เยอะมากๆ เพราะเราจะมีแผนรองรับกับเหตุการณ์ต่างๆ เสมอ
  • รวมถึงการมีวินัยต่อแผนการเทรดและการจัดเงินจะทำให้เป็นเทรดเดอร์มืออาชีพได้ไม่ยาก มีการควบคุมอารมณ์ที่มั่นคง ไม่โลภ ไม่กลัว เป็นต้น

3.บรรลุเป้าหมาย

  • อย่างที่บอกไปตอนต้นบทความว่า จุดประสงค์ของการทำ Money Mangement ก็เพื่อช่วยให้บรรลุเป้าหมายทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการสร้างรายได้ในระยะสั้นหรือยาว
ข้อดีของการมี Money Management
การมี Money Management ย่อมเป็นการดีกว่าสำหรับเทรดเดอร์ Forex เพราะสามารถลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสทำกำไรได้เต็มที่ รวมถึงเรื่องสุขภาพจิตที่ดี

ข้อเสียของการไม่มี Money Management

Money Mangement นั้นไม่มีข้อเสียหรอครับ แต่การไม่ทำ Money Management เนี่ย มีข้อเสียแน่นอนครับ

1.เงินทุนหาย เสี่ยงพอร์ตแตก

  • การไม่มี MM ก็เท่ากับเราเทรดแบบไม่มีแผนรองรับ ไม่มี Stop-Loss หรือไม่รักษาวินัย นั่นคือความเสี่ยงแบบ 100% ที่จะทำให้พอร์ตของเราโดนล้างสะอาด
  • รวมถึงการทุ่มเงินทั้งหมดลงทุนในครั้งเดียวไม่มีการกระจายความเสี่ยงใดๆ หากขาดทุนขึ้นมาก็เท่ากับว่าเงินหมดทันที

2.เทรดแบบใช้อารมณ์

  • เมื่อไม่มีแบบแผนและไม่มีการบริหารเงินทุนที่ดี อารมณ์ก็จะเข้ามามีส่วนร่วมในการเทรด ซึ่ง 2 อารมณ์หลักๆ ที่จะเกิดขึ้นคือ ความโลภและความกลัว
  • ความโลภ จะทำให้เรา Overtrade เทรดมากเกินไป หวังรวยเร็ว แต่สุดท้ายกลับขาดทุนหรืออย่างน้อยก็ติดดอยแน่นอน
  • ความกลัว จะทำให้ตัดสินใจผิดพลาด เช่น รีบปิด Order ทั้งที่ยังไม่ถึง Take Profit หรือตกรถเพราะกลัวจะขาดทุน

3.ความเครียด ถามหา

  • ผลกระทบตามมาเมื่อเราเริ่มใช้อารมณ์มาเทรดมากเกินไปคือ ความเครียด ความวิตกกังวล ส่งผลต่อสุขภาพจิตและอาจจะลามไปถึงสุขภาพร่างกายด้วย
  • แน่นอนว่าหากเราไม่มีการบริหารเงินทุนและวางแผนใดๆ เราก็อาจจะกลายเป็นเทรดเดอร์ที่นั่งเฝ้าจอตลอดทั้งวันทั้งคือ อดนอน จนสุดท้ายก็ฝืนต่อไม่ไหวเลิกเทรดไป
ข้อเสียของการไม่มี Money Management
ข้อเสียของการไม่มี Money Management คือเรื่องของสุขภาพจิตและความเครียด เพราะการเทรด Forex แบบปกติก็ว่ายากแล้ว การไม่มีการบริหารเงินทุนยิ่งเป็นความเสี่ยงแบบขั้นสุด

วิดีโอเกี่ยวกับ Money Management

การบริหารความเสี่ยงในการเทรดด้วยกฎ 2% เครดิต By Umar Ashraf Focus นาทีที่ 1:30-10:52

มีวิดีโอหนึ่งที่น่าสนใจมากครับ วิดีโอนี้ชื่อ “2% Risk Management Rule For Trading” โดย Umar Ashraf ซึ่งเป็นคลิปสอนเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงในการเทรดด้วยกฎ 2% ทีมงาน forexthai จึงอยากเอามาแชร์ให้ผู้อ่านทุกคนได้เห็นภาพการบริหารความเสี่ยงที่ชัดเจนขึ้น โดยมีเนื้อหาสรุปดังนี้

  • นาทีที่ 1:30 อธิบายเกี่ยวกับความจริงของการเทรดที่ต้องเผชิญ
  • นาทีที่ 3:45 กฎ 2% คือ เสี่ยงไม่เกิน 2% ของเงินทุนต่อการเทรด
  • นาทีที่ 6:10 ตัวอย่างการคำนวณ Position Sizing

สรุป

เห็นหรือยังครับว่าการมี Money Mangement นั้นสำคัญต่อการเทรด Forex มากแค่ไหน ในเมื่อการเทรด Forex ของแต่ละคนย่อมมีเป้าหมายที่ต้องการบรรลุอยู่แล้วใช่ไหมครับ ตัวช่วยหนึ่งที่จะทำให้เทรดเดอร์ได้บรรลุเป้าหมายก็คือเจ้า Money Mangement นี่แหละครับ มันจะเป็นตัววัดระหว่างเทรดเดอร์ที่ยังอยู่รอดในตลาดและเทรดเดอร์ที่ล้มเลิกไป

หวังว่าบทความนี้จะเป็นทั้งความรู้ ข้อคิดและอะไรก็ตามที่ทำให้เทรดเดอร์กลับมามองเห็นความสำคัญของการบริหารเงินทุนนะครับ ขอโชคดีในการเทรด Forex ครับ

VPS
ผู้สนใจ Forex สามารถศึกษารายละเอียด ได้ดังต่อไปนี้

ทีมงาน: forexthai.in.th

แสดงข้อคิดเห็น ให้กำลังใจ

comments

สารบัญบทความ