Forexthai.in.th ย่อให้

  • ระบบเทรด MA Crossover + Trend Line: เป็นระบบการเทรดตามเทรนด์ที่เหมาะกับทุกคู่เงินในตลาดไทม์เฟรม 1 ชั่วโมง
  • หลักการเทรดเบื้องต้น:  หาแนวรับแนวต้านจากการใช้เส้นแนวโน้มและใช้อินดิเคเตอร์ WMA และ SMA ช่วยคอนเฟิร์มการเทรดในทิศทางเดียวกับเทรนด์
  • เครื่องมือที่ใช้: เส้น SMA, เส้น WMA และ  เส้นแนวโน้ม
  • ข้อดี: เป็นระบบเทรดที่ใช้งานง่าย, มีผลตอบแทนสูง
  • ข้อเสีย: ต้องใช้ความชำนาญในการตีเส้นแนวโน้ม, มีความเสี่ยงสูง

ภาพปกระบบเทรด MA Crossover และ Trend Line

หลักการเทรดเบื้องต้น

ระบบเทรด MA Crossover + Trend Line เป็นระบบเทรดในไทม์เฟรม 1 ชั่วโมง โดยใช้การตัดกันของเส้น MA 2 ประเภทคือ WMA และ SMA บวกกับการใช้งานเส้นแนวโน้ม (Trend Line) ในการดูทิศทางของตลาดและเทรดตามเทรนด์  โดยระบบนี้ใช้ได้กับทุกคู่เงินในตลาด Forex

เครื่องมือที่ใช้เทรด

  1. เส้น WMA 24 (HL/2)
  2. เส้น SMA 24 (HL/2)
  3. เส้นแนวโน้ม

WMA  24 

อินดิเคเตอร์ WMA (Weigthed Moving Average)
ภาพอธิบายอินดิเคเตอร์ WMA (Weigthed Moving Average) และข้อดีของ WMA

WMA หรือเส้น Weigthed Moving Average เป็นเส้น MA ประเภทหนึ่งที่ให้น้ำหนักกับการคำนวณข้อมูลในปัจจุบันมากกว่าข้อมูลในอดีต โดยเป็นการคำนวณจากราคาของแท่งเทียนและเพิ่มน้ำหนักเข้าไปให้กับข้อมูล ทำให้เส้น WMA จะตอบสนองต่อราคาได้ไวมากกว่าเส้น SMA ซึ่งเส้น WMA 24 คือเส้น WMA ที่คิดค่าเฉลี่ยโดยใช้ 24 แท่งเทียน

การใช้งาน WMA

  • ใช้ดูแนวโน้มของตลาดโดยให้น้ำหนักที่ราคาปัจจุบัน
  • ใช้เป็นแนวรับแนวต้านแบบ Dynamic

SMA 24 

อินดิเคเตอร์ SMA (SimpleMoving Average)
ภาพอธิบายอินดิเคเตอร์ SMA (SimpleMoving Average) และข้อดีของ SMA ที่ดีกว่า MA ประเภทอื่น

SMA หรือเส้น Simple Moving Average เป็นเส้น MA ที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายโดยใช้ราคาปิดของแท่งเทียนมาคำนวณเพื่อแสดงเป็นเส้นที่ปรากฏอยู่บนกราฟราคา ซึ่งการคำนวณจากราคาปิดและใช้ข้อมูลในอดีตมาคำนวณทำให้เส้น SMA มีการตอบสนองต่อราคาช้ากว่าเส้น MA ประเภทอื่น ซึ่งเส้น SMA 24 คือเส้น SMA ที่คิดค่าเฉลี่ยโดยใช้ 24 แท่งเทียน

การใช้งาน SMA

  • ใช้ดูแนวโน้มของตลาดโดยให้น้ำหนักไปที่ราคาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
  • ใช้เป็นแนวรับแนวต้านแบบ Dynamic

Trend Line

เส้น Trend Line (เส้นแนวโน้ม)
ภาพอธิบายเกี่ยวกับเส้น Trend Line (เส้นแนวโน้ม) และรูปภาพการตีเส้นแนวโน้ม

เส้น Trend Line หรือเส้นแนวโน้ม คือเส้นที่ตีขึ้นโดยตีจากจุดที่ราคาเกิด Swing High หรือ Swing Low จุดแรกไปยังจุดที่ 2  โดยเส้นแนวโน้มที่มีความแข็งแรงและน่าเชื่อถือราคาจะมีการเกิด Swing Piont บริเวณที่เส้นถูกตีเอาไว้อย่างน้อย 2 ครั้งขึ้นไปครับ

วิธีการตีเส้นแนวโน้ม

  1. หาจุด Swing Piont (Swing Low หรือ Swing High)
  2. ใช้เครื่องมือตีเส้นตีจาก Swing Point จุดที่ 1  ไปหาจุดที่ 2
  3. ตียาวออกไปเพื่อใช้คาดการณ์หาจุด Swing Point จุดที่ 3

เงื่อนไขการเทรดขาขึ้น

เงื่อนไขการเทรดขาขึ้น

1. ตีเส้นแนวโน้มจาก Swing Low (1) ไปที่ Swing Low (2) ดูราคาจะต้องเกิด Higher Low (โครงสร้างตลาดขาขึ้น) ในกราฟ 1 ชม.

เงื่อนไขการเทรดขาขึ้น

2. รอราคากลับมาทดสอบที่เส้นแนวโน้มเพื่อให้เกิดเป็น Swing Low (3)

เงื่อนไขการเทรดขาขึ้น

3. เส้น WMA และ SMA ตัดกันขึ้น

เงื่อนไขการเทรดขาขึ้น

4. เปิดออร์เดอร์ BUY

เงื่อนไขการเทรดขาขึ้น

5. ตั้ง Stop loss 1%

เงื่อนไขการเทรดขาขึ้น

6. ตั้ง Take profit โดยใช้ RR 1:3

เงื่อนไขการเทรดขาลง

เงื่อนไขการเทรดขาลง

1. ตีเส้นแนวโน้มจาก Swing High (1) ไปที่ Swing High (2) ดูราคาจะต้องเกิด Lower High (โครงสร้างตลาดขาลง) ในกราฟ 1 ชม.

เงื่อนไขการเทรดขาลง

2. รอราคากลับมาทดสอบที่เส้นแนวโน้มเพื่อให้เกิดเป็น Swing High (3)

เงื่อนไขการเทรดขาลง

3. เส้น WMA และ SMA ตัดกันลง

เงื่อนไขการเทรดขาลง

4. เปิดออร์เดอร์ SELL

เงื่อนไขการเทรดขาลง

5. ตั้ง Stop loss 1%

เงื่อนไขการเทรดขาลง

6. ตั้ง Take profit โดยใช้ RR 1:3

ข้อดีและข้อเสียของระบบเทรด MA Crossover + Trend Line 

ข้อดีของระบบเทรด

ข้อดีของระบบเทรด MA Crossover และ Trend Line
ภาพอธิบายข้อดีของระบบเทรด MA Crossover และ Trend Line
  1. เป็นระบบเทรดที่เหมาะกับมือใหม่สามารถทำความเข้าใจได้ง่าย
  2. เป็นระบบเทรดที่มีความเสี่ยงต่อผลตอบแทนสูง สามารถทำกำไรได้ดี
  3. เป็นระบบเทรดที่ใช้ในไทม์เฟรม 1 ชั่วโมง ทำให้มีสัญญาณหลอกน้อย ความผันผวนต่ำ
  4. ช่วยให้นักเทรดมือใหม่ไม่เทรดสวนแนวโน้มของตลาด

ข้อเสียของระบบเทรด

ข้อเสียของระบบเทรด MA Crossover และ Trend Line
ภาพอธิบายข้อเสียของระบบเทรด MA Crossover และ Trend Line
  1. ระยะ Stop loss กว้างไม่เข้ากับโครงสร้างราคาทำให้มีความเสี่ยงสูง
  2. การตีเส้นแนวโน้มต้องใช้การฝึกฝนเพื่อให้เกิดความแม่นยำ
  3. บางออเดอร์ต้องถือข้ามเดือนทำให้เสียค่า Swap  มากเกินไป

คำแนะนำการใช้ระบบเทรด 

 คำแนะนำการใช้งานระบบเทรด
ภาพ 6 คำแนะนำการใช้งานระบบเทรดเพื่อให้นักเทรดนำระบบไปพัฒนาต่อยอด
  1. นักเทรดที่ใช้ระบบเทรดนี้ควรฝึกตีเส้นแนวโน้มให้เกิดความชำนาญและความแม่นยำ
  2. อาจจะใช้การวิเคราะห์หลายไทม์เฟรมเข้ามาช่วยในการดูภาพรวมตลาด
  3. การตั้ง Stop loss ควรตั้งให้เหมาะสมกับโครงสร้างราคาตลาดปัจจุบัน
  4. คำนวณความเสี่ยงในการเทรดให้ดี
  5. สามารถแบ่งปิดกำไรตามเป้าที่วางเอาไว้ได้เพื่อลดความเสี่ยง
  6. นำระบบไป Back Test และ Forward Test ก่อนใช้งานจริง

สรุป

ระบบเทรด MA Crossover + Trend Line เป็นระบบเทรดที่ใช้เทรดในไทม์เฟรม 1 ชั่วโมงกับคู่เงินใดก็ได้โดยอาศัยเส้นแนวโน้มและเส้น MA ในการดูทิศทางของตลาดและเทรดตามแนวโน้มที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทำให้เป็นระบบเทรดที่มีโอกาสที่จะทำกำไรได้ดี โดยระบบนี้มี RR สูงถึง 1:3 แต่ก็แลกมาด้วยระยะ Stop loss ที่กว้างทำให้มีความเสี่ยงสูงเช่นเดียวกัน สิ่งที่นักเทรดควรทำเมื่อใช้ระบบนี้ก็คือฝึกตีเส้นแนวโน้มเพื่อให้เกิดความแม่นยำมากขึ้น คำนวณความเสี่ยงในการเทรดให้ดี และสามารถปรับจุด Stop loss ให้เหมาะสมกับความเสี่ยงที่รับได้ครับ และสุดท้ายก่อนจะนำไปใช้งานจริงอยากให้ลองนำไป Back Test และ Forward Test  ในคู่เงินที่ต้องการเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปีครับ

ข้อมูลอ้างอิง

ทีมงาน: forexthai.in.th

แสดงข้อคิดเห็น ให้กำลังใจ

comments