Forexthai.in.th ย่อให้

  • Pennant Pattern คือ รูปแบบกราฟราคาที่เกิดขึ้น คล้ายธงสามเหลี่ยม เกิดจากการพักตัวก่อนราคาจะไปต่อในแนวโน้มเดิม
  • สามารถทำกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลง แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ Bullish (ขาขึ้น) และ Bearish (ขาลง)
  • ใช้ได้กับทุกคู่เงิน เกิดขึ้นบ่อยในกรอบเวลาสั้น ๆ
  • จุดเด่นคือ Stop Loss แคบ แต่เป้าหมายกำไรกว้าง ทำให้ Risk/Reward Ratio (RR) สูง
  • ข้อควรระวังในการใช้ คือต้องวิเคราะห์ RR ให้คุ้มค่าก่อนที่จะเข้าเทรด มีการจัดการความเสี่ยงเสมอ

Pennant Pattern สูตรลับทำกำไรด้วย ธงสามเหลี่ยม

Pennant Pattern เป็นรูปแบบต่อเนื่อง (Continuation Pattern) เกิดจากการพักตัวของแนวโน้ม ก่อนที่จะ “ไปต่อ” ในแนวโน้มเดิม ลักษณะคล้ายกับ Flags ธงที่กำลังปลิวไสว ส่วน Pennant คล้ายธงเช่นกัน แต่จะเป็นธงสามเหลี่ยม

เมื่อไหร่ก็ตามที่เห็นแพทเทิร์นนี้ ห้ามพลาดโอกาสทำกำไรเด็ดขาด เพราะมันมีเป้าหมายทำกำไร กว้างมาก ๆ และในระหว่างเดียวกัน จุดตั้ง Stop Loss ก็แคบมาก ๆ จึงทำให้สัดส่วน Risk/Reward (RR) สูงตามไปด้วย


Bullish Pennant Pattern คืออะไร

รูปแบบ Bullish Pennant นับว่าเป็นรูปแบบที่มองได้ง่าย เพราะคล้ายกับธงสามเหลี่ยมที่ปลิวไสวใน “แนวโน้มขาขึ้น” เมื่อสร้างรูปแบบเรียบร้อยก็พร้อมที่จะโบยบินไปต่อในแนวโน้มเดิม

เป็นแพทเทิร์นที่แสดงให้เห็นถึง การเคลื่อนที่ตามแนวโน้มที่ยังแข็งแกร่ง พักตัวเร็ว ฟอร์มตัวไว เคลื่อนที่ไปได้ไกลอีก และที่สำคัญใช้งานง่าย เกิดขึ้นบ่อย ใช้ได้ทุกคู่เงิน

 

รถไม่เสียอย่าซ่อม เทคนิคทำกำไรก็เช่นกัน

 

การสร้างรูปแบบ Bullish Pennant Pattern

รูปแบบ Bullish Pennant Pattern
การสร้างรูปแบบ Bullish Pennant

ในแนวโน้มขาขึ้น กราฟจะเริ่มทำการพักตัวเพื่อไปต่อ โดยทำการย่อตัวเพื่อสร้าง Swing-Low ก่อนที่จะเคลื่อนตัวตามแนวโน้ม แต่ทันใดนั้นราคาจะถูกกดดันจากแรงขาย จึงทำให้กลับตัวลงมาอีก และไม่นานก็ถูกกดดันจากแรงซื้อ

เมื่อตีกรอบราคาจาก Swing-High จะสามารถตีกรอบราคาจากการลดตัวของ Swing เป็นเส้นแนวต้าน และเมื่อตีกรอบราคาจาก Swing-Low จะสามารถตีกรอบราคาจากการยกตัวของ Swing เป็นเส้นแนวรับ เกิดเป็นแพทเทิร์นสามเหลี่ยมคล้ายกับธง

ก่อนที่ราคาจะทำการเบรกกรอบแนวต้าน และไปต่อตามแนวโน้มเดิม แสดงถึงการเคลื่อนที่ตามแนวโน้มยังแข็งแกร่ง

 

ไม่จำเป็นต้องเข้าใจว่าเครื่องยนต์ทำงานยังไง แค่รู้วิธีใช้หรือขับมันก็เพียงพอแล้ว

 

Trade Setup ด้วย Bullish Pennant

การเทรดด้วยแพทเทิร์น Bullish Pennant เมื่อราคาถูกกดดันจากแรงซื้อและแรงขาย ไม่นานก็จะระเบิดกรอบออกมา เมื่อไปต่อตามแนวโน้มจึงเกิดเป็นรูปแบบแพทเทิร์น มีวิธีการเทรดดังต่อไปนี้

Trade Setup ด้วย Bullish <yoastmark class=

  • จุดเข้า Buy เมื่อราคาปิดเหนือเส้นแนวต้าน หรือจะรอให้ราคาย้อนกลับมาเทสแนวรับอีกครั้งก็ทำได้
  • Stop Loss ต่ำกว่า Swing หรือแนวรับ ก่อนหน้า
  • เป้าหมายทำกำไร ระยะ 1 เท่าของ Swing-Low ไปจนถึง Swing-High

การเทรดรูปแบบนี้ ค่อนข้างที่จะเก็บ RR ได้สูง โดยสัดส่วนของ Target กับ SL ค่อนข้างแตกต่างกันพอสมควร แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าตั้ง SL ที่แคบเกินไป อาจจะทำให้เสียโอกาสทำกำไรที่จะตามมาได้ ถ้ากราฟผันผวนมากควรพิจารณาให้เหมาะสม

Bearish Pennant Pattern คืออะไร

รูปแบบแพทเทิร์น Bearish Pennant นับว่าเป็นรูปแบบที่มองได้ง่ายเช่นกันแต่จะอยู่ใน “ลักษณะกลับหัว” เพราะคล้ายกับธงสามเหลี่ยมที่ปลิวไสวใน “แนวโน้มขาลง” เมื่อสร้างรูปแบบเรียบร้อยก็พร้อมที่จะไหลลงต่อในแนวโน้มเดิม

การสร้างรูปแบบ Bearish Pennant Pattern

รูปแบบ Bearish Pennant Pattern
การสร้างรูปแบบ Bearish Pennant

ในแนวโน้มขาลง กราฟจะเริ่มทำการพักตัวเพื่อไปต่อ โดยทำการดีดตัวขึ้นเพื่อสร้าง Swing-High ก่อนที่จะเคลื่อนตัวตามแนวโน้ม แต่ทันใดนั้นราคาจะถูกกดดันจากแรงซื้อ จึงทำให้ราคาดีดกลับไปอีก และไม่นานก็ถูกกดดันจากแรงขายลงมา

เมื่อตีกรอบราคาจาก Swing-Low จะสามารถตีกรอบราคาจากการยกตัวของ Swing เป็นเส้นแนวรับ และเมื่อตีกรอบราคาจาก Swing-High จะสามารถตีกรอบราคาจากการลดตัวของ Swing เป็นเส้นแนวต้าน เกิดเป็นแพทเทิร์นสามเหลี่ยมคล้ายกับธง แต่เป็นรูปแบบกลับหัวเพราะอยู่ในแนวโน้มขาลงนั่นเอง

 

สูตรลับในการปั้นพอร์ตนั่นก็คือ RR

 

Trade Setup ด้วย Bearish Pennant

การเทรดด้วยแพทเทิร์น Bearish Pennant เมื่อราคาถูกกดดันจากแรงซื้อและแรงขาย ไม่นานก็จะระเบิดกรอบออกมา เมื่อไปต่อตามแนวโน้มจึงเกิดเป็นรูปแบบแพทเทิร์น โดยมีวิธีการเทรดดังต่อไปนี้

Trade Setup ด้วย Bearish <yoastmark class=

  • จุดเข้า Sell เมื่อราคาปิดต่ำกว่าเส้นแนวรับ หรือจะรอให้ราคาย้อนกลับไปเทสแนวต้านอีกครั้งก็ทำได้
  • Stop Loss สูงกว่า Swing หรือแนวต้าน ก่อนหน้า
  • เป้าหมายทำกำไร ระยะ 1 เท่าของ Swing-Low ไปจนถึง Swing-High

การเทรดรูปแบบนี้ ค่อนข้างที่จะเก็บ RR ได้สูง โดยสัดส่วนของ Target กับ SL ค่อนข้างแตกต่างกันพอสมควร

ข้อดีและประโยชน์ของแพทเทิร์นธงสามเหลี่ยม

  • เป็นรูปแบบที่จดจำได้ง่าย เกิดขึ้นบ่อย ใช้ได้ดีทั้งในแนวโน้มขาขึ้นและขาลง
  • มีจุดเข้าออก Stop Loss และเป้าหมายทำกำไรที่ชัดเจน
  • มี Stop Loss แคบ จึงทำให้การเทรดรับความเสี่ยงต่ำ
  • ใช้ได้ทุกคู่สกุลเงิน เพียงเห็นแพทเทิร์นก็สามารถเทรดได้ตามระบบ
  • เป็นแพทเทิร์นที่ Target กว้าง โดยใช้สัดส่วนการเคลื่อนที่ก่อนสร้างแพทเทิร์น เป็นระยะในการตั้งเป้าหมายทำกำไร

ข้อควรระวัง

  • ให้เทรดเดอร์วิเคราะห์จุดเข้ากับเป้าทำกำไรว่ามีสัดส่วนของ RR เป็นเท่าไหร่ เพราะการเทรดในตลาดจะมีต้นทุน ดังนั้นควรเทรดเมื่อมีโอกาสได้ RR มากว่า 2:1
  • ไม่ว่าการเทรดรูปแบบใด ทุกอย่างไม่มีอะไร 100% ควรมีการจัดการความเสี่ยงไว้อย่างรอบด้าน
  • ตั้ง Stop Loss แคบเกินไป อาจจะทำให้เกิดความผันผวนและราคามาชนกิน Stop Loss เราได้ ทำให้เสียโอกาสทำกำไรที่กำลังจะมาถึงในไม่ช้า

 

ความสำเร็จเกิดขึ้น 2 ครั้งเสมอ ครั้งแรกทางความคิด ครั้งที่สองทางการกระทำ

 

สรุป

Pennant Pattern เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน มีวิธีการเทรดที่ชัดเจน ไม่ต้องท่องจำสัดส่วนใด ๆ เพียงเห็นรูปแบบเกิดขึ้น รอจังหวะทำกำไรได้เลย ที่สำคัญมีโอกาสทำกำไรหรือ Target กว้าง และความเสี่ยงต่ำ เทรดเดอร์สามารถเก็บ RR ได้สูง

จึงเป็นรูปแบบที่ไม่ควรมองข้าม เมื่อเห็นแพทเทิร์นนี้เมื่อไหร่ รอเข้าเทรดได้เลย

คนส่วนใหญ่สำเร็จทางความคิด แต่ล้มเหลวทางการกระทำ ดังนั้นเมื่อมีแผน ทำตามแผนซะ

 

ทีมงาน: forexthai.in.th

แสดงข้อคิดเห็น ให้กำลังใจ

comments