Forexthai.in.th ย่อให้
- Flag Pattern เป็นแพทเทิร์นต่อเนื่อง (Continuous Pattern) คือ เกิดในช่วงพักตัวของราคาก่อนวิ่งต่อในทิศทางเดิม ใช้เป็นจุดเข้าซื้อขายตามเทรนด์
- ประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญคือ เสาธง (Flag Pole) และ ผืนธง (Flag) ที่พักตัวในกรอบแคบๆ
- Bullish Flag เกิดในเทรนด์ขาขึ้น ราคาจะพักตัวลงในกรอบแคบก่อนเบรคเอาท์ขึ้นต่อ ให้วาง Stop Loss ใต้ Swing Low และตั้งเป้าที่ระยะ 1 เท่าของเสาธง
- Bearish Flag เกิดในเทรนด์ขาลง ราคาจะดีดตัวขึ้นในกรอบแคบก่อนลงต่อ ให้วาง Stop Loss เหนือ Swing High โดยใช้หลักการเดียวกับ Bullish Flag
- แพทเทิร์นนี้มีข้อดีคือใช้งานง่าย มีจุดเข้าและ Stop Loss ชัดเจน เกิดขึ้นบ่อย ให้ RR สูง แต่ต้องระวังการเบรคหลอกและต้องรอให้แพทเทิร์นสมบูรณ์ก่อนเทรด
รู้จัก Flag Pattern
Flag Pattern เป็นแพทเทิร์นรูปแบบต่อเนื่อง (Continuous Pattern) มักจะเกิดขึ้นในจังหวะการพักตัวก่อนที่จะไปต่อในแนวโน้มเดิม สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งแนวโน้มขาขึ้นและขาลง เป็นจุดเข้า Buy หรือ Sell ตามแนวโน้มเดิม
องค์ประกอบของ Flag Pattern

ก่อนจะเจาะลึก มาทำความรู้จักองค์ประกอบสำคัญกันก่อนครับ Flag Pattern ประกอบด้วย 2 ส่วนหลักที่สำคัญ:
- เสาธง หรือ Flag Pole คือ เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วของราคา มักจะเกิดขึ้นในช่วง 5-20 แท่งเทียน ในทิศทางเดียว บ่งบอกถึงแรงซื้อหรือแรงขายที่เข้ามามาก
- ผืนธง หรือ Flag เป็นส่วนที่ราคาพักตัวในกรอบแคบๆ ที่มีแนวโน้มสวนทางกับเสาธงเล็กน้อย ก่อนที่จะเบรคเอาท์ออกไปในทิศทางเดิม
สิ่งที่น่าสนใจของรูปแบบราคาธง คือ มักจะเกิดการเบรคเอาท์ในทิศทางเดียวกับแนวโน้มหลัก ทำให้เทรดเดอร์สามารถใช้เป็นจุดเข้าซื้อขายตามเทรนด์ได้อย่างแม่นยำ โดยมีองค์ประกอบสำคัญที่ต้องสังเกต ดังนี้
- ต้องมีแนวโน้มที่ชัดเจนก่อนการเกิดแพทเทิร์น
- เสาธงควรมีการเคลื่อนไหวของราคาที่รวดเร็วและรุนแรง
- ส่วนของตัวธงต้องมีการพักตัวในกรอบที่ชัดเจน
- การเบรคเอาท์มักจะมาพร้อมกับปริมาณการเทรดที่เพิ่มขึ้น
เทรดเดอร์สามารถใช้ Flag Pattern เป็นจุดเข้าซื้อขายที่ให้ผลตอบแทนสูง เพราะมีจุด Stop Loss ที่ชัดเจนและมีโอกาสที่ราคาจะเคลื่อนที่ต่อในทิศทางเดิม แต่ที่สำคัญคือต้องรอให้เกิดการ breakout ที่ชัดเจนก่อนเสมอ เพื่อยืนยันว่าแพทเทิร์นสมบูรณ์
รูปแบบ Bullish Flag
รูปแบบกราฟ Bullish Flag คล้ายกับธงที่กำลังปลิวไสว เกิดในแนวโน้มขาขึ้น มักจะพบได้จากการพักตัวของราคา โดยการพักตัวจะค่อย ๆ ลดตัวต่ำลงอยู่ภายในกรอบคล้ายกับธง ก่อนที่จะทำการเบรคเอาท์ขึ้นต่อในแนวโน้มเดิม
การเทรดด้วย Bullish Flag มีเป้าราคาที่ตายตัว ให้ RR ที่สูง และมีจุด Stop Loss ที่ชัดเจน เทรดเดอร์มือใหม่สามารถทำความเข้าใจได้ไม่ยาก
เมื่อเห็นธงที่ปลิวไสว นั่นคือโอกาสในการทำกำไร
การสร้างรูปแบบ Bullish Flag

ในแนวโน้มขาขึ้น ราคาจะวิ่งขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง จากนั้นจะมีการพักตัวลงมาในกรอบแคบๆ ซึ่งอาจทำให้หลายคนสับสนว่านี่คือการกลับตัวของแนวโน้มใหญ่หรือไม่
แต่เราจะยังไม่รู้ได้จนกว่าแพทเทิร์นจะสมบูรณ์ โดยในช่วงพักตัวนี้ ราคาจะสร้างจุดสูงสุดและต่ำสุดใหม่ (Swing High และ Swing Low) ในกรอบเล็กๆ ก่อนที่จะทะลุกรอบขึ้นไปต่อในทิศทางเดิม
รูปแบบที่เกิดขึ้นซ้ำๆ นี้จะมีลักษณะเหมือนธงที่กำลังปลิวไสว ประกอบด้วยเสาธงที่พุ่งขึ้นแรง และผืนธงที่กำลังสะบัด เทรดเดอร์สามารถใช้จังหวะนี้เข้าซื้อ (Buy) ตามแนวโน้มหลัก เมื่อราคาทะลุกรอบด้านบนของธงขึ้นไป
แรงซื้อขายมาพร้อมกับขนาดของเสาธง
Trade Setup ด้วย Bullish Flag

การเทรดด้วย Bullish Flag เป็นการใช้ประโยชน์จากรูปแบบกราฟที่มักเกิดซ้ำๆ เหมือนในอดีต ทำให้เรามีแบบแผนในการจดจำและมีวิธีการเข้าเทรดที่ชัดเจน แม้ว่าเราจะสามารถปรับใช้ได้ตามสถานการณ์ที่เหมาะสม โดยมีวิธีการเทรดดังนี้
- จุดเข้าเทรด – รอให้ราคาเบรคเอาท์ทะลุกรอบในแนวโน้มย่อย หรือรอจังหวะที่ราคาย่อตัวลงมาเทสแนวรับหรือกรอบด้านบน ซึ่งเราสามารถใช้โอกาสนี้ในการเข้าเทรดครั้งแรกหรือเพิ่มออเดอร์เข้าไป
- จุดตัดขาดทุน – ให้วาง Stop Loss ไว้ใต้จุดต่ำสุด (Swing Low) ในแนวโน้มย่อย
- เป้าหมายกำไร – สามารถตั้งเป้าที่ระยะ 1 เท่าของเสาธง หรือถ้าต้องการถือยาว ก็สามารถรอจนกว่าจะเห็นสัญญาณการเปลี่ยนแนวโน้ม เนื่องจากการเทรดนี้เป็นการเทรดตามเทรนด์ จึงมีโอกาสที่จะวิ่งไปได้ไกลจนสุดแนวโน้ม
เทรดเมื่อมีสัญญาณที่ชัดเจนเท่านั้น
รูปแบบ Bearish Flag
รูปแบบกราฟ Bearish Flag เกิดขึ้นในตลาดหมี หรือแนวโน้มขาลง คล้ายกับ Bullish Flag แต่จะอยู่ในลักษะกลับหัว เป็นการพักตัวของราคาก่อนที่จะลงต่อในแนวโน้มเดิม
แม้จะอยู่ในลักษณะกลับหัว แต่วิธีการเทรดจะมีเหมือนเดิมทุกประการ โดยมีเสาธงและผืนธง กำหนดจุดเข้า Sell และเป้าหมายทำกำไรไว้ตามระบบ ที่สำคัญมี Stop Loss น้อย จึงทำให้สามารถเก็บ RR ได้มากกว่า ใช้งานง่ายไม่ซับซ้อน มือใหม่ก็สามารถทำความเข้าใจได้ไม่ยาก
การสร้างรูปแบบ Bearish Flag

เมื่อตลาดอยู่ในแนวโน้มขาลง เทรดเดอร์ที่มีออเดอร์ Sell อยู่แล้ว อาจกำลังมองหาจังหวะปิดทำกำไร แต่เมื่อราคากลับไม่ลงต่อตามที่คาด กลับดีดตัวขึ้นมาแทน หลายคนอาจกังวลว่านี่คือการกลับตัวของตลาด อย่างไรก็ตาม การดีดขึ้นนี้ยังไม่ใช่สัญญาณในการปิดทำกำไร เพราะแนวโน้มยังไม่ชัดเจนว่าจะเปลี่ยน
จากนั้นราคาจะกลับตัวอีกครั้ง ทิ้งกรอบราคาในแนวโน้มระยะสั้นเอาไว้ สิ่งที่เกิดขึ้นนี้คือแพทเทิร์น Bearish Flag ที่มีลักษณะเหมือนธงที่ปลิวไสว เป็นการพักตัวชั่วคราวก่อนที่ราคาจะลงต่อ
สำหรับเทรดเดอร์ที่มีออเดอร์ Sell อยู่แล้ว สามารถถือต่อได้ หรือถ้ายังไม่มีออเดอร์ นี่คือโอกาสที่ดีในการเข้า Sell ตามแนวโน้ม โดยรอจังหวะเบรกเอาท์กรอบราคา พร้อมตั้งเป้าหมายกำไรที่ระยะ 1 เท่าของเสาธง และวาง Stop Loss ไว้เหนือจุดสูงสุดล่าสุด (Swing High)
ไม่พร้อม ไม่ควรเทรด ตลาดไม่ได้หนีไปไหน
Trade Setup ด้วย Bearish Flag

การเทรดด้วย Bearish Flag เมื่อตลาดอยู่ในแนวโน้มขาลง จะมีลักษณะพิเศษคือ แม้ราคาจะดีดตัวขึ้นมา แต่นี่เป็นเพียงการพักตัวเพื่อลงต่อ อย่างไรก็ตาม เทรดเดอร์จะไม่สามารถแน่ใจได้ว่านี่เป็นการพักตัวหรือกลับตัว จนกว่าจะเห็นราคาเบรคกรอบลงมา และลงต่อในทิศทางเดิม วิธีการเทรดด้วย Bearish Flag มีดังนี้:
- จุดเข้าเทรด – รอจังหวะเบรคเอาท์กรอบราคาในแนวโน้มย่อย หรือจะรอให้ราคาดีดกลับขึ้นไปเทสกรอบด้านล่างก่อนเข้าก็ได้
- จุดตัดขาดทุน – วาง Stop Loss ไว้เหนือจุดสูงสุด (Swing High) ของแนวโน้มย่อย
- เป้าหมายกำไร – ตั้งเป้าที่ระยะ 1 เท่าของเสาธง หรือถ้าต้องการถือยาว ก็สามารถถือไปจนกว่าจะเห็นสัญญาณสิ้นสุดแนวโน้ม
ข้อดี-ข้อเสียของการเทรดด้วย Flag Pattern
ข้อดี |
ข้อเสีย |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
การไม่เทรด คือกลยุทธ์ในการรักษาเงินทุน
สรุป
Flag Pattern เป็นอีกหนึ่งแพทเทิร์นที่เทรดเดอร์ สามารถใช้ทำกำไรในช่วงเวลาสั้น ๆ หรือจะใช้เป็นจุดเข้าเพื่อเพิ่มออเดอร์ตามแนวโน้ม ด้วยรูปแบบนี้มีจุดเข้าและ Stop Loss อย่างชัดเจน มีโอกาสขึ้นบ่อยและใช้ได้ดีทุกแนวโน้ม
มีวิธีใช้งานเหมือนกันทั้ง Bullish Flag และ Bullish Flag สามารถจดจำได้ง่ายไม่ซับซ้อน
ทีมงาน: forexthai.in.th