ถ้าหากเราดูทีวี หรือฟังการวิเคราะห์ของนักลงทุน นักวิเคราะห์ของสถาบันการเงินที่มีชื่อเสียง คำว่า แนวรับ แนวต้าน จะเป็นคำที่เราได้ยินบ่อย ๆ โดยเฉพาะเมื่อตนเองเปิดไปที่รายงานเรื่องหุ้นต่าง ๆ จะเข้าใจว่า ค่าทั้งสองค่านี้ ต่างมีผลอย่างมากต่อการวางแผน หรือการใช้กลยุทธ์ในการเทรดหุ้น และการเทรด forex ดังนั้น เพื่อให้คุณมีความเข้าใจที่มากขึ้นเกี่ยวกับ 2 คำนี้ บทความนี้เราจะมาศึกษาถึงคำศัพท์สองคำนี้กันครับ
สารบัญบทความ click เพื่อเลือกอ่าน !!
แนวรับ คืออะไร
แนวรับ คือ เส้นที่ถูกลากขึ้นมา เนื่องจากราคาหุ้นนั้นไม่ผ่านจุดของราคานี้ลงไปเลย เช่น แนวรับที่ 2.34535 ตีความได้ว่า ราคาก็จะไม่ลงต่ำกว่า 2.34535 ทำให้พอทำนายได้ หากเมื่อถึงจุดที่ราคาวิ่งไปใกล้กับเส้น 2.34535 ราคาก็จะเด้งกลับ ทำให้เราสามารถเปิด Buy ได้อย่างปลอดภัย
แนวต้าน คืออะไร
แนวต้าน คือ มีความหมายที่ตรงกันข้ามกับแนวรับครับ จะเป็นจุดที่ราคาไปสูงสุด และไม่เคยไปเกินกว่านี้ ซึ่งการลากเส้นแนวต้านนั้นก็ใช้หลักเทรนไลน์ยอดสูงสุด 3 ยอดมาเป็นตัววัด เช่นราคาไม่เคยเกิน 2.34535 แปลว่า ถ้าราคาขึ้นมาสูงใกล้เส้น 2.34535 คุณก็สามารถที่จะเปิดราคา Sell ตามลงไปได้นั่นเอง
ประเภทของแนวรับแนวต้าน
นอกจากเราจะต้องรู้ว่า แนวรับแนวต้านคืออะไรแล้ว ในบทความนี้เราจะต้องพูดถึงประเภทของแนวรับแนวต้าน ประเภทของแนวรับแนวต้านนั้น ไม่มีที่ไหนจะบรรยาย และแบ่งองค์ประกอบได้เหมือนที่นี่อีกแล้ว เพราะว่า ผมแบ่งประเภทของ แนวรับ แนวต้าน ตามประสบการณ์ การเทรด
ในการเทรดนั้นเราสามารถแบ่งประเภทของแนวรับแนวต้าน ได้ 2 รูปแบบ คือ แนวรับแนวต้านตามความชันของกราฟ และแนวรับแนวต้านตามแนวราบ
เรามาดูกันที่รูปแบบแรกก่อน คือ แนวรับแนวต้านตาความชันของกราฟ คำว่า แนวรับแนวต้าน ไม่ได้หมายความว่า มันจะต้องเป็นเส้นตรงเสมอไป มันอาจจะอยู่ในเส้นเทรนด์ไลน์ก็เรียกว่า แนวรับแนวต้านได้เช่นกัน การใช้ Trend line เป็นแนวรับแนวต้าน ทำให้เรามีทางเลือกในการเทรดมากขึ้น
นอกจากนี้ยังสามารถใช้มันประกอบการวิเคราะห์ทำให้การเทรดของเรามีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยไม่ต้องจำกัดตัวเองอยู่ในระดับของการเทรดแบบ Horizontal line เท่านั้น ตัวอย่างของ เส้นแนวรับแนวต้านใน Trend Line ในภาพข้างต้น การใช้ แนวรับแนวต้าน ไม่ได้หมายความว่า มันจะต้องใช้เป็นกรอบราคาที่ไม่สามารถผ่านได้
แต่ว่า เราต้องตั้งเป็นช่วงราคามากกว่าที่จะเป็นจุดตายตัว เนื่องจาก พื้นที่ของราคาที่มีความแข็งแกร่งนั้นไม่เคยแน่นอน เพื่อให้มันชัดเจนและใช้งานได้ง่าย ต้องใช้เป็นกรอบบริเวณนั้น และใช้เทคนิคการตั้ง Stop loss ให้ห่างในระยะที่เหมาะสมจะมีความถูกต้องกว่า
ประเภทของแนวรับแนวต้านแบบเส้นตรง คืออีกประเภทหนึ่งที่เราต้องให้ความสำคัญ เพราะว่า แนวรับแนวต้านแบบเส้นตรงเป็นรูปแบบที่วิเคราะห์ได้ง่าย และเป็นรูปแบบดั้งเดิมของการวิเคราะห์แนวรับแนวต้าน ตามรูปต่อไปนี้
แนวรับแนวต้านแบบราบนี้ ใช้งานได้ไม่แตกต่างจากแนวรับแนวต้านแบบเทรนด์ไลน์ สิ่งที่ต้องระวังเกี่ยวกับการใช้งานแนวรับแนวต้านอย่างหนึ่ง คือ การใช้แนวรับแนวต้นเป็นแค่ Zone เช่นเดียวกัน จากรูปข้างต้นตอนท้าย ๆ จะเห็นว่า มันทะลุกรอบมาและสิ่งที่เราไม่ควรลืมเลยก็คือ การตั้ง Stop loss ในการเทรดแบบใช้แนวรับแนวต้าน
รูปแบบของแนวรับแนวต้าน
เราพูดถึงประเภทของแนวรับแนวต้านกันไปแล้ว เรามาพูดถึงประเภทของแนวรับแนวต้านกันบ้างกันดีกว่า หลายคนอาจจะไม่คิดว่า แนวรับแนวต้านอาจจะใช้ได้หลายรูปแบบ ดังต่อไปนี้
- รูปแบบของเครื่องมือประเภทวาดเอง – รูปแบบแนวรับแนวต้านของกลุ่มเครื่องมือที่ใช้ในกลุ่มนี้ได้แก่ Horizontal Line รูปแบบ Trend Line เครื่องมือประเภท Fibonnacci Retracement เครื่องมือประเภท Elliot Wave ก็สามารถใช้เป็นแนวรับแนวต้นได้
- รูปแบบกำหนดตายตัว – รูปแบบกำหนดตายตัว ของเครื่องมือได้แก่ รูปแบบราคา Price Pattern ตัวอย่างของการเกิดรูปแบบ Double Top และ Double Bottom เราสามารถใช้รูปแบบของมันเป็นจุดแนวรับแนวต้าน หรือ รูปแบบหัวและไหล่ ในการกำหนดแนวรับแนวต้านของราคา รูปแบบกราฟแท่งเทียนบางประเภท หรือรูปแบบอื่น ๆ ซึ่งรูปแบบเหล่านี้ตายตัว
- รูปแบบ indicator – รูปแบบ indicator นั้นก็สามารถแยกย่อยเป็นอีก 2 รูปแบบย่อยได้แก่ รูปแบบของ indicator ประเภท oscillator และรูปแบบของ indicator ที่เป็น Trend Following เช่น การใช้ Moving Average ในการสร้างแนวรับแนวต้าน เราสามารถใช้เส้น Moving Average ความเร็วที่แตกต่างกันสร้างแนวรับแนวต้านที่ 1 และที่ 2 ได้ หรือแม้แต่การใช้ Stochastic ในการวัดแนวรับแนวต้าน ผ่าน Overbought และ Oversold Zone ในการกำหนด ซึ่งสามารถทำได้เช่นกัน
รูปแบบของแนวรับแนวต้านที่กำหนด่มาดังกล่าว เทรดเดอร์มีหน้าที่จะต้องศึกษาและทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง เพราะว่า ถ้าหากเราศึกษาไม่ลึกในเครื่องมือใดแล้วเราจะเกิดความสับสนในการเทรด เราต้องใช้เครื่องมือจำเพาะเจาะจง และชำนาญ ไม่เปลี่ยนไปเปลี่ยนบ่อย จนทำให้ไม่เข้าใจอะไรจริงจังสักอย่าง
ประโยชน์ของ การรู้เรื่องเส้น แนวรับ แนวต้าน
1.สามารถใช้หาจุดในการเปิดสัญญา Buy หรือ สัญญา Sell ได้อย่างง่ายๆ เพียงแค่ดูว่าราคาเข้าใกล้สู่เส้นแนวรับแนวต้านมากน้อยเพียงใด เป็นต้น แต่ว่าคุณอาจต้องใช้คู่กับอินดี้ตัวอื่นๆ ด้วยนะครับ ไม่ใช่ใช้แค่ตัวเดียวแล้วจบเลย
2.ช่วยให้มองเห็นกรอบราคาของการวิ่งได้ ข้อดีประการต่อมาคือช่วยให้เรามองเห็นกรอบราคาของการวิ่งไปได้อย่างชัดเจน ตรงนี้เรามักจะลากทั้งเส้นแนวรับและเส้นแนวต้านควบคู่กันไปพร้อมๆกันนั่นเองครับ
การหา indicator มาช่วยในการหาเส้นแนวรับและแนวต้าน
1.คุณสามารถใช้ Fibonacci ในการหาเส้นแนวรับแนวต้านได้ด้วยเช่นเดียวกัน และสามารถทำนายกรอบแนวรับ แนวต้านได้ค่อนข้างแม่นยำมากๆเสียด้วย
2.คุณสามารถใช้การลากเส้นเทรนไลน์ โดยการกำหนดยอด สูงสุดของราคา 3 จุดแล้วลากเส้น หรือ ยอดต่ำสุดของราคา 3 จุดแล้วลากเส้น เพื่อหาแนวรับแนวต้านก็สามารถทำได้
3.ใช้เส้น MA ข้อนี้ง่ายที่สุดครับ คือการใช้เส้น SMA ในการหาแนวรับและแนวต้าน ซึ่งไม่น่าเชื่อว่ามืออีพมากมายบางทีก็ใช้แค่เส้น MA นี่ละครับ
สรุป
ตลอดการเทรด forex ของคุณ คุณไม่มีทางที่จะหนีได้เลยกับคำว่าแนวรับ และแนวต้าน ดังนั้น จงเตรียมพร้อมที่จะทำความเข้าใจและพร้อมที่จะศึกษาเรื่องของการใช้เครื่องมือหรือกลยุทธ์ใดๆ เพื่อการเขียนเส้นแนวรับและแนวต้านออกมาให้ได้ แล้วมันจะช่วยให้คุณเทรด forex ง่ายขึ้น มีความสะดวกขึ้นในการเทรด มากกว่าที่จะปฏิเสธ แน่นอนว่ามันไม่มีกลยุทธ์ใด ที่มีความยั่งยืน หรือเทรดได้ 100 % แต่ว่าสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เมื่ออยู่รวมกันก็จะทรงพลังมากขึ้น
ปริญญาโทเศรษฐศาสตร์การเงิน พัฒนาระบบเทรดอัตโนมัติและพัฒนาเว็บไซต์ควบคู่การเทรดด้วยตนเอง ประสบการณ์เทรด Forex 12+ ปี จากพนักงานบริษัทสู่เทรดเดอร์อาชีพ เน้นกลยุทธ์ Long-term Trading
Nakrob Seareechon
บรรณาธิการ/Web master
Krisorn Himmapan
Content Writer
ทีมงาน: forexthai.in.th