Forexthai.in.th ย่อให้
- แนวโน้ม (trend) ในตลาด Forex คือทิศทางการเคลื่อนไหวของราคาคู่สกุลเงินในช่วงเวลาหนึ่ง
- การเทรดตามเทรนด์ (trend Following) เปรียบเสมือนการว่ายน้ำตามกระแส ทำให้เทรดได้ง่ายกว่าและปลอดภัยกว่า
- แนวโน้มแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ แนวโน้มขาขึ้น (Uptrend), แนวโน้มขาลง (Downtrend) และ Sideway
- เราสามารถดูแนวโน้มได้หลายวิธี เช่น การใช้ Line Graph ที่จะทำให้มองแนวโน้มราคาออกง่ายขึ้น หรือการสังเกตจาก Highs และ Lows เป็นต้น
- การบริหารความเสี่ยงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะไม่มีเทคนิคใดที่ชนะตลอด
การเทรดตามแนวโน้ม (trend Following) ก็เหมือนการว่ายน้ำตามกระแสน้ำที่ไหล ในขณะที่ทิศทางของแนวโน้มเป็นขาขึ้น คุณจะกล้าสวน Sell ไหม? หรือคุณจะเทรดฝั่ง Buy เกาะไปตามแนวโน้ม ซึ่งแน่นอนว่าเล่นตามกระแสของแนวโน้มนั้นง่ายกว่า
แต่สิ่งที่มือใหม่มักพลาดคือ เข้าเทรดตอนที่แนวโน้มใกล้จบแล้ว ทำให้กำไรไม่เต็มที่ หรือบางทีอาจขาดทุนเพราะกราฟกลับตัวซะอย่างนั้น
สารบัญบทความ click เพื่อเลือกอ่าน !!
ประเภทของแนวโน้มราคา Forex
เมื่อแนวโน้มสำคัญมากดังข้างต้น การเทรด Forex จึงต้องอาศัยการวิเคราะห์แนวโน้มของราคาเพื่อสร้างประสิทธิภาพในการเทรดให้มากที่สุด
แนวโน้มหรือ trend ในตลาด Forex คือทิศทางการเคลื่อนไหวของราคาคู่สกุลเงินในช่วงเวลาหนึ่ง โดยวิธีการดูทิศทางของแนวโน้มนั้น ให้ดูที่ “การเคลื่อนไหวของตลาด” โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ ดังนี้
- แนวโน้มขาขึ้น (Uptrend)
- แนวโน้มขาลง (Downtrend)
- แนวโน้มเคลื่อนที่ในกรอบ (Sideway)
เครื่องมือและวิธี การเทรด Forex ตามเทรนด์ (trend Following)
1. ดูเฉพาะ Line Graph (กราฟแบบเส้น)
วิธีที่ง่ายที่สุดและใช้ได้จริง คือ “การปรับกราฟเป็น Line graph” ก็จะทำให้มองแนวโน้มราคาออกได้ง่ายขึ้นเยอะ เพราะมันตัดพวก noise ออกไป (พวก High, Low ใน bar graph และ candlestick graph ที่ทำให้กราฟดูยาก) ทำให้เห็นภาพรวมของเทรนด์ได้ชัดเจนขึ้น
2. ดู Highs และ Lows
นี่เป็นหลักการพื้นฐานของ Technical analysis เลยครับ ให้สังเกตการเกิด:
- Higher High (HH): จุดสูงสุดใหม่สูงกว่าจุดสูงสุดเดิม
- Higher Low (HL): จุดต่ำสุดใหม่สูงกว่าจุดต่ำสุดเดิม
- Lower High (LH): จุดสูงสุดใหม่ต่ำกว่าจุดสูงสุดเดิม
- Lower Low (LL): จุดต่ำสุดใหม่ต่ำกว่าจุดต่ำสุดเดิม
1. ถ้าราคาทำ Higher High (HH) และ Higher Low (HL)
- เมื่อราคาทำ Higher High (HH: การที่ราคาทำจุดสูงสุดใหม่ สูงขึ้นกว่าจุดสูงสุดเดิม) และ Higher Low (HL: การที่ราคาทำจุดต่ำสุดใหม่ สูงขึ้นกว่าจุดต่ำสุดเดิม) เรื่อยๆ > เป็นช่วงแนวโน้มขาขึ้น
- ถึงแม้จะมีการ rebound (สะท้อนกลับ) แต่หากยังไม่ได้ทำ Low ใหม่ นั่นยังไม่ถือว่าเป็นการจบสัญญาณขาขึ้น ลักษณะนี้เราสามารถออกออเดอร์เทรดได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งออกออเดอร์ซื้อในจุดพักตัวของกราฟเตรียมขึ้น ซื้อตามแนวรับของเทรนด์ไลน์ และสามารถแบ่งไม้สะสมออเดอร์ในขณะที่กราฟค่อยๆขึ้นก็ได้ แต่โดยส่วนตัวผมมักจะหาจุดที่มั่นใจแล้วออกทีเดียวมากกว่าการแบ่งไม้เข้านะครับ
แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าจบเทรนด์ขาขึ้นแล้ว??
เราจะรู้ได้ก็ต่อเมื่อกราฟ “ไม่ทำ Higher high และไม่ทำ Higher low แต่กราฟมีการทำ Lower low” คือปิดราคาที่ต่ำกว่า Low เดิม แต่ไม่สามารถทำ High ที่สูงกว่า High เดิมได้ นั่นเป็นสัญญาณที่ว่า กราฟอาจเกิดการกลับตัวเป็นแนวโน้มขาลง
2. ถ้าราคาทำ Lower High (LH) และ Lower Low (LL)
- และถ้าราคาทำ Lower High (LH: การที่ราคาทำจุดสูงสุดใหม่ ต่ำลงกว่าจุดสูงสุดเดิม) และ Lower Low (LL: การที่ราคาทำจุดต่ำสุดใหม่ ต่ำลงกว่าจุดต่ำสุดเดิม) > เป็นช่วงแนวโน้มขาลง
หมายเหตุ
สัญญาณการเปลี่ยนทิศทางอาจไม่ได้เป็นไปตามรูปแบบเสมอไป บางครั้งอาจมีหลอกโดยกราฟ เช่น ทำท่าจะทำ Lower low แต่ดันทิ้งไส้มาเกี่ยว Stop loss ของเราแล้วดีดขึ้นไปต่อ รูปแบบนี้ก็มี ดังนั้น การบริหารความเสี่ยงจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะไม่เพียงแต่จะช่วยให้การขาดทุนของเราน้อยลง แต่ยังช่วยให้เราสามารถมีเวลาเรียนรู้รูปแบบของกราฟในตลาดได้เป็นเวลานานขึ้นอีกด้วย
โดยการมอง แนวโน้ม (trend) นั้น สามารถมองแยกเป็น 3 ส่วนอีกที ได้แก่
- แนวโน้มใหญ่ (แนวโน้มหลัก)
- แนวโน้มกลาง
- และแนวโน้มย่อย
ในแต่ละแนวโน้มใช้ในกลยุทธ์การเทรดแตกต่างกันไป หากเราเทรดตามแนวโน้มใหญ่อาจใช้ระยะเวลานานเหมาะสำหรับนักเทรดแบบถือยาว บางทีเป็นเดือน กับอีกกลุ่มหนึ่งคือแนวโน้มกลาง อาจจะอยู่ในช่วงเวลา 1-5 วัน เป็นการเคลื่อนไหวขึ้น-ลงของกราฟ อยู่ภายในแนวโน้มหลักอีกที
ส่วนคนที่เล่นในแนวโน้มย่อย อาจต้องดูใน TF เล็ก เช่น 1-5 นาที เพื่อเทรดระยะสั้น โดยดูเฉพาะการเคลื่อนที่ของกราฟแบบย่อยๆ โดยไม่ได้ดู TF ใหญ่
3. ใช้อินดี้ Moving Averages (ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่)
เป็นเครื่องมือที่นิยมใช้ในการกรองแนวโน้มมากที่สุด และมีประสิทธิภาพมากเช่นกัน โดยมีวิธีใช้ดังนี้:
- หากราคาอยู่เหนือเส้น MA แสดงว่าเป็นแนวโน้มขาขึ้น
- หากราคาอยู่ใต้เส้น MA แสดงว่าเป็นแนวโน้มขาลง
- หากราคาตัดกับเส้น MA บ่อยๆ แสดงว่าตอนนี้เป็นแนวโน้ม Sideway
แต่อย่างไรก็ตาม มีบางสิ่งที่ต้องระวังในการใช้เส้นค่าเฉลี่ย คือ “ช่วงที่ใช้คำนวณ” ค่ามากหรือน้อย จะมีผลต่อจะวิเคราะห์ เช่น ถ้าใช้ค่าน้อย เส้นค่าเฉลี่ยก็จะตอบสนองต่อราคาไวกว่า ให้สัญญาณเร็วกว่า แต่จะเจอสัญญาณหลอกบ่อยกว่า
4. การตี Channels และ Trend line
Channels และ Trend line เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถใช้วิเคราะห์ทิศทางของแนวโน้มราคาได้ และยังใช้ได้ในช่วงตลาด Sideway อีกด้วย โดยสามารถใช้ร่วมกับเส้นค่าเฉลี่ย สังเกตการเกิด Rejection (สัญญาณการกลับตัว) เพื่อคาดการณ์การเคลื่อนไหวของราคาในอนาคต
เช่น หากเกิด rejection ที่โซนแนวรับ มีโอกาสที่กราฟจะดีดขึ้น ในทางตรงกันข้าม หากเกิด Rejection ที่บริเวณโซนแนวต้าน ก็มีโอกาสที่กราฟจะปรับตัวลงได้
ถ้าใครสนใจอยากอ่านแบบละเอียด สามารถเข้าไปอ่านได้ที่บทความ Channels ช่วยเทรดคืออะไร ?
5. การใช้ ADX indicator
เป็นเครื่องมือที่ใช้ดูทิศทางของแนวโน้มราคา และยังสามารถบ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งของแนวโน้มในช่วงนั้นได้ อีกด้วยครับ โดย ADX indicator (Average Directional Movement Index: ดัชนีการเคลื่อนที่ตามทิศทางเฉลี่ย) ประกอบด้วย 3 เส้น คือ +DI , -DI และ ADI…
- +DI เป็นการแสดงถึงความแข็งแกร่งของ Bullish (ขาขึ้น)
- -DI เป็นการแสดงถึงความแข็งแกร่งของ Bearish (ขาลง)
- ADI แสดงถึงความแข็งแกร่งของแนวโน้มโดยรวมในช่วงนั้น
สรุป
การวิเคราะห์ แนวโน้ม (trend) เป็นทักษะสำคัญสำหรับเทรดเดอร์ทุกคน และไม่มีวิธีใดที่แม่นยำ 100% ทุกเครื่องมือและทุกกลยุทธ์ล้วนมีข้อจำกัด แต่การฝึกฝนและใช้เครื่องมือต่างๆ ประกอบกันจะช่วยเพิ่มโอกาสในการทำกำไรได้มาก เพียงแค่จำไว้ว่า
“ขอแค่ครั้งที่ชนะของคุณมันใหญ่กว่าครั้งที่แพ้ แค่นั้นก็เพียงพอแล้ว”
สุดท้ายนี้ อย่าลืมว่าการบริหารความเสี่ยงเป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน เพราะนอกจากจะช่วยจำกัดการขาดทุนแล้ว ยังช่วยให้คุณมีโอกาสเรียนรู้และพัฒนาทักษะการเทรดได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย
Nakrob Seareechon
บรรณาธิการ/Web master
ปริญญาโทเศรษฐศาสตร์การเงิน พัฒนาระบบเทรดอัตโนมัติและพัฒนาเว็บไซต์ควบคู่การเทรดด้วยตนเอง
อ่านประวัติเพิ่มเติม
Krisorn Himmapan
Content Writer
ประสบการณ์เทรด Forex 12+ ปี จากพนักงานบริษัทสู่เทรดเดอร์อาชีพ เน้นกลยุทธ์ Long-term Trading
อ่านประวัติเพิ่มเติมทีมงาน: forexthai.in.th