Forexthai.in.th ย่อให้
- หลักการ: ใช้การดีดตัวกลับของราคา (เหมือนหนังสติ๊ก) เพื่อเลี่ยง False Breakout ด้วยการรอให้เกิด Breakout ครั้งที่ 2 เพื่อยืนยันแนวโน้ม
- เน้น: วิเคราะห์ข้อมูลในกราฟรายวัน โดยดูแท่งเทียนที่แสดงจุดสูงสุดใหม่ (High) หรือจุดต่ำสุดใหม่ (Low) ในรอบ 20 วัน
- เข้า Buy: หลังจากที่แท่งเทียนแรกสร้าง High ใหม่และแท่งที่ 2 กลับมาทดสอบแนวรับ หากแท่งที่ 3 กลับทะลุ High แรก ก็สามารถตั้ง Buy Stop ได้
- เข้า Sell: หลังจากที่แท่งเทียนแรกสร้าง Low ใหม่และแท่งที่ 2 กลับมาทดสอบแนวต้าน หากแท่งที่ 3 กลับทะลุ Low แรก ก็สามารถตั้ง Sell Stop ได้
เทรดเดอร์หลายคนส่วนใหญ่ จะเคยเจอ “False Breakout หรือ Breakout หลอก” มาแล้ว มันเป็นปัญหาที่แก้ไม่ได้ง่ายๆ ต้องอาศัยความชำนาญในการวิเคราะห์และเครื่องมือที่ค่อนข้างครบ วันนี้การเทรด “Slingshot” จะเป็นการเทรดเพื่อหลีกเลี่ยงการโดน Breakout หลอก อย่ารอช้ามาดูกันเลยดีกว่าครับ
หลักการของ Slingshots
- Forex Slingshots เป็นกลยุทธ์การเทรด Forex (สินทรัพย์อื่นๆ ก็ใช้ได้) ที่อาศัยหลักการของการดีดตัวกลับ (Rebound) ของราคาอย่างรวดเร็ว คล้ายกับหลักการของหนังสติ๊ก (Slingshot)
- โดยเฉพาะเมื่อเกิดการ Breakout ขึ้น มักจะมีช่วงเวลาที่เรียกว่า “การเขย่า” คือราคามันกลับทดสอบแนวที่ Breakout และมือใหม่หลายคนก็มักจะโดน Stop Loss จุดนี้ จากนั้นราคาก็เฉลยว่ามันคือ Breakout จริง
- วิธีการแก้เกมหลักๆ ก็คือเราจะรอจนเกิดการ Breakout ครั้งที่ 2 เพื่อยืนยันทิศทางการเคลื่อนไหวของราคา แล้วจึงเข้าเทรดในจังหวะนั้นแทน

การเทรด Slingshot บนกราฟจริง
มีตัวอย่างการเทรดจริงมาให้ดูกันครับ โดยจะมีทั้งการเทรดฝั่ง Buy (Long) และการเทรดฝั่ง Sell (Shot) รวมถึงอธิบายแนวทางการเทรดอย่างละเอียดครับ
เทรดฝั่ง Buy

- การเทรด Slingshot ในบทความนี้เราจะเน้นการใช้กราฟ Day ครับ ดังนั้นจึงไม่แนะนำการเทรดแบบระยะสั้น เพราะหลักการใช้แค่การดูแท่งเทียน 2-3 ตัวเท่านั้น หากเทรด Timeframe เล็กจะเร็วเกินและผิดพลาดได้สูง
- จากรูปสังเกตแท่งเลข 1 (เราจะนับเป็นวันที่ 1) ราคาสร้างจุดสูงสุด (High) ใหม่ในรอบ 20 วัน เปรียบเทียบด้วยตาเปล่าคือแท่งเทียนปิดสูงกว่าแท่งก่อนหน้า 19 แท่ง โดยประมาณ
- ต่อมาสังเกตแท่งเทียนที่ 2 (วันที่ 2) ราคาจะกลับมาปิดต่ำกว่าจุดสูงสุดของแท่งเทียนที่ 1 เป็นการทดสอบแนวรับหรือแนวต้านใหม่ ซึ่งจุดนี้ที่พูดถึงก่อนหน้ามักเป็นจุดที่มือใหม่จะโดน SL หรือปิดออเดอร์เพราะถอดใจ คิดว่าโดน Breakout หลอก
- จุดสำคัญที่จะตัดสินคือแท่งที่ 3 (วันที่ 3) หากราคากลับทะลุจุดสูงสุดของแท่งเทียนที่ 1 ได้ก็คือราคายืนยันทิศทางในการขึ้นต่อ เราสามารถตั้ง Pending Order – Buy Stop ณ จุดสูงสุดเหนือแท่ง 1 เล็กน้อยได้
- ส่วนการวาง Stop Loss สามารถพิจารณาวางได้ตามแผนการเทรดที่ถนัด เช่น เอาตามหลัก RRR 1:2 หรือใช้ Trailing Stop ติดตามราคาขึ้นไปก็ได้
เทรดฝั่ง Sell

- ส่วนการเทรดฝั่ง Sell ใช้หลักการสังเกตเหมือนกับฝั่ง Buy เลยครับ เพียงแค่สลับกราฟเป็นขาลงแค่นั้นเอง โดยใช้กราฟ Day เหมือนกัน
- สังเกตแท่งเทียนที่ 1 (วันที่ 1) แท่งเทียนสร้างราคาต่ำสุด (Low) ในรอบ 20 วันเป็นสัญญาณที่แสดงถึงแนวโน้มการลงของราคา แต่ต้องรอดูสัญญาณอื่น
- ต่อมาแท่งเทียนที่ 2 (วันที่ 2) แท่งเทียนกลับตัวขึ้นไปปิดสูงกว่าจุดต่ำสุดของแท่งเทียนที่ 1 เพื่อกลับไปทดสอบแนวต้านใหม่ ที่ถูก Breakout มา
- ต่อมาแท่ง 3 นี้จะเป็นจุดเข้าออเดอร์ได้ก็ต่อเมื่อ ราคาพุ่งลงมาทะลุ Low เดิมของแท่งเทียนที่ 1 จุดที่ทะลุ Low ของแท่ง 1 นี่แหละเราจะวาง Pending Order – Sell Stop เอาไว้
- ส่วนการตั้ง Stop Loss ก็ใช้ตามแผนเทรดที่ถนัดเลยครับจะตั้งแบบ 1:2 หรือเซ็ต Trailing Stop ตามไปด้วย
ตัวช่วยแยกแยะ Breakout จริง-หลอก
จริงอยู่ว่าการเทรดนี้เราใช้ Pending Order ไว้หากราคาไม่ไปตามที่คาดก็ยกเลิกออเดอร์ได้แล้วค่อยหาจังหวะเข้าใหม่ แต่ถ้าไม่อยากเสียเวลา เราสามารถดูองค์ประกอบอื่นๆ เพื่อคาดเดาได้ว่า Breakout นี้จริงหรือหลอก
สังเกตปริมาณการซื้อขาย (Volume)
- Breakout จริง: ถ้าเกิด Breakout จริง เราจะสังเกตเห็นว่า Volume มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะ ในช่วงเวลาที่ราคาทะลุแนวรับหรือแนวต้าน Volume พุ่งขึ้นถือเป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่ามีแรงซื้อส่งเข้ามาอย่างจริงจัง
- Breakout หลอก: ถ้า Volume ช่วงที่ราคาทะลุแนวรับแนวต้านยังคงต่ำหรือไม่มีการเปลี่ยนแปลง นั่นแสดงว่าตลาดอาจไม่มีแรงสนับสนุนและอาจเป็น Breakout หลอกได้

ดู Price Action
- Breakout จริง: แท่งเทียนจะมีลักษณะออกมาเป็นแท่งเต็มที่ทะลุแนวต้านหรือแนวรับอย่างชัดเจน พร้อมด้วยแท่งเทียนยืนยันในช่วงเวลาถัดไป
- Breakout หลอก: หากเป็นฺ Breakout หลอก ราคาทะลุออกไปมักจะมีไส้เทียนยาว (Long Wick) หรือปิดราคากลับมาต่ำกว่าแนวต้าน/แนวรับเดิม เป็นสัญญาณของ Breakout หลอก

ใช้อินดี้ตัวอื่นมาช่วย
- นอกจากการดู Volume และ Price Action แล้ว Indicators ทางเทคนิคอย่าง RSI และ MACD ก็มีบทบาทในการช่วยแยกแยะความน่าเชื่อถือของ Breakout ได้
- Breakout จริง: ในแนวโน้มขาขึ้น RSI จะแสดงค่าสูงกว่า 55 หรือขาลง RSI จะแสดงค่าต่ำกว่า 45 ถือว่าแข็งแรง ส่วน MACD หากตัดเส้น Signal ตามเทรนที่ Breakout ถือว่าการ Breakout น่าเชื่อถือสูง
- Breakout หลอก: สำหรับ RSI ให้ระวัง Overbought (RSI สูงกว่า 70) และ Oversold (RSI ต่ำกว่า 30) อาจมีสัญญาณของการกลับตัวราคา ส่วน MACD หากไม่มีการตัดเส้น Signal หรือไม่สอดคล้อง ก็เป็นสัญญาณที่ต้องระวัง

ข้อดีและข้อจำกัดสำหรับการเทรดแบบ Slingshot
ในทุกๆ การเทรดย่อมมีข้อดีหรือจุดเด่นของมันรวมไปถึงข้อจำกัดที่แทรดเดอร์ทุกคนควรรู้เอาไว้ เพื่อชั่งน้ำหนักว่าเหมาะสมกับตัวเองหรือไม่ครับ
ตารางเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียของการเทรด Slingshots
ข้อดี | ข้อจำกัด |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ข้อดีของการเทรด Slingshot หลักๆ คือเน้นเทรดตามเทรนด์ดังนั้นจึงรู้ว่าควรเทรดหน้าไหนอีกทั้งยังกรอง False Breakout ได้ค่อนข้างสูง แต่ก็มีข้อจำกัดคือเทคนิคนี้ค่อนข้างเหมาะกับเทรดเดอร์ที่มีประสบการณ์ เพราะอาจจะต้องใช้อินดิเคเตอร์มาช่วยกรองและมีระบบเทรดชัดเจนในเรื่องการวาง SL
คำแนะนำและข้อควรระวัง
- ฝึกฝนการใช้กลยุทธ์ Slingshots ในบัญชีทดลอง (Demo Account) ก่อนที่จะใช้เงินจริงจะช่วยลดความเสี่ยงได้มาก
- แนะนำสำหรับมือใหม่ ควรมีการตั้งจุดหยุดขาดทุน (Stop Loss) และการจัดการเงินทุนอย่างเหมาะสมและชัดเจน เผื่อไว้สำหรับเทคนิคอื่นๆ ที่ไม่ได้กำหนดจุด SL มาให้
- ต้องไม่ลืมติดตามข่าวสารและข้อมูลที่มีผลกระทบต่อตลาดในช่วงที่มีการเทรด จะช่วยให้เทรดเดอร์สามารถปรับกลยุทธ์การเทรดได้ตามทันสถานการณ์
วิดีโอเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยง False Breakout
เทคนิคหลีกเลี่ยงไม่ให้โดน False Breakout เครดิต By TradingLab Focus นาทีที่ 0:56-07:09
ในบทความของเราเน้นการตระหนักถึง False Breakout หรือ การ Breakout หลอก ที่มักจะคอยกัดกินเงินทุนของเทรดเดอร์ ทีมงานเลยอยากจะแชร์คลิปวิดีโอตัวหนึ่งที่เน้นการหลีกเลี่ยงเพื่อไม่ให้โดน False Breakout ซึ่งเจ้าของช่องอ้างว่านี่เป็นเทคนิคลับเฉพาะส่วนตัวเขาเอง จะน่าสนใจแค่ไหนลองไปรับชมกันครับ
- Focus นาทีที่ 00:56 อธิบายว่า Breakout คืออะไร
- Focus นาทีที่ 01:25 รูปแบบของ Breakout
- Focus นาทีที่ 02:25 วิธีหลีกเลี่ยง False Breakout
- Focus นาทีที่ 04:52 กลยุทธ์การเข้าเทรดรวมถึงการทำกำไร
สรุป
อ่านมาถึงตรงนี้เชื่อว่าเทรดเดอร์หลายคนน่ามองเห็นภาพรวมของการเทรดแบบ Slingshot กันบ้างแล้วนะครับ เทรดเดอร์บางคนอาจจะเหมาะกับการใช้เทคนิคแบบนี้แต่กับบางคนอาจจะไม่เหมาะก็ได้ เพราะฉะนั้นอย่าไปซีเรียสหากเรารู้สึกว่าเทคนิคนี้เราไม่ถนัดหรือมันขัดความสบายของเราครับ เพราะยังมีเทคนิคการเทรดที่น่าสนใจอีกเยอะมาก สามารถตามหาอ่านได้ที่ คลังระบบเทรดเลยครับ
ส่วนใครที่คิดว่าเทคดนิคการเทรดแบบนี้มันมีประโยชน์ ช่วยไมให้ตกหลุมพรางของ False Breakout ได้จริง จะเอาบทความไปแชร์ต่อหรือน้เทคนิคไปต่อยอดก็จะเป็นเรื่องที่ดีมากเลยครับ
ทีมงาน: forexthai.in.th