Forexthai.in.th ย่อให้
- Scalping คือ การเทรดทำกำไรระยะสั้น 5-20 pip ต่อครั้ง
- มักใช้ lot ขนาดใหญ่ ทำกำไรได้มากแม้ราคาขยับเพียงเล็กน้อย แต่ก็มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน
- ทำใน timeframe ต่ำ 1-5 นาที เน้นความถี่สูง ควบคุมความเสี่ยงได้ดีถ้าควบคุมอารมณ์ได้
- หัวใจสำคัญคือ “เข้าเร็ว ออกเร็ว ทำกำไรน้อยแต่บ่อย” ต้องมีวินัยสูง โดยเฉพาะเรื่องการตัดขาดทุน
Scalping คือ การเทรดทำกำไรในช่วงสั้นๆ โดยส่วนใหญ่จะอยู่ระหว่าง 5-20 pip ต่อการเทรดทำกำไรหนึ่งครั้ง หลักการเทรดแบบนี้มีความเชื่อว่าการแกว่งตัวที่น้อยที่สุดนี้สามารถทำกำไรได้อย่างปลอดภัยมากที่สุด
ซึ่งโดยปกติแล้ว จะใช้ “การเทรด Lot ใหญ่ ๆ” ที่พอราคาสวิงเพียง 2-5 pip ก็สามารถทำเงินได้อย่างมหาศาลแล้ว แต่ในทางกลับกันมันก็เป็นความเสี่ยงที่มหาศาลด้วย เนื่องเพราะหากเข้า order ผิดทางแล้วล่ะก็ความซวยมาเยือนแน่ ๆ
สารบัญบทความ click เพื่อเลือกอ่าน !!
ข้อควรรู้ในการทำ Scalping
1. Scalping คืออะไร?
- เป็นการทำการเปิดออเดอร์ซื้อขาย แบบเล็กๆ โดยจะเลือกทำกำไรที่จำนวน pip ไม่มากอาจอยู่ในช่วง 1-15 pip เท่านั้น
- อาศัยความถี่ในการทำกำไรเป็นหลัก ดังนั้น Time Frame ที่ใช้ในการวิเคราะห์ก็จะต่ำตามไปด้วย
วีดีโอสอนการเทรด Scalping เครดิต By TPK Channel
2. วิวัฒนาการของ Scalping
- ในอดีต นิยมใช้ Time Frame ที่ 1 นาทีก็เพียงพอ บางครั้งมันก็ไม่พอครับ เพราะการทำ Scalping นั้นอาจจะต้องทำในระดับ Time Frame รายวินาที ซึ่งในตลาด Forex มีเฉพาะ Broker รายใหญ่เท่านั้นที่ให้บริการ
- ตัวอย่างเช่น FXCM จะมีกราฟ Time Frame รายวินาทีให้เราเทรดครับ ส่วน Broker อื่น ๆ นั้นอาจจะไม่มี
- ปัจจุบัน ณ ปี 2023 เป็นต้นมา เราได้พบเห็นคนใช้เทคนิค Scalping กันมากขึ้น จนเป็นการนำไปสู่การพัฒนาเทคนิคการเทรดที่สามารถใช้ใน Time Frame ที่ใหญ่ขึ้นมาได้ (นิยมจนตลาดหุ้นกำลังเตรียมตัวแบน Scalper โดยการหากคำสั่งขายหากไม่ครบเวลาที่เขากำหนด)
3. ความเสี่ยงและการควบคุม
- การทำ Scalping มีความเสี่ยงและไม่น้อยกว่าการเทรดแบบอื่นๆ
- การเทรดแบบ Scalping ต้องมีการเฝ้ากราฟตลอด จึงถือว่าเป็นการเทรดที่ควบคุมความเสี่ยงได้มาก (ถ้าเราคุมอารมณ์ตัวเองได้นะครับ)
- เพื่อแก้ไขปัญหา จึงก่อให้เกิดการพัฒนา EA หรือ ระบบเทรดอัตโนมัติขึ้นมาทำงานแทนคน
4. เงื่อนไขบัญชีสำหรับ Scalping
การทำ Scalping ต้องดูเงื่อนไขของบัญชีต่างๆ ด้วยว่ามีการอนุญาตมากน้อยแค่ไหนในการทำ แต่ละโบรกเกอร์ก็จะแตกต่างกันไป แต่โดยปกติแล้วโดยรวมๆ จะเป็นดังนี้ครับ
- บัญชีไมโคร – ไม่อนุญาตให้เทรดแบบ Scalping
- บัญชีมินิ – ไม่อนุญาตให้เทรดแบบ Scalping
- บัญชี Nano – ไม่อนุญาตให้เทรดแบบ Scalping
- บัญชี ECN Interbank – ไม่อนุญาตให้เทรดแบบ Scalping
- บัญชี ECN Scalping – อนุญาตให้เทรดแบบ Non-Aggressive Scalping ได้ (Scalping ได้ไม่เกิน 50% ของออเดอร์ทั้งหมด)
5. สภาวะตลาดที่เหมาะกับ Scalping
- เหมาะกับตลาดที่ราคาเคลื่อนไหวในกรอบ
- ระวังในตลาดที่มีเทรนด์ชัดเจนหรือแกว่งรุนแรง (ความเสี่ยงจะสูง)
- ไม่ควรฝืนเทรนด์ ควรรอจังหวะเข้าตามแนวรับ-ต้าน หรือรอรับในช่วงที่ย่อตัว
Indicator ที่เหมาะสมกับการทำ Scalping
คุณสามารถเลือกใช้ Indicator ที่เหมาะสมตามที่ตัวเองต้องการในการเทรดได้เลย แต่การตั้ง Time Frame (TF) นั้น “มักจะใช้ TF ที่ 1 นาที หรือ 5 นาที” ในการเทรด Scalping เท่านั้น
แต่ถ้าคุณยังไม่มี Indicator ในใจแล้วล่ะก็ เราขอนำเสนอแบบนี้แล้วกันครับ
- Moving Average (MA): MA จะช่วยในการระบุเส้นเฉลี่ยของราคาในช่วงเวลาที่กำหนด โดยนิยมใช้ Exponential Moving Average (EMA) เนื่องจากตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงราคาได้เร็วขึ้นครับ
- Stochastic Oscillator: Indicator ตัวนี้ช่วยวัดความแรงของทิศทางของเคลื่อนไหวราคา ซึ่งจะช่วยให้เห็นช่วง Overbought และ Oversold เพื่อสามารถเข้าเทรดในจุดที่เหมาะสมได้ครับ
- Bollinger Bands: ส่วนเจ้า BB สามารถช่วยวัดระดับการตัวขยายและการหดของตลาด นิยมใช้เพื่อหาสัญญาณเมื่อราคาเคลื่อนไปในช่วงขอบเขตของแถบ (ตัวนี้แจ๋มนะ)
- Relative Strength Index (RSI): ตัวนี้คือ Indicator ยอดนิยมเลยล่ะ เพราะมันช่วยวัดความแรงของทิศทางของเคลื่อนไหวราคา เช่นเดียวกันกับ Stochastic Oscillator สามารถช่วยหาช่วง Overbought และ Oversold ได้ดีอีกด้วย
- MACD (Moving Average Convergence Divergence): ตัวนี้ไม่แพ้กันครับ เพราะมันช่วยวัดความแรงของแนวโน้มใหม่ และความเร็วในการเปลี่ยนแปลงแนวโน้ม เพื่อสามารถตัดสินใจเข้าเทรดได้เร็วขึ้นครับ
- Parabolic SAR: ตัวสุดท้ายที่แนะนำ เพราะมันจะช่วยระบุจุดพลิกของราคา เพื่อหาจุดเข้าและออกจากการเทรดได้อย่างชัดเจนนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม เทรดเดอร์ควรฝึกฝนการใช้ Indicator เหล่านี้ให้ชำนาญเอาไว้ก่อนนะครับ ยุคนี้อะไรๆ ก็หาเรียนง่าย แต่การใช้ให้ชำนาญนั้นคืออีกเรื่องนึง ดังนั้นหมั่นฝึกกันนะครับเพื่ออนาคตที่ดีของตัวเราเอง
เทคนิคของการเทรด Scalping
- หัวใจของการเทรดแบบ Scalping คือ “เข้าทำกำไรให้ไว รีบออกให้ไว เน้นกำไรจุดน้อยๆแต่บ่อยๆ” จะไม่ถือ position นานเด็ดขาด
- ตั้ง risk/reward ประมาณ 1:1 ถ้ากำไรแล้วต้องรีบออกทันที อย่าคิด let profit run อย่ามัวแต่เสียดาย ตัวอย่าง เช่น ซื้อ true 10$ ตั้งขาย 10.10$ Cut Loss 90$
- Win/loss ratio ต้องสูง การ Scalping เราอาศัยหลักการ “กำไรน้อยได้ง่าย กำไรมากได้ยาก” ดังนั้น % ความถูกต้องจะต้องสูงกว่า % ผิด คืออย่างน้อยควรมากกว่า 2:1
- จงมีวินัยต่อ Cut Loss สูง ห้ามขาดทุนก้อนใหญ่เด็ดขาด การ Scalping จะอาศัยเก็บกำไรทีละน้อยๆแต่อาศัยบ่อยๆ ถ้าเราขาดทุนก้อนใหญ่กำไรที่สะสมเอาไว้จะหมดทันที
- เน้นจำนวนรอบ การเทรด Scalping เราต้องอาศัยความถี่ วันหนึ่งอาจเป็นสิบรอบถึงหลักร้อยรอบครับ
สิ่งที่ต้องใส่ใจ ในการทำ Scalping
การทำ Scalping นั้นมีจุดที่ต้องระวังอยู่พอสมควร จุดหลักที่ต้องรู้คือ
- ค่าสเปรด: การทำ Scalping โดยปกติจะทำอยู่ในระหว่างช่วง 5-20 pip เท่านั้น ดังนั้นคุณต้องไม่ลืมในการคิดค่าสเปรดเข้าไปด้วย ไม่อย่างนั้นแล้วเมื่อคุณทำ Scalping คุณจะขาดทุนในทุกออเดอร์ที่เข้าไปทันที
- อย่าลืมดูเงื่อนไขแต่ละบัญชีของแต่ละโบรกเกอร์: เพราะว่าในหลายๆโบรกและหลายๆประเภทบัญชีนั้นไม่อนุญาตให้มีการเทรดแบบ Scalping หรือสามารถเทรด Scalping ได้ แต่ว่าก็มีเงื่อนไขประกอบมากมาย ตรงนี้ต้องศึกษาให้ดีนะครับ ไม่อย่างนั้นเดี๋ยวจะงงว่าทำไมเปิดออเดอร์ และกดปิดไม้ทันทีไม่ได้
- Traders ส่วนมากจะควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้เมื่อเทรดด้วยเงินจริงๆ ดังนั้น กฎเหล็กข้อหนึ่งก็คือ ให้ทดลองการเทรด Scalping กับบัญชี Demo ก่อนให้ชำนาญและชิน เพราะไม่ได้ใช้เงินจริงๆในการเทรด ดังนั้นก็เลยไม่มีความเสี่ยงใดๆที่จะสูญเสียเงิน
การเทรดแบบ scalping เทรดเดอร์จะต้องอยู่ในตลาดตลอดเวลา ซึ่งแน่นอนมันคือความเครียดที่จะนำไปสู่การกระทำที่ไม่รอบคอบและการตัดสินใจที่ผิดพลาดได้ โดยการฝึกจะต้องทำกับ Broker ที่ให้บริการจริง ๆ ด้วยเนื่องจากสภาพแวดล้อมของแต่ละโบรกเกอร์นั้นมีความแตกต่างกัน ทำให้ส่งผลต่อการเทรดจริง
จากข้อมูลที่ว่ามาทั้งหมดจะเห็นได้ว่า การทำ Scalping นั้นมีข้อจำกัดอยู่พอสมควร การทำ Scalping ถือเป็นเทคนิคการเทรดหนึ่งที่ใช้ในกองทุน หรือการเทรดแบบทำกำไรระยะสั้น ๆ โดยเฉพาะในกลุ่ม Proprietary Trader ในกลุ่มนี้จะเทรด Scalping เท่านั้นเพราะว่า ไม่ต้องมีการถือ Position ข้ามวัน ทำให้สะดวกต่อการบริหารจัดการ และไม่ต้องเสี่ยงกับผลขาดทุนมหาศาล
แต่ก็อย่างที่บอกไปว่า ถ้าหากเป็นเทรดเดอร์มาทำ Scalping ก็ต้องเผชิญกับข้อจำกัดเรื่อง Spread ที่ไม่สามารถหา Spread ถูก ๆ ได้ เนื่องจากพวกกองทุนก็จะได้เปรียบเรื่องของการเทรดปริมาณครั้งละมาก ๆ ทำให้มีอำนาจต่อรองกับผู้ให้บริการเองได้หรือบางรายก็เป็นผู้ให้บริการเสียเอง
บทสรุป
โดยสรุปแล้วถือว่ากลยุทธ์การเทรด forex แบบ Scalping เป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่สามารถช่วยให้คุณทำกำไรได้ในระยะเวลาสั้นๆ และสามารถใช้เทคนิค Scalping ได้ดีในช่วงที่กราฟมีการสวิงตัวอย่างแรง โดยมากแล้วจะเกี่ยวข้องกับเรื่องของข่าวต่าง ๆ นั้นเอง แต่ด้วยความที่มันสั้นมาก ๆ คุณจึงต้องระวังอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้กลยุทธ์นี้ในการเทรดประกอบด้วยเช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม มนุษย์เราได้สร้าง EA ขึ้นเพื่อชดเชยจุดอ่อนของเทคนิคนี้มาเป็นที่เรียบร้อย อิอิ ทุกคนสามารถตามไปศึกษาได้กันเลยนะครับ ปัจจุบันมี EA ประเภท Scalping กันแบบล้นตลาด!!
Nakrob Seareechon
บรรณาธิการ/Web master
ปริญญาโทเศรษฐศาสตร์การเงิน พัฒนาระบบเทรดอัตโนมัติและพัฒนาเว็บไซต์ควบคู่การเทรดด้วยตนเอง
อ่านประวัติเพิ่มเติม
Krisorn Himmapan
Content Writer
ประสบการณ์เทรด Forex 12+ ปี จากพนักงานบริษัทสู่เทรดเดอร์อาชีพ เน้นกลยุทธ์ Long-term Trading
อ่านประวัติเพิ่มเติม
ทีมงาน: forexthai.in.th