Forexthai.in.th ย่อให้

  • Overlay Indicator เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคที่ใช้หลักการ Correlation โดยการซ้อนทับกราฟคู่เงินเพื่อดูความสัมพันธ์ในการเคลื่อนไหว
  • หลักการทำงานคือการนำคู่เงินที่มีความสัมพันธ์กัน เช่น EURUSD และ GBPUSD มาแสดงบนกราฟเดียวกัน เพื่อเปรียบเทียบการเคลื่อนไหว
  • จังหวะเข้าเทรดที่ดีคือช่วงที่ราคาคู่เงินแยกห่างกันมากผิดปกติ โดยเข้า Buy เมื่อราคาต่ำกว่าปกติ และ Sell เมื่อราคาสูงกว่าปกติ
  • การจัดการความเสี่ยงแนะนำให้ใช้การตั้ง Take Profit ที่ 3% และ Stop Loss ที่ 2% ของเงินลงทุน เพื่อควบคุมการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้น

Overlay indicator Forex

Overlay Indicator คือ เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคที่ใช้หลักการ Correlation หรือความสัมพันธ์ระหว่างคู่เงิน โดยการซ้อนทับกราฟของคู่เงินต่างๆ เพื่อดูความสัมพันธ์ในการเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นเครื่องมือที่น่าสนใจแต่ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก

ที่มาของอินดิเคเตอร์ Overlay นั้นยังไม่มีการระบุแน่ชัดว่าใครเป็นผู้คิดค้น แต่เราได้รู้จักมันผ่านนักพัฒนาชื่อ Sameer ที่ได้แบ่งปัน Indicator นี้บนเว็บไซต์ MQL5 ให้นักเทรดได้ใช้งานฟรี

หลักการทำงานของ Overlay Indicator

หัวใจสำคัญของ Overlay Indicator คือ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของคู่เงิน 2 คู่ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน เช่น EURUSD และ GBPUSD ที่มี USD เป็นสกุลเงินฐาน การเคลื่อนไหวของทั้งสองคู่เงินมักจะมีความสัมพันธ์กันในระดับหนึ่ง

โดยหลักการของอินดิเคเตอร์ Overlay ก็คือ การนำค่าเงินอีกค่าเงินหนึ่งมาแสดงในกราฟค่าเงินอีกค่าหนึ่ง เพื่อเปรียบเทียบกันว่า ค่าเงินใดเคลื่อนไหวเยอะ และค่าเงินใดเคลื่อนไหวน้อย โดยเปรียบเทียบผ่านหน้าจอของอินดิเคเตอร์ Overlay

แหล่งดาวน์โหลด : https://www.mql5.com/en/code/7933

รูปแบบความสัมพันธ์ของคู่เงิน

  1. Positive Correlation (ความสัมพันธ์เชิงบวก)
    • คู่เงินเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน
    • ตัวอย่างเช่น เมื่อ EURUSD ขึ้น GBPUSD ก็มักจะขึ้นตาม
  2. Negative Correlation (ความสัมพันธ์เชิงลบ)
    • คู่เงินเคลื่อนไหวในทิศทางตรงข้ามกัน
    • เช่น EURUSD กับ USDCHF มักเคลื่อนไหวสวนทางกัน
  3. No Correlation (ไม่มีความสัมพันธ์)
    • คู่เงินเคลื่อนไหวแบบไม่มีรูปแบบที่สัมพันธ์กัน
    • การเคลื่อนไหวเป็นแบบสุ่ม ไม่สามารถคาดเดาได้

วิธีการใช้งาน

สำหรับตัวอย่างการใช้งาน เราจะใช้คู่เงิน EURUSD และ GBPUSD เนื่องจากเป็นคู่เงินที่มีความสัมพันธ์กันสูง (Correlation Coefficient = 77) ทำให้ง่ายต่อการสังเกตจังหวะเข้าเทรด โดยมีหน้าตากราฟดังต่อไปนี้

ภาพแสดงอินดิเคเตอร์ Overlay แสดงการใช้งานในคู่เงิน EURUSD และ GBPUSD

การอ่านสัญญาณบนกราฟ

ในภาพจะเห็นว่า มีมูลค่าเงินสองค่า ที่เคลื่อนไหวสอดคล้องกันและแตกต่างกันเป็นบางช่วง

  • กราฟแท่งเทียนสีเขียว คือ EURUSD
  • กราฟสีส้มเขียว คือ GBPUSD

สังเกตช่วงที่กราฟทั้งสองแยกห่างกันมากผิดปกติ ซึ่งเราสามารถอาศัยจังหวะความต่างนี้ในการเข้าออเดอร์ได้  โดยมีเงื่อนไขการเข้า Buy และ Sell ดังต่อไปนี้

  • จังหวะ Buy: เมื่อคู่เงินที่เราสนใจอยู่ต่ำกว่าอีกคู่เงินมากผิดปกติ (สังเกตจุดวงกลมสีเหลือง)
  • จังหวะ Sell: เมื่อคู่เงินที่เราสนใจอยู่สูงกว่าอีกคู่เงินมากผิดปกติ (สังเกตจุดวงกลมสีฟ้า)
ภาพแสดงอินดิเคเตอร์ Overlay วงกลมสีฟ้า คือ สัญญาณที่เหมาะสมในการ Sell ในขณะที่ วงกลมสีเหลือง คือ สัญญาณที่เหมาะสมในการเข้าออเดอร์ BUY

เช่นในภาพตัวอย่างด้านบน ช่วงที่ค่าเงินGBPUSD อยู่ต่ำกว่า EURUSD มาก ให้ทำการเข้า Buy GBPUSD และเข้าออเดอร์ Sell EURUSD

การจัดการออเดอร์

เนื่องจากการเทรดด้วยอินดิเคเตอร์ Overlay ไม่สามารถใช้จุดบนกราฟในการกำหนด Stop Loss และ Take Profit ได้ เราจึงต้องใช้เปอร์เซ็นต์กำไรขาดทุนแทน ผมจะยกตัวอย่างดังนี้ครับ

  • Take Profit: ตั้งเป้าที่ 3% ของเงินลงทุน
    • เมื่อถึงเป้าหมาย ให้ปิดทั้งสองออเดอร์พร้อมกัน
    • รอสัญญาณใหม่ก่อนเข้าเทรดครั้งต่อไป
  • Stop Loss: จำกัดการขาดทุนที่ 2% ของเงินลงทุน
    • หากขาดทุนถึงจุดนี้ ให้ปิดออเดอร์หมด เพื่อป้องกันการขาดทุนจำนวนมาก

อย่างที่เคยบอกอยู่เสมอว่า ไม่มีระบบไหนที่สมบูรณ์แบบในการเทรด การเทรดทุกระบบล้วนมีความเสี่ยง การตั้ง Stop Loss จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่สุด เพราะช่วยให้เราไม่ต้องเผชิญกับภาวะทางอารมณ์ในการตัดสินใจ หลายคนมักคิดว่า “ไม่เป็นไร ขาดทุนนิดหน่อย” แต่เมื่อขาดทุนสะสมมากขึ้น มักจะไม่กล้า Cut Loss ซึ่งอาจนำไปสู่การขาดทุนที่รุนแรงได้

 Review Broker Forex

วิเคราะห์ วิจารย์ ข้อดี-ข้อเสีย ข้อมูลจากการเทรดด้วยบัญชีจริง โดยทีมงานหลายคน ...

สรุป

การเทรดโดยใช้ Overlay indicator เป็นการใช้เครื่องมือแบบวัดค่าความสัมพันธ์ของค่าเงิน โดยที่สามารถเลือกค่าเงินที่จะนำมาใส่ได้ และดูความสัมพันธ์ของมัน ถ้าหากมันไม่สัมพันธ์กันมาก ก็ให้ใช้ความได้เปรียบนั้นในการเทรด

อย่างไรก็ตาม การเทรดต้องมีการตั้ง Stop loss เพื่อป้องกันความผิดพลาดเสมอ ซึ่งกรณีนี้ไม่สามารถตั้ง Stop loss ในกราฟได้ เพราะการเคลื่อนไหวเป็นการเคลื่อนที่ของราคา 2 ค่าเงิน เราจึงควรใช้จำนวนเงินเป็นตัวตั้ง Stop loss เป็นหลัก… ปัจจุบันเราก็พอจะเห็นนักพัฒนา EA Forex เข้ามานำหลักการ Correlation มาทำเป็น EA กันอยู่บ้าง แต่น้อยคนที่จะทำออกมาได้ดี เนื่องจากมันมีหลาย ๆ ปัจจัยที่ไม่สามารถทำนายผลได้แม่นยำ 100% ครับ

อ้างอิง

  1. https://www.mql5.com/en/code/7933

ทีมงาน: forexthai.in.th

แสดงข้อคิดเห็น ให้กำลังใจ

comments

สารบัญบทความ