Forexthai.in.th ย่อให้

  • ระบบเทรด Momentum MACD + Stoch: เป็นระบบการเทรดระยะสั้นโดยเทรดในจุดที่ราคามีโอกาสกลับตัวเพื่อที่จะทำกำไรตั้งแต่ต้นเทรนด์ในไทม์เฟรม 5 นาที
  • หลักการเทรดเบื้องต้น:  ดูโมเมนตัมของตลาดโดยใช้ MACD และ Stochastic ประกอบการตัดสินใจในการเข้าเทรดด้วยเส้น EMA
  • เครื่องมือที่ใช้: เส้น EMA  2 เส้น, MACD และ Stochastic
  • ข้อดี: เป็นระบบเทรดที่ใช้งานง่ายช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับการเทรด, มีผลตอบแทนสูงถ้าตลาดเป็นใจ 
  • ข้อเสีย: ไม่เหมาะกับการใช้งานใน TradingView เวอร์ชั่นฟรี, มีความเสี่ยงที่ไม่ใช้ RR

ภาพปกระบบเทรด Momentum ไทม์เฟรม 5 นาที

หลักการเทรดเบื้องต้น

ระบบเทรด Momentum MACD + Stoch เป็นระบบเทรดระยะสั้นไทม์เฟรม 5 นาที โดยเน้นทำกำไรจากจุดกลับตัวโดยการดูโมเมนตัมของตลาดจาก MACD และ Stochastic และคอนเฟิร์มการเทรดด้วยแท่งเทียนและเส้น EMA  เป็นระบบเทรดจุดกับตัวที่มีความเรียบง่าย ทรงพลัง และ สามารถทำกำไรได้ตั้งแต่ต้นเทรนด์จนจบเทรนด์

เครื่องมือที่ใช้เทรด

  1. เส้น EMA 5 Close
  2. เส้น EMA 5 Open
  3. MACD
  4. Stochastic 5 3 3

EMA 5 Close / EMA 5 Open

อินดิเคเตอร์ EMA
ภาพอธิบายอินดิเคเตอร์ EMA Close / EMA Open และหลักการใช้งานเบื้องต้น

EMA หรือ Exponential Moving Average เส้นค่าเฉลี่ยรูปแบบ Exponential มีความตอบสนองไวต่อราคา ถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งของระบบเทรดอย่างแพร่หลายโดยเส้นค่าเฉลี่ย Exponential สามารถปรับเปลี่ยนการคำนวณได้หลายรูปแบบซึ่งในระบบการเทรดนี้จะใช้ 2 รูปแบบด้วยกัน

  1. EMA 5 Close คือ เส้นค่าเฉลี่ย Exponential ที่คำนวณจากราคาปิดแท่งเทียน 5 แท่งย้อนหลังเพื่อแสดงเป็นเส้นบนกราฟราคา
  2. EMA 5 Open คือเส้นค่าเฉลี่ย Exponential ที่คำนวณจากราคาเปิดแท่งเทียน 5 แท่งย้อนหลังเพื่อแสดงบนกราฟราคา

การใช้งาน EMA 5 Close / EMA 5 Open

  1. ดูการตัดกันของเส้น EMA เพื่อคาดการณ์ทิศทางของตลาด
  2. เมื่อมีการตัดกันนักเทรดจะสามารถใช้เป็นตัวคอนเฟิร์มการเทรดได้

MACD

อินดิเคเตอร์ MACD
ภาพอธิบายอินดิเคเตอร์ MACD และหลักการใช้งานเบื้องต้น

MACD หรือ Moving Average Convergence Divergence เป็น indicator ที่แสดงโมเมนตัมของตลาดปัจจุบันผ่านการคำนวณจากเส้น MA 12 และ MA 26 ( MACD Line และ Signal Line) ซึ่ง indicator มีองค์ประกอบดังนี้

  1. MACD Line (เส้นค่าเฉลี่ยสีน้ำเงิน)
  2. Signal Line (เส้นค่าเฉลี่ยสีส้ม)
  3. Histogram (แท่งสีเขียว แท่งสีแดง)
  4. Zero Line (เส้นกึ่งกลาง)

การใช้งาน MACD

  1. ดูจุดที่ราคามีโอกาสกลับตัว
  2. ดูแรงซื้อและแรงขายของตลาด
  3. ใช้ในการตัดสินใจในการเข้าเทรด

Stochastic 

อินดิเคเตอร์ Stochastic
ภาพอธิบายอินดิเคเตอร์ Stochastic และหลักการใช้งานเบื้องต้น

Stochastic เป็น indicator แสดงโมเมนตัมเช่นเดียวกับ MACD แต่มีการตอบสนองที่ไวกว่า คนส่วนใหญ่จึงใช้ Stochastic ตัวนี้ดูสวิงของราคาในระยะสั้นซึ่ง indicator มีองค์ประกอบดังนี้

  1. เส้น %K (เส้นสีน้ำเงิน)
  2. เส้น %D (เส้นสีส้ม)
  3. โซน OverBought ( บริเวณที่มีแรงซื้อมากจนเกินไปและราคามีโอกาสกลับตัวลง เป็นโซนที่มีค่ามากกว่า 80)
  4. โซน OverSold ( บริเวณที่มีแรงขายมากจนเกินไปและราคามีโอกาสกลับตัวขึ้น เป็นโซนที่มีค่าน้อยกว่า 20)

Stochastic จะมีค่ามาตรฐานคือ 14 1 3 แต่ค่านี้มีการตอบสนองต่อราคาไว้มากจนเกินไปทำให้มักเกิดสัญญาณหลอกได้ ดังนั้นการปรับค่าให้เป็น 5 3 3 จะช่วยลดสัญญาณหลอกและมีความสมูทมากขึ้น

การใช้งาน Stochastic

  1. ใช้ดูจุดกลับตัวในโซน OverBought และ OverSold
  2. ดูสวิงระยะสั้นของราคา
  3. ใช้ประกอบการตัดสินใจในการเข้าเทรด

เงื่อนไขการเทรดขาขึ้น

เงื่อนไขการเทรดขาขึ้น

1. Stochastic ตัดขึ้นจากโซน OverSold และยังไม่ถึงโซน OverBought

เงื่อนไขการเทรดขาขึ้น

2. MACD Histogram เริ่มมีการปรับตัวขึ้น

เงื่อนไขการเทรดขาขึ้น

3. แท่งเทียนเป็นสีเขียวหรือเป็นแท่งเทียนที่แสดงว่ามีแรงซื้อ

เงื่อนไขการเทรดขาขึ้น

4. EMA ทั้ง 2 เส้นตัดกันขึ้น

เงื่อนไขการเทรดขาขึ้น

5. เปิดออร์เดอร์ BUY

เงื่อนไขการเทรดขาขึ้น

6. ตั้ง Stop loss ไว้ใต้แท่งเทียนก่อนหน้าประมาณ 20 ปี๊บหรือมากกว่า

เงื่อนไขการเทรดขาขึ้น

7. ปิดออเดอร์เมื่อเส้น EMA 2 เส้นตัดกันลง

เงื่อนไขการเทรดขาลง

เงื่อนไขการเทรดขาลง

1. Stochastic ตัดลงจากโซน OverBought และยังไม่ถึงโซน OverSold

เงื่อนไขการเทรดขาลง

2. MACD Histogram เริ่มมีการปรับตัวลง

เงื่อนไขการเทรดขาลง

3. แท่งเทียนเป็นสีแดงหรือเป็นแท่งเทียนที่แสดงว่ามีแรงขาย

เงื่อนไขการเทรดขาลง

4. EMA ทั้ง 2 เส้นตัดกันลง

เงื่อนไขการเทรดขาลง

5. เปิดออร์เดอร์ SELL

เงื่อนไขการเทรดขาลง

6. ตั้ง Stop loss ไว้เหนือแท่งเทียนก่อนหน้าประมาณ 20 ปี๊บหรือมากกว่า

เงื่อนไขการเทรดขาลง

7. ปิดออเดอร์เมื่อเส้น EMA 2 เส้นตัดกันขึ้น

ข้อดีและข้อเสียของระบบเทรด Momentum MACD + Stoch

ข้อดีของระบบเทรด Momentum
ภาพสรุปข้อดีของระบบเทรด Momentum

ข้อดีของระบบเทรด

  1. เป็นระบบเทรดที่มีการยืนยันหลายชั้นทำให้นักเทรดมีความมั่นใจ
  2. เป็นระบบเทรดจุดกลับตัวที่เรียบง่าย
  3. ถ้าตลาดวิ่งเป็นเทรนด์สามารถเก็บกำไรได้ดี

ข้อเสียของระบบเทรด

ข้อเสียของระบบเทรด Momentum
ภาพสรุปข้อเสียของระบบเทรด Momentum ที่นักเทรดต้องให้ความระมัดระวังเมื่อจะนำไปใช้งาน
  1. เป็นระบบเทรดสั้นที่ต้องมีเวลาเฝ้าจอ
  2. การไม่ใช้ RR (Risk Reward) เข้ามาคุมความเสี่ยงทำให้ต้องเปิดปิดออเดอร์บ่อย
  3. การไม่ใช้ RR ยังทำให้บางครั้งพลาดโอกาสการทำกำไรที่ดีไป
  4. ไม่เหมาะกับการใช้งานใน TradingView เวอร์ชั่นฟรี

คำแนะนำการใช้ระบบเทรด 

คำแนะนำการใช้งานระบบเทรด
ภาพคำแนะนำการใช้งานระบบเทรดเพื่อให้นักเทรดได้นำไปปรับปรุงและต่อยอดระบบเทรดให้ดียิ่งขึ้น
  1. ใช้ RR  เข้ามาคุมเพื่อเพิ่มผลตอบแทนและลดความเสี่ยงได้
  2. สามารถแบ่งปิดกำไรตาม RR  บางส่วนและอีกบางส่วนใช้เส้น EMA  ในการปิดออเดอร์ได้
  3. สามารถปรับ Stop loss ตาม Swing ได้ไม่จำเป็นต้องตั้งเหนือแท่งเทียน
  4. ปรับค่า EMA ให้เหมาะกับพฤติกรรมคู่เงินหรือไทม์เฟรมที่จะนำไปเทรดได้
  5. นำระบบไป Back Test ก่อนใช้งานจริงโดย Back Test ให้ครบ 100 การเทรด

สรุป

ระบบเทรด Momentum MACD + Stoch  เป็นระบบเทรดระยะสั้นใช้ในไทม์เฟรม 5 นาที โดยระบบนี้จะเน้นการใช้ indicator แสดงโมเมนตัมของตลาดอย่าง MACD และ Stochastic  ประกอบการตัดสินใจในการเทรดร่วมกับเส้น EMA

เป็นระบบที่เหมาะกับการใช้งานในแพลตฟอร์ม MT4 และ MT5  แต่ยังไม่เหมาะกับผู้ใช้งานที่กำลังฝึกเทรดและใช้โปรแกรม TradingView เวอร์ชั่นฟรี เนื่องจากทางแพลตฟอร์มให้เพิ่ม indicator ได้แค่เพียง 2 ตัวเท่านั้น

ระบบนี้เป็นระบบที่เทรดจุดกลับตัวและเน้นเก็บกำไรตั้งแต่ต้นเทรนด์  ถ้าตลาดเป็นใจก็สามารถเก็บกำไรได้มากแต่ถ้าตลาดมีความผันผวนกำไรที่ได้ก็จะน้อยลงหรืออาจจะขาดทุน ดังนั้นการใช้ RR  เข้ามาคุมความเสี่ยงและผลตอบแทนจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบเทรดนี้ได้เป็นอย่างดีเลยครับ สุดท้ายแล้วก็อย่าลืมนำระบบนี้ไปทดสอบก่อนใช้งานจริงเพื่อเพิ่มความมั่นใจในการใช้ระบบเทรดนะครับ

อ้างอิง

ทีมงาน: forexthai.in.th

แสดงข้อคิดเห็น ให้กำลังใจ

comments