Forexthai.in.th ย่อให้

  • Inside Bar คือแท่งเทียนที่มีขนาดเล็กกว่าแท่งก่อนหน้า (Mother Bar) และราคาจะแกว่งตัวแคบๆ รอการเลือกทาง
  • เป็นสัญญาณที่แสดงถึงการกระจุกตัวของราคา และมักใช้ในการเทรดแบบ Breakout
  • มี 2 รูปแบบคือ Continuation (ต่อเนื่องตามเทรนด์เดิม) และ Reversal (การกลับตัว)
  • การเข้าเทรดทำได้โดยรอให้ราคา Break out จาก Inside Bar แล้วใช้ High/Low ของ Mother Bar เป็นจุดอ้างอิง
  • ควรดูร่วมกับปัจจัยอื่นๆ ด้วย เช่น แนวรับแนวต้าน เพื่อเพิ่มโอกาสความสำเร็จในการเทรด

inside bar คืออะไร

Inside Bar คืออะไร

Inside Bar คือ แท่งเทียนที่มีขนาดเล็กลงกว่าแท่งก่อนหน้า (หรือที่เรียกว่า Mother Bar) และถูกปกคลุมส่วนของแท่งเทียนทั้งหมด (โดยเราจะวัดนับรวมปลายไส้แท่งเทียนด้วย)

ถ้าจะให้อธิบายในรายละเอียด Inside Bar คือ แท่งเทียนที่หดเล็กลงกว่าแท่งก่อนหน้า ตามภาพตัวอย่างข้างบน ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงการ “กระจุกตัว” ของราคา โดยที่รวมทั้งเรื่องของไส้เทียน ที่จะต้องสั้นกว่าแท่งก่อนหน้า และที่สำคัญมันอาจจะมีหลายรูปแบบ เช่น การนับจำนวนแท่งที่ใช้วิเคราะห์ inside Bar โดยที่อาจจะมี 2 แท่ง 3 แท่ง หรือ 4 แท่ง เป็นต้น

“ข้อมูลที่สำคัญสำหรับ Inside Bar คือ ลักษณะแท่งที่เป็น Inside Bar ต้องมี Low ที่สูงกว่า และ High ต่ำกว่า แท่งเทียนที่เป็น Mother bar”

ความสำคัญของ Inside Bar

Inside Bar คือหนึ่งใน Set up การเทรดโดยใช้ Price action ที่เป็นที่นิยมของเหล่าเทรดเดอร์สาย Price Action เนื่องด้วยโอกาสการทำกำไรที่สามารถเกิดขึ้นได้สูง สามารถสร้างอัตราส่วนผลตอบแทนและความเสี่ยงที่ดี (Risk reward ratio) มีช่วง Stop loss ที่สั้นกว่ารูปแบบกราฟหรือ Set up อื่นๆ และยิ่งถ้าใช้ประกอบกับสัญญาณอื่นๆ เช่น

  • การวิเคราะห์โดยใช้เทรนด์
  • การใช้เครื่องมือในการวัดเทรนด์ เช่น Equidistance channel ร่วมด้วย
  • การใช้แนวรับแนวต้าน เช่น เครื่องมือ Fibonacci Level

จะทำให้ยิ่งทวีความสามารถของมันได้อย่างดีขึ้นไปอีก

Inside Bar คืออะไร forex
ตัวอย่างภายในบาร์ ซึ่งประกอบไปด้วย 1.Mother Bar (แท่งแม่: แท่งเทียนที่มีการซื้อขายจำนานมาก จึงทำให้แท่งเทียน มีขนาดที่ใหญ่กว่าแท่งเทียนด้านหลัง) และ 2. Inside Bars (แท่งภายใน) ซึ่งจะมีขนาดสั้นกว่า Mother Bar

วิธีการเข้าเทรด

โดยทั่วไปหลักการของ Inside Bar จะใช้ใน “การเทรดลักษณะ Breakout” คือ จะเข้าเทรดก็ต่อเมื่อแท่งเทียนเกิดรูปแบบ Inside Bar และแท่งเทียนถัดจาก Inside bar นั้นเกิดการ Breakout ในทางใดทางหนึ่ง โดยใช้ High หรือ Low ของแท่ง Mother Bar เป็นจังหวะ Long หรือ Short

  • Long ตาม เมื่อราคาทะลุ High ของ Mother ขึ้น (ใช้คำสั่ง Buy stop order)
  • Short ตาม เมื่อราคาทะลุ Low ของ Mother ลง (ใช้คำสั่ง Sell stop order)
ประเภทของบาร์ด้านใน
เมื่อ Inside Bar เกิดการ Breakout ไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ก็ให้ทำการออกคำสั่งซื้อหรือขายไปไหนทิศทางนั้น โดยนัยยะคือ ราคาเกิดการเปลี่ยนแปลงทิศทางจาก Side Way หรือแนวรับแนวต้านของ Mother+Inside Bar เริ่มเป็นเทรนไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง

นัยยะความหมายของ Inside bar

Inside bar เหมือนเป็นสัญญาณว่า ราคากำลังอยู่ในช่วงที่ตัดสินใจไม่ได้ว่าจะไปในทางไหน แกว่งตัวแคบๆ รอการเลือกทาง การเกิดสัญญาณลักษณะนี้จะทำให้เกิด”การกระจุกตัวของราคา” และ “เกิดการสะสมของราคา” ซึ่งสามารถตีความได้ 2 อย่าง คือ

  1. การสะสมของราคา: เมื่อรายใหญ่กำลังเก็บของในช่วงนี้ทำให้ราคาเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวที่น้อยกว่าแท่งก่อนหน้า
  2. การดึงกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย: ผู้ขายคิดว่าถูกเกินไปไม่อยากขาย ขณะที่ผู้ซื้อก็ไม่อยากซื้อเพราะคิดว่าแพง ราคาการซื้อขายจึงไม่ได้เกิดขึ้น

การเทรด Inside Bar จึงค่อนข้างมีประสิทธิภาพในการใช้การเทรดแบบ Break Out เนื่องจากลักษณะการกระจุกตัวแบบที่กล่าวไป จะเกิดจากการดึงกันของราคาระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย และการสะสมของของรายใหญ่ทำให้เกิดรูปลักษณ์ราคาดังกล่าว โดยทั่วไปการเทรด Inside bar มีอยู่ 2 แบบ

Inside bar Set up: รูปแบบของ Inside bar 

การเทรดโดยอาศัยหลักการของ Inside bar จะมี 2 รูปแบบคือ

  1. Continuation หรือ รูปแบบการเคลื่อนไหวต่อเนื่อง ตามเทรนด์เดิม
  2. Reversal หรือ การกลับตัว

1. Continuation – เทรดตามแนวโน้ม

Continuation inside Bar
รูปแบบการเคลื่อนไหวของราคาแบบ Continuation (การเคลื่อนไหวต่อเนื่อง ตามเทรนเดิม ฝั่งซ้าย: ตามเทรนขาขึ้น, ฝั่งขวา: ตามเทรนขาลง)

จากกราฟข้างต้น ซึ่งเห็นได้ว่า

  • แท่งเทียนฟอร์มตัวรูปแบบ Inside bar แล้วเกิดการไปต่อของราคาตามแนวโน้ม (Continuation) คือ ราคาหยุดพัก ณ จุดที่เกิด inside Bar แล้วเคลื่อนไหวไปต่อเมื่อเกิดการ Breakout จากกรอบของราคาของ inside Bar ออกไป
  • มีแค่ช่วงขวาสุดของกราฟที่เป็นการกลับตัวของราคา(Reversal) เนื่องจากเป็นราคาที่อ่อนตัวลงมาทดสอบแนวรับ Low เดิม ซึ่งเป็นลักษณะการเทรด Reversal ที่จะกล่าวในส่วนถัดไป

2. Reversal – การกลับตัว

กลับด้านในบาร์
การกลับตัวของ inside bar (Reversal) จะเห็นว่า Inside Bar ไม่สามารถผ่าน แนวต้านได้ จึงเกิดการกลับตัวขึ้น

สำหรับกราฟข้างต้นเป็นตัวอย่างการใช้ Inside bar ในการ “หาจุดกลับตัว” คือ Inside Bar ที่ทำให้เกิดการดีดกลับของราคาไปอีกทิศทางหนึ่ง ซึ่งไม่ว่าเราจะเห็นว่าเจ้ามือจะเก็บของขนาดไหนก็ตาม เราก็ไม่สามารถที่จะคาดเดาทิศทางการเคลื่อนไหวของราคาได้

ถ้ามีคนคาดเดาได้หรือรู้อนาคต จึงไม่จำเป็นต้องมาเทรดแล้วครับ มีวิธีหาเงินอื่นได้อีกมากมายมาก สำหรับคนที่อ่านอนาคตได้ไปดูหนังเรื่อง Next อธิบายไว้อย่างชัดเจนครับ

อย่างไรก็ตาม นั่นก็เป็นเพียงตัวอย่าง จะให้ดีเราควรสามารถประยุกต์ใช้มันกับรูปแบบอื่นๆ เช่น

เพื่อเพิ่มความแม่นยำ และโอกาสในการวิเคราะห์ให้ถูกต้องขึ้น ซึ่งเทรดเดอร์สามารถนำ Set up นี้ไปประยุกต์ใช้ กับรูปแบบการเทรดต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิในการเทรดให้สูงที่สุด รับรองว่ารูปแบบนี้จะเป็นประโยชน์กับเทรดเดอร์อย่างยิ่ง

การใช้ Inside Bar เพื่อหาจุดเข้า-ออกที่เหมาะสม

1. การใช้ Inside Bar เพื่อระบุจุดเข้า

  • รอรูปแบบการยืนยัน Inside Bar: ก่อนเข้าเทรดทุกครั้ง ให้ทำการรอสัญญาณเทรด โดยดูได้จากแท่งเทียนแท่งแรก เราเรียกว่า Mother Bar (แท่งแม่) จะต้องมีราคาเปิด และราคาปิดห่างกันสักระยะหนึ่ง โดยแท่งถัดมา ราคาสูงสุด จะต้องต่ำกว่าแท่งก่อนหน้า และราคาต่ำสุด จะต้องสูงกว่าแท่งก่อนหน้า
  • การกำหนดจุดเข้า: การเข้าออเดอร์ หากราคามีการ Break out (ฝ่าวงล้อม) ไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ทะลุบน หรือล่าง ให้เราใช้ราคาสูงสุด และต่ำสุด ของแท่งแรก เป็นเกณฑ์ ในการกำหนดแนวรับและแนวต้าน 
    • หากราคาทะลุขึ้น หรือหลุดแนวต้าน ให้เปิด Oder Buy 
    • หากราคาหลุดแนวรับ ให้เปิด Oder Sell 
จุดเข้า และ จุดออก ที่ Inside Bar
รูปแสดง จุดเข้า Oder Sell และ จุดออก ที่ Inside Bar ถัดไป ทำให้สามารถทำกำไรได้ถึง 462 point หรือกำไร 46 pips

2. การใช้ Inside Bar เพื่อระบุจุดออก

  • การตั้ง Stop Loss: ควรตั้งค่า Stop Loss อยู่ที่อีกด้านหนึ่งของ Inside Bar เพื่อจำกัดความเสี่ยงในกรณีที่ตลาดเคลื่อนที่ในทิศทางตรงกันข้ามกับที่คาดการณ์ไว้ โดยกำหนด SL ไว้ที่ 10-20 Pips หรือ 100-200 จุด
  • การกำหนดจุดออกหรือ Take Profit: เทรดเดอร์ควรกำหนด TP (จุดทำกำไร) ตาม Risk : Reward (ความเสี่ยงต่อผลตอบแทน) ไว้ที่อย่างน้อย 1 ต่อ 2 เพื่อที่เราจะได้กำไรส่วนต่าง จากการเข้าออเดอร์ 1 ไม้ เช่น ตั้ง SL ไว้ 10 Pips ตั้ง TP ไว้ 20 Pips เป็นต้น  

TIP: การหาจุดออกออเดอร์

  1. การหาจุดออกให้เราดูที่ราคา หากราคามีการปรับฐานสักระยะหนึ่ง ให้เรามองหารูปแบบ Inside Bar เพื่อกำหนดจุดออกได้เลย (จุด Inside Bar ต่อไปจะเป็นจุดที่ราคาอาจไปต่อหรือกลับตัว ดังนั้นเราอาจทำการ TP ไปก่อน) 
  2. แต่ถ้าราคามีการ TP ไปแล้วตาม Risk : Reward 1:2 ก็ไม่เป็นไร (ขึ้นอยู่กับว่าจุดไหนจะถึงก่อนกัน)
  3. บางทีอาจบริหารความเสี่ยงโดยการตั้ง Trailing stop ที่จุด Inside bar ก็ได้ หากมีการกลับตัวก็จะยังได้กำไร หรือหากกราฟไปต่อก็จะได้กำไรเพิ่มขึ้น 

ข้อดีและข้อควรระวังในการเทรดด้วย Inside Bar

ข้อดี ข้อควรระวัง
บอกจุดเข้าที่มีความเสี่ยงต่ำ (เพราะราคามีการกระจุกตัวในกรอบแคบๆ ก่อนจะ Breakout) ไม่ควรใช้ในกราฟ Sideway
เวลาได้กำไร จะได้ก้อนใหญ่ ใน TF เล็กมีโอกาสเกิดการ False Break (ราคาเบรกไปแล้ว แต่วิ่งกลับมาในทิศทางเดิม)
Stop Loss แคบกว่า Setup อื่น ๆ สามารถควบคุมความเสี่ยงได้ดีขึ้น ควรดูอย่างอื่นประกอบด้วย เช่น แนวโน้มหรือแนวรับแนวต้าน เพื่อเพิ่มความแม่นยำ
ประยุกต์ใช้ได้กับทุกกรอบเวลา (Time Frame)

3 อันดับยอดนิยมของ EA inside bar

1. Inside Bar EA by InsideEA-1

EA นี้มีฟังก์ชันใหม่ที่เรียกว่า “Trading Time” และสามารถทำงานในแพลตฟอร์ม MT4 ของโบรกใดก็ได้ เป็นที่รู้จักกันว่ามีประโยชน์มากและมักจะใช้สำหรับการซื้อขายใน TF4 ชั่วโมง และ D1 เป็นหลัก

คลิ๊กเพื่อ Download indicator

2. Inside Bar Breakout Strategy EA

EA ตัวนี้จะ Pending order ให้ตามแนวรับ แนวต้าน โดยอาศัย Candle pattern ครับ ดูเหมือนจะไม่มีอะไรแต่มันกลับได้ผลดีอย่างน่าเหลือเชื่อ และมันจะไม่ออก order อื่นหากเรายังไม่ปิดไม้เดิมก่อน

คลิ๊กเพื่อ Download indicator

3. Inside Bar EA by GigiDolar

EA ตัวนี้วางระบบการเทรดแบบโครงสร้าง Inside bar หรือ candle bar ล้วน ๆ ซึ่งถูกคำนวณโดย GigiDolar โดยระบบนี้สร้างขึ้นโดยคุณ James (คนวงในเท่านั้นที่จะรู้)

คลิ๊กเพื่อ Download indicator

สรุป

จากที่กล่าวมาทั้งหมด เราพอจะสรุปได้ว่า Inside Bar เป็นรูปแบบกราฟที่มีประโยชน์มากต่อเทรดเดอร์ เนื่องจากช่วยบอกการกระจุกตัวของราคาก่อนเกิดการ Breakout ทำให้สามารถคาดการณ์ทิศทางของราคาได้ มีจุดเข้า-ออกเทรดที่ชัดเจน และมีโอกาสทำกำไรได้สูง สามารถประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย ทั้งการเทรดตามเทรนด์ การหาจุดกลับตัว หรือใช้กับเครื่องมือต่างๆ

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือผู้เทรดต้องมีวินัย ศึกษาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ มีการบริหารเงินทุนและความเสี่ยงที่ดี รวมถึงรู้จักปรับปรุงและพัฒนาทักษะอยู่เสมอ เพราะไม่มีระบบเทรดใดที่สมบูรณ์แบบ สุดท้ายนี้ขอให้ทุกท่านประสบความสำเร็จในเส้นทางการเทรด และหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยครับ

ทีมงาน: forexthai.in.th

แสดงข้อคิดเห็น ให้กำลังใจ

comments