Forexthai.in.th ย่อให้
- ระบบเทรด Candle Rejection: เป็นระบบการเทรดที่ใช้เทรดตามเทรนด์ ที่ใช้ได้ดีกับไทม์เฟรมใหญ่ โดยใช้ลักษณะของแท่งเทียนในการเทรด
- หลักการเทรดเบื้องต้น: ใช้เส้น EMA ในการบอกแนวโน้มของตลาด และดูแท่งเทียนปฏิเสธราคาบริเวณเส้น EMA ในการเทรด
- เครื่องมือที่ใช้: เส้น EMA และลักษณะแท่งเทียน Rejection
- ข้อดี: ใช้เทรดตามเทรนด์ได้ดี, สามารถสะสมออเดอร์ได้
- ข้อเสีย: ค่าของเส้น EMA ไม่สามารถใช้เทรดได้กับทุกคู่เงิน, มือใหม่ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้การอ่านแท่งเทียน
สารบัญบทความ click เพื่อเลือกอ่าน !!
กราฟแท่งเทียน
ลักษณะของแท่งเทียน
แท่งเทียนในกราฟ Forex นะครับจะประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือ เนื้อเทียน และ ไส้เทียน
- เนื้อเทียน คือส่วนของกราฟแท่งเทียนตั้งแต่ราคาเปิดจนถึงราคาปิด
- ไส้เทียน คือส่วนที่เป็นหางของกราฟแท่งเทียน แสดงถึงราคาสูงสุดและราคาต่ำสุดของแท่งเทียนนั้น ๆ
แท่งเทียน Rejection
แท่งเทียน Rejection หรือแท่งเทียนปฏิเสธราคา เป็นแท่งเทียนที่มีลักษณะของไส้เทียนมากกว่าเนื้อเทียน เมื่อรูปแบบแท่งเทียนประเภทนี้เกิดขึ้นแสดงว่าราคานั้นมีโอกาสกลับตัวนั่นเองครับ
รูปแบบแท่งเทียน Rejection
- Pinbar (แท่งเทียนหมุด)
- Doji
- Hangman
- อื่น ๆ
บริเวณที่กราฟมักจะเกิดแท่งเทียน Rejection
- แนวรับและแนวต้านสำคัญ
- เส้นแนวโน้ม
- Demand / Supply Zone
- เส้น MA
หลักการเทรดเบื้องต้น
ระบบเทรด Candle Rejection คือระบบเทรดในไทม์เฟรม 1 ชั่วโมง ซึ่งเราจะใช้เส้น EMA ในการดูแนวโน้ม และใช้ดูบริเวณแนวรับแนวต้านแบบ Dynamic หลังจากนั้นมองหาแท่งเทียนปฏิเสธราคาบริเวณเส้น EMA ก่อนจะเข้าเทรดในทิศทางเดียวกับเทรนด์ของตลาดที่เกิดขึ้น
เครื่องมือที่ใช้เทรด
- เส้น EMA 2 เส้น (EMA 12 และ EMA 72)
- แท่งเทียน Rejection
เส้น EMA
เส้นค่าเฉลี่ยประเภท Exponential เป็นเส้น MA มีการตอบสนองไวต่อราคาและเป็นที่นิยมในหมู่ของนักเทรด โดยทั่วไปแล้วเส้น EMA จะถูกแบ่งการใช้งานเป็น 2 ลักษณะด้วยกัน
- ดูแนวโน้มของเทรนด์ในตลาดจากการตัดกันของเส้นระยะยาวและเส้นระยะสั้น
- ใช้เป็นแนวรับแนวต้านหาจุดที่ราคามีโอกาสกลับตัวหรือพักตัว
เงื่อนไขการเทรดขาขึ้น
1. รอการตัดขึ้นของเส้น EMA 12 และ EMA 72
2. รอให้ราคาลงมาทดสอบเส้น EMA 72
3. เกิดแท่งเทียน Rejection บริเวณเส้น EMA 72
4. กราฟแท่งเทียนวิ่งขึ้นไปปิดตัวเหนือ EMA 12
5. เปิดออเดอร์ Buy
6. ตั้ง Stop loss ไว้ที่ Swing Low หรือ ใต้เส้น EMA 72
7. ตั้ง Take profit ใช้เป็น Trailing Stop ตามเส้น EMA 12 หรือที่แนวต้านถัดไป
เงื่อนไขการเทรดขาลง
1. รอการตัดลงของเส้น EMA 12 และ EMA 72
2. รอให้ราคาขึ้นมาทดสอบเส้น EMA 72
3. เกิดแท่งเทียน Rejection บริเวณเส้น EMA 72
4. กราฟแท่งเทียนวิ่งลงไปปิดตัวใต้ EMA 12
5. เปิดออเดอร์ Sell
6. ตั้ง Stop loss ไว้ที่ Swing High หรือ เหนือเส้น EMA 72
7. ตั้ง Take profit ใช้เป็น Trailing Stop ตามเส้น EMA 12 หรือแนวรับถัดไป
ข้อดีและข้อเสียของ ระบบเทรด Candle Rejection
ข้อดีของระบบเทรด
- เป็นระบบเทรดตามเทรนด์ที่ดี
- เมื่อปิดออเดอร์ไปแล้วมีจุดเข้าเทรดใหม่ที่ชัดเจน
- มีระบบการ Trailing Stop ทำให้สามารถรีดกำไรออกมาได้เยอะที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
- ใช้ได้ดีกับไทม์เฟรมใหญ่
ข้อเสียของระบบเทรด
- แพ้ตลาด Side Way
- เป็นระบบเทรดที่ต้องเฝ้าจอ
- มือใหม่ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้เรื่องการอ่านแท่งเทียน
- ไม่สามารถใช้ค่าของ EMA ค่าเดียวในการเทรดหลายคู่เงิน
คำแนะนำการใช้ระบบเทรด
- ควรปรับค่า EMA ไปตามพฤติกรรมของคู่เงิน
- สามารถเก็บสะสมออร์เดอร์ตามจุดที่ราคาลงมาทดสอบเส้น EMA ได้ เป็นการเพิ่มกำไรและเพิ่มจำนวนการเทรดให้กับระบบเทรดนี้
- สำหรับมือใหม่ที่กำลังเรียนรู้เรื่องแท่งเทียน สามารถใช้อินดิเคเตอร์ตัวอื่นๆมาหาจุดกลับตัวของราคาได้
- สามารถแบ่งเก็บกำไรเป็นระยะได้
- ต้องนำไป Back Test ก่อนใช้งานจริงในคู่เงินที่ต้องการเทรด
สรุป
ระบบเทรด Candle Rejection เป็นระบบที่ใช้เทรดตามเทรนด์ได้ดีอย่างมากมีจุดเข้าเทรดที่ชัดเจน สามารถสะสมออเดอร์ระหว่างที่ราคาเป็นเทรนด์ได้ อย่างไรก็ดีในตลาดที่เป็น Side Way ระบบนี้จะมีอัตราการชนะที่ลดลงครับ ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงตลาด Side Way และตลาดที่มีความผันผวนสูงก็ควรเทรดในไทม์เฟรมใหญ่มากกว่าไทม์เฟรมเล็ก
สำหรับมือใหม่ที่ยังไม่เก่งเรื่องการอ่านแท่งเทียน สามารถนำอินดิเคเตอร์ตัวอื่นๆมาช่วยในการคาดการณ์จุดที่ราคาจะเกิดการปรับตัวได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นระบบนี้ จึงเป็นระบบที่เรียบง่าย ปรับใช้ได้หลายรูปแบบ เหมาะกับมือเก่า และเหมาะกับมือใหม่ที่กำลังเรียนรู้ ที่สำคัญยังสามารถทำกำไรได้จริงอีกด้วยครับ
ทีมงาน: forexthai.in.th