Forexthai.in.th ย่อให้

  • Charles Dow เป็นบิดาของการวิเคราะห์กราฟทางเทคนิค
  • Dow เชื่อว่าราคาของตลาดนั้น สะท้อนทุกอย่างไว้หมดแล้ว
  • Dow เชื่อว่าราคามี 2 แนวโน้ม คือ Bull market (ขึ้น) และ Bear market (ลง)
  • Dow นั้นแบ่งแนวโน้มหลักออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ Primary trend, Secondary trend, และ Minor trend
  • ทฤษฎี Dow Theory สามารถประยุกต์ใช้กับ Indicators Forex ได้แก่ Moving Averages, Trendlines, Price and Volume Indicators

Dow Theory

Charles Dow ถือได้ว่าเป็นบิดาของวงการเทรดเลย เนื่องจากเขาได้เป็นคนคิดค้น ดัชนีราคาในการวิเคราะห์ตลาดหลักทรัพย์ของอเมริกาเป็นคนแรก และเป็นต้นแบบในการวิเคราะห์กราฟทางเทคนิค

ทฤษฎีดาว Dow Theory คืออะไร forex
Charles H. Dow บิดาแห่งการวิเคราะห์ทางเทคนิคผู้ให้กำเนิด ทฤษฎีดาว (Dow Theory)

Dow Theory มีองค์ประกอบสำคัญ 6 ข้อ คือ

1. ราคาได้สะท้อนทุกอย่างไว้หมดแล้ว

ไม่ว่าจะเป็นข่าวสารต่างๆ พฤติกรรมความต้องการของคนในตลาด ปัจจัยทางพื้นฐานต่างๆ Dow เชื่อว่าได้ถูกสะท้อนออกมาเป็นราคา ณ ขณะนั้นเรียบร้อยแล้ว

2. ราคาเคลื่อนไหวอย่างเป็นแนวโน้ม

เมื่อมองในภาพใหญ่แล้ว Dow เชื่อว่าราคามีการเคลื่อนไหวเป็นไปอย่างมีแนวโน้ม โดยมี 2 แนวโน้ม คือ Bull market (ขึ้น) และ Bear market (ลง) อีกทั้งในทฤษฎีของ Dow นั้นแบ่งแนวโน้มออกเป็น 3 ประเภท คือ

Dow แบ่งแนวโน้มออกเป็น 3 ประเภท

  1. Primary trend หรือแนวโน้มใหญ่ – 1 ปีขึ้นไป (หรือแล้วแต่ Time Frame ที่ดูเทียบกับเทรนรองและเทรนย่อย โดยรวมคือที่ Time Frame ที่สูง ๆ)
  2. Secondary trend หรือแนวโน้มรอง  – เป็นช่วงการพักตัวของแนวโน้มใหญ่ เทรนด์รองอาจจะสลับแทรกด้วยเทรนด์ขาขึ้น-ขาลงที่เป็นเทรนด์ย่อยสลับกันไป มี “ระยะเวลาระหว่างสัปดาห์หรือเดือน”
  3. Minor trend หรือ แนวโน้มย่อย – ต่ำกว่า 6 วัน – การเคลื่อนไหวของแนวโน้มย่อยนั้นจะไม่ส่งผลอะไรต่อภาพใหญ่ เป็นเพียง noise ของตลาด

หมายเหตุ: แนวโน้มทั้งสามแบบสามารถเกิดขึ้นได้พร้อม ๆ กัน และมีส่วนช่วยในการตัดสินใจเข้าออเดอร์จากการทำความเข้าใจในกลไกของตลาด ในส่วนของทฤษฎีดาวยังแนะนำอีกครับว่า ให้เราเทรดตามทิศทางของเทรนด์ใหญ่เท่านั้น และหลีกเลี่ยงการเข้าเทรดในระหว่างเทรนด์รองและเทรนด์ย่อย

3. ราคาต้องยืนยันซึ่งกันและกัน

เมื่อเกิดสัญญาณการขึ้นหรือลงของราคานั้น ราคาที่เกี่ยวข้องกัน ควรจะต้องยืนยันทิศทางซึ่งกันและกัน ถึงจะเป็นการเคลื่อนไหวในทิศทางนั้นอย่างแท้จริง

โดยในทฤษฎีของ Dow แรกเริ่มนั้นได้คิดค้นว่าถ้าดัชนีของ Utilities (หุ้นกลุ่มสาธารณูปโภค) ขึ้นทำ New high ดัชนีของ Railroads (หุ้นกลุ่มขนส่ง) ก็ต้องทำ New High ด้วยเช่นกัน ถึงจะ “ยืนยันทิศทางขาขึ้นของดัชนีหุ้นในสหรัฐ” เนื่องจาก Dow มองว่าถ้าภาพรวมของเศรษฐกิจจะเป็นขาขึ้นจริง ภาพใหญ่ต้องขึ้นไม่ใช่ขึ้นเฉพาะบางอุตสาหกรรม

4. ปริมาณการซื้อขาย (Volume) ยืนยันทิศทางราคา

  • เมื่ออยู่ในช่วงแนวโน้มขาขึ้น ในช่วงการขึ้นนั้นปริมาณวอลุ่มควรเพิ่มขึ้น แต่ในช่วงพักตัววอลุ่มก็ควรหดตัวลง
  • ในทางตรงกันข้ามเมื่ออยู่ในช่วงแนวโน้มขาลง เมื่อราคาปรับตัวลง วอลุ่มควรเพิ่มขึ้นและหดตัวในช่วงรีบาวด์ (ราคากราฟย่อตัว)
  • ข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่ง คือ ปริมาณวอลุ่มจะสูงสุดในช่วงที่เป็นจุดสูงสุดของ Bull market หรือไม่ก็เป็นช่วงที่ตลาด panic ใน Bear market

5. ใช้ราคาปิดเท่านั้น

Dow เชื่อว่าการใช้ราคาปิดของวันนั้นถือว่าเป็นช่วงราคาที่สำคัญสุด (ดูที่แท่งเทียนเป็นหลัก ไม่ได้ดูที่ไส้เทียน) เพราะทั้งพวกเดย์เทรดที่ต้องปิดสถานะเมื่อสิ้นวัน หรือไม่ก็พวกนักลงทุนหรือ Hedge fund ต่างๆที่ชำระราคากันที่ราคาปิดทั้งสิ้น ทำให้ราคาปิดนั้นมีความสำคัญ แต่หลายคนอาจจะเริ่มตั้งคำถามว่า แล้วถ้าตลาดเปิด 24 ชั่วโมงจะทำอย่างไร?

ซึ่งไม่ว่าตลาดจะเปิด 24 ชั่วโมงหรือไม่ สุดท้ายก็ต้องมีเวลาที่ใช้ในการคำนวณราคาที่ใช้ชำระราคา หรือ Settlement price เพื่อที่จะคำนวณ กำไร ขาดทุน คำนวณเงิน margin ต่างๆ ซึ่งในกรณีนี้อาจใช้ช่วงที่พวกธนาคารหรือโบรกเกอร์ใช้ทำการ Settlement มาแทนช่วงของราคาปิดได้

ตลาด Forex เปิด-ปิด
ภาพแสดงตลาด Forex มี Volume ต่ำมาก เวลา 04.00 น. ในฤดูร้อน และ 5.00 น. ในฤดูหนาว ตามเวลาประเทศไทย

* ในตลาด Forex ซึ่งดูเหมือนตลาดจะเปิดตลอด 24 ชม. แต่จะมีช่วงหนึ่งคือราวๆ 4.00-5.00 น. ตามเวลาบ้านเราเป็นช่วงที่ตลาดหลักทั่วโลกมีการปิดตัว (แต่ตลาดอื่นยังเปิด) ซึ่งช่วงดังกล่าวมี Volume การเทรดน้อย จึงถือเอาราคาช่วงนั้นมาอ้างอิง

บทความแนะนำสำหรับผู้เริ่มเทรด Forex 

6. แนวโน้มจะเกิดขึ้นต่อเนื่องจนกว่าจะเกิดการเปลี่ยนแนวโน้ม

พื้นฐานของการเทรดสไตล์ Trend-following คือ เชื่อว่าแนวโน้มจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะเกิดสัญญาณเปลี่ยนแนวโน้ม โดย Dow จะไม่คาดการณ์ว่าแนวโน้มนั้นจะเคลื่อนไหวเป็นระยะเวลานานเท่าไหร่ หรือระยะทางไกลแค่ไหน แต่แค่รอว่าถ้าเกิดสัญญาณการเปลี่ยนแนวโน้ม นั้นแหละถึงใกล้จบแนวโน้มนั้น

โดยปกติการแบ่งแนวโน้มของทฤษฎี Dow นั้นจะดูจากการทำ High และ Low ของราคา โดยที่

  • ถ้าราคาขึ้นทำ Higher high (ทำ High ใหม่) และทำ Lower High (ทำ Low สูงขึ้น) แสดงถึง “ทิศทางของขาขึ้น (Bull market)”
  • แต่ถ้าราคาทำ Higher Low (ทำ High ต่ำลง) และทำ Lower Low (ทำ Low ต่ำลง) ถือเป็นสัญญาณการเปลี่ยนเทรนด์ แสดงถึงทิศทางของแนวโน้มเปลี่ยนกลับเป็น “ขาลง (Bear market)”
ทฤษฎีดาว Dow Theory คืออะไร forex
รูปแสดง Higher High, Higher Low ในตลาด Bullish (ขาขึ้น) และ Lower High, Lower Low ในตลาด Bearish (ขาลง)

ความสำคัญและคำแนะนำในการใช้ทฤษฎีดาว Dow

Dow Theory ถือว่าเป็นแนวทางแรกๆ ที่เทรดเดอร์จะหยิบมาใช้ในการทำกำไร เพราะด้วยความที่ง่าย ไม่ซับซ้อน โดยสามารถนำไปประยุกต์และปรับใช้ได้ ดังนี้

1. หาจุดเข้า Oder ให้เจอ: เพื่อที่จะได้เข้าออเดอร์ก่อนที่ราคาจะวิ่งไปทิศทางใดทิศทางหนึ่ง โดยกราฟจะมีวงจร หรือ Cycle ของตลาดมีด้วยกัน 3 รูปแบบ วนลูปกันไป โดยราคาจะวิ่งเป็นรูปแบบเดิมๆ ซ้ำๆกัน แบ่งได้เป็นแนวโน้มดังนี้

  • รูปแบบขาขึ้น หรือ (Up trend) คือราคาจะวิ่งจากจุดหนึ่ง ไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยราคาปิดจะต้องสูงกว่าราคาเปิดเสมอ ราคาจะทำ Higher High และ Higher Low เปรียบเหมือนขับรถขึ้นทางลาดชัน
  • รูปแบบไซด์เวย์ ออกข้าง (Side Way) หรือราคามีการพักตัว หรือปรับฐาน เมื่อราคาได้เป็นเทรนขาขึ้นมาสักพัก ทีนี้จะมีการ “ปรับฐาน” โดยราคาจะวิ่งภายในกรอบสี่เหลี่ยม เพื่อหาทิศทางของตลาด หลังจากปรับฐานแล้ว ราคาอาจจะขึ้นต่อ หรือลงก็ได้ ไม่มีการกำหนดตายตัว เป็นได้ทั้ง ฝั่ง Buy(แนวโน้มขาขึ้น) และ Sell (แนวโน้มขาลง) 
  • รูปแบบขาลง (Down Trend) ราคาจะวิ่งลง โดยราคาจะปิดต่ำกว่าราคาเปิดลงมาเรื่อยๆราคาจะทำ (Lower High) และ (Lower Low) เหมือนกับเราขับรถลงจากเขา เมื่อจบรอบการวิ่งของราคา กราฟจะเกิดการชะลอตัว หรือพักตัวในกรอบแคบๆ แล้วหลังจากนั้น กราฟจะเลือกทิศทางวิ่งใหม่ โดยราคาอาจจะขึ้น หรือลงก็ได้
แนวโน้ม Dow Theory ของตลาดทั้ง 3 รูปแบบ
รูปจากโปรแกรม MT4 แสดงจุดเข้า Buy/Sell Oder และแนวโน้มของตลาดทั้ง 3 รูปแบบ

2. ตั้งจุดหยุดขาดทุน หรือ Stop loss ทุกครั้ง: เพื่อจำกัดการขาดทุนในแต่ละรอบ หากเราเปิดออเดอร์โดยที่ไม่มี SL เราอาจโดนกราฟลากจนหมดตัว หรือเงินทุนของเราหมดหน้าตักได้ โดยวิธีการตั้ง Stop Loss เบื้องต้น คือให้เราตั้งจากราคาที่เราเข้าห่างออกไปประมาณ 20 Pips หรือ 200 จุด

หลักการ 6 ข้อของทฤษฏีดาว เครดิต By Trading withtoptrader Focus นาทีที่ 2:33-12:20

3 อันดับหนังสือทฤษฎี “Dow Theory” ยอดนิยม

อันดับที่ 1 “The Dow Theory” โดย Robert Rhea

หนังสือเล่มนี้ถือเป็นหนังสือพื้นฐานในการเรียนรู้เกี่ยวกับทฤษฎี Dow  เขียนโดย คุณ Robert Rhea ที่เป็นนักวิเคราะห์เทคนิคคนหนึ่งซึ่งนำทฤษฎีของ Charles Dow มาพัฒนาต่อ โดยหนังสือเล่มนี้มีข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับหลักการของทฤษฎี Dow รวมถึงการวิเคราะห์แนวโน้มและการกำหนดจุดเข้า-ออกตามทฤษฎีนี้

อันดับที่ 2 “Technical Analysis of Stock Trends” โดย Robert D. Edwards และ John Magee

หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่เป็นตำราการวิเคราะห์เทคนิคที่มีชื่อเสียงและยอมรับในวงการ มีการอธิบายถึงหลักการของทฤษฎี Dow และการประยุกต์ใช้ทฤษฎีนี้ในการวิเคราะห์หุ้น นอกจากนี้ยังมีเนื้อหาเกี่ยวกับเทคนิคการวิเคราะห์อื่นๆ ที่น่าสนใจ

อันดับที่ 3 “The Dow Theory Today” โดย Richard Russell

หนังสือเล่มนี้เป็นการอัปเดตทฤษฎี Dow ให้ทันสมัย โดย Richard Russell ซึ่งเป็นนักเขียนคอลัมน์การเงินที่มีชื่อเสียง จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ทฤษฎี Dow ในยุคปัจจุบัน และวิธีการปรับปรุงวิธีการวิเคราะห์เพื่อให้เหมาะสมกับสภาวะตลาดในปัจจุบัน

ตัวอย่างหนังสือ Dow Theory ทั้ง 3 เล่ม

ทฤษฎี Dow Theory สามารถประยุกต์ใช้กับ Indicators ใดได้บ้าง

1. Moving Averages:

  • เครื่องมือสำคัญสำหรับการวิเคราะห์เทคนิค โดยใช้ค่าเฉลี่ยของราคาในช่วงเวลาที่ผ่านมา เพื่อคาดการณ์แนวโน้มในอนาคต ตัวอย่างที่นิยมใช้ คือ
    • Simple Moving Average (SMA)
    • และ Exponential Moving Average (EMA)

ซึ่งนำไปใช้ในการวิเคราะห์แนวโน้มราคา และสัญญาณซื้อขายได้สบายๆครับ

2. Trendlines:

  • เส้นแนวโน้ม หรือ Trendlines เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับ “ระบุแนวโน้มของตลาด” โดยเชื่อมต่อราคาสูงสุด (Lower Highs) หรือ ราคาต่ำสุด (Higher Lows) เพื่อให้เห็นชัดเจนถึงแนวโน้มของราคา ซึ่งนักลงทุนสามารถนำไปใช้เพื่อวางแผนการซื้อขายในตลาด Forex

3. Price and Volume Indicators:

  • Indicator กลุ่มนี้ใช้เพื่อ “วัดราคาและปริมาณการซื้อขาย” มันจึงถูกตั้งชื่อว่า Price and Volume Indicators เช่น
    • On Balance Volume (OBV)
    • Chaikin Money Flow (CMF)
  • Indicators เหล่านี้สามารถช่วยให้เทรดเดอร์ สามารถวิเคราะห์เส้นทางของเงินที่เข้ามาในตลาด รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างราคาและปริมาณการซื้อขาย ซึ่งสามารถนำไปใช้เพื่อคาดการณ์แนวโน้มราคาในอนาคต

ข้อจำกัดของทฤษฎีดาว Dow

ถึงแม้ว่าทฤษฎีดาว Dow จะเป็นรากฐานสำคัญของการวิเคราะห์ทางเทคนิค แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามันเป็นเทคนิคที่สมบูรณ์แบบนะครับ (เพราะคงไม่มีเทคนิคที่ไหนสมบูรณ์ 100% ในการเทรด) มาดูกันว่าทฤษฎีนี้มีข้อจำกัดและได้รับคำวิจารณ์ว่ายังไงบ้าง

ยืนยันแนวโน้มได้ช้าเกินไป

  • ทฤษฎีนี้มักจะระบุการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มหลังจากที่มันเกิดขึ้นไปแล้วพักใหญ่ ทำให้พลาดโอกาสในการทำกำไรในช่วงแรกๆ ของการเปลี่ยนแนวโน้ม
  • ตัวอย่างเช่น ถ้าคู่เงิน EURUSD เริ่มมีการกลับตัวขึ้น ตามทฤษฎีดาว Dow อาจจะต้องรอให้เกิด Higher High และ Higher Low ก่อน ซึ่งอาจทำให้เราพลาดจุดเข้าที่ดีไปแล้ว หรือไม่ได้ราคาที่ “ต้นเทรนด์” นั่นเองครับ
  • อีกตัวอย่างคือ ถ้าเราต้องรอให้ทั้ง EURUSD และ GBPUSD ยืนยันแนวโน้มขาขึ้นพร้อมกัน เราอาจพลาดโอกาสทำกำไรจากคู่เงินใดคู่เงินหนึ่งไปแล้วก็ได้ครับ

ไม่ได้ให้จุดเข้า-ออกแม่น ๆ

  • เพราะเป็นทฤษฎีที่เน้นการมองภาพใหญ่มากกว่า เลยไม่ได้มีในส่วนของรายละเอียดจุดเข้า-ออกแม่น ๆ ที่เราสามารถใช้ Stop Loss แคบๆ ได้ครับ เทรดเดอร์อาจจะต้องใช้เครื่องมืออื่นๆ มาเสริม เช่น RSI หรือ MACD เพื่อหาจุดเข้า-ออกที่แม่นยำขึ้น

อาจจะไม่เหมาะกับตลาดที่มีความผันผวนสูง

  • ในช่วงที่ตลาดผันผวนสูงๆ แบบไม่รู้จะเอาแน่เอานอนทางไหน Dow อาจจะให้สัญญาณผิดพลาดได้บ่อยครับ เพราะที่มาตอนแรกของทฤษฎีนี้พัฒนามาจากวิธีการมองแนวโน้มของตลาดหุ้น บางทีเลยไม่ค่อยเหมาะกับการนำมาใช้ในตลาด Forex ที่มีความผันผวนสูง ที่บางครั้งราคาก็เคลื่อนไหวแบบสุ่ม

วิเคราะห์แค่กราฟ แต่ลืมดูข่าว

  • ทฤษฎีนี้เน้นเฉพาะการวิเคราะห์ทางเทคนิค โดย “ขาดการพิจารณาปัจจัยทางเศรษฐกิจ” ที่จะซัพพอร์ตราคาให้เป็นไปตามที่ควรจะเป็น ซึ่งอาจจะทำให้เกิดทั้งการเสียโอกาสในการทำกำไร หรือหนักกว่านั้นคือตัดสินใจพลาดจนเสียเงินทุนไปเลยครับ

ไม่เหมาะกับการเทรดระยะสั้น

  • เนื่องจากต้องรอการยืนยันแนวโน้มก่อนเข้าเทรด ทำให้ไม่เหมาะกับ Scalper หรือ Day Trader ที่ต้องการเก็งกำไรในระยะสั้น

สรุปทฤษฎี Dow Theory

การศึกษาทฤษฎีและเทคนิคการลงทุนเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้นักลงทุนสามารถวิเคราะห์แนวโน้มราคาสินทรัพย์ และตัดสินใจซื้อขายด้วยความมั่นใจยิ่งขึ้น หากคุณมีความรู้ในการใช้ตัวชี้วัดเทคนิค คุณจะสามารถเข้าใจอารมณ์ของตลาด รวมถึงการคาดการณ์ตลาด forex อย่างมีประสิทธิภาพ

เมื่อคุณสามารถนำทฤษฎีและเทคนิคต่าง ๆ ที่เรียนรู้มาประยุกต์ใช้ในการลงทุน คุณจะพบว่าการตัดสินใจซื้อขายเพื่อทำกำไรนั้นไม่ยากอีกต่อไป การมีทักษะการวิเคราะห์ทางเทคนิคจะช่วยให้คุณเห็นโอกาสในการลงทุนที่คนอื่นอาจพลาด และยังช่วยคุณจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม เพื่อให้คุณประสบความสำเร็จในการลงทุนในระยะยาว

 

ทีมงาน: forexthai.in.th

แสดงข้อคิดเห็น ให้กำลังใจ

comments