Forexthai.in.th ย่อให้
- Divergence คือความขัดแย้งระหว่างราคากับสัญญาณ Indicators ใช้ในการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด Forex
- แบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก คือ Regular Divergence (Bullish และ Bearish) และ Hidden Divergence
- Bullish Divergence คือ สัญญาณกลับตัวจากขาลงเป็นขาขึ้น ส่วน Bearish Divergence คือ สัญญาณกลับตัวจากขาขึ้นเป็นขาลง
- Indicators ยอดนิยมที่ใช้หา Divergence ได้แก่ RSI, MACD และ Stochastic Oscillator
- เกิดสัญญาณหลอกได้ จึงควรวิเคราะห์ร่วมกับแนวรับแนวต้าน หรือรูปแบบแท่งเทียน
Divergence ในทาง Forex หมายถึง “สัญญาณกลับตัว” นั่นคือ “เหตุการณ์ที่ราคาเคลื่อนไหวไม่เป็นไปในรูปแบบเดียวกับ Indicator” เป็นสัญญาณที่เรียกว่า Divergence ช่วยให้เทรดเดอร์หาจังหวะการกลับตัวของราคา
สารบัญบทความ click เพื่อเลือกอ่าน !!
ประเภทของ Divergence
1) Bullish Divergence:
เกิดในช่วงแนวโน้มขาลง โดยราคามีการปรับตัวลงทำ Lower Low แต่ Indicator ทำ Higher Low เป็นสัญญาณว่าแนวโน้มขาลงกำลังอ่อนแรงลง และราคาอาจจะกลับตัวเป็นขาขึ้น
2) Bearish Divergence:
เกิดในช่วงแนวโน้มขาขึ้น โดยราคามีการปรับตัวขึ้นทำ Higher High แต่ Indicator ทำ Lower High เป็นสัญญาณว่าแนวโน้มขาขึ้นกำลังอ่อนแรงลง และราคาอาจจะกลับตัวเป็นขาลง
Divergence นั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทุก Indicators แต่ที่นิยมกันมากที่สุดคือใช้กับ RSI (Relative Strength Index) โดย RSI เป็นเครื่องมือที่สามารถวัดโมเมนตัมการซื้อขายในตลาด ว่ามีภาวะ “การซื้อขายที่มากหรือน้อยเกินไปในตลาด (Overbought/Oversold)”
ต้องขอบอกเพิ่มเติมหน่อยครับว่า Divergence ไม่ได้เป็นตัวบอกว่าราคาจะเปลี่ยนแนวโน้มจากลงเป็นขึ้น หรือจากขึ้นเป็นลง แต่เป็นการบอกว่า “โมเมนตัมของราคาเริ่มเปลี่ยนไป” อาจจะเป็นการแกว่งตัว Sideway ออกด้านข้างก็เป็นได้หลังเกิด Divergence
ข้อดีและข้อเสียของ Divergence ในการเทรด Forex
ข้อดีของ Divergence | ข้อเสียของ Divergence |
ใช้ดูสัญญาณการกลับตัวของราคา (มีความแม่นยำค่อนข้างสูง) | ไม่เหมาะสำหรับนักเทรดมือใหม่ (ต้องมีความรู้พื้นฐานระดับหนึ่ง) |
ช่วยระบุระดับแนวรับและแนวต้าน และช่วยหาจุดเข้า-ออกออเดอร์ | ราคาไม่ได้กลับตัวเสมอไป (เกิดสัญญาณหลอกได้) |
ใช้ได้กับหลาย Indicator หลายตัว | ราคาไม่ได้กลับตัวทันที |
ใช้ได้ทั้งเทรดสั้นและเทรดยาว | ต้องดูปัจจัยอื่น ๆ ร่วม เช่นแนวรับแนวต้าน, รูปแบบราคา |
เทรดในช่วงตลาด Sideway ได้ |
วิธีการเทรด Divergence :
เทรดเดอร์หลายคนมักใช้ Divergence ในการเทรดแบบผิด ๆ โดยที่เห็นบ่อยมากคือ ชอบเข้าออเดอร์ไว้เกินไปไม่รอให้ยืนยันสัญญาณ ตัวอย่างด้านล่าง
ที่ถูกต้องควรที่จะลองจนกว่าจะยืนยันการเปลี่ยนทิศทางก่อน จึงค่อยเข้าไปเทรด โดยตัวช่วงยืนยันสัญญาณอาจใช้เส้นค่าเฉลี่ย หรือว่าระดับ Low/High ก่อนหน้าเป็นตัวยืนยัน
การเพิ่มประสิทธิภาพการเทรด Divergence อีกหนึ่งอย่าง คือ ใช้บริเวณแนวรับ หรือ แนวต้านก่อนหน้า เป็นตัวประกอบการตัดสินใจ โดยหากการเกิด Divergence ใกล้บริเวณแนวรับหรือแนวต้านก่อนหน้าก่อนหน้า ก็จะเป็นตัวช่วยบ่งชี้ว่า “ราคามีโอกาสผ่านระดับดังกล่าวน้อยมาก”
Divergence เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการเทรด หากเทรดเดอร์เข้าใจมันและใช้มันอย่างถูกวิธี ทั้งนี้ยังมีอีกหนึ่งรูปแบบของ Divergence คือ Hidden Divergence ซึ่งจะไปกล่าวในบทความถัดไป
เทคนิคในการใช้ Divergence ร่วมกับ RSI เพื่อหาจุดเข้าเทรด และจุดทำกำไร
Relative Strength Index (RSI) คือ ตัวชี้วัดความแข็งแรงของตลาดในแต่ละช่วงเวลา โดยใช้เปรียบเทียบระหว่างการเพิ่มของราคา และการลดลงของราคา ซึ่งจะมีค่าระหว่าง 0-100 โดยจะตั้งค่าไว้ที่ 30,70 ซึ่งเป็นค่าเริ่มต้น ของ Indicators (ตัวชี้วัด) โดยเทคนิคการหา Divergence เพื่อหาจุดเข้าและทำกำไร โดยใช้ร่วมกับ RSI มีวิธีดังต่อไปนี้
ติดตั้ง RSI Indicators โดยมีวิธีดังต่อไปนี้ตามลำดับ
- ไปที่โปรแกรม MT4 เลือก Insert
- กดเลือก Indicators
- กดเลือก Oscillators
- กดเลือก Relative Strength Index
- กดปุ่ม OK ไม่ต้องปรับอะไรเพิ่มเติม ให้ใช้ค่าพื้นฐานของตัวโปรแกรมได้เลย
- Bullish Divergence การหาจุดเข้า เพื่อเปิด Oder Buy: เราจะใช้ Time Fream 1H (กรอบเวลา 1 ชั่วโมง) ให้ดูสัญญาณ ของ RSI หากเส้นค่าเฉลี่ยวิ่งลงไปที่โซน 30 “Over Sold” (โซนที่มีภาวะขายมากเกินไป) หากราคามีการปรับตัวลงต่ำกว่าจุดก่อนหน้า แล้วราคามีการดีดตัวขึ้นมา
- เส้นค่าเฉลี่ยจาก RSI ไม่ปรับตัวลงตาม แต่มีการปรับขึ้นสูงกว่าจุดก่อนหน้า เราอาจคาดการณ์ได้ว่า ราคาอาจมีการกลับตัว จากแนวโน้มขาลง (Down Trend) เป็น แนวโน้มขาขึ้น (Up Trend) ให้เราทำดังต่อไปนี้
-
- ตีเส้นแนวต้าน: โดยตีจากจุดที่ราคามีการพักฐาน หากราคาทำการ Breakout (ฝ่าวงล้อม) ทะลุแนวต้าน ให้เราหาจังหวะ เปิด Oder Buy ได้เลย
- คำณวณขนาดของสัญญา (Lot): โดยตั้งไว้ที่ 0.01 (ทุน 100$)
- กำหนด จุด Stop Loss (SL): โดยเราจะตั้งค่า SL ไว้ที่ ราคาต่ำสุดของแท่งเทียนก่อนหน้า หากราคาไม่เป็นตามที่เราคาดการณ์ไว้ แต่ดันชน SL ให้เรารอหาจังหวะเพื่อเข้าออเดอร์ใหม่อีกรอบ
- Take Profit (จุดทำกำไร): หากราคาวิ่งตามที่เราคาดการณ์ไว้ ทีนี้เราต้องหาจุดออก โดยอาจดูได้จาก เส้นค่าเฉลี่ย RSI หากวิ่งไปที่ โซน 90 “Over Bought” (ภาวะซื้อมากเกินไป) ให้เราเตรียมทำกำไร และออกทันที (แนะนำให้ตั้ง Trailing Stop Loss ไว้ เพื่อที่จะขยับจุด SL ตามโดยอัตโนมัติ )
- Bearish Divergence การหาจุดเข้า เพื่อเปิด Oder Sell: เราจะใช้ Time Fream 1H (กรอบเวลา 1 ชั่วโมง) ให้ดูสัญญาณ ของ RSI หากเส้นค่าเฉลี่ยวิ่งลงไปที่โซน 90 “Over Bought” (โซนที่มีภาวะซื้อมากเกินไป) หากราคามีการปรับตัวขึ้นสูงกว่าจุดก่อนหน้า แล้วราคามีการดีดตัวกลับลงมา
- และเส้นค่าเฉลี่ยจาก RSI ไม่ปรับตัวขึ้นตาม แต่มีการปรับลงต่ำกว่าจุด ก่อนหน้า เราอาจคาดการณ์ได้ว่า ราคาอาจมีการกลับตัว จากแนวโน้มขาขึ้น (Up Trend) เป็น แนวโน้มขาลง (Down Trend) ให้เราทำ ดังต่อไปนี้
-
- ตีเส้นแนวรับ: โดยตีจากจุดที่ราคามีการพักฐาน หากราคาทำการ Breakout (ฝ่าวงล้อม) ทะลุแนวรับ ให้เราหาจังหวะ เปิด Oder Sell ได้เลย
- คำณวณขนาดของสัญญา (Lot): โดยตั้งไว้ที่ 0.01 (ทุน 100$)
- กำหนด จุด Stop Loss (SL): โดยเราจะตั้งค่า SL ไว้ที่ ราคาสูงสุดของแท่งเทียนก่อนหน้า หากราคาไม่เป็นตามที่เราคาดการณ์ไว้ แต่ดันชน SL ให้เรารอหาจังหวะเพื่อเข้าออเดอร์ใหม่อีกรอบ
- Take Profit (จุดทำกำไร): หากราคาวิ่งตามที่เราคาดการณ์ไว้ ทีนี้เราต้องหาจุดออก โดยอาจดูได้จาก เส้นค่าเฉลี่ย RSI หากวิ่งลงไปที่ โซน 30 “Over Sold” (ภาวะขายมากเกินไป) ให้เราเตรียมทำกำไร และออกทันที (แนะนำให้ตั้ง Trailing Stop Loss ไว้ เพื่อที่จะขยับจุด SLตามโดยอัตโนมัติ)
จัดอันดับ 3 Indicator divergence ยอดนิยม
หลังจากที่เราทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการของ Divergence กันไปแล้ว เรามาดูกันหน่อยดีกว่าว่า 3 อันดับยอดนิยมของ indicator divergence มีอะไรบ้าง
อันดับที่ 1: Relative Strength Index (RSI)
RSI เป็น indicator ที่ใช้ดูโมเมนตัมของตลาด ว่ามีการเปลี่ยนแปลงราคาล่าสุดอยู่ในสภาวะ ซื้อมากเกินไป (Overbought) หรือ ขายมากเกินไป (Oversold) ในตลาด ใช้ดูแนวโน้มราคาได้ค่อนข้างแม่นยำ และสามารถใช้ได้ในช่วงตลาด Sideway อีกด้วย
- สัญญาณขาลง: ราคาทำจุดสูงสุดที่สูงขึ้น แต่ RSI ทำจุดสูงสุดที่ต่ำลง
- สัญญาณขาขึ้น: ราคาทำจุดต่ำสุดที่ต่ำลง แต่ RSI ทำจุดต่ำสุดที่สูงขึ้น
อันดับที่ 2: Moving Average Convergence Divergence (MACD)
Divergence จะเกิดขึ้นเมื่อเส้น MACD และราคาเคลื่อนไหวในทิศทางตรงกันข้าม และด้วยความที่ตัว MACD จะให้สัญญาณที่ช้า ทำให้เกิด Divergence หลอก น้อยกว่าอินดิเคเตอร์อื่น ๆ ซึ่งจะนิยมใช้ใน Timeframe 1H ขึ้นไป
*หมายเหตุ: มีโอกาสพบสัญญาณหลอกสูงใน Timeframe (TF) ต่ำกว่า 1H
อันดับที่ 3: Stochastic Oscillator
Stochastic Oscillator เป็น indicator ที่อิงตามโมเมนตัม… ใช้วัดตำแหน่งของราคาปัจจุบันเทียบกับช่วงราคาในระยะเวลาที่กำหนด เป็นตัวที่ให้สัญญาณค่อนข้างไว เจอ Divergence ได้บ่อย แต่ก็เจอสัญญาณหลอกได้บ่อยกว่าเช่นกัน (เหมาะกับการเทรดสั้น)
- สัญญาณขาลง: ราคาทำจุดสูงสุดที่สูงขึ้น แต่ Stochastic ทำจุดสูงสุดที่ต่ำลง
- สัญญาณขาขึ้น: ราคาทำจุดต่ำสุดที่ต่ำลง แต่ Stochastic ทำจุดต่ำสุดที่สูงขึ้น
*หมายเหตุ: ควรใช้ร่วมกับอินดิเคเตอร์ตัวอื่นๆ เพื่อความแม่นยำ
สรุป
Divergence คือ ราคากับอินดิเคเตอร์ มีการขัดแย้ง หรือไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน Divergence มี 2 ประเภท คือ “Bullish Divergence” และ “Bearish Divergence” การเกิดขึ้นของ Divergence ไม่สามารถการันตีได้ว่า ราคาจะมีการกลับตัวเสมอไป เพราะไม่มีอะไร 100% ในตลาด Forex
ควรใช้เทคนิคอื่นๆร่วมวิเคราะห์ด้วย เช่น แนวรับ แนวต้าน (Support & Resistance) หรือ รูปแบบของแท่งเทียน (Candlestick) การเปิดออเดอร์ต้องตั้ง SL ทุกครั้ง เพื่อหยุดการขาดทุน “การรักษาต้นทุนให้ได้ คือการอยู่รอดในตลาด Forex หลังจากอยู่รอดได้แล้ว ค่อยมองหาวิธีทำกำไร”
Nakrob Seareechon
บรรณาธิการ/Web master
ปริญญาโทเศรษฐศาสตร์การเงิน พัฒนาระบบเทรดอัตโนมัติและพัฒนาเว็บไซต์ควบคู่การเทรดด้วยตนเอง
อ่านประวัติเพิ่มเติม
Krisorn Himmapan
Content Writer
ประสบการณ์เทรด Forex 12+ ปี จากพนักงานบริษัทสู่เทรดเดอร์อาชีพ เน้นกลยุทธ์ Long-term Trading
อ่านประวัติเพิ่มเติมทีมงาน: forexthai.in.th