Forexthai.in.th ย่อให้

  • Channel คือเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคที่ใช้เส้นคู่ขนานสร้างกรอบการเคลื่อนไหวของราคา ช่วยระบุแนวโน้มตลาดและจุดเข้าเทรดที่แม่นยำ
  • มี 3 ประเภท คือ Ascending, Descending และ Horizontal Channel
  • หลักการตีเส้น: หาจุดสำคัญ 3 จุด ลากเส้นเชื่อม และสร้างเส้นคู่ขนาน
  • ใช้ Channel เทรดได้ 2 แบบ คือ ใช้หาจุดซื้อ-ขายตามแนวโน้ม หรือเทรดแบบเบรกเอาท์เพื่อผลตอบแทนสูง (แต่เสี่ยงมากขึ้น)
  • Channel ช่วยสร้าง mindset ที่ดีในการเทรด แต่ต้องใช้ร่วมกับการจัดการความเสี่ยงและการควบคุมอารมณ์เพื่อประสบความสำเร็จ

channels ช่วยเทรด

ถ้าหากจะพูดถึงการวิเคราะห์ทางเทคนิค เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางเทคนิคที่ยากซับซ้อนอาจจะไม่ได้ตอบโจทย์มากนัก เพราะว่าการวิเคราะห์ทางเทคนิคนั้นต้องการความธรรมดา และความไม่ซับซ้อน การวิเคราะห์ทางเทคนิคที่ดีไม่จำเป็นต้องบอกสัญญาณเข้าเทรดได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่ว่าเราสามารถปิดช่องโหว่ของมันได้ด้วยวิธีการอื่น ๆ

ในวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ Channel หรืออีกชื่อหนึ่งเรียกว่า Equidistance Channal เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคที่ทรงพลังและใช้งานง่าย ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมากในวงการเทรด Forex เพราะช่วยให้นักเทรดมองเห็นทิศทางตลาดได้ชัดเจนขึ้น ผ่านการสร้างกรอบเทรนด์ไลน์ ไม่ว่าคุณจะเป็นมือใหม่หรือเทรดเดอร์มืออาชีพ Channel ก็สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเทรดของคุณได้อย่างแน่นอน!

Channel คืออะไร?

Channel หรือ Equidistance Channel เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคที่ช่วยให้เราเห็นภาพรวมของการเคลื่อนไหวของราคาได้ชัดเจนขึ้น ประยุกต์ใช้การตีเส้น Trend line โดยการลากเส้นคู่ขนานสองเส้น (parallel line) เพื่อสร้างกรอบการเคลื่อนไหวของราคา สามารถช่วยการหาแนวรับ แนวต้าน และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการกำหนดกลยุทธ์ในการเทรดได้

  • ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน
  • ช่วยระบุทิศทางแนวโน้มของตลาดได้
  • ช่วยหาเข้าเทรดที่แม่นยำ
  • ยืดหยุ่น ใช้ได้กับทุก Time frame

ประเภทของ Channel 3 แบบ

  1. Ascending channel
  2. Descending channel
  3. Horizontal channel
ช่องทางช่วยซื้อขายคืออะไร forex
Channel ทั้ง 3 แบบ

1. Ascending channel

เหมาะสำหรับตลาดที่มีแนวโน้มเป็นขาขึ้น  เป็นการตีเส้นคู่ขนานของเส้น Uptrend line ขึ้นมา และราคามีการสร้างจุดสูงสุดและต่ำสุดที่สูงขึ้นเรื่อยๆ การเทรดใน Ascending Channel มีหลักการดังนี้:

  • จุดซื้อ: บริเวณแนวรับด้านล่างของ Channel
  • จุดขาย: บริเวณแนวต้านด้านบนของ Channel

2. Descending channel

เหมาะสำหรับตลาดที่มีแนวโน้มเป็นขาลง เป็นการตีเส้นคู่ขนานของเส้น Downtrend line ขึ้นมา โดยราคามีการสร้างจุดสูงสุดและต่ำสุดที่ต่ำลงเรื่อยๆ การเทรดใน Descending Channel มีหลักการดังนี้:

  • จุดซื้อ: บริเวณแนวต้านด้านบนของ Channel
  • จุดขาย: บริเวณแนวรับด้านล่างของ Channel

3. Horizontal channel

เหมาะสำหรับตลาดที่เคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ไม่มีทิศทางชัดเจน ก็เหมือนกับการตีกรอบ Trend line แบบ Sideway นั่นเอง ราคามักจะวิ่งขึ้นลงระหว่างแนวรับและแนวต้านในช่วงแคบๆ

สิ่งสำคัญที่ต้องทราบในการตี Channel

  • ในการสร้าง Channel เส้น Trend line ทั้ง 2 เส้นต้องขนานกัน
  • กรอบล่างของ Channel คือบริเวณซื้อ (Buy zone) กรอบบนของ Channel คือบริเวณขาย (Sell zone)
  • ความชันของ Channel มีความสำคัญ บ่งบอกถึงความแรงของแนวโน้ม

หลักการตีเส้น

การตีเส้น Channel หรือ Equidistance นั้นมีหลักการตีเส้นได้ง่าย ๆ ดังนี้ครับ

1. หาจุดสำคัญ 3 จุดบนกราฟ ขั้นตอนแรกนี้สำคัญมาก เพราะจะเป็นตัวกำหนดความแม่นยำของ Channel ทั้งหมด

  • จุดที่ 1 และ 3: เป็นจุดที่อยู่ในทิศทางเดียวกัน
    • สำหรับ Ascending Channel: เลือกจุดต่ำสุด (Low) ที่สำคัญ
    • สำหรับ Descending Channel: เลือกจุดสูงสุด (High) ที่สำคัญ

    • จุดที่ 2: เป็นจุดที่อยู่ตรงข้ามกับจุดที่ 1 และ 3

    • สำหรับ Ascending Channel: เลือกจุดสูงสุด (High) ที่สำคัญ
    • สำหรับ Descending Channel: เลือกจุดต่ำสุด (Low) ที่สำคัญ
equidistance
วงกลมสีแดง คือ จุดที่แสดงการเปลี่ยนเทรนด์ ขณะที่วงกลมสีเหลือง 3 วง คือ จุดมาร์ค 1-2-3 ซึ่งการจะตีเส้นได้ จะต้องมีจุด 1-2 เพื่อระบุความกว้างของช่องทาง สำหรับจุดที่ 3 มันจะบอกทิศทางของ Channel ได้ว่า เป็นทิศทางไหน ซึ่งถ้าหากมันอยู่สูงกว่าจุดแรก คือทิศทางขาขึ้น และถ้าหากมันอยู่ต่ำกว่าจุดแรก คือทิศทางขาลง

2. ลากเส้นเชื่อมจุดที่ 1 และ 3 เพื่อสร้างเส้นแนวโน้มหลัก

  • เส้นนี้จะเป็นขอบด้านหนึ่งของ Channel
  • สำหรับ Ascending Channel: เส้นนี้จะเป็นแนวรับ (Support)
  • สำหรับ Descending Channel: เส้นนี้จะเป็นแนวต้าน (Resistance)
  • ความชันของเส้นนี้จะบ่งบอกถึงความแรงของแนวโน้ม (ยิ่งเส้นมีความชันมาก เทรนด์จะยิ่งแข็งแรง แต่ก็มีโอกาสที่ราคาจะเบรกเอาท์ได้ง่ายขึ้นเช่นกัน)

3. ลากเส้นคู่ขนานอีกเส้นหนึ่งเพื่อสร้าง Channel ที่สมบูรณ์

  • ลากเส้นขนานกับเส้นแนวโน้มหลัก โดยให้ผ่านจุดที่ 2 เส้นนี้จะเป็นขอบอีกด้านหนึ่งของ Channel
  • สำหรับ Ascending Channel: เส้นนี้จะเป็นแนวต้าน (Resistance)
  • สำหรับ Descending Channel: เส้นนี้จะเป็นแนวรับ (Support)

การใช้ Channel ในการเทรด Forex

1. การเทรดตามแนวโน้ม

การเทรดตามแนวโน้มเป็นวิธีพื้นฐานที่สุด และที่นิยมสำหรับการใช้งาน Channel ครับ รวมถึงจะมีความเสี่ยงต่ำกว่าการเทรดแบบสวนเทรนด์ด้วย วิธีการเข้าเทรด คือ

  • ซื้อเมื่อราคาแตะแนวรับด้านล่างของ Ascending Channel
  • ขายเมื่อราคาแตะแนวต้านด้านบนของ Descending Channel
  • ตั้ง Stop Loss เหนือแนวรับ/แนวต้านเล็กน้อย
  • ตั้ง Take Profit ที่แนวรับ/แนวต้าน หรือกลาง Channel
Trade Setup ตามแนวโน้ม

2. การเทรดเบรกเอาท์

การเทรดแบบเบรกเอาท์มักให้ผลตอบแทนที่สูงครับ แต่แน่นอนว่ามันก็มาพร้อมความเสี่ยงที่สูงขึ้นเช่นกัน วิธีการเข้าเทรด เช่น

  • เข้า Buy เมื่อราคาทะลุแนวต้านด้านบนของ Channel ขึ้นไป
  • รอให้ราคาปิดเหนือแนวต้านอย่างชัดเจน (เช่น 1-2% ของความกว้าง Channel)
  • ตั้ง Stop Loss ใต้จุดเบรกเอาท์เล็กน้อย
  • ตั้ง Take Profit โดยใช้ความกว้างของ Channel เป็นเป้าหมายขั้นต่ำ

สำหรับการเข้า Sell เงื่อนไขก็ตรงกันข้ามกับ Buy ครับ คือเข้าเมื่อราคาหลุดแนวรับด้านล่างของ Channel ลงมา

แจก Channel Indicator

ปัจจุบันต้องบอกเลยครับว่าเราอาจจะไม่จำเป็นต้องตี Trend Line เหล่านี้เองแล้ว เพราะว่าเรามีตัวช่วยที่ดีอย่าง Indicator นั่นเอง… วันนี้เราจะทำการแจก Indicator จาก website ระดับสากลอย่าง indicatorspot.com โดยเราจะจัด Ranking ให้ตามความนิยมนะครับ

  1. Auto Trend Lines Channels Indicator
  2. Auto Channel Indicator
  3. Auto Trend Channel Indicator
  4. Raff Channel Indicator

สรุป 

การใช้ Channels ในการเทรดเป็นเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพ และการใช้งานนั้นค่อนข้างง่ายและสามารถเข้าทำความเข้าใจได้ง่าย นอกจากนี้ Channel ยังสร้าง mindset ที่ดีในการเทรดให้กับเทรดเดอร์ เพราะว่าเครื่องมือนั้นมีองค์ประกอบไม่รกหูรกตา ทำให้การเทรดนั้นไม่ยาก

อย่างไรก็ตาม Trader ไม่สามารถใช้เพียงแค่ Channel แล้วจะสามารถทำให้การเทรดนั้นประสบความสำเร็จ แต่ยังต้องอาศัยการจัดการความเสี่ยง การควบคุมอารมณ์ และการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ

Nakrob Seareechon

บรรณาธิการ/Web master

ปริญญาโทเศรษฐศาสตร์การเงิน พัฒนาระบบเทรดอัตโนมัติและพัฒนาเว็บไซต์ควบคู่การเทรดด้วยตนเอง

Krisorn Himmapan

Content Writer

ประสบการณ์เทรด Forex 12+ ปี จากพนักงานบริษัทสู่เทรดเดอร์อาชีพ เน้นกลยุทธ์ Long-term Trading

Nakrob Seareechon
บรรณาธิการ/Web master

ปริญญาโทเศรษฐศาสตร์การเงิน พัฒนาระบบเทรดอัตโนมัติและพัฒนาเว็บไซต์ควบคู่การเทรดด้วยตนเอง

อ่านประวัติเพิ่มเติม

Krisorn Himmapan
Content Writer

ประสบการณ์เทรด Forex 12+ ปี จากพนักงานบริษัทสู่เทรดเดอร์อาชีพ เน้นกลยุทธ์ Long-term Trading

อ่านประวัติเพิ่มเติม

ทีมงาน: forexthai.in.th

แสดงข้อคิดเห็น ให้กำลังใจ

comments