Forexthai.in.th ย่อให้
- Trade Execution คือ กระบวนการส่งคำสั่งซื้อขายไปยังตลาด จนกระทั่งคำสั่งได้รับการจับคู่และดำเนินการเสร็จสมบูรณ์
- ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งคำสั่งซื้อขาย มีทั้งความเร็ว, สภาพคล่อง, ความผันผวนของตลาด, ประเภทของคำสั่ง
- ประเภทของคำสั่งซื้อขาย จำแนกได้ 3 ประเภท ได้แก่ Limit Order, Market Order, Stop Order ซึ่งไม่มีคำสั่งซื้อขายไหนดีที่สุด ขึ้นอยู่กับสไตล์การเทรด กลยุทธ์และสถานการณ์
- มุมมองของกูรูเทรดเดอร์แบ่งเป็น 2 ฝั่ง อย่าง Alexander Elder, Richard Dennis จะเน้น Limit Order ส่วน Al Brooks, Jesse Livermore จะเน้น Market Order
เรามาเจาะลึกความรู้ในโลก Forex กันต่อดีกว่าครับ ทุกคนที่เคยเทรด Forex ก็คงต้องเคยออกคำสั่งซื้อขายใช่ไหมล่ะครับ? แต่คำสั่งซื้อขายในตลาด Forex นั้นมันไม่ได้มีเพียงอย่างเดียวนะครับ มันมีหลายแบบและมีคุณสมบัติต่อการออกคำสั่งต่างกันไป และในบทความนี้เราจะไปทำความรู้จักกับ Trade Execution กันครับ
Trade Execution คืออะไร?
- Trade Execution แปลเป็นไทยได้ว่า “การดำเนินการซื้อขาย” มันคือกระบวนการที่เทรดเดอร์ส่งคำสั่งซื้อขาย (Order) ไปยังตลาดและคำสั่งนั้นได้รับการจับคู่และดำเนินการจนเสร็จสมบูรณ์
- กระบวนการขั้นตอนของการส่งคำสั่งซื้อขาย สามารถอธิบายคร่าวๆ ดังนี้ครับ
- เทรดเดอร์ส่งคำสั่งซื้อขาย (เช่น Buy หรือ Sell) ผ่านแพลตฟอร์มเทรด (เช่น MT5)
- โบรกเกอร์ที่เราเลือกใช้จะรับคำสั่งและส่งต่อไปยังตลาด (เช่น ตลาดหลักทรัพย์ หรือ Forex) กรณีเป็นโบรกเกอร์แบบ NDD
- ระบบในตลาดจะจับคู่คำสั่งซื้อกับคำสั่งขายที่ตรงกัน
- เมื่อคำสั่งได้รับการจับคู่ การซื้อขายจะเสร็จสมบูรณ์และสินทรัพย์จะถูกโอนระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายตามสถานะในตลาด

ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งคำสั่งซื้อขาย
การดำเนินการซื้อขายนั้นมีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของมัน ซึ่งนั่นเป็นการวัดคุณภาพของโบรกเกอร์ในทางอ้อมเลยก็ว่าได้ และปัจจัยเหล่านี้ย่อมมีผลต่อ Trade Execution
1. ความเร็ว (Speed)
- ความเร็วในที่นี้ไม่ใช่หมายถึงการกดคำสั่งแบบเร็วๆ แต่หมายถึงประสิทธิภาพของแพลตฟอร์มเทรด ความเร็วของอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
- ซึ่งปัจจัยด้านความเร็วนี้ เราก็ต้องย้อนกลับไปดูที่ต้นเหตุอย่างคุณภาพโบรกเกอร์ Forex ที่เราเลือกใช้บริการว่ามักจะมีปัญหาเหล่านี้หรือไม่ เช่น Slippage, Requotes และ Latency เป็นต้น
2. สภาพคล่อง (Liquidity)
- ตลาดที่มีสภาพคล่องสูงก็เหมือนมีเงินหมุนเวียนอยู่ในตลาดจำนวนมาก การซื้อขายย่อมเกิดขึ้นได้เร็วและง่ายดาย
- รวมถึงการเลือกคู่เงินหรือสินทรัพย์ที่เราเทรดด้วย ถ้าหากเลือกสินทรัพย์ที่คนส่วนใหญ่เทรดกันเยอะก็จะมีสภาพคล่องไหลลื่น การส่งคำสั่งซื้อขายก็เร็วตามไปด้วย
3. ความผันผวนของตลาด (Volatility)
- ช่วงที่ตลาดมีความผันผวนที่สูงอาจทำให้การดำเนินการคำสั่งซื้อขายยากมากขึ้น เพราะราคาสามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว
4. ประเภทของคำสั่ง
- การดำเนินคำสั่งซื้อขายแบบทันทีแตกต่างกับการดำเนินคำสั่งแบบล่วงหน้าครับ เพราะราคาที่เราซื้อขายแบบทันทีนั้นบางครั้งก้อาจจะแตกต่างจากที่เราคาดไว้

ประเภทของ Trade Execution
ที่นี้เรามาเจาะประเด็นกันที่ประเภทของการส่งคำสั่งซื้อขาย ซึ่งเราสามารถจำแนกออกเป็น 3 ประเภทคือ Limit Order, Market Order, Stop Order
1. Limit Order
- มันคือการตั้งราคาซื้อ/ขายที่เราต้องการไว้ โดยคำสั่งจะเป็นทิศทางตรงกันข้ามกับราคา เช่น
- ถ้าเราอยากจะซื้อ (Buy Limit) สินทรัพย์ตัวหนึ่ง ก็ตั้งราคาไว้ต่ำกว่าราคาปัจจุบันรอราคาลงมาถึงค่อยซื้อ เพราะคาดหวังไว้ว่าราคามันจะขึ้นในอนาคต
- กลับกันถ้าจะขาย (Sell Limit) ก็ตั้งราคาไว้สูงกว่าราคาปัจจุบัน รอราคาขึ้นไปถึงค่อยขาย เพราะคาดไว้ว่าราคาจะลงในอนาคต
- ข้อดีคือ ได้ซื้อขายในราคาที่ต้องการ แต่ข้อเสียคืออาจจะไม่ได้ซื้อ/ขาย ถ้าราคาไม่ลง/ขึ้นมาถึงจุดที่เราตั้งไว้

2. Market Order
- คำสั่งประเภทนี้คือการซื้อ/ขายทันที ในราคาปัจจุบัน ณ ตอนนั้น เช่น
- ออเดอร์ Buy คือซื้อในราคานั้นเลย เช่น Buy Gold ที่ 2,000 หากราคาขึ้นไปอีกก็ได้กำไร
- ออเดอร์ Sell คือขายณ ราคา นั้น เช่น ขายสกุลเงิน JPY ที่ 1.56 หากราคาลงไปอีกก็ได้กำไร
- ข้อดีของคำสั่งแบบนี้คือ ซื้อ/ขายได้เร็วทันใจ แต่ข้อเสียคือราคาอาจจะไม่ดีเท่าที่ควร (แพงไปหรือถูกไป)

3. Stop Order
- คำสั่งประเภทนี้คือการตั้งราคาไว้ เมื่อราคาถึงจุดนั้นค่อยสั่งซื้อ/ขาย ฟังดูอาจจะคล้ายกับประเภท Limit Order แต่แตกต่างตรงที่คำสั่ง Stop Order จะออกคำสั่งตามทิศทางของราคา เช่น
- คำสั่ง Buy Stop ตั้งราคาไว้สูงกว่าราคาตอนนี้ พอราคาขึ้นไปถึง ก็เข้าซื้อตามเหมือนเกาะราคาที่พุ่งขึ้นไปด้วย
- คำสั่ง Sell Stop ก็คล้ายกันคือตั้งราคาไว้ต่ำกว่าราคาตอนนี้ พอราคาลงไปถึงปุ๊บ ก็เข้า Sell ตามราคาที่กำลังลง
- ข้อดีคือเทรดเดอร์ไม่ตกรถและบางครั้งก้เป็นการยืนยันแนวโน้มไปในตัว แต่ข้อเสียคืออาจจะโดนราคาหลอกกลับตัวได้

คำสั่งแบบไหนดีที่สุดตามความคิดเห็นของเหล่ากูรูเทรดเดอร์
คำถามที่ว่า Trade Execution หรือคำสั่งซื้อขายแบบไหนดีที่สุดสำหรับการเทรด เป็นคำถามที่ถกเถียงกันมาอย่างยาวนานและมีบรรดากูรูเทรดเดอร์ให้คำแนะนำดังนี้ครับ
Alexander Elder (ผู้เขียนหนังสือ Trading for a Living)
- ตัวเขาจะเน้น Limit Order เป็นหลักเพราะเชื่อว่า Limit Order ช่วยให้เทรดเดอร์ควบคุมราคาและรอจังหวะที่ดีที่สุดในการเข้าเทรด
- และยังมอง Market Order ว่ามีความเสี่ยง เขาเตือนว่า Market Order อาจทำให้เสียเปรียบโบรกเกอร์และเสี่ยงต่อ Slippage
Al Brooks (ผู้แต่ง Reading Price Charts Bar by Bar)
- ตัวเขาเชี่ยวชาญ Price Action และเน้นการอ่าน Price Action เป็นหลัก เลือกใช้ Market Order ในการเข้าเทรด เพื่อให้ทันท่วงทีต่อการเคลื่อนไหวของราคา
- โดยเลือกที่จะยอมรับว่า Slippage เป็นส่วนหนึ่งของการเทรดและควรบริหารจัดการให้เป็น
Jesse Livermore (เจ้าพ่อแห่ง Wall Street)
- Livermore เชื่อในการปรับตัวตามตลาด ไม่ใช่บังคับหรือคาดหวังราคาตามตลาด เขาจึงเน้น Market Order โดยไม่รอราคาที่เฉพาะเจาะจง
- จังหวะคือกุญแจสำหรับ Livermore การอ่านและจับจังหวะตลาด นั้นสำคัญกว่าการตั้งราคารอ
Richard Dennis
- Dennis ให้ความสำคัญกับการควบคุมราคาและความเสี่ยง ซึ่งตรงข้ามกับ Livermore อย่างสิ้นเชิง เขาเลือก Limit Order เพราะเชื่อว่าได้เปรียบในเรื่อง Slippage และราคา

วิดีโอเกี่ยวกับ Trade Execution
ความแตกต่างของการใช้คำสั่งซื้อขายทั้ง 3 แบบ เครดิต By The Trading Channel Focus นาทีที่ 2:50-26:00
ทีมงาน forexthai อยากจะแชร์วิดีโอคลิปหนึ่งจากยูทูปซึ่งเนื้อหาเกี่ยวกับ การใช้คำสั่งซื้อขายทั้ง 3 แบบ ซึ่งรวมทั้งหมด Limit Order, Market Order, Stop Order คิดว่าเป็นแบบวิดีโอผู้อ่านคงจะมองเห็นภาพและว๊ะการได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นครับ
- Focus นาทีที่ 2:50 อธิบาย Buy Market Order และ Sell Market Order พร้อมยกตัวอย่าง
- Focus นาทีที่ 17:30 อธิบาย Buy Limit Order และ Sell Limit Order พร้อมยกตัวอย่าง
- Focus นาทีที่ 22:30 อธิบาย Buy Stop Order และ Sell Stop Order พร้อมยกตัวอย่าง
สรุป
ในที่สุดเทรดเดอร์ก็เข้าใจ Trade Execution แต่ละแบบอย่างลึกซึ้ง โดยคำสั่งเหล่านี้ถูกออกแบบมาก็เพื่อใช้ปรับตัวไปตามสถานการณ์ของตลาด Forex บางคนอาจจะใช้ Market Order ซื้อขายทันที แต่บางคนอาจจะต้องการซื้อขายในราคาที่คิดว่าดีกว่า ดังนั้นจะตัดสินถูกผิดโดยวัดจากคำสั่งซื้อนั้นก็ไม่สมเหตุสมผลซะทีเดียว
ประเด็นสำคัญคือการควบคุมความเสี่ยงของตัวเองให้ดี ไม่ว่าเทรดเดอร์จะใช้คำสั่งซื้อขายแบบไหนก็เชื่อจะสามารถหาทางทำกำไรได้แน่นอนครับ
ทีมงาน: forexthai.in.th