Forexthai.in.th ย่อให้
- Position คือ ตำแหน่งที่เราเข้าไปมีส่วนร่วมในตลาด ไม่ว่าจะเป็นการเปิดหรือปิดสัญญาซื้อขาย
- มี 2 ทิศทาง: Long Position (ซื้อ: คาดว่าราคาจะขึ้น) และ Short Position (ขาย: คาดว่าราคาจะลง)
- ขนาดของ Position มีให้เลือกหลากหลาย ตั้งแต่ เช่น Standard Lot ไปจนถึง Micro Lot และระยะเวลาการถือ Position มีผลต่อสไตล์การเทรดและการจัดการเงินทุน
- การจัดการความเสี่ยงคือหัวใจสำคัญ ต้องตั้ง Stop Loss ทุกครั้ง และกำหนด Take Profit ให้คุ้มค่า โดยกำไรควรมากกว่าขาดทุนอย่างน้อย 2 เท่า
ในการเทรด Forex คำว่า “Position” เป็นคำที่คุณจะได้ยินบ่อยมาก และมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จในการเทรดของคุณ วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเรื่อง Position กันแบบละเอียดทุกแง่มุม เพื่อให้คุณสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงครับ
Position คืออะไร?

Position คือ “จุดยืน” หรือ “ตำแหน่ง” ที่เราเข้าไปมีส่วนร่วมในตลาด Forex ไม่ว่าจะเป็นการเปิดหรือปิดสัญญาซื้อขาย เวลาเราเทรด เราจะได้ยินคำว่าเปิด Position หรือปิด Position กันบ่อยๆ ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 3 อย่าง คือ
-
ทิศทางของ Position
- Long Position หรือ Buy Position: ก็คือเราคาดว่าราคามันจะวิ่งขึ้นไปนั่นเอง
- Short Position หรือ Sell Position: ตรงข้ามกัน คือเราคาดว่าราคาจะร่วงลงมา
-
ขนาดของ Position
- ขนาดการเทรดนี่ก็สำคัญมากนะครับ ซึ่งในตลาดเราสามารถเลือกเทรดได้หลายแบบ เช่น Standard Lot ก็คือ 100,000 หน่วยของสกุลเงินหลัก, Mini Lot 10,000 หน่วย หรือ Micro Lot 1,000 หน่วย เป็นต้น
- สามารถไปคำนวณขนาดของ Position ที่เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงได้ที่ position size calculator ครับ
-
ระยะเวลาการถือ Position
- ระยะเวลาในการถือ Position จะกำหนดทั้งสไตล์การเทรดและจิตวิทยาของเราเลย แถมยังมีผลต่อการวางแผนจัดการเงินทุนด้วย เราเรียกช่วงเวลาในการถือ Position พวกนี้ว่า “Time Frame” ในการเทรด ซึ่งแต่ละคนก็จะเลือกใช้ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับความถนัดและไลฟ์สไตล์ เช่น Scalping, Day Trading หรือ Position Trading เป็นต้น
วิธีการวาง Position

1. ก่อนจะเปิด Position ต้องเช็คอะไรบ้าง?
- วิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน: ติดตามข่าวเศรษฐกิจสำคัญ ดูนโยบายธนาคารกลาง และวิเคราะห์สภาวะตลาดโดยรวม
- ดูกราฟให้ชัวร์: ดูแนวโน้มหลักของตลาด, หาแนวรับแนวต้านสำคัญ หรือเทรดเดอร์บางคนอาจจะใช้ Indicator ประกอบการตัดสินใจ
2. จะเข้าเทรดตรงไหนดี?
- ก็คือการกำหนดจุดที่เราจะเข้าเทรดนั่นเองครับ ซึ่งอาจจะใช้เป็นการ Limit Order ไว้ หรือ Market Order เข้าเทรดเองทันทีก็ได้เช่นกัน อันนี้แล้วแต่ความถนัด
3. จัดการความเสี่ยงยังไงดี?
- ตั้ง Stop Loss ทุกครั้ง
- กำหนด Take Profit ให้คุ้มค่า: กำไรต้องมากกว่าขาดทุน 2 เท่า (อย่างน้อย!)

Position กับการเทรด forex
เพื่อนๆ ครับ อย่างที่เราคุยกันมาตั้งแต่ต้น Position นี่มันสำคัญมากๆ กับการเทรด Forex เลยครับ ถ้าคุณเพิ่งเริ่มเทรด สิ่งแรกที่ต้องทำความเข้าใจเลยก็คือ การอ่านค่าต่างๆ ของการเทรดให้ถูกต้อง เพราะมันจะช่วยให้คุณเทรดได้ดีขึ้น และที่สำคัญคือ มันจะทำให้คุณมั่นใจขึ้นด้วยว่าคุณก็สามารถเทรด Forex ได้อย่างมืออาชีพ
นอกจากที่กล่าวมาแล้ว Position ไม่ได้มีแค่เรื่องการซื้อขายอย่างเดียว มันยังเป็นชื่อกลยุทธ์การเทรดด้วยนะครับ ที่เรียกว่า Position Trading ซึ่งเป็นการเทรดแบบถือยาวๆ คล้ายๆ กับ Long Term Trading นั่นแหละครับ แต่ที่เรียกต่างกันเพราะว่าในวงการกองทุน เขาแบ่งประเภทการเทรดไว้หลายแบบ โดย Position Trading จะต่างจาก Proprietary Trading ตรงที่วิธีการทำงานและเป้าหมายไม่เหมือนกันครับ
EA forex ขั้นพื้นฐานที่ใช้ EMA วิเคราะห์ Position
หลาย ๆ คนคงจะเคยเทรดโดยใช้ Indicator EMA กันมาแล้ว ซึ่งปัจจุบันเจ้า EMA นี้แหละครับที่ถูกจับมาทำ EA Forex ตัวนึงด้วยนะ โดยมันอาศัยหลักการง่าย ๆ คือ ให้ตั้งค่า Fast Line = 12 และเส้น Slow Line = 26
ต่อมาให้เรากำหนดค่า Position Long ให้เข้า Order เมื่อ Fast Line ตัดขึ้น Slow Line และให้ EA เข้า Order Short เมื่อเส้น Fast Line ตัดลง Slow Line นั่นเองครับ นี่คือ EA พื้นฐานก็จริง แต่มันค่อนข้างที่จะใช้ได้ผลดีกับคู่เงินที่มีพฤติกรรมเป็น Trend อย่างเช่นคู่เงิน USD/JPY ครับ
ที่บอกว่ายังใช้ได้นั้นเราได้ทำการ Backtest ด้วย Tick data 99.9% เป็นเวลา 4 ปี โดยตั้งค่า Spread 1-30 และ Optimize Slippage เป็นที่เรียบร้อย (เพื่อความสมจริง) ซึ่งผลลัพท์ออกมาดีมากครับ เพราะสามารถเอาชนะตลาดช่วงวิกฤต COVID-19 มาได้ด้วย Max DD เพียง 15% เท่านั้นครับ

ใครสนใจใช้ Free สามารถ Download ได้ที่นี่ครับ
*ปล. การลงทุนมีความเสี่ยง ดังนั้นผู้ลงทุนควรศึกษาให้รอบด้านจริง ๆ เสียก่อนนะครับ
นอกจากนี้ยังมี EA Forex อีกมากมายหลายตัวที่รอให้เราไปค้นหา ซึ่งก็มีหลายเว็บนะครับที่เขาแจกฟรี และมีหลายเว็บที่ต้องจ่ายเงินซื้อ โดยเว็บดัง ๆ ระดับโลกก็เห็นจะไม่พ้น www.mql5.com ครับ ผู้ท่านลองไปหาเล่นหาดูกันได้ครับ
สรุป
เอาให้จบง่ายๆ ครับ Position ก็คือการเปิดสัญญาซื้อ (Buy) หรือขาย (Sell) นั่นเอง รวมไปถึงการปิดสัญญาด้วย ดังนั้นเวลาคุณเลือกอ่านค่าของสัญญาณก็สามารถเลือกใช้คำเหล่านี้ได้นั่นเอง
ทีมงาน: forexthai.in.th