Forexthai.in.th ย่อให้
- คู่เงินใน Forex คือการจับคู่ระหว่างสกุลเงิน 2 สกุล โดยตัวหน้าเป็น Base Currency (มีค่าเท่ากับ 1) และตัวหลังเป็น Quote Currency (ราคาผันแปรตามตลาด)
- คู่เงินหลัก (Major Pairs) เช่น EUR/USD, GBP/USD มาพร้อมความเสถียร เหมาะกับมือใหม่ ส่วนคู่เงินรอง (Minor) และคู่เงินพิเศษ (Exotic) เหมาะกับคนมีประสบการณ์
- ในการเทรด จะมีราคา Bid (ราคาขาย) และ Ask (ราคาซื้อ) โดย Ask จะสูงกว่า Bid เสมอ ส่วนต่างนี้เรียกว่า Spread
- การแข็งค่าของเงิน คือเมื่อต้องใช้เงินสกุลอื่นจำนวนมากขึ้นเพื่อแลกกับสกุลเงินนั้นๆ ส่วนการอ่อนค่าคือใช้จำนวนน้อยลง
- เกม Forex คือการวิเคราะห์ทิศทางการแข็ง-อ่อนค่าของสกุลเงิน เพื่อเก็บกำไรจากส่วนต่าง
OK… ตอนนี้เราก็ได้รู้จักกับเกมสร้างเศรษฐีที่ชื่อว่า Forex กันบ้างแล้ว ได้รู้แล้วว่าเกมนี้มีความเป็นมาอย่างไร บอกได้เลยว่าถ้าเล่นแล้วมันช่วยให้เราแปลงร่างเป็นเศรษฐีได้จริง ๆ แต่ต้องเล่นให้เป็นก่อนนะ
เกมเศรษฐียังมี “ล้มละลาย” เทรด Forex ก็ “ฉิบหาย” ได้ ถ้าไม่รู้จริง
มาถึงบทความนี้ จึงอยากจะขอพาไปทำความรู้จักกับการสร้างฐานคือ “ความรู้” ที่เราต้องมีติดตัว เพื่อฝ่าด่านต่าง ๆ ไปสู่ LEVEL ที่สูงขึ้นไป รวมทั้งการเก็บไอเดียที่เป็นไอเทมเจ๋ง ๆ ระหว่างทางด้วย ไปเริ่มกันต่อเลย
สารบัญบทความ click เพื่อเลือกอ่าน !!
คำว่า “คู่เงิน” คืออะไร?
นี่คืออาวุธหลักที่เราต้องรู้ คำว่า “คู่เงิน” ในตลาด Forex หมายถึงการจับคู่ระหว่างสองสกุลเงินที่ถูกซื้อขายร่วมกันในการซื้อขายเทียบเท่ากันในตลาด Forex โดยคู่เงินประกอบด้วยสกุลเงินที่เรียกว่า
“สกุลเงินฐาน” (base currency) และ “สกุลเงินคู่” (quote currency)
สกุลเงินฐาน (base currency)
- สกุลเงินที่อยู่ด้านหน้าของคู่เงิน ซึ่งแสดงถึงจำนวนหน่วยของสกุลเงินฐานที่จำเป็นในการซื้อขายคู่เงินนั้น สกุลเงินฐานมักจะเป็นสกุลเงินที่มีความสำคัญในตลาด
สกุลเงินคู่ (quote currency)
- สกุลเงินที่อยู่ด้านหลังของคู่เงิน แสดงถึงราคาของสกุลเงินฐานที่มีค่าเท่าใดกับสกุลเงินคู่นั้น สกุลเงินคู่เป็นสกุลเงินที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนกับสกุลเงินฐานในตลาด
ตัวอย่าง คู่เงิน EUR/USD
- EUR คือสกุลเงินฐาน (base currency)
- USD คือสกุลเงินคู่ (quote currency)
ดังนั้น การแปลงค่า EUR/USD จะแสดงถึงราคาของ 1 ยูโร (EUR) ต่อ ราคาดอลลาร์สหรัฐ (USD) ที่เปลี่ยนไปในตลาด
หรือจะจำเอาไว้ง่าย ๆ ก็ได้ว่า คู่เงินที่อยู่ข้างหน้า ไม่ว่าจะเป็นตัวไหนก็ตาม จะมีค่าคือ 1 เสมอ ส่วนคู่เงินตัวข้างหลัง ราคาจะเปลี่ยนแปลงไปตามตลาด และเราก็เทรดเพื่อทำกำไรจากตรงนี้ นั่นเอง
ประเภทของคู่เงินแต่ละแบบ
จำนวนของคู่เงินที่มีให้เทรดในตลาด Forex นั้น มีจำนวนหลายคู่มาก แต่ก็สามารถแบ่งประเภทของคู่เงินออกเป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่:
- Major Pairs (คู่เงินหลัก): คู่เงินที่ประกอบด้วยสกุลเงินหลักของเศรษฐกิจโลก เช่น EUR/USD, GBP/USD, USD/JPY, USD/CHF
- Minor Pairs (คู่เงินรอง): คู่เงินที่ไม่ใช่สกุลเงินหลัก แต่ยังมีความนิยมในการซื้อขาย เช่น EUR/GBP, GBP/JPY, AUD/CAD
- Exotic Pairs (คู่เงินพิเศษ): คู่เงินที่ประกอบด้วยสกุลเงินของประเทศต่อมากับสกุลเงินหลัก ซึ่งมีความไม่สม่ำเสมอในการซื้อขาย เช่น USD/THB, EUR/TRY, GBP/ZAR
การที่จะเลือกอาวุธส่วนตัว หรือการเลือกคู่เงินเพื่อที่จะเทรดนั้น ขึ้นอยู่กับความสนใจและการชอบของคุณเอง คู่เงินที่มีความเสี่ยงต่ำกว่าอาจเหมาะสำหรับนักเทรดผู้เริ่มต้น ในขณะที่คู่เงินที่มีความเสี่ยงสูงกว่าก็จะเหมาะกับนักเทรดที่มีประสบการณ์ในตลาดมาแล้วอย่างโชกโชน
การอ่านค่าของ “คู่เงิน” ใน FX Quote
การอ่านค่าของคู่เงินในตลาด Forex จะมีสองราคาหลักที่ต้องรู้เอาไว้อย่างมาก คือ ราคาขาย (Bid) และ ราคาซื้อ (Ask) โดยสามารถอธิบายได้ดังนี้:
- ราคาขาย (Bid): คือราคาที่คนซื้อพร้อมจ่ายเมื่อคุณต้องการขายคู่เงินนั้น ในราคาขาย คุณจะได้รับเงินซึ่งเป็นสกุลเงินคู่ (quote currency) และต้องจ่ายสกุลเงินฐาน (base currency)
- ราคาซื้อ (Ask): คือราคาที่คนขายต้องการรับเงินเมื่อคุณต้องการซื้อคู่เงินนั้น ในราคาซื้อ คุณจะต้องจ่ายเงินซึ่งเป็นสกุลเงินคู่ (quote currency) และจะได้รับสกุลเงินฐาน (base currency)
ตัวอย่างเช่น คู่เงิน EUR/USD
ราคาขายอาจจะแสดงเป็น 1.0702 และราคาซื้ออาจจะแสดงเป็น 1.0703 หากต้องการซื้อ EUR/USD คุณต้องจ่ายราคาซื้อ (Ask) ซึ่งในตัวอย่างนี้เท่ากับ 1.0703 หากคุณต้องการขาย EUR/USD คุณจะได้รับราคาขาย (Bid) ซึ่งในตัวอย่างนี้เท่ากับ 1.0702
ข้อสังเกตก็คือว่า ราคาซื้อ (Ask) จะมีค่าสูงกว่า ราคาขาย (Bid) เนื่องจากในตลาด Forex นั้นมีส่วนต่างของสเปรด (Spread) ซึ่งเป็นค่าความแตกต่างระหว่างราคาขายและราคาซื้อ นั่นก็คือสเปรดจะเป็นค่าคอมมิชชั่นที่โบรกเกอร์เรียกเก็บ เมื่อเราทำการเทรดในตลาด Forex นั่นเอง
การดูความแข็งค่าและอ่อนค่าของคู่เงิน
การแข็งค่าและอ่อนค่าของคู่เงิน เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าของสกุลเงินนั้น ๆ ที่จับคู่กัน ในระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา
สกุลเงินที่แข็งค่าขึ้น หมายถึงสกุลเงินที่ใครอยากได้ก็ต้องจ่ายสกุลเงินของตัวเองมากขึ้น เมื่อเทียบกับสกุลเงินนั้น ๆ ในขณะที่การอ่อนค่าหมายถึงสกุลเงินที่จ่ายน้อยลงเมื่อแลกเปลี่ยนกัน
ตัวอย่างการแข็งค่าและอ่อนค่าของค่าเงิน:
- เดิมสกุลเงิน A เมื่อนำไปแลกเปลี่ยนกับสกุลเงิน B โดยใช้การแลกเปลี่ยนที่ 1 เหรียญ ต่อ 1 เหรียญได้
- ต่อมา ต้องใช้สกุลเงิน A ถึง 2 เหรียญ เพื่อแลกกับ 1 เหรียญ ของสกุลเงิน B
เหตุการณ์อย่างนี้เรียกว่า “สกุลเงิน A อ่อนค่าต่อสกุลเงิน B” หรือ “สกุลเงิน B แข็งค่าต่อสกุลเงิน A” ก็ได้
ซึ่งสาเหตุของการแข็งค่าและอ่อนค่าของค่าเงิน สามารถเกิดขึ้นได้เนื่องจากหลายปัจจัย เช่น สภาวะเศรษฐกิจของประเทศเจ้าของสกุลเงิน อัตราดอกเบี้ยของประเทศนั้น ๆ เป็นต้น
การต่อสู้ฟันฝ่าในเกมเศรษฐีที่เรียกว่า Forex ก็อาศัยการวิเคราะห์หาแนวโน้มว่าสกุลเงินไหนจะอ่อนแอหรือแข็งค่านี่เอง เพื่อเข้าไปเก็งกำไรจากส่วนต่างตรงนั้น
ทีมงาน: forexthai.in.th