Forexthai.in.th ย่อให้

  • CCI (Commodity Channel Index) เป็น Indicator สำหรับวัดการแกว่งตัวที่สามารถทำงานได้ดีทั้งในช่วงตลาดมีเทรนด์และช่วง Sideway
  • หลักการทำงานของ CCI คือการวิเคราะห์สัญญาณ Overbought (เหนือ +100) และ Oversold (ต่ำกว่า -100) เพื่อหาจังหวะเข้าเทรดที่เหมาะสม
  • ในตลาด Sideway ใช้สัญญาณ Overbought เป็นจุด Sell และ Oversold เป็นจุด Buy ส่วนในตลาดเทรนด์ให้เน้นเทรดตามทิศทางหลักเท่านั้น
  • ข้อจำกัดของ CCI คือความแม่นยำที่ไม่สูงนัก โดยเฉพาะในช่วงตลาดผันผวน จึงควรรอการยืนยันของราคาและมีการจัดการความเสี่ยงที่ดี

CCI (Commodity Channel Index)

Commodity Channel Index หรือ CCI คือ indicator อีกหนึ่งตัวที่เป็นระดับ Top ของกลุ่มที่ใช้วัดการแกว่งตัวในตลาด Forex ถ้าหากว่าเปรียบเทียบกับ RSI หรือ Indicator ที่วัดการแกว่งตัว ตัวอื่น ๆ ถือว่าสูสี

โดยเฉพาะเมื่อ indicator ตัวอื่นที่ใช้ในการแกว่งตัว จะต้องเผชิญปัญหาในช่วงที่ตลาดมีเทรนด์ สำหรับ Commodity Channel Index ไม่มีปัญหาที่กล่าวมาเลย เพราะมันสามารถใช้ได้ดีในช่วงเทรนด์ด้วย


CCI Indicator คืออะไร? ข้อมูลเบื้องต้น

CCI ถือกำเนิดขึ้นในปี 1980 โดย Donald Lambert ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์ทางเทคนิค หลังจากเปิดตัว อินดิเคเตอร์ตัวนี้ก็ได้รับความนิยมอย่างท่วมท้น จนกลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือยอดนิยมที่เทรดเดอร์ใช้กันอย่างแพร่หลาย

หลักการสำคัญในการใช้ CCI คือการวิเคราะห์สัญญาณ Overbought และ Oversold เพื่อหาจังหวะเข้าเทรดที่เหมาะสม

เมื่อเทียบกับ RSI หรืออินดิเคเตอร์วัดการแกว่งตัวอื่นๆ CCI มีจุดเด่นที่เหนือกว่าตรงที่สามารถทำงานได้ดีแม้ในช่วงที่ตลาดมีเทรนด์ชัดเจน ในขณะที่อินดิเคเตอร์อื่นๆ มักจะเจอปัญหาในช่วงนี้

นอกจากนี้ CCI ยังคงความเป็น Oscillator ที่แข็งแกร่งในช่วงตลาด Sideway ด้วย ทำให้มันเป็นเครื่องมือที่ครบเครื่องจริง ๆ ครับ

การคำนวณ

สำหรับการคำนวณ CCI จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การคำนวณ CCI และการคำนวณ Typical Price ซึ่งจะใช้ในการคำนวณ CCI อีกต่อหนึ่ง โดยสูตรการคำนวณ CCI แสดงได้ดังต่อไปนี้

  1. การคำนวณ Typical Price (TP):
    • TP = (High + Low + Close) / 3
  2. การคำนวณ CCI:
    • CCI = (Typical Price – 20 Period SMA ของ TP) / (0.015 x Mean Deviation)

โดยที่ค่า Mean deviation คือ ค่า Standard Deviation ที่จะเหวี่ยงออกจากค่าเฉลี่ย หรือ mean ประมาณ 1.5%

คลังคำศัพท์ เกี่ยวกับ Forex และการลงทุน ที่ควรรู้ เรียงตามลำดับอักษร ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เราตั้งใจทำให้ง่ายต่อการค้นหา...

รีวิวโบรกเกอร์ Forex จากการทดสอบระบบในแง่มุมต่างๆด้วยบัญชีจริง เทรดจริง เราตั้งใจทำเพื่อเคียงข้างเทรดเดอร์อย่างแท้จริง...

วิธีการใช้งาน

ต้องบอกก่อนว่าการใช้งาน CCI นั้นไม่ได้ยากและซับซ้อนเลยครับ แต่เราต้องเข้าใจก่อนว่า CCI เป็นอินดิเคเตอร์ที่มักจะเอามาใช้ในช่วงตลาด Sideway แต่จริง ๆ มันสามารถนำมาใช้งานได้ในสองรูปแบบหลักๆ คือ ช่วงตลาด Sideway และช่วงเทรนด์เลย

สิ่งที่ทำให้ CCI พิเศษกว่าอินดิเคเตอร์ตัวอื่นคือ มันสามารถปรับตัวได้ดีในทุกสภาวะตลาด คุณแค่ต้องรู้จังหวะและวิธีใช้ให้ถูก ซึ่งผมจะแชร์เทคนิคดีๆ ให้ตอนนี้เลย!

1. การใช้ CCI ในตลาด Sideway

สำหรับการใช้งานตลาด Sideway ใช้กรณีสัญญาณ Overbought และ Oversold เป็นหลัก ในภาพ แสดงสัญญาณ 2 กลุ่มได้แก่ สัญญาณ Oversold ในกลุ่มสีเหลือง และสัญญาณ Overbought ในกลุ่มสีแดง

CCI
Overbought และ Oversold

เวลาเส้น CCI พุ่งขึ้นเหนือระดับ +100 นั่นคือสัญญาณ Overbought หรือภาวะที่ตลาดซื้อมากเกินไป มีโอกาสสูงที่ราคาจะปรับฐานลง ในทางกลับกัน เมื่อเส้น CCI ดิ่งลงต่ำกว่าระดับ -100 นั่นคือสัญญาณ Oversold หรือภาวะที่ตลาดขายมากเกินไป มีโอกาสที่ราคาจะดีดตัวขึ้น

และแน่นอนว่าบางครั้ง CCI อาจให้สัญญาณเร็วเกินไป เทรดเดอร์ควรใช้การจัดการความเสี่ยงที่ดีเข้าช่วยด้วย เช่น การตั้ง Stop Loss ที่เหมาะสม หรือคุณจะรอยืนยันแนวโน้มจากเครื่องมืออื่นประกอบด้วยก็ได้

2.การใช้ CCI ในตลาดเทรนด์

สำหรับการใช้งานตลาด Trend ก็สามารถแบ่งได้เป็นอีก 2 รูปแบบ คือ

  1. การใช้งานในเทรนด์ขาขึ้น
  2. การใช้งานในเทรนด์ขาลง

เทรนด์ขาขึ้น:

ข้อสังเกตุสำหรับเทรนด์ขาขึ้น คือ สัญญาณ Oversold จะเกิดขึ้นน้อยมาก และจุด Overbought จะเกิดขึ้นเยอะมาก 

สัญญาน CCI
วงกลมสีเหลือง คือจุด Oversold หรือจุดที่เราจะใช้เข้าเทรดฝั่ง Buy ซึ่งจะเกิดขึ้นน้อยมากถ้าเทียบกับสัญญาณ Overbought
  • เน้นรอจังหวะ Buy ตอนพักฐานเท่านั้น (เมื่อ CCI ลงมาใกล้หรือต่ำกว่า -100)
  • หลีกเลี่ยงการ Short (Sell) ในเทรนด์ขาขึ้น เพราะจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเนื่องมาจากการสวนเทรนด์

เทรนด์ขาลง:

สำหรับเทรนด์ขาลงก็เช่นเดียวกัน คือ จะเกิดสัญญาณ Oversold  ได้บ่อยกว่า แต่คุณสมบัติของเทรดเดอร์เลยคือต้องมีความอดทนครับ เราจะทำการเข้า Sell เมื่อมีการพักฐานเทรนด์ขาลงเช่นกัน ดังรูปต่อไปนี้

สัญญาณซื้อขายของ CCI
สัญญาณการพักฐานขาลง การใช้ CCI ในการเทรดสำหรับเทรนด์ขาลง ต้องรอจังหวะที่มันเกิดสัญญาณการพักฐานขาลง คือราคาเด้งขึ้นมาตามรูปในวงกลมสีเหลือง
  • รอจังหวะ Sell เมื่อราคาดีดตัวขึ้นมาพักฐาน
  • มองหาสัญญาณ Overbought (CCI เหนือ +100) เพื่อเข้า Sell (ในวงกลมสีเหลือง)
  • เล่นฝั่งเดียวคือ Sell หลีกเลี่ยง Buy ในเทรนด์ขาลง แม้ว่าจะเกิดสัญญาณ Oversold

ข้อจำกัดของ CCI

ข้อจำกัดของ CCI ที่สำคัญก็คือ ความแม่นยำที่ไม่สูงมากนัก CCI มีโอกาสให้สัญญาณหลอกได้ โดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดผันผวนรุนแรง เปรียบเหมือนเราขับรถในพายุฝน เข็มทิศอาจชี้ผิดทางได้ชั่วคราว วิธีแก้คือต้องรอให้เห็นการยืนยันของราคาก่อนเสมอ หรือมีการจัดการความเสี่ยงที่ดี

ยิ่งถ้าตั้งค่า Period น้อยเกินไป ยิ่งมีโอกาสเจอสัญญาณหลอกบ่อย CCI เป็นอินดิเคเตอร์ที่ไวต่อการตั้งค่ามาก การตั้งค่าที่ไม่เหมาะสมเปรียบเหมือนการใส่แว่นที่ไม่ใช่ค่าสายตาของเรา อาจทำให้มองเห็นสัญญาณผิดเพี้ยนได้ ต้องปรับแต่งให้เหมาะกับ

  • Time Frame ที่เราเทรด
  • สภาพความผันผวนของตลาด
  • สไตล์การเทรดของเรา

 

เหมือนกับที่นักดาบต้องรู้จุดอ่อนของดาบตัวเอง เพื่อใช้งานมันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

 

EA Forex ที่ใช้ CCI เป็นกลยุทธ์

เอาล่ะครับ.. สำหรับเทรดเดอร์ที่ชอบใช้ CCI เข้ามาช่วยเทรดต้องบอกเลยครับว่า ยินดีด้วยที่คุณผ่านมาเจอบทความนี้นะ เพราะเรากำลังจะแจก EA Forex ที่ใช้ CCI มาเทรดให้คุณได้ 24 ชม. เลยล่ะ EA ตัวนี้จะเป็นยังไง มาดูกัน

เมื่อ CCI EA พบสัญญาณการซื้อขายที่ถูกต้องตามอัลกอริทึมในตัว มันจะส่งสัญญาณแจ้งเตือนคุณทาง SMS อีเมล หรือป๊อปอัพแพลตฟอร์ม คุณสามารถเลือกการแจ้งเตือนที่คุณต้องการรับจากการตั้งค่า CCI EA ครับ (โคตรคูล)

ไม่เพียงแต่สามารถส่งการแจ้งเตือนสำหรับการซื้อขายด้วยตนเองเท่านั้น แต่คุณยังสามารถตั้งค่าให้ทำการซื้อขายแทนคุณได้ในกรณีที่คุณไม่ได้อยู่รอบ ๆ เพื่อดำเนินการด้วยตนเอง ประกอบด้วยการตั้งค่าที่ปรับแต่งได้และคุณสมบัติการจัดการเงิน เช่น หยุดการขาดทุน ทำกำไร จุดคุ้มทุน และจุดหยุดต่อท้าย

หลักการทำงานของ EA

  • สัญญาณซื้อ: ราคา CCI ต่ำกว่าระดับ -100
  • สัญญาณขาย: ราคา CCI อยู่เหนือระดับ 100

สนใจอยากใช้ EA ตัวนี้ต้องทำยังไง

ไม่ยากเลยครับ เพียงแค่คุณเข้าไป download ได้ที่ >>> Click <<< ซึ่งภายในลิงค์นี้ก็จะมีรายละเอียดอื่น ๆ เกี่ยวกับ EA อีกมากมายเลยล่ะ

สรุป

CCI เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์การแกว่งตัวของราคาที่มีความยืดหยุ่นสูง เพราะเราสามารถใช้ในการวิเคราะห์เทรนด์ของตลาด Forex ได้ด้วยเช่นกัน การใช้งานในตลาดเทรนด์และตลาด Sideway นั้น ต้องอาศัยการสังเกตุลักษณะที่เปลี่ยนไปของราคา ที่ทำให้ CCI มีลักษณะการเคลื่อนไหวไม่รุนแรงมากนัก

อย่างไรก็ตาม การเทรดที่ดีต้องมีการจัดการความเสี่ยงและการจัดการเงินทุนที่เหมาะสมเสมอ ไม่ว่าคุณจะใช้อินดิเคเตอร์ตัวไหนก็ตาม

 Review Broker Forex

วิเคราะห์ วิจารย์ ข้อดี-ข้อเสีย ข้อมูลจากการเทรดด้วยบัญชีจริง โดยทีมงานหลายคน ...

อ้างอิง

https://en.wikipedia.org/wiki/Commodity_channel_index

https://www.tradingview.com/wiki/Commodity_Channel_Index_(CCI)

https://www.investopedia.com/terms/c/commoditychannelindex.asp

https://school.stockcharts.com/doku.php?id=technical_indicators:commodity_channel_index_cci

ทีมงาน: forexthai.in.th

แสดงข้อคิดเห็น ให้กำลังใจ

comments

สารบัญบทความ