Bollinger bands (Squeeze) คือ อะไร ?

เครื่องมือเทรดในการเทรดเป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับเทรดเดอร์ ดังนั้น indicator ที่ดีนั้นมีความสำคัญมาก สำหรับบทความนี้จะเป็นบทความเกี่ยวกับ indicator ที่มีประสิทธิภาพสูงมากในกลุ่ม Indicator ที่มีในการเทรด Forex ทั้งหมด นั่นคือ Bollinger Band

bollinger bands คือ เส้นค่าเฉลี่ยอย่างหนึ่ง ที่ถูกคิดค้นโดย John Bollinger สำหรับใช้เป็น Trade setup หรือจุดที่เราใช้เทรด

Bollinger bands ประกอบด้วยเส้น 3 เส้น

องค์ประกอบของ Bollinger Band นั้น คำนวณมาจากค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่1wikipedia.org,Bollinger Band ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Bollinger_Bands สืบค้นเมื่อ 30/11/20192 มันหมายความว่า Bollinger Band นั้นเป็นเครื่องมือที่บอกความผันผวนของราคา เมื่อโดยเปรียบเทียบแล้ว ความผันผวนของราคาในกรอบของการคำนวณ นั่นคือ 20 วันซึ่งเป็นค่ามาตรฐานนั้น มีความผันผวนมากน้อยขนาดไหน โดยองค์ประกอบของ Bollinger Band นั้นประกอบด้วยเส้น 3 เส้น ดังนี้

โดยเส้นกลาง (middle band) จะเป็นเส้นค่าเฉลี่ย 20 วัน (20-day SMA (simple moving average)) ส่วนเส้นบนกับเส้นล่างหรือที่เรียกกันว่ากรอบบน และกรอบล่าง นั้นเป็นมาจากเส้นค่าเฉลี่ย 20 วัน + / – ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviations) หรือ 2 S.D. นั่นเอง

สูตรของ Bollinger Band

Middle Band = Moving Average 20 

Upper Band = Moving Average 20 + (2 x Standard Deviation)

Lower Band = Moving Average 20 – (2 x Standard Deviation)

Bband
ค่ามาตรฐาน BBAND

ใน Set up นี้จะใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Bandwidth ที่ไว้วัดความกว้างของกรอบ Bollinger bands

ซึ่งถ้า

– ค่า Bandwidth อ่อนตัวลงต่ำ หมายความว่า กรอบ Bollinger bands นั้นแคบ แสดงถึงความผันผวนต่ำ

– ค่า Bandwidth ปรับตัวขึ้นสูง หมายความว่า กรอบ Bollinger bands นั้นกว้าง แสดงถึงความผันผวนสูง

ด้วยความเปลี่ยนแปลงของค่า Band นั้นทำให้เกิดรูปแบบ Pattern ต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อใช้ในการกำหนดการเทรด บางคนก็อาจจะใช้ Bollinger Band ในการเป็นจุดบอกแนวรับแนวต้านได้เช่นกัน

เงื่อนไขการเทรด โดยอาศัย Bollinger bands

ฝั่ง Long

  1. รอช่วงที่ Bandwidth แตะจุดต่ำสุดในรอบ 120 วัน
  2. เปิด Long ในช่วงที่ราคาปิดเหนือกรอบบนของ Bollinger bands

ฝั่ง Short

  1. รอช่วงที่ Bandwidth แตะจุดต่ำสุดในรอบ 120 วัน
  2. เปิด Short ในช่วงที่ราคาปิดต่ำกว่ากรอบล่างของ Bollinger bands
Bollinger bands (Squeeze) คืออะไร forex
USDJPY กับ Set up ในการเทรดโดยรอจังหวะที่ Bandwidth

ตัวอย่าง USDJPY กับ Set up ในการเทรดรูปแบบนี้ โดยรอจังหวะที่ Bandwidth นั้นทำ Low ต่ำสุดในรอบ 120 วัน ซึ่งแสดงถึงราคาแกว่งตัวในกรอบแคบเตรียมที่ระเบิดขึ้นในอนาคตไม่ช้านี้ และเมื่อราคาขึ้นปิดเหนือกรอบ Bollinger bands ก็เป็นสัญญาณการเปิด Long ตาม เนื่องจากราคาได้เลือกทิศทางในฝั่งขึ้นแล้ว (ส่วน Short ก็ตรงกันข้าม)

ซึ่ง Set up นี้มีหลักการเดียวกันกลยุทธ์ Breakout แต่จะใช้เครื่องมือ Bollinger bands เป็นตัวหาจุดเข้าออก

ข้อจำกัดของ Bollinger Band

ข้อจำกัดของ Bollinger Band คือ ความคงที่ในการปรับค่า เนื่องจากมันคำนวณขึ้นจากค่า Moving Average ทำให้ค่าของมันนั้น เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บางช่วงของ Band นั้นจะแคบ และบางช่วงนั้นจะกว้างมาก ซึ่งความไม่สม่ำเสมอนี้ ทำให้เราทราบลักษณะความผันผวนก็จริงอยู่ แต่ก็ไม่สามารถบอกได้ว่า ทิศทางจะไปทางไหน และการบีบหรือถ่างออกจาก Bollinger Band ทุกครั้งน้น ไม่มีความแน่นอน บางครั้งการถ่างออกของ Bollinger Band ก็ไม่ได้เคลื่อนไหวไปในทิศทางที่มันถ่างออกทุกครั้ง เรียกว่า ไม่ได้มีกฏตายตัวสำหรับการใช้งาน Bollinger Band ทำให้เทรดเดอร์ที่ใช้งานต้องมีความยืดหยุ่นในหลักเกณฑ์สูง

สรุป

ข้อสรุปสำหรับ Bollinger Band คือ เครื่องมือในการวัดความผันผวนของราคา โดยเมื่อมีความผันผวนเทรดเดอร์ก็สามารถใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของราคาจากทิศทางที่กำหนดได้ อย่างไรก็ตามความผันผวนไม่ได้สามารถบอกทิศทางของมันผ่าน Bollinger Band ทำให้เราอาจจะต้องศึกษาเครื่องมืออื่นๆ เพื่อใช้ประกอบกัน สำหรับเทรดเดอร์มือใหม่ที่ยังไม่มีระบบเทรด ลองนำ Set up นี้ไปใช้กันได้ครับ

Nakrob Seareechon

บรรณาธิการ/Web master

ปริญญาโทเศรษฐศาสตร์การเงิน พัฒนาระบบเทรดอัตโนมัติและพัฒนาเว็บไซต์ควบคู่การเทรดด้วยตนเอง

Krisorn Himmapan

Content Writer

ประสบการณ์เทรด Forex 12+ ปี จากพนักงานบริษัทสู่เทรดเดอร์อาชีพ เน้นกลยุทธ์ Long-term Trading

Nakrob Seareechon
บรรณาธิการ/Web master

ปริญญาโทเศรษฐศาสตร์การเงิน พัฒนาระบบเทรดอัตโนมัติและพัฒนาเว็บไซต์ควบคู่การเทรดด้วยตนเอง

อ่านประวัติเพิ่มเติม

Krisorn Himmapan
Content Writer

ประสบการณ์เทรด Forex 12+ ปี จากพนักงานบริษัทสู่เทรดเดอร์อาชีพ เน้นกลยุทธ์ Long-term Trading

อ่านประวัติเพิ่มเติม

ทีมงาน: forexthai.in.th

แสดงข้อคิดเห็น ให้กำลังใจ

comments