Forexthai.in.th ย่อให้

  • โบรกเกอร์ Forex แบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ Dealing Desks (DD) และ No-Dealing Desks (NDD)
  • โบรกเกอร์ Dealing Desks หรือ Market Maker คือ โบรกจะไม่ได้ส่งคำสั่งซื้อเข้าตลาดทันที แต่จะทำหน้าที่เป็นคู่สัญญาโดยตรงกับเทรดเดอร์ โดยจับคู่ออเดอร์เองหรือส่งต่อให้ผู้ให้สภาพคล่อง
  • ราคาที่แสดง จะเป็นราคาที่โบรกเกอร์กำหนดขึ้นเอง แต่ก็มักอ้างอิงจากราคาตลาดจริง
  • รายได้หลักของโบรกเกอร์ DD มาจากสเปรดคงที่และกำไรจากการเป็นคู่สัญญากับลูกค้าที่ขาดทุน
  • DD มีข้อดีคือค่าบริการถูกและสเปรดคงที่ แต่ควรเลือกโบรกเกอร์ที่น่าเชื่อถือ และดูเงื่อนไขบริการอย่างรอบคอบ

โบรกเกอร์ Dealing Desks (DD)

การเลือกโบรกเกอร์ที่เหมาะสมถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญมาก ๆ เลยครับ เพราะมันจะส่งผลโดยตรงต่อประสบการณ์การเทรดและผลกำไรของเรา โบรกเกอร์ที่ให้บริการเราในตลาดนั้นจะแบ่งออกมาเป็น 2 ประเภท คือ

  • โบรกเกอร์ Dealing Desks (DD) 
  • โบรกเกอร์ No-Dealing Desks (NDD)

ซึ่งทั้งสองประเภทนี้มีความแตกต่างกันในด้านการให้บริการการเทรด Forex อย่างชัดเจน ในบทความนี้เราจะโฟกัสที่โบรกเกอร์ DD นะครับ เพราะมันเป็นประเภทที่เทรดเดอร์มือใหม่นิยมใช้กันเยอะ และมีรายละเอียดที่น่าสนใจ


ประเภทของโบรกเกอร์

ประเภทของโบรกเกอร์

โบรกเกอร์ ก็คือ บริษัทที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการรับส่งคำสั่งของเราเข้าไปสู่ตลาด Forex โดยโบรกเกอร์จะมีอยู่ 2 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้ครับ

1. Dealing Desk (DD) หรือที่เรียกอีกชื่อว่า Market Maker

เป็นโบรกเกอร์ที่ดำเนินการผ่านเคาน์เตอร์จัดการ (DD)1 คือจะมีห้องรวบรวมข้อมูลของลูกค้าไว้ และจะมีพนักงานคอยตรวจสอบข้อมูลของลูกค้า ออเดอร์ที่คุณสั่งก็จะอยู่ในมือของโบรกเกอร์ เมื่อเราทำการซื้อขาย โบรกเกอร์ก็จะทำการจับคู่กับอีกฝั่งหนึ่งให้เรา

2. No Dealing Desk (NDD)

โบรกเกอร์ที่จะมีการส่งข้อมูลด้านคำสั่งซื้อขายของเราเข้าไปที่ส่วนกลางโดยตรง โดยที่ไม่ผ่าน server หลักของทางโบรกเกอร์ก่อน สามารถแยกย่อยได้อีก ดังนี้

  • Straight Through Processing (STP)2 คือ การประมวลผลโดยตรง
  • Electronic Communication Network + Straight Through Processing (ECN+STP) คือ ระบบอัตโนมัติเพื่อเก็บคำสั่งซื้อที่ตรงกัน + การประมวลผลโดยตรง

สำหรับโบรกเกอร์ประเภท No-Dealing Desks (NDD) ผมได้มีการเขียนอย่างละเอียดไว้แล้ว ถ้าใครสนใจไปตามอ่านได้ที่บทความ: โบรกเกอร์ No Dealing Desks (NDD) คืออะไร ?

Dealing Desk (DD) คืออะไร?

โบรกเกอร์ Dealing Desk (DD)

โบรกเกอร์แบบ DD หรือ หลายคนอาจจะเรียกว่า Market Maker คือ โบรกเกอร์นั้นจะทำหน้าที่เป็นคู่สัญญาโดยตรงกับเทรดเดอร์ครับ พูดง่าย ๆ ก็คือเวลาเราเปิดออเดอร์ซื้อหรือขาย ออเดอร์นั้นก็จะอยู่ในมือของโบรกเกอร์ และโบรกก็จะเป็นฝ่ายตรงข้ามกับเราเองหรือจะทำการจับคู่กับอีกฝั่งหนึ่งให้เรา โดยไม่ส่งคำสั่งของเราเข้าสู่ตลาดจริง ๆ

กระบวนการทำงานจะเป็นแบบนี้ครับ

  1. เราส่งคำสั่งซื้อหรือขายผ่าน MT4/MT5
  2. คำสั่งจะถูกส่งไปยังห้อง Dealing Desk ของโบรกเกอร์
  3. พนักงานในห้อง Dealing Desk จะตรวจสอบคำสั่งของเรา
  4. โบรกเกอร์จะทำการจับคู่คำสั่งของเรากับลูกค้ารายอื่น หรือถ้าไม่มีก็จะเป็นคู่สัญญากับเราเอง

ยกตัวอย่างเช่น 

เมื่อเราเปิดคำสั่งซื้อ EUR/USD จำนวน 1 lot โบรกเกอร์จะพยายามหาคำสั่ง Sell ของลูกค้ารายอื่น ๆ มาจับคู่ กับออเดอร์ Buy ของเรา แต่ถ้าหากจับคู่ไม่ได้ ก็จะส่งออเดอร์ของเรา ไปให้ฝ่ายบริหารจัดการสภาพคล่องของบริษัทซึ่งเป็นนิติบุคคลขนาดใหญ่ที่พร้อมจะซื้อขายทางการเงินอยู่แล้ว

ซึ่งการทำแบบนี้จะช่วยลดความเสี่ยงของ broker ด้วย เพราะโบรกเกอร์จะได้เงินจากค่าสเปรดโดยไม่ต้องถือออเดอร์ที่เป็นฝั่งตรงข้ามกับออเดอร์ของเราครับ

ราคาที่เราเห็นในโบรกเกอร์ประเภทนี้ จะเป็นราคาที่โบรกเกอร์เป็นตัวกำหนดขึ้นมาเอง เอาง่ายๆ เลยก็คือราคาที่เราเห็นนั้นเป็นราคาอัตราแลกเปลี่ยนเทียม แต่จริง ๆ ส่วนใหญ่จะอ้างอิงราคามาจากตลาดจริงแหล่ะครับ รายได้ของโบรกเกอร์ประเภทนี้ส่วนใหญ่จะมาจาก “ค่าสเปรด” ครับ

ลักษณะของโบรกเกอร์ประเภทนี้ส่วนใหญ่จะ Fix Spread (Spread คงที่ไม่เปลี่ยน) และค่าบริการต่างๆ จะค่อนข้างถูกด้วย

วิธีการทำงานและการทำกำไรของโบรกเกอร์ Dealing Desk (DD)

รายได้หลัก ๆ ของโบรกเกอร์ DD มาจาก

  • กำไรจากการเป็นคู่สัญญากับลูกค้าที่ขาดทุน
  • Spread ของโบรกที่กำหนดไว้ตายตัว หรือเราเรียกว่า Market Maker

และอย่างที่บอกไปครับว่า โบรกจะเป็นคนกำหนดราคาอัตราแลกเปลี่ยนเอง ไม่ใช่ราคาจาก Liquidity Provider (อาจจะเป็นแบงค์หรือบริษัทที่ป้อนราคา bid และ Offer ให้กับโบรกเกอร์) ซึ่งเราจะไม่เห็นราคาจริง ๆ จากแบงค์ครับ ดังนั้น บางออเดอร์ที่โบรกเกอร์สามารถรับกินเองได้ ก็จะดักไว้กินเองไม่ส่งเข้าตลาด แต่ถ้ากินไม่ได้ก็จะกินแต่สเปรด และส่งข้อมูลของลูกค้าเข้าตลาดแทนครับ

โบรกเกอร์ DD จึงคล้ายๆ คนเดินโพยหวย (แต่จะซับซ้อนกว่ามากๆ) สมมุติว่าคุณเป็นคนเดินโพยหวย งวดนี้มีคนแทงหวย 2 ตัว (เลขท้าย 2 ตัว เลขที่จะออกได้จะมีตั้งแต่ 00, 01, … 99 ทั้งหมด 100 ตัว) ซึ่งแทง 1 บาทถ้าถูกจะได้ 70 บาท เกิดงวดนี้มีคนแทงเลขแตกต่างกันถึง 80 ตัว (มี 20 ตัวไม่มีใครแทงเลย) ง่ายๆ ว่าแทงตัวละ 10 บาทเท่ากันหมด

ถามว่าคุณจะนำส่งเจ้ามือหรือไม่? คุณก็ต้องคิดว่า ถ้าคุณส่งเจ้ามือคุณได้เปอร์เซ็นต์เท่าไหร่ แล้วถ้าคุณเก็บไว้เอง ไม่นำส่ง คุณจะได้เท่าไหร่?

  • แน่นอนถ้าเก็บไว้เองก็จะได้เงินเท่ากับ 80×10=800 บาท ถ้าเกิดหวยออกใน 20 ตัวที่ไม่มีใครแทงก็จะได้เต็มๆ 800
  • แต่สมมุติหวยออกใน 80 ตัวที่มีคนแทง คุณก็จะต้องจ่ายเท่ากับ 10×70=700 (แทง 10 บาท จ่ายบาทละ 70) ก็ยังได้กำไร = 800-700=100 บาท

จะเห็นว่าคุณไม่มีสิทธิ์ขาดทุนเลยใช่ไหมครับ และด้านคนซื้อหวยก็ไม่มีกระทบอะไรครับ แทงถูก 10 บาทก็ได้ 700 เหมือนเดิม

อันนี้ยกตัวอย่างให้เห็นง่ายๆ นะครับ ซึ่งเป็นหลักการเดียวกับพวกบ่อนการพนัน และพวกนายหน้า หรือคนเดินโพยทั่วไปใช้อยู่เป็นปกติ ย้ำว่าเป็น “ปกติ” นะครับ และมันไม่ได้กระทบกับผู้เล่น แต่เป็นการเพิ่มรายได้ให้คนเดินโพย

กลับมาที่ DD อาจจะต้องซับซ้อนกว่า และอาศัยข้อมูลประกอบมากขึ้นครับ เขามีระบบคอมพิวเตอร์คำนวณและเปรียบเทียบตัดสินใจหลายๆด้าน เพื่อให้ DD เองมีกำไรมากขึ้นนอกจาก spread อย่างเดียว นั่นมันก็เรื่องของ DD ครับ ไม่กระทบเราก็พอแล้ว

เราจะเลือกโบรกเกอร์ประเภทไหนดี?

 

ตารางเปรียบเทียบประเภทโบรกเกอร์
ตารางเปรียบเทียบประเภทโบรกเกอร์

โบรกเกอร์แต่ละประเภทก็จะมีข้อดี-ข้อเสีย ที่แตกต่างกันออกไป เราจึงควรเลือกให้ตรงกับความต้องการของเราอย่างแท้จริง หรือประเมินจากการยอมรับได้ด้วยเหตุผลเฉพาะตัวของเราเอง อย่างเช่น ประเภท DD ก็จะมีค่าบริการที่ค่อนข้างถูกและสเปรดคงที่ (Fix Spread) และประเภท NDD ก็จะมีค่าบริการค่อนข้างสูงกว่าแต่ก็ได้รับบริการที่สูงกว่า และความปลอดภัยที่มากกว่ามาชดเชยครับ

แต่อย่างไรก็ตามเราก็ควรต้องเข้าไปดูเงื่อนไขของโบรกเกอร์แต่ละบริษัทด้วยนะครับว่าเป็นอย่างไร และมีความน่าเชื่อถือสูงหรือไม่ เพราะบางทีโบรกเกอร์บางบริษัทในรูปแบบประเภท DD อาจจะมีความน่าเชื่อถือกว่าโบรกเกอร์บางบริษัทที่เป็นประเภท NDD ด้วยซ้ำไปครับ

ปัจจุบันนี้ มีโบรกเกอร์ต่างๆมากมายเกิดขึ้นทำให้มีการแข่งขันกันอย่างมาก ดังนั้น โบรกเกอร์ต่างๆก็พยายามทำให้ตัวเองมีข้อดี มีจุดเด่นเยอะๆ เพื่อที่จะดึงดูดลูกค้า และถ้ามีข้อเสียมากเท่าไหร่ลูกค้าก็จะยิ่งมีน้อยลงไปเท่านั้น เพราะเดี๋ยวนี้การสมัครโบรกเกอร์ ตลอดจนกระทั่งการยืนยันตัวตนนับเป็นเรื่องง่ายๆแล้ว

สรุป 

สุดท้ายนี้ ไม่ว่าคุณจะเลือกโบรกเกอร์แบบไหน สิ่งสำคัญที่สุดคือการศึกษาและทำความเข้าใจกับระบบการทำงานของโบรกเกอร์นั้น ๆ ให้ดี ศึกษาประเภทของบัญชีแต่ละประเภทให้ละเอียด หรือลักษณะการให้บริการ ว่าเป็นแบบ Dealing Desk หรือ Non-Dealing Desk และเลือกให้เหมาะกับสไตล์การเทรดของคุณเอง

ถ้าหากเราเลือกโบรกเกอร์ที่ไม่ดีแล้ว จะทำให้ส่งผลต่อกำไรขาดทุนที่เกิดขึ้นไปด้วย เพราะการเทรด Forex นั้นมีความเสี่ยงอยู่เสมอครับ

ทีมงาน: forexthai.in.th

 

References

  1. wikiforex.com, dealing desk ที่มา: http://www.forexwiki.it/Dealing-Desk-DD สืบค้นเมื่อ 14/12/2019
  2. wikipedia.org,straight through process, ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Straight-through_processing สืบค้นเมื่อ 14/12/2019

แสดงข้อคิดเห็น ให้กำลังใจ

comments