Forexthai.in.th ย่อให้
- Chart patterns คือ รูปแบบราคาที่เทรดเดอร์ Forex สาย Technical ใช้วิเคราะห์ตลาด แบ่งเป็น 3 กลุ่มหลัก
- รูปแบบกลับตัวยอดนิยม เช่น Double top/bottom และ Head and shoulders บ่งบอกการเปลี่ยนทิศทางของราคา
- รูปแบบต่อเนื่อง เช่น Wedges และ Rectangles แสดงถึงการพักฐานก่อนราคาเคลื่อนไหวต่อในทิศทางเดิม
- รูปแบบ 2 ทาง เช่น สามเหลี่ยมต่างๆ สามารถแตกออกได้ทั้งขาขึ้นและขาลง
- ระวังการ False breakouts ต้องมีการฝึกฝนและใช้ร่วมกับเครื่องมืออื่นเพื่อเพิ่มความแม่นยำ
เทรดเดอร์ Forex ที่เป็นสาย Technical นั้นสามารถแบ่งได้เป็นอีกหลายสาย หนึ่งในสายที่สำคัญ คือ สายดูรูปแบบราคา หรือ Chart patterns นั้น มักจะคุ้นเคยกับรูปแบบราคาของตัวเอง โดยรูปแบบราคาจะส่งผลต่อการเทรดและการทำกำไรในการเทรด Forex ซึ่งรูปแบบราคาที่สามารถทำกำไรของแต่ละคนนั้นก็จะแตกต่างกันออกไป
อย่างไรก็ตาม จะมีรูปแบบราคาไม่กี่ประเภทเท่านั้นที่จะสามารถสร้างกำไรได้บ่อยเพราะว่า “เกิดขึ้นบ่อยและสามารถใช้ได้ง่าย” สามารถทำความเข้าใจได้ง่ายนั้นเอง
สารบัญบทความ click เพื่อเลือกอ่าน !!
3 กลุ่มของ Chart patterns คือ ?
รูปแบบราคาที่เป็นที่รู้จักในตลาดเป็นส่วนใหญ่ได้แก่ รูปแบบ เช่น Double top, Head and shoulder, รูปแบบสามเหลี่ยม เป็นต้น ซึ่งบทความนี้เราจะมาสรุปประเภทของรูปแบบราคาต่าง ๆ นี้ ออกมาเป็น 3 กลุ่ม คือ
- รูปแบบการกลับตัว
- รูปแบบการเคลื่อนไหวต่อเนื่อง
- รูปแบบ 2 ทาง
รูปแบบการกลับตัว
รูปแบบการกลับตัว คือ เมื่อราคาฟอร์มตัวในรูปแบบการกลับตัวแล้ว มันจะบ่งบอกสัญญาณว่า ราคาจะเปลี่ยนทิศทาง จากการเคลื่อนไหวในทิศทางขาลง เป็นทิศทางขาขึ้น หรือ!! จากทิศทางขาขึ้นเป็นขาลง รูปแบบกราฟสัญญาณกลับตัวนั้น มีอยู่ 4 รูปแบบ หลัก ๆ ดังต่อไปนี้
1. Double top
รูปแบบ Double Top คือ การที่ราคาเคลื่อนไหวเป็นหยัก 2 หยักที่ตรงจุดยอด หรือ จุด Top เลยเรียกว่า Double Top ซึ่งการเกิด Double Top กำลังหมายความว่า ราคาพยายามที่จะทำ New High แต่ว่าไม่สามารถที่จะ ทำ New High ได้ ทำได้ดีที่สุดคือ การขึ้นไปเทียบกับราคาเดิม เมื่อเกิดเหตุการณ์ เช่นนี้ทำให้ราคาดีดกลับลงมาต่ำกว่าเดิมและเปลี่ยนทิศทางไปเลย จากขาขึ้นเป็นขาลง
2. Double bottom
ส่วนรูปแบบ Double Bottom เป็นรูปแบบตรงข้ามกับรูปแบบ Double Top ต่างแค่ “เกิดขึ้นในทิศทางตรงกันข้าม” กล่าวคือ ราคาพยายามจะลงต่อเพื่อทำ New Low นั่นแหละ… แต่ไม่ประสบความสำเร็จทำให้การเคลื่อนไหวเปลี่ยนทิศทางกลับเป็นขาขึ้น
ซึ่งรูปแบบ 2 รูปแบบนี้ เป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมในการเทรดสูงสุดและสามารถวิเคราะห์ได้ง่าย มีเหตุมีผลในการวิเคราะห์
3. Head and shoulders
Head and shoulders (H&S) ไม่ใช่ชื่อยี่ห้อแชมพู แต่มันคืออีกรูปแบบหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการเทรด เพราะว่า H&S นั้นสามารถดูได้ง่ายเช่นเดียวกัน รูปแบบ H&S จะคล้ายคลึงกับ Double Top และ Double Bottom เพียงแต่ว่า จะมียอดอยู่ 3 ยอดด้วยกัน โดยที่ยอดแรกกับยอดสุดท้ายจะเท่ากัน และยอดตรงกลางจะสูงสุดหรือต่ำสุด
4. Inverse head and shoulders
รูปแบบ Head and shoulders (H&S) แบบกลับหัว จะเกิดขึ้นตอนที่ตลาดเป็นขาลง ลักษณะก็ตรงตัวตามชื่อเลย คือรูปแปบจะเหมือนกับ Head and shoulders แต่เป็นแบบพลิกด้านกลับหัว
ในการเทรดรูปแบบเหล่านี้ ทำให้อย่างง่ายดายโดยเพียงรอราคาทะลุผ่านเส้น Neckline และก็เข้าไปเปิดออเดอร์ในทิศทางเดียวกับแนวโน้มใหม่ ส่วนเป้าหมายการทำกำไรในแต่ละรูปแบบก็จะแตกต่างกันออกไปครับ
รูปแบบราคา การเคลื่อนไหวต่อเนื่อง (Continuation)
เมื่อเกิดรูปแบบราคาในลักษณะนี้ ราคามักจะเคลื่อนไหวต่อไป ตามทิศทางเดิมของเทรนด์ก่อนหน้า เช่น เทรนด์ก่อนหน้าเป็นเทรนด์ขาขึ้น หลังจากนั้นจะมีการพักฐานเพียงชั่วครู่หนึ่งแล้วจะเป็นขาขึ้นต่อ ขณะเดียวกันการเคลื่อนไหวเดิมเป็นขาลง หลังจากนั้นก็จะเป็นขาลงต่อไปเช่นเดียวกัน
โดยรูปแบบการเคลื่อนไหวต่อเนื่องของ รูปแบบราคานี้จะประกอบด้วย
1. Falling wedge
กราฟรูปแบบสามเหลี่ยมรูปลิ่ม เฉียงลง ซึ่งสามเหลี่ยมจะค่อย ๆ แคบจนเป็นรูปลิ่ม และจะเกิดสัญญาณ Break Out คือทะลุรูปแบบ 3 เหลี่ยมออกมา โดยจะเคลื่อนไหวไปทิศทางเดียวกับเทรนด์ก่อนหน้า นั่นคือเทรนด์ขาลง
2. Rising wedge
คือ รูปแบบราคาที่ตรงข้ามกับ Falling Wedge ซึ่งสามเหลี่ยมจะกลับด้านกับรูปแบบ Falling Wedge ซึ่งทิศทางของเทรนด์สำหรับรูปแบบ Rising Wedge คือ การเคลื่อนไหวต่อเนื่องจากเทรนด์ขาลงเป็นเทรนด์ขาขึ้น
3. Bullish rectangle
รูปแบบ Bullish Rectangle หรือ รูปแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าขาขึ้น เป็นรูปแบบที่ราคาพักฐานสักครู่หนึ่งก่อนที่จะเคลื่อนไหวต่อไปข้างหน้าเป็นขาขึ้น
4. Bearish rectangle
รูปแบบ Bearish Rectangle เป็นรูปแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าขาลง คือ ราคาพักการเคลื่อนไหวเพื่อสะสมแรงเพียงชั่วครู่หลังจากนั้นเคลื่อนไหวเป็นขาลงต่อไป
Review Broker Forex
วิเคราะห์ วิจารย์ ข้อดี-ข้อเสีย ข้อมูลจากการเทรดด้วยบัญชีจริง โดยทีมงานหลายคน ...
5. Bullish pennant
เป็นรูปแบบ 3 เหลี่ยมธง คล้ายคลึงกับรูปแบบ Wedge เพียงแต่ลักษณะสามเหลี่ยมจะยาวกว่า คล้าย ๆ ธงสามเหลี่ยม รูปแบบ Bullish ก็แสดงถึงขาขึ้น ที่ราคาจะไปต่อเมื่อพักฐานและเกิด Breakout ขณะที่รูปแบบตรงข้ามของมันคือ Bearish Pennant ที่เป็นรูปแบบของขาลง
6. Bearish pennant
รูปแบบตรงข้ามกับ Bullish Pennant เป็นรูปแบบของขาลง ที่ราคาจะไปต่อเมื่อพักฐานและเกิด Breakout
แต่ละรูปแบบก็น่าตาต่างกันออกไป เป้าหมายการทำกำไร หรือจุด Stop loss ก็ต่างกัน แต่หลักการเดียวกันคือเป็นการไปต่อของแนวโน้ม
รูปแบบราคา ทั้ง 2 ทาง
รูปแบบนี้โอกาสการเคลื่อนไหวของราคาและการเกิด Break Out สามารถเกิดขึ้นได้หลายทาง ตัวอย่าง การทะลุของราคาสามารถเกิดขึ้นไปทั้ง 2 ทางเลยคือ “ไปต่อ” หรือเกิดรูปแบบ “กลับตัว” โดยรูปแบบนี้จะเป็นพวกรูปแบบสามเหลี่ยม แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้
- Ascending triangle
- Descending triangle
- Symmetrical triangle
ตามรูปแบบที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ก็ไม่ได้หมายความว่า มันจะต้องมีการเคลื่อนไหวที่เป็นไปตามทฤษฎี หรือรูปร่างของราคาที่กล่าวมาตามนี้เป๊ะ ๆ เพียงแต่ว่ามีโอกาสและความน่าจะเป็นสูง ถ้าหากนับรูปร่างหรือระยะทางอาจจะไม่เหมือน แต่มีความคล้ายคลึงกันด้านรูปร่าง นั่นคือโอกาสที่เราจะสามารถใช้เทรด มันก็มีบ้างเหมือนกันที่ราคาจะไปไม่ถึงเป้าที่วางหรือเกิด False signal
ดังนั้นเทรดเดอร์ Forex ที่เทรดรูปแบบราคา สิ่งที่สำคัญคืออย่าลืมวาง Stop loss ด้วยนะครับ หมั่นฝึกฝน ดูแนวโน้มจนชิน บางครั้งอาจต้องใช้ประสาทสัมผัสและการประมวลผลหลายด้าน แต่เมื่อชำนาญแล้วมันจะคุ้มค่าต่อการฝึกฝนมากครับ เป็นกำลังใจให้กับ Treader Forex ทุกคนครับ ^ ^
ข้อควรระวังของ Chart Patterns
- False Breakouts หรือ การเบรกหลอก บางทีตลาดก็จะมีการสับขาหลอกเรา โดยการที่ราคาจะทะลุแนวรับแนวต้านแบบหลอก ๆ เพียงชั่วคราว แล้วก็กลับมาวิ่งในกรอบเดิม วิธีป้องกันคือ รอให้ราคายืนยันการเบรกเอาท์สักหน่อย อย่าเพิ่งรีบร้อนเข้าออเดอร์ครับ
- การตีความผิด โดยเฉพาะเทรดเดอร์มือใหม่ บางทีก็อาจจะเห็นรูปแบบที่ไม่มีอยู่จริง หรือตีความรูปแบบผิดไป (ตามไบแอสของตัวเอง) แล้วก็เทรดพลาดกันไป วิธีแก้คือต้องฝึกฝนบ่อย ๆ ดูกราฟย้อนหลังเยอะ ๆ แล้วค่อย ๆ สั่งสมชั่วโมงบินไปครับ
- ความไม่สมบูรณ์ของรูปแบบ เพราะในกราฟราคาจริง รูปแบบจะไม่เกิดตามแพทเทิร์นหรือตามภาพแบบเป๊ะ ๆ หรอกครับ มันจะดูยากกว่านี้เยอะ ตรงนี้แหละครับที่ต้องใช้ประสบการณ์และสัญชาตญาณของเทรดเดอร์มาช่วยตัดสินใจ
- ตลาดเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ยิ่งในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนสูง ก็ยิ่งทำให้เราวิเคราะห์ผิดพลาดได้ง่าย ๆ ดังนั้น คุณควรต้องติดตามข่าวสารให้ทันเหตุการณ์ และพร้อมปรับเปลี่ยนกลยุทธ์อยู่ตลอดเวลาครับ
สรุปแล้ว ผมแนะนำให้ใช้ Chart Patterns ร่วมกับเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคอื่น ๆ ด้วย เพื่อยืนยันสัญญาณให้แม่นยำขึ้น และที่สำคัญที่สุด อย่าลืมว่าไม่มีรูปแบบไหนที่แม่นยำ 100% ครับ เทรดเดอร์ที่ดีต้องรู้จักควบคุมความเสี่ยง
สรุป
Chart patterns คือ เทคนิคการวิเคราะห์ในรูปแบบของ Patterns โดยเรามักจะดูจากการทำแท่งเทียนมาร้อยเรียงกันให้เกิดแบบรูปแบบซ้ำ ๆ และกำหนดชื่อรูปแบบนั้น ๆ ซึ่งการมองกราฟแบบนี้เองสามารถทำให้เราหาจุดเข้าออเดอร์ได้ไม่ยาก แต่หากอยากได้ความแม่นยำเพิ่มแล้วล่ะก็ เราควรใช้ Indicator เพิ่มเข้าไปเพื่อช่วยปกป้องการเกิด False signal ครับ
Nakrob Seareechon
บรรณาธิการ/Web master
ปริญญาโทเศรษฐศาสตร์การเงิน พัฒนาระบบเทรดอัตโนมัติและพัฒนาเว็บไซต์ควบคู่การเทรดด้วยตนเอง
อ่านประวัติเพิ่มเติม
Krisorn Himmapan
Content Writer
ประสบการณ์เทรด Forex 12+ ปี จากพนักงานบริษัทสู่เทรดเดอร์อาชีพ เน้นกลยุทธ์ Long-term Trading
อ่านประวัติเพิ่มเติมทีมงาน: forexthai.in.th