Forexthai.in.th ย่อให้

  • ระบบเทรดความแข็งค่าและอ่อนค่าของเงิน : เป็นระบบการเทรดในระยะกลางถึงระยะยาวโดยใช้ปัจจัยพื้นฐานในเรื่องความแข็งค่าและอ่อนค่าของเงินเข้ามาวิเคราะห์
  • หลักการเทรดเบื้องต้น: เริ่มต้นเปรียบเทียบค่าเงิน USD และ JPY กับค่าเงินอื่น ๆ เพื่อดูความแข็งค่าและอ่อนค่า และเทรดในทิศทางเดียวกับเทรนด์ที่เกิดขึ้น
  • เครื่องมือที่ใช้: ATR หรือ EMA
  • ข้อดี: เป็นกลยุทธ์ที่สามารถดูแนวโน้มของตลาดได้แม่นยำ มีโอกาสทำกำไรได้สูงในตลาดที่เป็นเทรนด์ระยะยาว
  • ข้อเสีย: มีจุดเข้าจุดออกไม่ตายตัว, ไม่เหมาะกับเทรดเดอร์มือใหม่ที่ประสบการณ์น้อย, หาโอกาสเทรดยากไม่ได้อ้างอิงจากไทม์เฟรมเดียวหรือคู่เงินเดียว

ระบบเทรดความแข็งค่าและอ่อนค่าของเงิน

สวัสดีครับเพื่อน ๆ นักเทรด คราวนี้ผู้เขียนจะมาเอาใจเพื่อนๆ นักเทรดคู่เงิน Yen ของประเทศญี่ปุ่น โดยบทความนี้จะมาแนะนำระบบเทรดตามเทรนด์โดยการใช้หลักการของความแข็งค่าและอ่อนค่าคู่เงินเข้ามาช่วยในการวิเคราะห์เพื่อให้การเทรดของเรานั้นมีความเฉียบคมและแม่นยำมากยิ่งขึ้น ซึ่งระบบนี้จะมีที่มาที่ไปอย่างไรมาติดตามไปพร้อม ๆ กัน


ความแข็งค่าและอ่อนค่าของเงิน

ความแข็งค่าและอ่อนค่าของคู่เงินในตลาดฟอเร็กซ์
ภาพอธิบายความแข็งค่าและอ่อนค่าของคู่เงินในตลาดฟอเร็กซ์โดยย่อ ยกตัวอย่างเป็นคู่เงิน GBP/USD และ USD/JPY

ความแข็งค่าและอ่อนค่าของเงินเป็นปัจจัยพื้นฐานหนึ่งที่ทำให้คู่เงินในตลาด Forex เกิดการเคลื่อนไหวครับ ซึ่งความแข็งค่าและอ่อนค่าของเงินมีความสำคัญอย่างมาก  นักเทรด Forex  ที่ต้องการประสบความสำเร็จในตลาดนี้จะต้องตีความหมายของความแข็งค่าและอ่อนค่าของค่าเงินให้ถูกต้อง ตัวอย่างเช่น

  1. GBP/USD กำลังวิ่งอยู่ในทิศทางขาขึ้น แสดงว่าค่าเงิน Pound มีความแข็งค่ามากกว่าค่าเงิน Dollar
  2. USD/JPY กำลังวิ่งอยู่ในทิศทางขาขึ้น แสดงว่าค่าเงิน Dollar กำลังมีความแข็งค่ามากกว่าค่าเงิน Yen

เริ่มต้นเปรียบเทียบและตีความหมายความแข็งค่าและอ่อนค่าของเงินหลากคู่

เราจะไม่สามารถเทรดระบบนี้ได้อย่างประสบความสำเร็จได้เลย ถ้าเรายังไม่สามารถตีความหมายของค่าเงินได้อย่างถูกต้อง ซึ่งผู้เขียนจะยกตัวอย่างให้ดูนะครับว่าเราจะต้องตีความหมายไปในทิศทางไหน

ทิศทางของ GBP/USD และ USD/JPY

ตัวอย่างที่ 1 GBP/USD  กำลังอยู่ในทิศทางขาขึ้น USD/JPY กำลังอยู่ในทิศทางขาขึ้น 

ความหมาย : เงิน Pound แข็งค่ามากกว่า Dollar และเงิน Dollar ก็แข็งค่ามากกว่า Yen แสดงว่าเงิน Pound มีความแข็งค่ามากที่สุด ตามมาด้วยเงิน Dollar และเงิน Yen อ่อนค่ามากที่สุด

ทิศทางของ GBP/USD และ USD/JPY

ตัวอย่างที่ 2 GBP/USD  กำลังอยู่ในทิศทางขาลง และ USD/JPY กำลังอยู่ในทิศทางขาลง

ความหมาย : เงิน Pound อ่อนค่ามากกว่า Dollar และเงิน Dollar ก็อ่อนค่ามากกว่า Yen แสดงว่าเงิน Yen แข็งค่ามากที่สุดตามมาด้วย  Dollar และเงิน Pound อ่อนค่ามากที่สุดนั่นเอง

หลักการเทรดเบื้องต้น

เมื่อเพื่อน ๆ ได้เรียนรู้วิธีตีความหมายของคู่เงินได้แล้ว เราจะใช้ประโยชน์จากความแข็งค่าและอ่อนค่าของเงินนี้มาวิเคราะห์ทิศทางของตลาดเพื่อเทรด

อินดิเคเตอร์ที่ใช้ในการเทรด

การตั้งค่าอินดิเคเตอร์
ภาพการตั้งค่าอินดิเคเตอร์ ATR และ EMA
  1. ATR ใช้ช่วยดูความผันผวนของตลาดและแนวโน้มของเทรนด์
  2. EMA 200 ใช้ดูแนวโน้มของตลาด (สำหรับคนที่ดูแนวโน้มของเทรนด์ไม่คล่อง ในที่นี้ผู้เขียนนำมาใช้แทน ATR แต่จะมีการอธิบายเกี่ยวกับ ATR ให้ฟังด้วยครับ)

ATR คืออะไร

วิธีการอ่านอินดิเคเตอร์ ATR
ภาพอธิบายวิธีการอ่านอินดิเคเตอร์ ATR แบบง่าย

ATR ย่อมาจาก Average True Range เป็นตัวชี้วัดความผันผวนของตลาดในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนมาก ATR ก็จะมีค่ามากขึ้นตามไปด้วย ในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนน้อย ATR ก็จะมีค่าลดน้อยลงด้วยเช่นเดียวกัน

ประโยชน์ของ ATR

  • ใช้ในการตั้ง Stop loss
  • วัดความผันผวนและระยะการวิ่งของราคาในตลาด

EMA 200 คืออะไร

วิธีการอ่านอินดิเคเตอร์ EMA
ภาพอธิบายวิธีการอ่านอินดิเคเตอร์ EMA แบบง่าย

EMA 200 คือเส้น EMA ที่ตั้งค่าความยาว 200 ใช้สำหรับดูแนวโน้มระยะยาวของตลาด ในกรณีที่กราฟอยู่เหนือเส้น EMA 200 แสดงว่ามีแนวโน้มเป็นขาขึ้น แต่ถ้าหากกราฟอยู่ใต้เส้น EMA 200 แสดงว่ามีแนวโน้มขาลง

ประโยชน์ของ EMA 200

  • ทำให้บอกลักษณะของเทรนด์ในตลาดได้ง่าย
  • เหมาะกับมือใหม่ที่ยังใช้อินดิเคเตอร์ตัวอื่นในการดูทิศทางของตลาดไม่เก่ง

เงื่อนไขการเทรดขาขึ้น (รูปแบบที่ 1)

เงื่อนไขการเทรดขาขึ้น (รูปแบบที่ 1)

1. ดูความแข็งค่าและอ่อนค่าของคู่เงิน XXX/USD โดยกราฟราคาต้องวิ่งในทิศทางขาขึ้น

เงื่อนไขการเทรดขาขึ้น (รูปแบบที่ 1)

2. ดูความแข็งค่าและอ่อนค่าของคู่เงิน USD/JPY โดยกราฟต้องวิ่งในทิศทางขาขึ้น

เงื่อนไขการเทรดขาขึ้น (รูปแบบที่ 1)

3. เปิดออเดอร์เทรดหน้า Buy ในคู่เงิน XXX/JPY

เงื่อนไขการเทรดขาขึ้น (รูปแบบที่ 1)

4. ปิดออเดอร์เมื่อคู่เงิน XXX/USD หรือ USD/JPY เปลี่ยนเทรนด์

ตัวอย่าง คู่เงิน GBP/USD วิ่งขึ้น และ USD/JPY วิ่งขึ้น หมายความว่าคู่เงิน Pound กำลังแข็งค่าเมื่อเทียบกับ Yen เราจึงเทรด Buy ในคู่เงิน GBP/JPY และทำการปิดออเดอร์เมื่อ USD/JPY เริ่มเปลี่ยนแนวโน้ม

เงื่อนไขการเทรดขาขึ้น (รูปแบบที่ 2)

เงื่อนไขการเทรดขาขึ้น (รูปแบบที่ 2)

1. ดูความแข็งค่าและอ่อนค่าของคู่เงิน USD/XXX โดยกราฟราคาต้องวิ่งในทิศทางขาลง

เงื่อนไขการเทรดขาขึ้น (รูปแบบที่ 2)

2. ดูความแข็งค่าและอ่อนค่าของคู่เงิน USD/JPY โดยกราฟต้องวิ่งในทิศทางขาขึ้น

เงื่อนไขการเทรดขาขึ้น (รูปแบบที่ 2)

3. เปิดออเดอร์เทรดหน้า Buy ในคู่เงิน XXX/JPY

เงื่อนไขการเทรดขาขึ้น (รูปแบบที่ 2)

4. ปิดออเดอร์เมื่อคู่เงิน USD/XXX หรือ USD/JPY เปลี่ยนเทรนด์

ตัวอย่าง คู่เงิน USD/CHF วิ่งลง และ USD/JPY วิ่งขึ้น หมายความว่าคู่เงิน Swiss franc กำลังแข็งค่าเมื่อเทียบกับ Yen เราจึงเทรด Buy ในคู่เงิน CHF/JPY และทำการปิดออเดอร์เมื่อ USD/JPY เริ่มเปลี่ยนแนวโน้ม

เงื่อนไขการเทรดขาลง (รูปแบบที่ 1)

เงื่อนไขการเทรดขาลง (รูปแบบที่ 1)

1. ดูความแข็งค่าและอ่อนค่าของคู่เงิน XXX/USD โดยกราฟราคาต้องวิ่งในทิศทางขาลง

เงื่อนไขการเทรดขาลง (รูปแบบที่ 1)

2. ดูความแข็งค่าและอ่อนค่าของคู่เงิน USD/JPY โดยกราฟต้องวิ่งในทิศทางขาลง

เงื่อนไขการเทรดขาลง (รูปแบบที่ 1)

3. เปิดออเดอร์เทรดหน้า Sell ในคู่เงิน XXX/JPY

เงื่อนไขการเทรดขาลง (รูปแบบที่ 1)

4. ปิดออเดอร์เมื่อคู่เงิน XXX/USD หรือ USD/JPY เปลี่ยนเทรนด์

ตัวอย่างเช่น คู่เงิน GBP/USD วิ่งลง และ USD/JPY วิ่งลง หมายความว่าคู่เงิน Pound กำลังอ่อนค่าเมื่อเทียบกับ Yen เราจึงเทรด Sell ในคู่เงิน GBP/JPY และทำการปิดออเดอร์เมื่อ USD/JPY เริ่มเปลี่ยนแนวโน้ม

เงื่อนไขการเทรดขาลง (รูปแบบที่ 2)

เงื่อนไขการเทรดขาลง (รูปแบบที่ 2)

1. ดูความแข็งค่าและอ่อนค่าของคู่เงิน USD/XXX โดยกราฟราคาต้องวิ่งในทิศทางขาขึ้น

เงื่อนไขการเทรดขาลง (รูปแบบที่ 2)

2. ดูความแข็งค่าและอ่อนค่าของคู่เงิน USD/JPY โดยกราฟต้องวิ่งในทิศทางขาลง

เงื่อนไขการเทรดขาลง (รูปแบบที่ 2)

3. เปิดออเดอร์เทรดหน้า Sell ในคู่เงิน XXX/JPY

เงื่อนไขการเทรดขาลง (รูปแบบที่ 2)

4. ปิดออเดอร์เมื่อคู่เงิน USD/XXX หรือ USD/JPY เปลี่ยนเทรนด์

ตัวอย่าง คู่เงิน USD/CAD วิ่งขึ้น และ USD/JPY วิ่งลง หมายความว่าคู่เงิน Canadian Dollar กำลังอ่อนค่าเมื่อเทียบกับ Yen เราจึงเทรด Sell ในคู่เงิน CAD/JPY และทำการปิดออเดอร์เมื่อ USD/JPY เริ่มเปลี่ยนแนวโน้ม

เครื่องมือช่วยดูความแข็งค่า/อ่อนค่าของคู่เงินและเปรียบเทียบการวิ่งของคู่เงิน

หากเพื่อนๆดูกราฟแล้วอยากได้ตัวคอนเฟิร์มว่าคู่เงินที่กำลังดูอยู่นั้นมีความแข็งค่า/อ่อนค่า รวมทั้งคู่เงินวิ่งไปในทิศทางเดียวกันตามที่กราฟแสดงออกจริง ๆ ผู้เขียนก็มีเครื่องมือที่จะช่วยคอนเฟิร์มให้นะครับ แน่นอนว่าสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับระบบเทรดนี้ได้อย่างแน่นอน

Finviz

หน้าตาเว็บไซต์ Finviz
ภาพลักษณะหน้าตาเว็บไซต์ Finviz กำลังแสดงแถบความแข็งค่าและอ่อนค่าของเงิน

Finviz เป็นเว็บไซต์ยอดนิยมที่ใช้ในการดูความแข็งค่าและอ่อนค่าของเงินในระหว่างวันได้ครับ ซึ่งในเว็บไซต์จะประกอบไปด้วยตารางที่แสดงความแข็งค่าและอ่อนค่าของเงิน ค่าเงินที่อยู่ด้านซ้ายมือแสดงว่ามีความแข็งค่ามากที่สุดเมื่อเทียบกับคู่เงินที่อยู่ทางขวามือสุด นอกจากนี้ยังมีเปอร์เซ็นต์ความแข็งค่าและอ่อนค่าให้ดูอีกด้วย แบบนี้เพื่อนๆไม่พลาดการวิเคราะห์กราฟอย่างแน่นอนเลย

My Fxbook

หน้าตาเว็บไซต์ MyFxbook
ภาพลักษณะหน้าตาเว็บไซต์ MyFxbook กำลังแสดงค่า % ความสัมพันธ์ของคู่เงิน USD/JPY กับคู่เงินอื่น ๆ

My Fxbook มีฟังชั่นที่ชื่อว่า “Market Correlation” โดยฟังชั่นนี้นั้นจะช่วยแสดงความสัมพันธ์ของคู่เงินครับ

  • คู่เงินที่มีความสัมพันธ์กันมากมักจะเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกัน
  • คู่เงินที่มีความสัมพันธ์กันน้อยหรือไม่มีความสัมพันธ์กันโดยเรามีตัวเลขชี้วัดความสัมพันธ์ดังนี้

% ความสัมพันธ์คู่เงิน

  • 80%-100% มีความสัมพันธ์กันมากที่สุด
  • 40%-79% มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับปานกลาง
  • 0%-39% มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับต่ำ
  • -X% ไม่มีความสัมพันธ์กัน

ผู้เขียนเชื่อว่า 2 เว็บไซต์นี้จะทำให้เพื่อน ๆ นั้นวิเคราะห์ตลาดได้เก่งมากขึ้นและนำไปประยุกต์ใช้กับระบบเทรดได้อีกมากมายเลยทีเดียวครับ

ข้อดีข้อเสียของระบบเทรดความแข็งค่าและอ่อนค่าของเงิน

ข้อดีและข้อเสียของระบบเทรด
ภาพอธิบายข้อดีและข้อเสียของระบบเทรดเพื่อให้นักเทรดตัดสินใจก่อนนำไปใช้งานโดยย่อ

ข้อดีของระบบเทรด

  1. เป็นระบบที่อ้างอิงปัจจัยพื้นฐาน สามารถคาดการณ์แนวโน้มได้แม่นยำ
  2. สามารถทำกำไรได้ดีในตลาดที่เป็นเทรนด์ระยะยาว
  3. เป็นระบบการเทรดที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับระบบอื่นๆได้

ข้อเสียของระบบเทรด

  1. เป็นระบบที่เข้าใจยากต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ และใช้สมาธิสูง
  2. ระบบนี้ยังไม่เหมาะกับมือใหม่ที่ยังไม่เข้าใจปัจจัยพื้นฐาน
  3. เป็นระบบที่ไม่ได้มีจุดเข้าและจุดอ่อนที่ชัดเจน
  4. จำเป็นต้องดูและเปรียบเทียบหลายคู่เงินเพื่อหาโอกาสในการเทรด และบางครั้งหน้าเทรดก็ไม่ได้เกิดขึ้นในไทม์เฟรมเดียว

คำแนะนำในการใช้งานระบบการเทรด

คำแนะนำเพื่อนำระบบเทรดไปประยุกต์
ภาพคำแนะนำเพื่อนำระบบเทรดไปประยุกต์และพัฒนาต่อยอดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  1. สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการเทรดที่ใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคได้
  2. ผู้ที่ใช้งานระบบเทรดนี้ต้องหมั่นศึกษาปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้คู่เงินเกิดการเคลื่อนไหว
  3. ควรเลือกเทรดหลายคู่เงินเพื่อหาโอกาสในการเทรดได้มากขึ้น
  4. ควรเล่นกับไทม์เฟรม 1 ชั่วโมงขึ้นไป
  5. สามารถนำอินดิเคเตอร์ตัวอื่น ๆ เข้ามาช่วยวิเคราะห์ตลาดได้

สรุป

ระบบเทรดความแข็งค่าและอ่อนค่าของเงินเป็นระบบเทรดที่อ้างอิงจากปัจจัยพื้นฐานเป็นหลักโดยเป็นการเปรียบเทียบความแข็งค่าและอ่อนค่าของเงิน USD และ JPY กับค่าอื่น ๆ เพื่อหาแนวโน้มของเทรนด์ในตลาด และจับจังหวะในการเข้าเทรด ระบบการเทรดสามารถคาดการณ์ทิศทางของเทรนด์ได้อย่างแม่นยำ แต่ก็ยังไม่เหมาะกับมือใหม่ที่ยังไม่ได้มีประสบการณ์ในตลาดมาก

สำหรับมือใหม่แล้วมีตัวช่วยในการวิเคราะห์ตลาดตัวอย่างเช่น Finviz และ Market correlation  ที่สำคัญระบบเทรดนั้นยังไม่ได้มีความสมบูรณ์แบบ ใครที่ชื่นชอบแนวคิดและแนวทางในการวิเคราะห์กราฟสามารถนำเทคนิคไปต่อยอดกับระบบการเทรดอื่นๆได้นะครับเชื่อว่ามันต้องมีประโยชน์ได้อย่างแน่นอนเลย

ทีมงาน: forexthai.in.th

แสดงข้อคิดเห็น ให้กำลังใจ

comments