Forexthai.in.th ย่อให้

  • Forex Signals คือ สัญญาณระบุการเทรด Forex ที่มาจากการวิเคราะห์ทางเทคนิคหรือปัจจัยพื้นฐาน โดยผู้ให้บริการสัญญาณจะวิเคราะห์ตลาดและส่งสัญญาณให้เทรดเดอร์ทำตาม
  • ระบบ Signals ปัจจุบันมี 3 ระบบหลักๆ คือ Remote Order (หรือ Duplicate Order), Clone Order และระบบบอกแนวทางการซื้อขาย
  • มีเทคนิคเบื้องต้นในการเลือก Signal Provider เช่น ประสบการณ์เทรด, อัตราผลกำไร, Max Drawdown, จำนวนผู้ติดตาม/รีวิว เป็นต้น
  • Signal มีข้อดีคือใช้เป็นข้อมูลเสริมในการตัดสินใจเทรด, ลดเวลาการวิเคราะห์ไปได้เยอะ ส่วนข้อเสียคือ เราจะขาดความรู้ในการเทรด Forex และบาง Signal ก็เสี่ยงจะขาดทุน

Forex Signals

ถ้าเราเริ่มอยู่ในวงการตลาด Forex มาสักพัก Level ของเราจะเริ่มอัพเกรด เราจะเริ่มได้ยินคำศัพท์หรือแนวทางการเทรดแบบใหม่เข้ามา หนึ่งในนั้นก็คือ “Forex Signal” ที่นิยมเรียกสั้นๆ ว่า ซิกๆ มันเป็นรูปแบบการทำกำไรที่น่าสนใจไม่น้อยและมีรายละเอียดค่อนข้างเยอะ ติดตามในบทความนี้กันครับ


Forex Signals คืออะไร?

  • Forex Signal แปลตรงตัวเลยมันคือสัญญาณเทรด Forex ครับ เหมือนเป็นคำแนะนำให้เทรดเดอร์ออกออเดอร์ซื้อ-ขาย ตามที่ระบบบอก โดยสัญญาณเหล่านี้มาจากการวิเคราะห์ทางเทคนิคหรือปัจจัยพื้นฐานแล้ว
  • หลักการทำงานของมันก็ง่ายๆ เลยครับ ไม่ว่าใครจะเป็นผู้ให้สัญญาณเทรด (Signal Provider) ก็ตาม
    • ผู้ให้บริการสัญญาณเทรดจะวิเคราะห์ตลาดตามเทคนิคของตนและระบุโอกาสในการเข้าเทรดให้แก่เทรดเดอร์ที่ติดตาม
    • จากนั้นเมื่อมีแนวโน้มที่ชัดเจนในการเข้าออเดอร์ ก็จะส่งสัญญาณให้กับเทรดเดอร์ โดยสามารถเลือกเทรดตามแบบทำเองหรือจะเป็นแบบ Copy Trade ก็ได้
  • คำถามต่อมาคือ ใครบ้างที่เป็นผู้ให้สัญญาณ Forex?
    1. เทรดเดอร์มืออาชีพ ที่มีประสบการณ์และต้องการเป็นผู้ให้บริการสัญญาณเทรด
    2. Algorithm & AI ระบบวิเคราะห์แบบ AI ที่วางโปรแกรมให้วิเคราะห์ตลาดพร้อมส่งสัญญาณเทรด
    3. ทีมงานโบรกเกอร์ Forex บางเจ้าให้บริการสัญญาณฟรีแก่เทรดเดอร์
    4. กลุ่มเทรดเดอร์ตามแพลตฟอร์มไม่ว่าจะเป็น Telegram หรือ กลุ่ม Facebook ที่มักจะแชร์สัญญาณเทรดให้แก่กัน
ระบบการทำงานภาพรวมของ Trading Signals
ระบบการทำงานภาพรวมของ Trading Signals สามารถเข้าใจได้ง่ายๆ โดยจะมี Signal Provider เป็นผู้ให้สัญญาณเทรด ซึ่งอาจจะเป็นเทรดเดอร์มืออาชีพหรือคนของโบรกเกอร์ แล้วเทรดเดอร์ก็ทำเทรดตามสัญญาณนั้น

Trading Signals มีกี่ระบบ?

ในปัจจุบัน Forex Signal ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเราสามารถจำแนกระบบ Signal ออกเป็น 3 ระบบ หลักๆ ดังนี้ครับ

1.Remote Order (หรือ Duplicate Order)

  • หลักการทำงานของระบบนี้คือ EA ของเราจะเชื่อมต่อกับ Server ของผู้ให้บริการสัญญาณและคอยตรวจสอบคำสั่งซื้อขายของผู้ให้บริการ
  • หากพบว่ามีการเปิดออเดอร์ โปรแกรมก็จะทำการคัดลอกคำสั่งซื้อขายนั้นมาเปิดในบัญชีของเราโดยอัตโนมัติ
  • เพียงแต่เราไม่ได้เชื่อมต่อบัญชีกับผู้ให้บริการโดยตรง เราเพียงแต่คัดลอกคำสั่งซื้อขายผ่านโปรแกรม
MQL5 Signal
ตัวอย่าง Signal ในระบบ Remote Order ของ MQL5 Signal ผู้ใหบริการสัญญาณจะมีราคาขั้นต่ำสำหรับการติดตามสัญญาณเอาไว้ ซึ่งของ MQL5 เป็นระบบคัดลอกคำสั่งซื้อขายตาม Signal แบบอัตโนมัติ

2.Clone Order

  • ระบบนี้การทำงานจะคล้ายกับข้อแรกคือระบบจะทำการ “Cloning” การเทรดของผู้ให้บริการแบบเรียลไทม์ โดยเราจะได้รับการคัดลอกคำสั่งซื้อขายทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นคู่เงินที่เทรด จุดเข้า จุดออกหรือ Stop Loss
  • แต่ระบบนี้เราสามารถตั้งค่า Lot Size ให้เหมาะสมกับเงินทุนของเราได้ แต่คำสั่งซื้อขายอื่นๆ จะเหมือนกับของผู้ให้บริการทุกประการ
Exness Social Trading
ตัวอย่างจาก Exness Social Trading ซึ่งเป็นระบบ Clone Signal คือเทรดตามผู้ให้บริการแบบละเอียด แต่ตัวผู้ติดตามสามารถปรับขนาด Lot Size ให้เหมาะกับเงินทุนได้ โดยในรูปนี้แพลตฟอร์มของ Exness จะปรับให้อัตโนมัติ

3.ระบบบอกแนวทางการซื้อขาย

  • ระบบนี้เป็นเหมือนระบบดั้งเดิมในช่วงแรก คือผู้ให้บริการสัญญาณจะส่งสัญญาณการเทรดผ่านทางช่องทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น SMS สื่อ Social
  • ระบบนี้จะมีทั้งแบบฟรีและแบบเสียเงิน เป็นเหมือนธุรกิจหนึ่งของผู้ให้สัญญาณ เช่น ผู้ให้สัญญาณอาจจะแจก Signal ฟรี 3 ครั้ง/วัน แลกกับสมัครโบรกเกอร์ตาม IB ของเจ้าตัว เป็นต้น
  • หรือบางครั้งก็เป็นแบบกลุ่ม Social ที่เข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่อง Forex อาจจะเรียกว่า Signal ได้ไม่เต็ม 100 แต่ถ้าหากวิเคราะห์ตาม เราก็จะได้แนวทางการเทรดออกมา
กลุ่มแจก Signal ใน Facebook
ระบบแบบดั้งเดิม ดังตัวอย่างกลุ่มแจก Signal ที่มีทั้งแบบฟรีและเสียเงินใน Facebook รวมถึงสื่อช่องทางอื่นๆ อีก เช่น Telegram, Line ระบบนี้ค่อนข้างจะมีความเสี่ยงมากกว่า 2 ระบบที่ผ่านมาพอสมควร

การเลือกผู้ให้บริการสัญญาณ (Signal Provider) ที่มีคุณภาพ

แม้ว่าการใช้ Trading Signals จะได้รับความนิยมมากแค่ไหนก็ตามแต่เราก็จะละเลยการพิจารณาเลือกใช้ Signal Provider ไปไม่ได้ ทีมงาน forexthai จึงมีเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ให้เทรดเดอร์นำไปประยุกต์ใช้ในการเลือก Signal Provider ที่มีคุณภาพ เพื่อจะได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ มี 5 เทคนิคสำคัญได้แก่

1. ระยะเวลา:

เราควรเลือกผู้ให้บริการที่มีประวัติการเทรดอย่างน้อย 20 สัปดาห์ขึ้นไป เพราะระยะเวลานี้เป็นระยะที่จะประเมินความสามารถที่แท้จริงได้ สิ่งสำคัญคือความสม่ำเสมอในการทำกำไร

2. ผลกำไร (Profit):

อีกหนึ่งสิ่งที่ต้องพิจารณาคือ ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อเดือน แนะนำว่าทำกำไรประมาณกลางๆ จะดีกว่าเพราะกำไรที่สูงเกินไปมักมาพร้อมกับความเสี่ยงที่สูง ที่เหมาะสมควรอยู่ระหว่าง 15-40% ต่อเดือน

3. Max Drawdown:

คือค่าติดลบของเงินทุนสูงสุดที่เคยเทรดมา บอกถึงความเสี่ยงในการเทรด ดังนั้น Max DD ต่ำจะดีมากและอย่างลืมป้องกันเงินทุนของเรา เช่น หากผู้ให้บริการมี Max DD 100 จุด เราควรมีเงินทุนอย่างน้อย 150 จุด เพื่อป้องกันการล้างพอร์ต

4. กำไร/ขาดทุนเฉลี่ย:

ในการเทรดต่อครั้ง เราต้องเช็คกำไร-ขาดทุนเฉลี่ยต่อการเทรด เอาไว้ใช้เปรียบเทียบความเสี่ยงและผลตอบแทนว่าคุ้มค่าหรือไม่

5. จำนวนผู้ติดตาม/รีวิว:

เป็นอีกหนึ่งข้อมูลสำคัญก็คือคนที่เคยติดตาม Signal Provider นี้มาก่อน ว่ามีความคิดเห็นอย่างไรเพราะมันสะท้อนถึงความน่าเชื่อถือและคุณภาพของ Signal Provider รายนั้น

บริการของ Signal Provider
การเลือกติดตามหรือใช้บริการของ Signal Provider เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญของการทำกำไรจาก Signal เพราะถ้าเราติดตามตัวที่ดีมีคุณภาพจริงกำไรและเงินในพอร์ตก็จะเติบโตตามไปด้วย

ข้อดี-ข้อเสียของการใช้ Signal

ทีนี้เรามาดูข้อดี-ข้อเสียของการใช้งาน Signal กันบ้าง เพื่อผู้อ่านจะได้เอาไปชั่งน้ำหนักว่าการใช้ Signal นั้นเหมาะสมกับการเทรดของเราหรือไม่ โดยทีมงานจัดทำเป็นตารางให้ดังนี้ครับ

ข้อดี ข้อเสีย
การทำกำไร
  • เทรดเดอร์มือใหม่ทำกำไรง่ายขึ้น
  • ไม่มีความรู้ในการเทรด Forex
การตัดสินใจ
  • ใช้เป็นข้อมูลเสริมในการตัดสินใจ
  • หากใช้มากเกินไป จะเสียความมั่นใจ
ค่าใช้จ่าย
  • บาง Signal ไม่มีค่าใช้จ่าย
  • บาง Signal ราคาแพงและคุณภาพของ Signals อาจไม่คุ้มค่า
ความสะดวกและเวลา
  • ประหยัดเวลาในการวิเคราะห์ตลาด
  • ใช้เวลานานกว่าจะเจอผู้ให้บริการที่เหมาะสม
ความเสี่ยง
  • ถ้า Signal ดี ก็ช่วยลดความเสี่ยงได้
  • Signals ไม่สามารถรับประกันผลกำไรได้ 100%
ความน่าเชื่อถือ
  • มีข้อมูล/สถิติ ให้เลือกตัดสินใจได้
  • อาจเจอผู้ให้บริการ Signals คุณภาพแย่

Trading Signals มีทั้งข้อดี-ข้อเสีย ในการใช้บริการ ขึ้นอยู่กับหลายองค์ประกอบ แต่หลักๆ คือตัวผู้ให้บริการสัญญาณ ถ้าเจอ Signal ดี ก็เป็นโอกาสทำกำไรอีกทางหนึ่ง แต่ถ้าเจอ Signal แย่ ก็นับเป็นความเสี่ยงที่ต้องรับมือให้ได้

วิดีโอเกี่ยวกับ Forex Signal

การทดสอบกลุ่มสัญญาณ Forex ฟรีที่ดีที่สุดบน Telegram เครดิต By Trade with Pat Focus นาทีที่ 0:00-13:15

ในบทความยังไม่ได้พูดถึงตัวอย่าง Signal หรือตัวอย่างแหล่งที่มาเด็ดๆ ทีมงานเลยเอาคลิปวิดีโอหนึ่งมาฝากเกี่ยวกับ การทดสอบกลุ่มสัญญาณ Forex ฟรีที่ดีที่สุดบน Telegram ซึ่งยูปทูปเบอร์คนนี้จะทดสอบว่า Signal ในกลุ่มฟรีนั้นมีประสิทธิภาพจริงหรือไม่ สุดท้ายแล้วผลลัพธ์ทั้งหมดจะได้กำไรหรือขาดทุน ไปดูกันเลยครับ

  • Focus นาทีที่ 0:00 เริ่มต้นทดสอบสัญญาณแรก (ทองคำ)
  • Focus นาทีที่ 4:05 ทดสอบสัญญาณที่สอง (GBP/USD)
  • Focus นาทีที่ 6:14 ทดสอบสัญญาณที่สาม (US30)
  • Focus นาทีที่ 7:47 เตือนภัยกลโกงของ Signals
  • Focus นาทีที่ 9:32 ทดสอบสัญญาณที่สี่และห้า (ทองคำ)
  • Focus นาทีที่ 12:32 สรุปผลการทดสอบ

สรุป

Forex Signal หรือ Trading Signals นับว่าเป็นเครื่องมืออีกประเภทหนึ่งที่เข้ามาช่วยให้การเทรดนั้นง่ายและสะดวกมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามเทรดเดอร์ทุกคนต้องคำนึงถึงการเลือกใช้ Signal อย่างระมัดระวัง อาจจะนำเทคนิคการเลือกใช้งานจากในบทความไปประยุกต์ปรับใช้ก็ได้ โดยเฉพาะเมื่อเห็น Signal Free อย่าเพิ่งรีบร้อนเข้าตามให้ใช้สัญญาณนั้นเป็นหนึ่งในการวิเคราะห์ควบคู่กับการวิเคราะห์ด้วยตัวเอง

สุดท้ายก็อยากจะฝากเพียงแค่ไม่ว่าตลาด Forex จะมีแนวทางหรือเครื่องต่างๆ มาช่วยให้การเทรดง่ายแค่ไหน แต่เทรดเดอร์ต้องรักษาการบริหารความเสี่ยงเอาไว้อยู่เสมอเพราะมันจะทำให้เรารอดตัวในทุกสถานการณ์

ทีมงาน: forexthai.in.th

แสดงข้อคิดเห็น ให้กำลังใจ

comments

สารบัญบทความ