Timeframe คือ อะไร ?

บทความนี้เราจะมาพูดถึงความสำคัญของการเลือก Timeframe (TF) ในการเล่น โดยขั้นแรกนั้น ผู้เขียนจะขอเกริ่นถึงความหมายของ Timeframe เพียงสั้นๆ เพราะเชื่อว่านักลงทุนทุกคนคงรู้ข้อมูลตรงนี้ดีอยู่แล้ว

ความหมายของ Timeframe

Timeframe คือ แผนภาพที่ถูกตัดแบ่งตามระยะเวลา เป็นการตัดแบ่งความเคลื่อนไหวของราคาออกเป็นช่วงเวลาย่อยๆ เช่น 1 นาที, 5 นาที, 1 ชั่วโมง, หรือ 1 วัน 1

โดยหลักๆจะถูกแสดงออกมาในรูปแท่งเทียน (Candles) หรือ บาร์ (Bars) โดยใน 1 แท่งเทียนนั้นก็จะแสดงการเคลื่อนไหวของราคาในช่วงระยะเวลาที่กำหนด เช่น ใน TF 1 ชั่วโมง การเคลื่อนไหวในแต่ละ 1 แท่งเทียน ก็คือการเคลื่อนไหวของราคาใน 1 ชั่วโมงนั่นเอง

Timeframe คืออะไร forex
รูปที่ 1.1 แสดงตัวอย่างหน้าตาของ Timeframe 5 นาที
Timeframe คืออะไร forex
รูปที่ 1.2 แสดงตัวอย่างหน้าตาของ Timeframe 1 ชั่วโมง               

จากรูปด้านบน สิ่งที่สังเกตได้จากการเลือกใช้ TF ต่างกันก็คือการแสดงผลของ Indicator ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนตัดสินใจเข้าซื้อขายแตกต่างกันด้วย ปัญหาอย่างหนึ่งที่นักลงทุนเผชิญกันมาแล้วแทบทุกคน คือความกลัวที่จะเข้าซื้อขายไม่ทันในจุดที่ดีที่สุด และในจุดนี้เอง ที่ทำให้นักลงทุนส่วนหนึ่งพยายามเล่นหลาย TF เพื่อมองหาสัญญาณจาก TF ที่แตกต่างกัน แต่สิ่งที่ได้รับกลับมา กลับเป็นสัญญาณซื้อขายที่มากมายมหาศาล แถมหลายครั้งหลายคราว ยังขัดแย้งกันเองอีกต่างหาก

เลือก Timeframe ยังไงดี?

ตรงนี้เราจะจัด catagory ในการเลือกใช้ TF ออกเป็น 2 แบบใหญ่ๆ คือ การเลือกแบบอิงสไตล์การเทรด และเลือกแบบอิงประสบการณ์การเทรดดังนี้ครับ

เลือก Timeframe โดยอาศัย “สไตล์การเทรด”

เราต้องดูก่อนว่าเราต้องการใช้เวลาในการเทรดแต่ละวันมากน้อยเพียงใด ถ้าเรามีเวลามากพอที่จะมานั่งดูสัญญาณซื้อขายได้บ่อยๆ แถมยังเป็นคนที่ชอบเล่นแบบซื้อเร็วขายเร็ว หรือที่เรียกว่าเป็นการเล่นแบบ Intraday การเล่นใน TF ระยะสั้นจำพวก 1 นาที – 15 นาที ก็ดูจะเหมาะสม

แต่กระนั้น เราต้องไม่ลืมว่า การเล่นแบบสลับ TF ไปมาจะทำให้สัญญาณซื้อขายไม่มีเสถียรภาพ ดังนั้นแม้ว่าเราจะเป็นนักลงทุนประเภทที่ซื้อเร็วขายเร็ว แต่ก็ต้องเลือกใช้เพียง TF เดียวเท่านั้น

ในอีกกรณีหนึ่ง ถ้าเราเป็นนักลงทุนที่มีเวลาต่อวันไม่มากนัก หรือมีงานประจำที่ต้องทำระหว่างวันอยู่แล้ว Timeframe ที่เหมาะสมจึงเป็น TF ระยะยาว

การเลือก Timeframe ตามด้านบนนั้น ถือเป็นไกด์ไลน์แค่คร่าวๆในการเลือกใช้ ที่สำคัญก็คือ เราต้องรู้ก่อนว่าเรามีเวลาให้กับการเทรดมากน้อยแค่ไหน สรุปก็คือ ให้เลือก TF ที่เหมาะกับเวลาของเรา ยกตัวอย่างเช่น แม้ว่าเราจะมีงานประจำก็จริง

แต่หลังเลิกงานเรามีเวลามาดูกราฟได้ตลอด เราก็สามารถเลือกใช้ TF ระยะสั้นจำพวก 1 – 15 นาทีได้ แต่กระนั้น เราก็ยังต้องยึดเพียง TF ใด TF หนึ่งเป็นหลัก ไม่ควรสลับไปสลับมา เพราะสุดท้ายแล้วก็จะสร้างความสับสนอยู่ดี

เลือก Timeframe โดยอาศัย “ประสบการณ์การเทรด”

วิธีการเลือกแบบนี้ก็จะสามารถแบ่งย่อยได้อีก 2 กลุ่ม คือ นักเทรดมือใหม่ กับ นักเทรดเก๋าประสบการณ์ดังนี้ครับ

สำหรับนักเทรดมือใหม่

หากตอนนี้เราประเมินแล้วว่าเราเป็นนักเทรดมือใหม่ เราควรที่จะเริ่มต้นการเทรดด้วย TF กลางๆ เช่น TF 4 ชั่วโมง ถึง 1 วัน เพราะเราจะได้เรียนรู้แนวโน้มราคา และมีเวลาในการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ มากกว่าการเล่น TF สั้นๆ ครับ

สำหรับนักเทรดที่มีประสบการณ์

หากเราคือผู้เทรดมาระยะนึงแล้ว พอที่จะรู้แนวโน้มราคา และสามารถทำนายอะไรได้แม่นขึ้น วิเคราะห์ได้ไวและคมขึ้นก็สามารถขยับไปใช้ TF สั้นๆ ได้ จะเป็นการดีที่จะทำกำไรได้มากขึ้น ทั้งนี้ก็ต้องยอมรับด้วยความความเสี่ยงก็จะวิ่งตามมาแบบติดๆเช่นกันครับ

การใช้ Timeframe แบบต่างๆ

  1. Timeframe ยาว (Long-term)
    • ระยะเวลา: สัปดาห์ (W1), เดือน (M1)
    • แนวโน้มราคา: ชัดเจนและแนวโน้มระยะยาว
    • ความเสี่ยง: น้อย
    • ความต้องการทุน: สูง
  2. Timeframe กลาง (Medium-term)
    • ระยะเวลา: วัน (D1), 4 ชั่วโมง (H4)
    • แนวโน้มราคา: ค่อนข้างชัดเจน
    • ความเสี่ยง: ปานกลาง
    • ความต้องการทุน: ปานกลาง
  3. Timeframe สั้น (Short-term)
    • ระยะเวลา: ชั่วโมง (H1), 30 นาที (M30), 15 นาที (M15)
    • แนวโน้มราคา: เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
    • ความเสี่ยง: สูง
    • ความต้องการทุน: ต่ำ
  4. Timeframe จิ๋ว (Scalping)
    • ระยะเวลา: 5 นาที (M5), 1 นาที (M1)
    • แนวโน้มราคา: ไม่แน่นอน
    • ความเสี่ยง: สูงมาก
    • ความต้องการทุน: ต่ำ

การเล่นหลาย Timeframe มีแต่ข้อเสียจริงหรือ

การเล่นหลาย TF นั้น ไม่ได้มีแต่ข้อเสียเสมอไป เพราะการดู TF ที่กว้างกว่าหรือยาวกว่า TF ที่เราเล่นนั้น จะช่วยให้เราเห็นแนวโน้มหรือทิศทางของราคาในระยะยาว ยกตัวอย่างเช่น ถ้าปกติเราเล่น TF 4 ชั่วโมง การดู TF Daily จะช่วยให้เราเห็น Trend ของราคาในมุมมองที่กว้างขึ้น วิธีเล่นแบบนี้จะเหมาะกับนักลงทุนแบบเล่นตามเทรนด์ หรือ Trend Following นั่นคือ อาศัยแนวโน้มของ TF ที่กว้างกว่า เพื่อเล่นแบบตามเทรนด์ใน TF ปกติ

Timeframe คืออะไร forex
รูปที่ 2.1 แสดงทิศทางของราคาใน TF Daily
Timeframe คืออะไร forex
รูปที่ 2.2 แสดงทิศทางของราคาใน TF 4 ชั่วโมง

จากรูปด้านบน เมื่อ TF Daily แสดงว่าราคากำลังอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น การเล่นใน TF ปกติ (4 ชั่วโมง) ก็ควรเล่นกับขาขึ้นของราคา แม้ว่าราคาใน TF 4 ชั่วโมงจะเหวี่ยงขึ้นลงไปมาและลงมาใกล้เส้น Moving Average มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในอนาคตอาจจะมีสัญญาณให้เราเข้า Short แต่เมื่อยึดตามแนวโน้มของ TF Daily แล้ว ราคายังเป็นแนวโน้มขาขึ้นอยู่ ถ้าเราเป็นนักลงทุนแบบ Trend Following เราควรจะเลือกเข้าซื้อเฉพาะสัญญาณ Long เท่านั้น

ผลเสียของ Time Frame สั้นและยาวกับกลยุทธ์

การเลือก Time Frame สั้น นั้นหมายความว่า เราเลือกที่จะใช้กลยุทธ์การเทรดที่สั้น ซึ่งการเลือกลยุทธ์การเทรดที่สั้น แม้จะสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันก็จริงอยู่ แต่ว่ายังมีด้านมืดที่ต้องพิจารณาอีก นั่นก็คือ ต้นทุน  ต้นทุนที่ว่านี้ก็คือ ต้นทุนของธุรกรรมสำหรับการเทรด การเทรด  Time Frame สั้นนั้น สัดส่วน Spread ต่อระยะวิ่งของราคามีสัดส่วนน้อย ทำให้ต้นทุนที่ต้องจ่ายสูง เมื่อต้นทุนสูงทำให้กำไรที่ได้จึงกลายเป็นทุนไปเสียส่วนใหญ่ 

สำหรับการเลือก Time Frame ในระยะยาว นั้นแม้ว่าจะทำให้สัดส่วนต้นทุนไม่มากต่อระยะทางวิ่งของราคา แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีข้อเสีย สิ่งที่ว่านั้นคือ Swap เพราะว่า Swap ก็คือ ต้นทุนของการเทรดประเภทหนึ่ง เมื่อเราถือ position ในระยะยาวทำให้ Swap ที่ต้องจ่ายเกิดขึ้นทุกวัน ในบางค่าเงิน Swap มีมูลค่าสูง ทำให้เมื่อถือ position นานไปก็มีต้นทุนนานขึ้นเรื่อย ๆ 

ดังนั้นการเลือก Time Frame จึงส่งผลต่อการเทรดได้มากพอสมควร การเลือก Time Frame ที่เหมาะสมควรจะเป็นระยะกลาง ไม่สั้นและไม่ยาวจนเกินไป และที่สำคัญ ต้องสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของเทรดเดอร์เองด้วย 

บทสรุปของ Time Frame 

การเลือกใช้ Time Frame เป็นเรื่องสำคัญ เพราะว่าหลายปัจจัยกำหนดสถานะกำไรขาดทุนของเทรดเดอร์ได้เลย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการวิเคราะห์ เรื่องของต้นทุนการเทรด เรื่องของผลต่อจิตวิทยา และความเหมาะสมต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การเลือก Time Frame มีอิทธิพลต่อเทรดเดอร์แตกต่างกัน

นอกจากนี้แต่ละ Broker ยังนำเสนอ Time Frame ที่แตกต่างกัน บางราย Broker มี Time Frame ละเอียดถึงกราฟรายวินาทีก็มี แต่การจะบอกว่า Trade Time Frame ไหนได้กำไรดีกว่า TF ไหนนั้นไม่มี เพราะมันขึ้นอยู่กับความถนัด และกลยุทธ์ของแต่ละคนประกอบกันด้วย อีกอย่าง การเทรดไม่ควรที่จะใช้ Time Frame เดียว

เราควรจะต้องหัดประยุกต์ให้เข้ากับสถานการณ์ และที่สำคัญความรู้เรื่อง Time Frame เป็นอะไรที่สำคัญกว่า เทรดเดอร์ทั่วไปจะมองเห็นเสียอีกนะครับ เป็นเรื่องที่เราไม่ควรมองข้ามเลยทีเดียว  

ทีมงาน: forexthai.in.th

References

  1. dictionary, Cambridge ที่มา: https://dictionary.cambridge.org/dictionary/english/time-frame สืบค้นเมื่อวันที่ 12/11/2019

แสดงข้อคิดเห็น ให้กำลังใจ

comments