Forexthai.in.th ย่อให้
- Pivot Point (PP) คือเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคที่ใช้ประเมินแนวโน้มตลาด
- โดยปกติ จะคำนวณจากราคา High, Low, Close ของวันก่อนหน้า แต่ปัจจุบันมีการพัฒนาสูตรการคำนวณหลายรูปแบบ เช่น Classical PP, CPR PP เป็นต้น
- Pivot Point All in One คือ อินดิเคเตอร์ที่รวม 4 วิธีคำนวณ PP ยอดนิยมไว้ในที่เดียว ใช้ได้ทั้งบน MT4 และ MT5
- สามารถปรับแต่งการแสดงผล เลือกช่วงเวลา และความลึกของระดับแนวรับแนวต้านได้ตามต้องการ
- ใช้ในการหาจุดเข้าเทรด ตั้ง Stop Loss และ Take Profit รวมถึงใช้ร่วมกับ Indicator อื่นๆ ได้ทุกตัว
Pivot Point (PP) คือ ระดับราคาที่เทรดเดอร์มืออาชีพใช้เพื่อประเมินว่าราคาเป็นขาขึ้นหรือขาลง โดยมักจะมีวิธีคำนวณที่หลากหลายรูป แต่ส่วนมากเรานิยมใช้ระดับราคา High, Low, Close ของวันก่อนหน้าที่เราจะเทรดมาคำนวณครับ ซึ่งทำให้ PP เป็นเครื่องมือที่ยืดหยุ่นและปรับใช้ได้กับหลายสถานการณ์การเทรด
นอกจากนี้ Pivot Points ยังเป็น indicator ประเภทหนึ่งที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางเทคนิค ซึ่งเป็นพื้นฐานในการกำหนดแนวโน้มของตลาดอีกด้วย
สารบัญบทความ click เพื่อเลือกอ่าน !!
ความเป็นมาของ Pivot Point
PP มีประวัติย้อนไปไกลถึงยุคก่อนที่จะมีกระดานหุ้นออนไลน์เสียอีก โดยต้นกำหนดของมันมาจากเทรดเดอร์รุ่นเก่า (Floor Trader) ที่คิดค้นวิธีการนี้ขึ้นมา เพื่อที่จะซื้อขายหุ้นกัน ซึ่งพวกเขามักจะดูราคาสูง (High), ต่ำ (Low), และราคาปิด (Close) ของวันก่อนหน้าที่เขาจะเริ่มเทรด มาคำนวณ PP เพื่อหาจุดเขาซื้อขายที่เหมาะสมครับ
นอกจากนี้ PP มักจะถูกใช้เพื่อหาแนวรับ-แนวต้าน สำหรับการเทรดภายในวันได้อีกด้วย โดยแนวรับแนวต้านดังกล่าวจะถูกคำนวณบนพื้นฐานของราคาสูง, ต่ำ, ปิด ของวันก่อน ๆ ตามที่ได้เล่ามาครับ เรามาเข้าสูตรการคำนวณกันเถอะ
“แม้ว่า Indicator จะแสดงจุดกลับตัวของแนวโน้มที่เป็นไปได้ แต่ก็ไม่แนะนำให้ใช้โดยไม่เชื่อมโยงกับระบบการซื้อขายหลัก”
สูตรการคำนวณอย่างง่าย
เนื่องจาก PP ถือกำเนิดมานานแล้ว จึงมีผู้คนพัฒนาสูตรการคำนวณมาใหม่อีกหลากหลายรูปแบบครับ แต่ละแบบก็มีจุดเด่นที่แตกต่างกันไป ซึ่งบทความนี้อาจจะนำมาเสนอเพียง 6 รูปแบบ เพื่อให้เทรดเดอร์ได้ทราบว่าการคำนวณ Pivot Point ทำกันอย่างไร ซึ่ง 6 รูปแบบดังกล่าวได้แก่
Classical PP
วิธีการคำนวณ PP แบบนี้เทรดเดอร์บางท่านเรียก Classical PP หรือบางก็เรียกว่า Standard PP ครับ โดยวิธีนี้เราจะใช้ค่าพารามิเตอร์เพียง 3 ตัวเท่านั้น ได้แก่ High price, Low price และ Close price ครับ จากนั้นเราก็จะเอามาคำนวณหา PP และ แนวรับ-แนวต้าน ตามลำดับครับ
- Pivot Point (P) = (High + Low + Close)/3
- Support 1 (S1) = (P x 2) – High
- Support 2 (S2) = P – (High – Low)
- Resistance 1 (R1) = (P x 2) – Low
- Resistance 2 (R2) = P + (High – Low)
Fibonacci PP
การคำนวณ PP แบบนี้เป็นวิธีที่นำประโยชน์ของ Fibonacci เข้ามาใช้ด้วย ซึ่งเชื่อกันว่าสามารถนำไปใช้เทรดตามเทรนใหญ่ ๆ ได้ดีครับ
- Pivot Point (P) = (High + Low + Close)/3
- Support 1 (S1) = P – {.382 * (High – Low)}
- Support 2 (S2) = P – {.618 * (High – Low)}
- Support 3 (S3) = P – {1 * (High – Low)}
- Resistance 1 (R1) = P + {.382 * (High – Low)}
- Resistance 2 (R2) = P + {.618 * (High – Low)}
- Resistance 3 (R3) = P + {1 * (High – Low)}
Demark PP
Demark PP คือ วิธีการคำนวณหา PP ในรูปแบบหนึ่งที่ถูกพัฒนาโดยคุณ Tom Demark ซึ่งวิธีนี้เขาจะใช้ความสัมพันธ์ระหว่าง Close และ Open เข้ามาอยู่ในสมการด้วย นอกจากนี้คุณ Demark ยังได้ใช้ค่า X เข้ามาเพื่อคำนวณหา PP อีกด้วย โดยสูตรคำนวณมีดังนี้ครับ
- ถ้า Close < Open, ให้ X = High + (2 x Low) + Close
- ถ้า Close > Open, ให้ X = (2 x High) + Low + Close
- ถ้า Close = Open, ให้ X = High + Low + (2 x Close)
จากนั้นให้คำนวณหา PP และแนวรับ-แนวต้าน ต่อดังนี้
- Pivot Point (P) = X/4
- Support 1 (S1) = X/2 – High
- Resistance 1 (R1) = X/2 – Low
Woodie PP
Woodie PP เขาจะมีวิธีการคำนวณที่คล้าย ๆ กับ Classic PP ครับ แต่มีความแตกต่างกันเล็กน้อยในสมการ เนื่องจากเขาจะนำ 2 มาคูณเข้ากับ Close จากนั้นจึงนำมาหาร 4 ซึ่งจากปกติแบบ Classic เขาจะใช้ Close แล้วหารด้วย 3 ครับ
- Pivot Point (P) = (High + Low + 2 x Close) / 4
- Support 1 (S1) = (2 x P) – High
- Support 2 (S2) = P – High + Low
- Resistance 1 (R1) = (2 x P) – Low
- Resistance 2 (R2) = P + High – Low
Camarilla PP
Camarilla PP คือ การคำนวณ PP ที่ถูกพัฒนาโดยคุณ Nick Scott ตั้งแต่ปี 1980 ครับ โดย Camarilla PP มีคอนเซปคล้าย ๆ กับ Woodie PP แต่แทนที่จะมีแนวรับแนวต้านอย่างละ 2 เส้น ก็กลายเป็น 4 เส้น ซึ่ง PP ประเภทนี้จะเหมาะสำหรับการเทรดภายในวัน, การเทรดแบบสั้น, และการเทรดสไตล์ Scalping ครับ
- R4 = C + ((H-L) x 5000)
- R3 = C + ((H-L) x 2500)
- R2 = C + ((H-L) x 1666)
- R1 = C + ((H-L) x 0833)
- PP = (H + L + C) / 3
- S1 = C – ((H-L) x 0833)
- S2 = C – ((H-L) x 1666)
- S3 = C – ((H-L) x 2500)
- S4 = C – ((H-L) x 5000)
เมื่อ :
R = Resistance; S = Support; C = Close; H = High; L = Low
Central Pivot Range (CPR) PP
วิธีการคำนวณ PP แบบ CPR มีความแตกต่างกับวิธีอื่น ๆ แบบเห็นได้ชัดครับ (ถ้าไม่นับ Demark PP อะนะ) เนื่องจากเขามีเพียง 3 เส้นเท่านั้น ซึ่งจะมีเส้น PP, R1, และ S1 เท่านั้นครับ โดยปกติแล้วเรามักจะใช้เทรดกันใน Time Frame M30 ซึ่งใช้เพื่อเป็นการระบุเทรนด์ครับ
- หากราคาอยู่เหนือทั้ง 3 เส้น หมายถึง เทรนขาขึ้น
- หากวันซื้อขายปิดต่ำกว่าทั้งสามระดับ แสดงว่าแนวโน้มขาขึ้นอ่อนตัวลง
- หากราคาอยู่ใต้ทั้ง 3 เส้น หมายถึง เทรนขาลง
สูตรการคำนวณ CPR PP
- Pivot = (High + Low + Close) / 3
- Bottom Central Pivot (BC) = (High + Low) / 2
- Top Central Pivot = (Pivot – BC) + Pivot
Pivot Point All in One คืออะไร?
Pivot Point All in One นับว่าเป็น Indicator ที่สามารถคิดคำนวณ PP ได้อยู่ 4 วิธียอดนิยม ได้แก่ Classic, Woodie, Fibonacci, และ CPR ครับ นอกจากนี้ยังสามารถปรับค่าอื่น ๆ ได้อย่างอิสระด้วย โดยเขาจะมีให้ติดตั้งได้ทั้ง MT4 และ MT5 ครับ
การตั้งค่าการใช้งาน
การตั้งค่า หรือ Setup Indicator ตัวนี้ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์การเทรดของเทรดเดอร์แต่ละท่านครับ ซึ่งเราขออธิบายพารามิเตอร์ต่าง ๆ ดังนี้นะครับ
- Calculation Method/Period: ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถเลือกวิธีการคำนวณ PP และกรอบเวลาในการแสดง indicator ได้
- Available timeframes to display: สามารถตั้งค่าได้จาก Daily ไปถึง Monthy
- Show Only Recent Period: สามารถโชว์ได้ทั้งระยะสั้นและยาว
- Depth of Levels (show up to): สามารถเลือกให้โชว์ได้ตั้งแต่ S1/R1 ไปจนถึง S4/R4
- Number of periods to show: สามารถเลือกจำนวนช่วงเวลาที่ Indicator จะโชว์
- Right Shift: สามารถ เปิด/ปิด การโชว์ display แนวตั้งได้
นอกจากนี้ยังสามารถปรับความเข้ม ความหนา และสีของเส้นที่โชว์บน Indicator ได้อีกด้วยครับ
วิธีการใช้งาน
การใช้งาน PP นั้นขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ของเทรดเดอร์เลยครับว่าจะเทรดแบบตามเทรนด์ หรือจะเทรดแบบ swing หรืออื่น ๆ ครับผม ซึ่งเทรดเดอร์อาจจะเทรดด้วยการตีเทรนด์ก่อนแล้วหาแนวรับแนวต้านที่สำคัญ จากนั้นจึงเข้าเทรดช่วงจังหวะ Breakout ก็ได้ครับ
การใช้ Pivot Point All in one คู่กับ Indicator ตัวอื่น
สามารถใช้เทรดควบคู่ไปกับ Indicator ได้เกือบทุกตัวครับ ซึ่งขึ้นอยู่กับกลยุทธ์การเทรดของเทรดเดอร์ ใครที่ชื่นชอบการเทรดแบบ Swing ก็มักจะใช้คู่กับ Indicator ประเภท Oscillator ก็ได้ครับ
สรุป
Pivot Point (PP) คือ เครื่องมือที่เทรดเดอร์รุ่นแรก ๆ ได้คิดค้นขึ้นมาเพื่อหาจุดเข้า order ที่เหมาะสม ซึ่งบางท่านสามารถนำ PP มาตั้ง Stop Loss และ Take Profit ได้ โดยปัจจุบัน PP ถูกพัฒนามาไกลมาก จึงได้มีวิธีคิดคำนวณที่หลากหลายดั่งที่เราได้ให้ข้อมูลไปข้างต้นนั่นเองครับ
Free Download: คลิ๊กเพื่อโหลดฟรีจ้า
ทีมงาน Forexthai.in.th