Forexthai.in.th ย่อให้
- Parabolic SAR เป็นอินดิเคเตอร์เก่าแก่ที่ใช้วิเคราะห์ทิศทางราคาในตลาด Forex โดดเด่นด้วยรูปแบบจุดที่เป็นเอกลักษณ์ ใช้งานง่าย
- ถูกคิดค้นโดย J. Welles Wilder Jr. เพื่อบ่งชี้จุดกลับตัวของราคา ทำงานได้ดีในช่วงที่ตลาดมีเทรนด์ชัดเจน แนะนำให้ใช้ร่วมกับ ADX
- เงื่อนไขการเทรด: เมื่อจุดอยู่ใต้ราคา = สัญญาณซื้อ, เมื่อจุดอยู่เหนือราคา = สัญญาณขาย สามารถใช้เป็นจุด Stop Loss ได้
- ควรหลีกเลี่ยงการใช้งานในช่วง Sideway ซึ่งสังเกตได้จากความชันของแท่งเทียน แนะนำให้ใช้ค่ามาตรฐานในการตั้งค่าเริ่มต้น
Parabolic SAR คืออะไร?
Parabolic SAR หรือชื่อเต็มๆ ว่า Parabolic Support and Resistance นี่เป็นหนึ่งใน indicator ระดับตำนานที่อยู่ในตลาดมานานมากครับ เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ทิศทางของราคาตลาด Forex ด้วยลักษณะเครื่องมือที่โดดเด่นและมีเอกลักษณะเฉพาะตัว ทำให้การประยุกต์ใช้นั้นค่อนข้างง่ายและสามารถทำการวิเคราะห์ได้อย่างตรงไปตรงมา
คนคิดค้นคือคุณ J. Welles Wilder Jr. ซึ่งเป็นปรมาจารย์ด้านการวิเคราะห์ทางเทคนิคเลยทีเดียว เจ้า indicator ตัวนี้มีจุดเด่นตรงที่มันจะแสดงเป็นจุดๆ คล้ายไข่ปลาบนกราฟ ทำให้เราเห็นสัญญาณซื้อ-ขายได้ชัดเจนมากๆ
ข้อมูลทั่วไป

ก่อนจะไปดูวิธีใช้งานกันแบบละเอียด ผมขอเล่าที่มาที่ไปของ Parabolic SAR ให้ฟังก่อนนะครับ เพราะการรู้จักเครื่องมือให้ดีจะช่วยให้เราใช้งานได้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
Parabolic SAR นี่ถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือระดับตำนานในการวิเคราะห์ตลาด Forex เลยครับ คุณ J. Welles Wilder Jr. ผู้คิดค้นตั้งใจสร้างมันขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์เดียวคือ ช่วยให้เราเห็นจุดกลับตัวของราคาได้ชัดเจน ว่าตอนนี้เทรนด์กำลังจะเปลี่ยนทิศทางหรือยัง ซึ่งเจ๋งตรงที่มันใช้ได้กับทุกตลาดเลย แต่จะแจ่มสุดๆ เมื่อใช้กับตลาด Forex ครับ
ลักษณะการทำงาน
- เป็น indicator ประเภท Lagging System หมายความว่ามันจะรอให้ราคาเปลี่ยนแปลงก่อน แล้วค่อยส่งสัญญาณให้เรา
- แม้จะช้ากว่าราคานิดหน่อย แต่ก็ทำให้สัญญาณที่ได้แม่นยำขึ้นครับ
เรื่องการใช้งานนั้น Parabolic SAR มีประโยชน์หลายด้านมากๆ ครับ นอกจากใช้วิเคราะห์แนวรับแนวต้านแล้ว หลายคนยังเอาไปใช้เป็นจุด Stop Loss ด้วย เพราะถ้าราคามันวิ่งไปถึงจุดที่ Parabolic SAR บอกว่าเป็นจุดกลับตัว นั่นก็เหมาะมากที่จะเป็นจุด Stop Loss ของเราครับ
ข้อแนะนำจากผู้สร้าง
แต่มีข้อควรระวังอย่างหนึ่งที่คุณ Wilder เน้นย้ำมากๆ คือ เครื่องมือนี้จะทำงานได้ดีที่สุดในช่วงที่ตลาดมีเทรนด์ชัดเจนครับ โดยเฉพาะช่วงต้นเทรนด์ยิ่งดีเลย และเพื่อให้แม่นยำขึ้น เขาแนะนำให้ใช้คู่กับ indicator ที่บอกความแข็งแกร่งของเทรนด์ด้วย อย่างเช่น Average Directional Index (ADX) ครับ

การคำนวณ
การคำนวณ SAR จะค่อนข้างซับซ้อนและมีการคำนวณเฉพาะตัว เป็น indicator ที่ไม่ได้มีหลักการคล้ายคลึงกับ indicator อื่น ๆ เลย จุดสำคัญในการคำนวณมี 2 อย่าง ดังนี้
- Extreme Point (EP) คือจุดสูงสุดหรือต่ำสุดของราคาในเทรนด์ปัจจุบัน ง่ายๆ คือ:
- ถ้าเทรนด์ขาขึ้น = จุดสูงสุดของราคา
- ถ้าเทรนด์ขาลง = จุดต่ำสุดของราคา
- Acceleration Factor (AF) คือตัวเร่งความเร็วในการเคลื่อนที่ของจุด SAR:
- เริ่มต้นที่ 0.02
- เพิ่มขึ้นทีละ 0.02 ทุกครั้งที่ราคาทำจุดสูงสุดใหม่หรือต่ำสุดใหม่ สูงสุดไม่เกิน 0.20
สูตรคำนวณ
แบ่งเป็น 2 แบบตามทิศทางของราคานะครับ:
- Parabolic SAR ขาขึ้น
SAR ก่อนหน้า + AF ก่อนหน้า (EP ก่อนหน้า – SAR ก่อนหน้า ) = SAR ปัจจุบัน
- Parabolic SAR ขาลง
SAR ก่อนหน้า – AFก่อนหน้า (SAR ก่อนหน้า – EP ก่อนหน้า) = SAR ปัจจุบัน
Parabolic SAR วิธีใช้งาน
สำหรับการใช้งาน Parabolic SAR นั้น อย่างที่ได้เกริ่นตั้งแต่ตอนแรก นั่นก็คือ สามารถใช้ได้เฉพาะช่วงที่ตลาดมีเทรนด์เท่านั้น ดังนั้นในการใช้งานครั้งนี้ จึงมีรูปแบบเดียว แต่สิ่งสำคัญสำหรับ Parabolic SAR คือ การตั้งค่าซึ่งค่าที่เหมาะสมก็เป็นค่ามาตรฐานของมันเองอยู่แล้ว

การตั้งค่าที่ใช้แล้วเวิร์ค
ผมแนะนำให้ใช้ค่ามาตรฐานนี้เลยครับ:
- AF เริ่มต้น: 0.02
- AF สูงสุด: 0.20
- Step: 0.02
เชื่อผมเถอะครับ ค่าพวกนี้ผ่านการทดสอบมาแล้วว่าใช้ได้ผลดีจริงๆ และผมก็ใช้ค่ามาตรฐานเช่นเดียวกัน ซึ่งการใช้งาน Parabolic SAR นั้นเป็นไปตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
เงื่อนไขการซื้อขาย
เงื่อนไขการซื้อและขายของ Parabolic SAR นั้น คือ การที่ Parabolic SAR นั้นอยู่ด้านล่างของราคา ให้ใช้เป็นสัญญาณ Buy และเมื่อ Parabolic SAR นั้นอยู่ด้านบนก็ให้ใช้เป็นสัญญาณ SELL

ในรูปจะเห็นว่า เราได้ทำการ Post highlight สีแดงและสีฟ้า ซึ่งสีฟ้าคือจุดเข้า Buy ส่วนสีแดงคือจุดเข้า Sell ก็ง่ายๆ ครับเพราะว่าถ้าหากมันเลื่อนจุดประไข่ปลาออกไปก็คือการเลื่อน Stop loss แต่ ต้องไม่ลืมว่า จุด Stop loss นั้นไม่ใช่ Take Profit นะครับ จุด Stop loss กับจุด Take Profit มันคนละเรื่อง
สำหรับการบอก Sideway เราสามารถความชันของกลุ่มแท่งเทียน บอกได้ซึ่งตัวอย่างในภาพสีเหลี่ยมสีเหลือง คือ ช่วง Sideway ซึ่งเป็นช่วงที่ Parabolic SAR นั้นไม่สามารถใช้ได้ผล ซึ่งเป็นช่วงที่ควรหลีกเลี่ยงในการเทรด อย่างไรก็ตามเราก็ไม่รู้หรอกว่า การเทรดจะออก Sideway เมื่อไหร่ สิ่งที่เราทำได้คือ การตั้ง Stop loss ไว้ก่อน
สรุป
สำหรับการใช้งาน Parabolic SAR ก็มีเพียงเท่านี้ครับ สิ่งสำคัญสำหรับ Parabolic SAR คือ การตั้งค่า Parabolic SAR ซึ่งหลายคนอาจจะทำได้ดีกว่าการใช้ค่ามาตรฐาน และที่สำคัญ สิ่งที่ต้องใช้ประกอบคือ ใช้เครื่องมืออื่น ๆ ในการบอก Sideway ก็ได้ แต่ในนี้ผมแนะนำให้ใช้กราฟแท่งเทียนนั่นแหละ
อย่างไรก็ตาม ก็ต้องบอกก่อนว่า เราจะไม่มีทางรู้ว่ามันจะ Sideway หรือไม่เพราะว่า สัญญาณ Parabolic SAR นั้นจะเกิดขึ้นก่อน ก็ถ้ามันไม่ Sideway ก็จะกลายเป็นว่าเราตกรถ ฉะนั้นตัวเลือกที่ดีคือการส่งคำสั่งก่อน ตั้ง Stop loss ไว้ถ้าหากเห็นแล้วว่ามัน Sideway ค่อยหาจังหวะออกตอนที่มันมีกำไรก็ได้เช่นกัน

Review Broker Forex
วิเคราะห์ วิจารย์ ข้อดี-ข้อเสีย ข้อมูลจากการเทรดด้วยบัญชีจริง โดยทีมงานหลายคน ...
อ้างอิง
https://en.wikipedia.org/wiki/Parabolic_SAR
https://www.tradingview.com/wiki/Parabolic_SAR_(SAR)
https://www.investopedia.com/trading/introduction-to-parabolic-sar/
https://school.stockcharts.com/doku.php?id=technical_indicators:parabolic_sar
https://wiki.timetotrade.com/Parabolic_SAR
ทีมงาน: forexthai.in.th
Pingback: พื้นฐาน Parabolic Sar เคล็ดลับที่ไม่มีใครบอก|ThaiForexBroker