Forexthai.in.th ย่อให้

  • ระบบเทรด Gorilla Method: ระบบเทรดตามเทรนด์ที่ใช้ได้ทุกไทม์เฟรม
  • หลักการเทรดเบื้องต้น:  ดูแนวโน้มจากการคำนวณ Pivot Point และ EMA หลังจากนั้นรอราคาพักตัวที่เส้น EMA และเทรดตามเทรน
  • เครื่องมือที่ใช้: EMA 3 เส้น, Pivot Point
  • ข้อดี: ชนะตลาดที่เป็นเทรนด์, เรียบง่ายเหมาะกับมือใหม่
  • ข้อเสีย:  มีความเสี่ยงในการวาง Stop loss,  แพ้ตลาดที่มีความผันผวนและ Side Way 

ภาพปกระบบเทรด Gorilla Method

หลักการเทรดเบื้องต้น

ดูแนวโน้มของตลาดจาก Pivot Point และการตัดกันของเส้น EMA หลังจากนั้นรอให้ราคาลงมาทดสอบที่เส้น EMA เส้นที่ไกลที่สุด (EMA 30) และเกิดการกลับตัวแล้วจึงค่อยเข้าเทรดตามเทรนที่เกิดขึ้น และปิดกำไรต่อเมื่อเส้น EMA เกิดการตัดกันในทิศทางตรงกันข้าม หรือราคาไปถึงเป้าแนวรับแนวต้านที่เกิดจากการคำนวณ Pivot Point

เครื่องมือที่ใช้เทรด

  1. EMA 3 เส้น ตั้งค่า 4, 15 และ 30
  2. Pivot Point

เส้น EMA 

เส้น EMA
ภาพอธิบายการใช้งานเส้น EMA เบื้องต้น

เป็นอินดิเคเตอร์เส้นค่าเฉลี่ยรูปแบบ Exponential ซึ่งมีความตอบสนองไวกว่าเส้น MA ประเภทอื่นๆ โดยเช็ค EMA ถูกใช้งานในหลายรูปแบบ

  1. ใช้ดูแนวโน้มของราคาในช่วงเวลาต่า งๆ ขึ้นอยู่กับการปรับค่า (ในระบบนี้ใช้เส้น 4, 15 และ 30 เพื่อดูแนวโน้มของราคาในระยะสั้น)
  2. ใช้เป็นแนวรับแนวต้านรูปแบบ Dynamic
  3.  ใช้เป็นจุดตัดสินใจในการเข้าเทรดและปิดออเดอร์การเทรด

Pivot Point

Pivot Point
ภาพอธิบายการใช้งานเส้น Pivot Point เบื้องต้น

จุดแกว่งของราคาที่เกิดจากการคำนวณราคา High, Low และ Close ของวันก่อน, สัปดาห์ก่อนหน้า หรือ เดือนก่อนหน้า ขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการเข้าเทรด ซึ่งเมื่อคำนวณออกมาแล้วจะได้ออกมาเป็นแนวรับแนวต้านซึ่งแสดงถึงกรอบที่ราคามีแนวโน้มที่จะวิ่งไปและเกิดการกลับตัวหรือแกว่งตัวนั่นเอง มีสูตรการคำนวณดังนี้

  • R1 (Resistance 1) = (2 x Pivot Point) – ราคาต่ำสุด
  • R2 (Resistance 2) = Pivot Point + (ราคาสูงสุด – ราคาต่ำสุด)
  • R3 (Resistance 3) = R1 + (ราคาสูงสุด – ราคาต่ำสุด)
  • S1 (Support 1) = (2 x Pivot Point) -ราคาสูงสุด
  • S2 (Support 2) =Pivot Point – (ราคาสูงสุด – ราคาต่ำสุด)
  • S3 (Support 3) =S1 – (ราคาสูงสุด – ราคาต่ำสุด)

ในปัจจุบันนี้ก็มีอินดิเคเตอร์มากมายที่สามารถทำให้การคำนวณ Pivot Point เป็นเรื่องง่าย

เงื่อนไขการเทรดขาขึ้น 

เงื่อนไขการเทรดขาขึ้น 

1. ราคาอยู่เหนือ Pivot Point

เงื่อนไขการเทรดขาขึ้น 

2. รอให้ EMA 4, 15, 30 เรียงตัวกันและอยู่เหนือ Pivot Point

เงื่อนไขการเทรดขาขึ้น 

3. ราคาลงมาทดสอบที่เส้น EMA 30

เงื่อนไขการเทรดขาขึ้น 

4. ราคาเกิดการกลับตัวจากเส้น EMA 30

เงื่อนไขการเทรดขาขึ้น 

5. เปิดออร์เดอร์ Buy

เงื่อนไขการเทรดขาขึ้น 

6. ตั้ง Stop loss 30 Pips จากจุดเข้าเทรด

เงื่อนไขการเทรดขาขึ้น 

7. ตั้ง Take Profit  เมื่อเส้น EMA 4  และ EMA 15 ตัดลง หรือตั้งเป้าที่ R3

เงื่อนไขการเทรดขาลง

เงื่อนไขการเทรดขาลง

1. ราคาอยู่ต่ำกว่า Pivot Point

เงื่อนไขการเทรดขาลง

2. รอให้ EMA 4, 15, 30 เรียงตัวกันและอยู่ต่ำกว่า Pivot Point

เงื่อนไขการเทรดขาลง

3. ราคาขึ้นมาทดสอบที่เส้น EMA 30

เงื่อนไขการเทรดขาลง

4. ราคาเกิดการกลับตัวจากเส้น EMA 30

เงื่อนไขการเทรดขาลง

5. เปิดออร์เดอร์ Sell

เงื่อนไขการเทรดขาลง

6. ตั้ง Stop loss 30 Pips จากจุดเข้าเทรด

เงื่อนไขการเทรดขาลง

7. ตั้ง Take Profit  เมื่อเส้น EMA 4  และ EMA 15 ตัดขึ้น หรือตั้งเป้าที่ S3

ข้อดีและข้อเสียของระบบเทรด Gollila Method 

ข้อดีของระบบเทรด

ข้อดีของระบบเทรด
ภาพสรุปข้อดี 4 ข้อของระบบเทรด
  1. เป็นระบบเทรดที่ชนะตลาดที่เป็นเทรนด์
  2. เป็นระบบที่สามารถรันเทรนด์ได้ ทำให้ในบางเทรดสามารถทำกำไรได้ดี
  3. มีจุดเข้า-ออก ที่ชัดเจนสามารถนำไป Back Test ได้ง่าย
  4. เหมาะกับมือใหม่

ข้อเสียของระบบเทรด

ข้อเสียของระบบเทรด
ภาพสรุปข้อเสีย 5 ข้อของระบบเทรด
  1. แพ้ตลาด Side Way
  2.  ไม่เหมาะกับไทม์เฟรมเล็กเพราะมีความผันผวนสูง
  3. เป็นระบบเทรดที่ต้องเฝ้าจอเพื่อหาโอกาสในการเข้าเทรด
  4. ในการเทรดรายวัน (Scapling และ Day Trading) ราคาวิ่งไม่ถึง R3 และ S3
  5. ในการเทรดสั้นถือว่ามีความเสี่ยงในการวาง Stop loss ที่กว้างมากเกินไป

คำแนะนำการใช้ระบบเทรด

คำแนะนำการใช้งานระบบเทรด
ภาพคำแนะนำการใช้งานระบบเทรดเพื่อให้นักเทรดได้นำระบบไปพัฒนาต่อยอด
  1. ควรเทรดกับคู่เงินที่วิ่งเป็นเทรนด์
  2. สามารถลองปรับ Stop loss ให้เหมาะสมกับพฤติกรรมคู่เงินได้
  3. แบ่งปิดกำไรตามเป้า แนวรับและแนวต้านที่เกิดจากการคำนวณ Pivot Point ได้
  4. ปรับค่าอินดิเคเตอร์ให้เหมาะสมกับไทม์เฟรมที่เทรด

สรุป

ระบบเทรด Gorilla Method คือระบบที่ใช้ Pivot Point ในการดูแนวโน้มร่วมกับเส้น EMA 3 เส้น และใช้จังหวะการพักตัวของราคากับเส้น EMA ในการจับจุดเข้าเทรด ซึ่งระบบเทรดนี้ช่วยให้นักเทรดมีการเทรดอย่างเป็นระบบ ตัดสินใจการเทรดได้ง่ายและรวดเร็ว เหมือนกับการเคลื่อนที่ของลิงกอลิล่าที่เคลื่อนที่ไปตามกิ่งไม้

ซึ่งระบบนี้มีข้อดีก็คือเป็นระบบเทรดที่มีจุดเข้า-ออกที่ชัดเจน ช่วยให้นักเทรดสามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว สามารถนำระบบไปทดสอบย้อนหลังและปรับปรุงได้ง่าย ซึ่งก็เป็นระบบที่เรียบง่ายมากเลยครับสำหรับมือใหม่

แต่ระบบนี้ก็มีข้อเสียอยู่ก็คือแพ้ตลาดที่เป็น Sideway แพ้ตลาดที่มีความผันผวนสูง ในการเทรดสั้นนั้นการวาง Stop loss ยังไม่มีความสมเหตุสมผลมากนักครับ ซึ่งในส่วนนี้นักเทรดสามารถนำไปปรับปรุงให้เหมาะสมกับพฤติกรรมของคู่เงินได้

เพื่อที่จะทำให้ระบบนี้มีความสมบูรณ์มากขึ้นก็อย่าลืมนำไป Back Test และ Forward Test  ปรับค่าให้เหมาะสมกับไทม์เฟรมที่จะนำไปเทรด และระบบนี้จะเหมาะกับคู่เงินที่วิ่งเป็นเทรนด์อย่างสม่ำเสมอเช่น USD/JPY ครับ

แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติมอัพสกิลการเทรดเพื่อนำไปต่อยอดการเทรด

อ้างอิง

ทีมงาน: forexthai.in.th

แสดงข้อคิดเห็น ให้กำลังใจ

comments

สารบัญบทความ