Forexthai.in.th ย่อให้
- การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis) คือการใช้ข้อมูลเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม เพื่อคาดการณ์ทิศทางตลาด Forex
- ปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณา ได้แก่ สถานการณ์การเมือง อัตราดอกเบี้ย ภาวะเงินเฟ้อ GDP และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
- ช่วยให้เข้าใจตลาดในระยะยาว ลดความเสี่ยง และเพิ่มโอกาสทำกำไร แต่ก็จะมีข้อจำกัดในระยะสั้นบ้างเช่นกัน
- เทคนิคสำคัญคือการติดตามข่าวสาร ใช้ปฏิทินเศรษฐกิจ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างข่าวกับการเคลื่อนไหวของตลาด
- ควรใช้การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานร่วมกับการวิเคราะห์ทางเทคนิค เพื่อมุมมองที่ครอบคลุมและลดความเสี่ยงในการเทรด Forex
ในบทความนี้ ผมจะมาพูดถึงเรื่องที่สำคัญมากๆ สำหรับการเทรดให้ประสบความสำเร็จ นั่นก็คือ “การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน” หรือที่เรียกกันว่า Fundamental Analysis
คุณเคยสงสัยไหมว่าทำไมบางคนถึงเทรด Forex แล้วได้กำไรสม่ำเสมอ ในขณะที่บางคนกลับขาดทุนยับ? คำตอบส่วนหนึ่งอยู่ที่การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานนี่แหละครับ แล้วมันคืออะไร และเกี่ยวข้องกับการเทรด Forex อย่างไร บทความนี้มีคำตอบครับ
สารบัญบทความ click เพื่อเลือกอ่าน !!
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis ) คืออะไร?
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis) คือ การมองหาสมมติฐานหรือคาดการณ์ราคาโดยใช้ตัวแปรสำคัญทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ที่ส่งผลกระทบต่อค่าเงิน เช่น
- ดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจต่างๆ
- ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร (Non-Farm Payrolls หรือ NFP)
- แนวโน้มทางเทคโนโลยี
- ปัจจัยทางการเมือง
ทั้งหมดนี้เป็นพื้นฐานสำคัญในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการเทรด Forex อย่างมีประสิทธิภาพ
ด้วยเหตุนี้ การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis) และการติดตามข่าวสารอย่างต่อเนื่องจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้คุณเข้าใจและคาดการณ์ทิศทางตลาด Forex ได้อย่างแม่นยำ การรู้พื้นฐานเศรษฐกิจของสกุลเงินนั้นจึงสามารถใช้ทำนาย “การวิ่งของกราฟ Forex” ได้
ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศที่มีการบริหารทางเศรษฐกิจที่ดี จะดึงดูดนักลงทุนจำนวนมากเข้าสู่ประเทศ ส่งผลให้ค่าเงินของประเทศนั้นแข็งค่าขึ้น ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของกราฟในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตรา หากเรามีความรู้เรื่องพื้นฐานสกุลเงินจะทำให้เราคาดเดาในระยะยาวได้ว่าค่าเงินตัวนั้นจะเป็นอย่างไรต่อไปในอนาคต
แต่อย่างไรก็ตามตลาดค่าเงินย่อมมีความไม่แน่นอน ประเทศที่ค่าเงินแข็งมาตลอดก็มีช่วงขาลงของเศรษฐกิจเหมือนกัน เมื่อมีประเทศอื่นที่น่าลงทุนเข้ามา ค่าเงินจะถูกย้ายที่ไปที่ประเทศที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า ประเทศต้นทางนั้นก็จำเป็นต้องหามาตรการแก้ปัญหาเศรษฐกิจต่อไป
ทำไมต้องวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน?
ผมขอเปรียบเทียบว่ามันเป็นเหมือนกับการสร้างบ้านครับ ถ้าฐานรากแข็งแรง บ้านก็จะมั่นคง การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานก็เช่นกัน มันจะช่วยให้คุณ:
- เข้าใจทิศทางตลาดในระยะยาว ไม่ใช่แค่มองเห็นแค่กราฟราคาปัจจุบัน
- ช่วยลดความเสี่ยงจากการเปิดออเดอร์ผิดทิศทาง เพราะคุณรู้ว่าอะไรกำลังจะเกิดขึ้น
- เพิ่มโอกาสทำกำไรได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น
- สร้างความมั่นใจในการตัดสินใจเทรด เพราะคุณมีข้อมูลรอบด้าน
ดังนั้น Fundamental Analysis ในเรื่องของการพิจารณาและติดตามข่าวอย่างต่อเนื่องจึงค่อนข้างมีความจำเป็น เราไปดูกันว่า มีอะไรบ้างที่เราต้องคอยติดตาม
ปัจจัยสำคัญที่ควรพิจารณา
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน โดยมีปัจจัยดังต่อไปนี้ที่เราจะต้องนำมาประกอบกับการพิจารณา คือ
1.ปัจจัยทางการเมือง
ความไม่แน่นอนทางการเมืองสามารถส่งผลกระทบรุนแรงต่อค่าเงิน โดยเฉพาะหากในประเทศนั้นเกิดภาวการณ์จลาจล หรือว่าเกิดภาวะสงครามขึ้นมา สิ่งนี้ย่อมมีผลอย่างยิ่งต่อการเปลี่ยนแปลงค่าเงินไปในทิศทางที่ไม่ดี
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าประเทศไทยเกิดการประท้วงหรือรัฐประหาร สาเหตุมาจากการปฏิวัติ ยึดอำนาจจากนักการเมือง ส่งผลให้ภาพลักษณ์ของประเทศเป็นไปในทางที่ไม่น่าไว้วางใจ นักลงทุนต่างชาติอาจไม่กล้าเข้ามาลงทุน รวมไปถึงรายได้จากการท่องเที่ยวของชาวต่างชาติก็ลดลง เศรษฐกิจไทยในช่วงนั้นฝืดเคืองเป็นอย่างมาก ส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่าลงได้
ตัวอย่างอื่น ๆ:
- Brexit ส่งผลให้ค่าเงินปอนด์ร่วงลงอย่างหนัก
- สงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ทำให้ค่าเงินหยวนอ่อนค่าลง
2.ปัจจัยทางเศรษฐกิจ
ปัจจัยทางเศรษฐกิจมากมาย ที่มีผลโดยตรงต่อการขึ้นลงของค่าเงิน โดยเฉพาะการประกาศพวกดัชนีทางเศรษฐกิจต่างๆ ซึ่งคุณสามารถใช้เป็นเทคนิคในการกำหนดราคาและทิศทางการเข้าเทรดเลยก็ยังได้ ตัวอย่างตัวเลขที่มีผลต่อการขึ้นลงของค่าเงิน มีดังนี้
- อัตราดอกเบี้ย: ถูกกำหนดโดยธนาคารกลางของประเทศนั้น ๆ เพื่อควบคุมระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ ไม่ให้มีเงินเฟ้อมากจนเกินไป อัตราดอกเบี้ยสูงมักดึงดูดเงินทุนจากต่างประเทศ ทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
- ภาวะเงินเฟ้อ: เมื่อมีการหมุนเวียนเงินในระบบเศรษฐกิจที่ดี เงินสะพัดมากในประเทศชั่วคราว จะเป็นช่วงของเงินเฟ้อในปริมาณที่พอดี เป็นสัญญาณของเศรษฐกิจที่เติบโต แต่ถ้าธนาคารกลางปล่อยให้มีเงินเฟ้อมากจนเกินไป อาจทำให้ค่าเงินอ่อนตัวหรือเปลี่ยนจากเงินเฟ้อเข้าช่วงเงินฝืด
- GDP หรือ อัตราเปรียบเทียบการเติบโตของเศรษฐกิจภายในประเทศ: บ่งบอกถึงความเป็นอยู่ของประชาชนและการเติบโตทางเศรษฐกิจ GDP ที่เติบโตอย่างต่อเนื่องมักส่งผลดีต่อค่าเงิน GDP สามารถวัดได้จากตัวเลขต่อไปนี้
- การจับจ่ายใช้สอยทั่วไปของประชาชน
- การลงทุนต่างๆในภาคเอกชน อสังหารมทรัพย์ ต่างๆ
- การนำเข้า-ส่งออกสินค้าภาคครัวเรือน
3.ปัจจัยทางเทคโนโลยี
ปัจจัยที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องของเทคโนโลยี นวัตกรรมและการเติบโตในเรื่องของราคาต่างๆ ของสินค้าทางเทคโนโลยี รวมไปถึงการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ สามารถส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและค่าเงินได้อย่างมาก เช่น
- การพัฒนา AI หรือเทคโนโลยี 5G สามารถดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศได้
- การค้นพบแหล่งพลังงานใหม่อาจส่งผลต่อค่าเงินของประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน
เทคนิคการวิเคราะห์ ปัจจัยพื้นฐาน
- ติดตามข่าวสารอย่างสม่ำเสมอ: ใช้แอพพลิเคชันอ่านข่าวหรือติดตาม social media ของสำนักข่าวเศรษฐกิจชั้นนำ เช่น Bloomberg, Reuters, หรือ CNBC
- ศึกษาปฏิทินเศรษฐกิจ: รู้ล่วงหน้าว่าจะมีการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญเมื่อไหร่ เช่น การประกาศอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) เราสามารถใช้เว็บไซต์อย่าง ForexFactory ที่มีปฏิทินเศรษฐกิจที่ละเอียดและใช้งานง่าย บอกระดับผลกระทบเป็นสีแดง เหลือง เขียว
- วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างข่าวและการเคลื่อนไหวของตลาด: สังเกตว่าข่าวแต่ละประเภทส่งผลต่อค่าเงินอย่างไร บันทึกไว้เพื่อใช้อ้างอิงในอนาคต เราจะได้รู้ว่าควรเทรดทิศไหน เช่น ข่าวเงินเฟ้อสูงมักทำให้ค่าเงินอ่อนค่า
- ใช้เครื่องมือวิเคราะห์: ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์และแพลตฟอร์มมากมายที่ช่วยรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยพื้นฐานให้คุณ เช่น MT4/MT5 หรือ TradingView แพลตฟอร์มพวกนี้นอกจากเราจะเอาไว้เพื่อใช้เข้าเทรด เรายังสามารถใช้ฟีเจอร์วิเคราะห์ข่าวเพื่อให้การเทรดของเรามีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ด้วย
ข้อดีของการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน
- ทำนายทิศทางตลาดได้แม่นยำในระยะยาว
- ลดความเสี่ยงจากการเปิดออเดอร์ผิดทิศทาง เพราะคุณเข้าใจปัจจัยที่ขับเคลื่อนตลาด
- เข้าใจภาพรวมของตลาดและเศรษฐกิจโลก ทำให้ตัดสินใจได้ดีขึ้น
- ช่วยในการวางแผนการลงทุนระยะยาว สร้างความได้เปรียบในการเทรด
ข้อจำกัดของการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน
- อาจมีความคลาดเคลื่อนในระยะสั้น เพราะตลาดไม่ได้ใจดี หรือมีความแน่นอน 100%
- ต้องใช้เวลาในการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมาก ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเลยครับ
- บางครั้งตลาดอาจไม่ตอบสนองต่อปัจจัยพื้นฐานตามที่คาดการณ์ เพราะมีปัจจัยอื่นๆ เข้ามาแทรกแซงได้เหมือนกัน
ดังนั้น หากคุณต้องใช้การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานแล้ว ขั้นต่อไปก็ควรใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคร่วมด้วย การใช้ทั้งสองวิธีร่วมกันจะช่วยให้คุณมีมุมมองที่ครอบคลุมมากขึ้น ลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาวิธีใดวิธีหนึ่งมากเกินไป มีประโยชน์ต่อการทำนายทิศทางของกราฟซึ่งส่งผลต่อแนวทางในการเทรดของคุณให้มีความเป็นมืออาชีพมากขึ้นด้วยนั่นเอง
สรุป
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน คือสิ่งสำคัญที่ทุกคนควรมีติดตัว มันช่วยให้คุณเข้าใจภาพรวมของตลาดและทำนายทิศทางได้แม่นยำในระยะยาว การวิเคราะห์จะแบ่งเป็นสองส่วนหลัก ๆ คือ การติดตามข่าวเศรษฐกิจและการอ่านกราฟแท่งเทียน ซึ่งมันเป็นข้อดีมาก ๆ หากเทรดเดอร์ชำนาญในการวิเคราะห์ปัจจัยทั้งคู่ได้ เนื่องจากจะได้เปรียบมากในการเทรดทำกำไรนั่นเอง
โดยการวิเคราะห์ดังกล่าวก็จะแบ่งออกมาเป็นการวิเคราะห์ข่าวเศรษฐกิจ และการวิเคราะห์กราฟแท่งเทียน ซึ่งมันเป็นข้อดีมาก ๆ หากเทรดเดอร์ชำนาญในการวิเคราะห์ปัจจัยทั้งคู่ได้ เนื่องจากจะได้เปรียบมากในการเทรดทำกำไร คุณจะมีมุมมองที่ครอบคลุมและลดความเสี่ยงได้มากขึ้นนั่นเอง
ทีมงาน: forexthai.in.th