ก่อนที่เราจะทำความรู้จักกับ Fractal Adaptive Moving Average (FRAMA) นั้น เราจะขอเกริ่นรากเหง้าของ indicator ตัวนี้ก่อนครับ ซึ่งมันก็คือ Moving Average (MA) นั่นเองล่ะ… MA คือ indicator ที่ใช้ค่าเฉลี่ยการเคลื่อนที่ของราคาในการวิเคราะห์ โดยสามารถใช้ราคาเปิด-ปิด หรือ ราคาสูง-ต่ำ ของกราฟแท่งเทียนย้อนหลังตามระยะเวลาที่เรากำหนด ทำให้เส้นที่ออกมาสามารถคาดการณ์แนวโน้มที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคตครับ

ความเป็นมาของ FRAMA

เทรดเดอร์หลายท่านอาจจะยังไม่ค่อยรู้จักกับ indy ตัวนี้เท่าไหร่นัก แต่แท้จริงแล้ว FRAMA ได้ถูกพัฒนามาจาก MA ได้ระยะใหญ่ ๆ แล้ว โดยผู้พัฒนาชื่อว่าคุณ John Ehlers ครับ ซึ่งเขาได้กล่าวว่า การพัฒนา indy ตัวนี้มีสามารถมองเห็นความเปลี่ยนแปลงของราคาได้อย่างแม่นยำขึ้น และการเคลื่อนไหวของราคาเข้าใกล้ความจริงมากขึ้น ส่งผลให้เราสามารถรู้แนวโน้มของตลาดได้แม้จะอยู่ในช่วงที่ราคายังคงทรงตัวอยู่โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ.. สิ่งที่ทำให้ FRAMA มีประสิทธิภาพเช่นนี้ คือ การใช้มิติแฟร็กทัลของราคาตลาด (Fractal dimension of market prices) เข้ามาใช้เพื่อปรับ Period ให้ Smoothing ขึ้นแบบ Dynamic นั่นเองครับ

John f. Ehlers คือ ผู้พัฒนา FRAMA indicator ที่เรากำลังศึกษากันอยู่นี้ ซึ่งเขาได้เขียนหนังสือขึ้นมาหลายเล่ม โดยเทรดเดอร์ที่สนใจสามารถหาซื้อมาอ่านได้จาก Amazon ครับ

นอกจากนี้ เจ้าอินดี้ตัวนี้ยังได้หยิบยกข้อดีของ Fractal ในตลาดจริงมาใช้และพยายามปรับ Period แบบ Dynamic ตามสัดส่วนย่อย ๆ ของ fraction geometry ดังนั้น FRAMA จึงมีการคำนวณที่ซับซ้อนพอสมควรครับ ส่วนมาก FRAMA มักจะถูกใช้ควบคู่กับ Indicator ตัวอื่น ๆ เพื่อวิเคราะห์จุดเข้า Order ที่ดี

 

“Fractal คือ รูปทรงเรขาคณิตที่สามารถแบ่งออกมาเป็นส่วนเล็ก ๆ ได้มากมาย โดยชิ้นส่วนเล็ก ๆ เหล่านี้เป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ของภาพรวมทั้งหมด”

 

ผู้พัฒนาได้กล่าวต่อไปว่า FRAMA นี้เขาได้สร้างมาจาก Algorithm ของ Exponential moving average (EMA) โดยมี Smoothing factor ในการคำนวณตาม fractal dimension ของราคาปัจจุบันอีกด้วย ซึ่งจากที่เราได้สาธยายมานั้น อาจจะบอกได้เลยครับว่า ข้อดีหลัก ๆ ของ FRAMA คือความสามารถในการบอกเทรนที่แข็งแรงได้อย่างแน่นอน

 

สูตรการคำนวณอย่างง่าย

ในบทความนี้เราจะบอกสูตรอย่างง่ายนะครับ เนื่องจากสูตรที่ผู้พัฒนาใช้นั้นมีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก จึงอาจจะไม่เพียงพอในการอธิบายให้เข้าใจภายใน 1 บทความครับ โดยสูตรการคำนวณ FRAMA อย่างง่ายมีดังนี้ครับ

FRAMA = N – Period Fractal Low/High Average

เมื่อ:

N = จำนวนของ periods ที่เราจะใช้ เช่น หากเราต้องการใช้ period 20 เพื่อคำนวณหา period FRAMA ย้อนหลัง 20 แท่งเทียนเราก็ใส่เลข 20 ลงไป

เริ่มการคำนวณ

  • ขั้นตอนแรกของการคำนวณ FRAMA คือ ให้เราระบุ fractal ณ จุด low และ จุด high ของชุดข้อมูลใน period ที่เราใช้
  • Fractal Low จะปรากฎเมื่อ ราคาถึงจุดที่ทำ New Low และตามมาด้วย Low ที่สูงขึ้นสองจุดทั้งสองด้าน
  • Fractal High จะปรากฎเมื่อ ราคาถึงจุดที่ทำ New High และตามมาด้วย High ที่ต่ำลงสองจุดทั้งสองด้าน
  • จากนั้น FRAMA จะถูกคำนวณโดยใช้ค่าเฉลี่ยของจุดต่ำสุดและสูงของแฟร็กทัล

 

การตั้งค่าการใช้งาน

การตั้งค่า หรือ การ Set-up ของ FRAMA indicator ที่เราจะแจกนั้นจะสามารถตั้งค่าพารามิเตอร์ได้ 2 ตัวดังนี้

  1. Period FRAAM คือ การตั้งค่า Period เช่น 5, 10, 15, 20 เป็นต้น
  2. Price Type คือ การนำราคา ณ ตำแหน่งต่าง ๆ ของแท่งเทียนมาคำนวณ โดยให้ใส่ตัวเลข 0 – 6 ซึ่งรายละเอียดมีดังนี้ครับ

หมายเลข

คำอธิบาย

0

Close price (ราคาปิด)

1

Open price (ราคาเปิด)

2

High price (ราคาสูงสุด)

3

Low price (ราคาต่ำสุด)

4

Median price, (high + low)/2

5

Typical price, (high + low + close)/3

6

Average price, (high + low + close + close)/4
การตั้งค่า หรือ Setting FRAMA indicators

วิธีการใช้งาน

เรามาดูวิธีการใช้งานฟาร์ม่าเพื่อหาจุดเข้า Order กันดีกว่าครับ ซึ่งจริง ๆ แล้ววิธีเข้า Order ด้วยฟาร์ม่ามีหลากหลายวิธี แต่ที่เราจะแนะนำนั้นเป็นเพียงวิธีหนึ่งที่สามารถทำได้เท่านั้นครับ โดยครั้งนี้เราจะ Setup indicator ให้เป็นแบบนี้ครับ

  • Period_FRAMA = 10
  • Price_Type = 0

การเข้า Buy

  1. หาแนวต้านที่สำคัญก่อน
  2. รอจังหวะที่ราคาทำลายโครงสร้าง (Break out)
  3. เกิด Bullish candlestick pattern และวิเคราะห์เส้น FRAMA ว่าเป็นจังหวะย่อตัวขาขึ้น (Throwback; TB)
  4. ตั้ง TP:SL ในอัตราส่วน R:R = 3.5:1 หรือ 2:1 ขึ้นอยู่กับโครงสร้างราคา ณ ตอนนั้น
ตัวอย่างการหาจุดเข้าเทรนขาขึ้น

การเข้า Sell

  1. หาแนวรับที่สำคัญก่อน
  2. รอจังหวะที่ราคาทำลายโครงสร้าง (Break out)
  3. เกิด Bearish candlestick pattern และวิเคราะห์เส้น FRAMA ว่าเป็นจังหวะย่อตัวขาลง (Pullback; PB)
  4. ตั้ง TP:SL ในอัตราส่วน R:R = 3.5:1 หรือ 2:1 ขึ้นอยู่กับโครงสร้างราคา ณ ตอนนั้น
ตัวอย่างการหาจุดเข้าเทรนขาลง

 

การใช้ FRAMA คู่กับ Indicator ตัวอื่น

การใช้ FRAMA indicator เรามักนิยมใช้ในการเทรนช่วงที่ตลาดเป็นเทรน ซึ่ง Setup การเทรดที่เราได้แนะนำไปจะเห็นได้ว่าเป็นการหาจุดกลับตัวก่อนแล้วจึงใช้ฟาร์ม่ายืนยัน Signal อีกทีนึง ดังนั้นการใช้ Indicator อื่น ๆ ร่วมกับฟาร์ม่านั้นเราควรจะใช้ Indicator ประเภท Oscillators ที่สามารถบอกสภาวะการ Overbought หรือ Oversold ได้ ซึ่งตัวนี้แหละจะใช้เพื่อหาจุดกลับตัวของเทรนได้แทนการมองโครงสร้างของกราฟ

อย่างไรก็ตามการอ่านโครงสร้างกราฟอ่านมักเป็นเรื่องที่ดีและได้เปรียบเสมอ เพราะเราจะสามารถมีสิ่งที่ยืนยัน Signal ได้หลายชั้นเลยครับ ใน่ส่วนของ Indicator ที่แนะนำให้ใช้คู่กับฟาร์ม่าได้แก่

  • Moving Average Convergence Divergence (MACD)
  • Relative Strength Index (RSI)
  • Bollinger Bands (BB)
  • Parabolic SAR

 

สรุป

FRAMA คือ indicator ที่ถูกพัฒนามาจากพื้นฐานของ indicator สำคัญอย่าง MA ครับ ซึ่งข้อดีของ FRAMA คือ มีความแม่นยำมากกว่า MA แบบเดิม, มีความ Lag น้อยกว่า MA แบบเดิม, และสามารถใช้คู่กับการวิเคราะห์โครงสร้างกราฟได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม FRAMA ก็ยังคงเป็น Lagging indicator อยู่ซึ่งมันหมายความว่าไม่เหมาะกับการใช้วิเคราะห์เล่นในเทรนสั้น ๆ เราจึงนิยมเล่นใน Time Frame ใหญ่ ๆ และกิน TP ยาว ๆ หน่อย

จุดอ่อนของ FRAMA คือหากเทรดเดอร์มองจุดกลับตัวไม่ขาดและอ่านเทรนไม่ออกอาจจะทำให้เข้า order ในช่วงที่ตลาดกำลังเป็น Sideway วึ่งหากเลือกข้างผิดสามารถเทรนผิดทางได้เลยทีเดียวล่ะครับ

Free Download: คลิ๊กเพื่อโหลดฟรีจ้า

 

ทีมงาน Forexthai.in.th

แสดงข้อคิดเห็น ให้กำลังใจ

comments