อินดิเคเตอร์ Moving Average หรือ MA เป็นอินดิเคเตอร์อีกตัวที่นิยมใช้กันเพราะการใช้งานง่ายและกำหนดลงไปที่ชาร์ตได้เลย ไม่เหมือนอินดิเตอร์อื่นๆ เช่น RSI, MACD, หรือ Stochastic Oscillator เมื่อใส่เช้าไปก็จะมีการแสดงผลอีกส่วนด่านล่างไม่ใช่ที่ชาร์ตราคา นอกจากนั้นการเทรดด้วยการใช้ MA ยังถือว่าง่ายด้วยการดูกับราคา เมื่อราคาเหนือกว่าถือว่าเป็นเทรนขึ้น หรือเมื่อราคาต่ำกว่าเส้น MA ถือว่าเป็นเทรนลง ก็ให้เทรดสัมพันธ์กับเส้น
สารบัญบทความ click เพื่อเลือกอ่าน !!
Moving Average ทำงานและนำเสนออย่างไร
หลักการของการทำงาน MA คือ ค่าเฉลี่ยที่ได้จากข้อมูลย้อนหลังที่กำหนดในการประมวลผลหรือ MA Period เช่นเมื่อกำหนดเป็น 50 โปรแกรม MA ก็จะคำนวณย้อนหลังจากปัจจุบัน 50 ช่วงเวลา (เช่นชาร์ตบนเป็น H1 ก็เป็น 50 แท่งเทียนในการคำนวนเทียบแท่งเทียนย้อนหลัง)
เพื่อหาค่าเฉลี่ยตอนนี้อยู่ที่เท่าไร ตัวแปรหลักที่จะกำหนด มี Period, MA Method (ที่นิยมกัน Simple กัย Exponential บางเทรดเดอร์นิยมใช้ Exponential เพราะโต้ตอบเร็วกว่า Simple)
และ Apply to ก็จะนิยมที่ราคาปิดหรือ Close จะเห็นว่าเมื่อมองจากค่า settings แล้วง่ายต่อการใช้งาน ต่างที่กำหนดวิธีการคำนวณค่าเฉลี่ย แต่หลักการเดียวกันหมดเช่น Simple Moving Average, Exponential Moving Average เป็นต้น ตัวที่ทำให้การแสดงผลต่างกันออกเป็นไปเรื่องของ Period ที่กำหนดเข้าไปว่าจะประมวลผลข้อมูลย้อนหลังมากน้อยแค่ไหน
บทความแนะนำสำหรับผู้เริ่มเทรด Forex
ถ้าจำนวนน้อยเช่น Period 20 เส้น MA ที่ได้ก็จะเปลี่ยนแปลงเร็วกว่าเส้น MA 50 หรือ MA 200 เป็นต้น ยิ่งตัวเลข Period น้อย ยิ่งเปลี่ยนแปลงเร็ว เลยมีการนำเส้น MA หลายๆ เส้นมาประกอบการเทรด เช่น MA 20 30 และ 30 หรือบางเทรดเดอร์นิยม MA 50 กับ MA 200 หลักการทำงานไม่ต่างกัน อยู่ที่ว่าเทรดเดอร์ประยุกต์ใช้งานอย่างไร หรือใช้กับอินดิเคเตอร์อย่างไร ในการใช้ MA เป็นตัวกำหนดเทรน
วิธีการกำหนดเทรนและเทรด Moving Average
วิธีการใช้คือมองเส้น MA กับราคาปัจจุบันเพราะ MA คือการหาค่าเฉลี่ยย้อนหลังที่กำหนด ก็จะมองเส้น MA เช่นตัวอย่างเส้น MA 50 และ 200 เทียบกับราคาปัจจุบัน
เมื่อมองย้อนหลังไปเพื่อเข้าใจว่าเส้น MA ทำงานอย่างไร MA เป็นอินดิเคเตอร์ช่วยในการกำหนดเทรน เช่นที่ MA 50 ราคาที่อยู่ใต้เส้น MA ถือว่าเทรนลง และเหนือกว่าถือว่าเทรนขึ้น เมื่อมองจากมุมนี้ และความสัมพันธ์ราคาปัจจุบันโอกาสการเทรด 1. ตอนที่ราคากับเส้น MA ตัดกันถือว่าเป็นการเปลี่ยนเทรน 2.
เมื่อเปลี่ยนเทรน ถือว่าเริ่มเทรน ก็จะเป็นโอกาสเทรดตามเทรน และ 3. พอราคาไปมากห่างจากเส้น MA โอกาสเทรดกลับมาหาเส้น MA ก็เปิดขึ้น หรือพูดง่ายๆ การเทรดเส้น MA มี 2 แบบ คือเทรดตอนที่ราคาออกจากเส้น และเทรดตอนที่ราคากลับมาหาเส้น แต่ต้องไม่ลืมว่าอินดิเคเตอร์ทำงานอย่างไร เป็นการใช้ price data ที่เกิดขึ้นแล้ว แต่การเทรดเป็นการเทรดที่ราคาปัจจุบัน
และ ราคาเคลื่อนไหวไปข้างหน้า ไม่ได้ถอยหลังเหมือนดั่งการมองอินดิเคเตอร์ย้อนหลัง การเทรดเป็นเรื่องความเป็นไปได้ ต้องดูว่า price data ที่เกิดขึ้นใหม่ ยังเป็นไปทางที่ trade setup อยู่หรือเปล่า การใช้หลายๆ เส้น และหลาย timeframes ของ MA ประกอบกันจะช่วยให้เห็นการพัฒนายืนยันการเคลื่อนราคาว่าเป็นอย่างไร มีความเป็นไปได้อยู่หรือเปล่า
Review Broker Forex
วิเคราะห์ วิจารย์ ข้อดี-ข้อเสีย ข้อมูลจากการเทรดด้วยบัญชีจริง โดยทีมงานหลายคน ...
วิธีการใช้ Moving Average
อย่างแรกที่นิยมใช้กัน จะเห็นเรื่องของเทรน ดูเทรนหรือกรองเทรนว่าเป็นอย่างไร ต่อเนื่องหรือเปล่า ดูเทียบกับราคาปัจจุบัน เช่นภาพด้านบนใช้ EMA 9 และ EMA 21 ช่วยในการกำหนดเทรน จะเห็นว่าเมื่อราคาอยู่เหนือกว่าเส้น MA เทรดเดอร์ควรจะหาโอกาสเปิด buy เป็นหลักเพราะเทรนขาขึ้น ให้ดูลักษณะ slope ของเส้นช่วยได้ว่าเป็นอย่างไร ถ้าสูงมากก็บอกว่าเทรนแรง
การเปิดเทรดเป็นการเทรดย่อตัว เช่นเปิดเทรดใน timeframe ย่อยใช้ MA เดียวกัน เทรดแบบเดียวกันกับอินดิเคเตอร์อื่นๆ คือใช้หลาย timeframe ถ้าราคาอยู่ในกรอบ หรือถ้ามองเส้น MA เรื่องของ slope หรือความชันของเส้นจะมีน้อย ก็ให้ห่างจากตลาด เพราะ MA เมื่อท่านมองจากชาร์ตย้อหลัง จะเห็นว่าโอกาสเทรด ที่เกิดขึ้นและความเป็นไปได้สูงเมื่อตอนตลาดทำเทรน
เรื่องของเทรนอีกเรื่องที่นิยมกันในการใช้เส้น Moving Average คือการตัดกันระหว่างเส้น เช่นที่นิยม Golden Cross หรือ Death Cross ก็จะใช้ 2 เส้น MA คือ MA 50 และ MA 200 และจะใช้กับชาร์ตที่เป็น D1 เป็นหลัก หลักการก็จะดูเมื่อเส้น 50 ดันเส้น 200 ที่ไหน ก็ถือว่าเป็นเรื่องของเทรนที่เปลี่ยน ก็จะหาโอกาสเทรดตามที่เส้นตัดกัน เช่นถ้าเส้น 50 ตัดเส้น 200 ขึ้น ก็จะหาโอกาสเปิดเทรด Buy หรือถ้าเส้น 50 ตัดเส้น 200 ลงมา ก็จะหาโอกาสเปิด Sell
เรื่องของเทรน ยังถือว่าใช้ MA เป็นแนวรับหรือแนวต้านได้ ให้ดูเปรียบเทียบกับราคาปัจจุบันประกอบกันไป ว่าราคาอยู่หนือหรืออยู่ต่ำกว่เส้น MA เป็นช่วงๆ ไป และเมื่อราคาอยู่ในกรอบต้องระวัง เพราะเส้น MA จะทำงานดีเมื่อเกิด trending เป็นสำคัญ แต่ถ้าราคาอยู่ในกรอบหรือ range อย่าหา trade setup ด้วยการใช้เส้น MA
ใช้ Moving Average หลายๆ เส้น และหลาย timeframes
วิธีการใช้ อินดิเคเตอร์ให้ได้ผลดีอย่าใช้ timeframe เดียว ให้มี timeframe สำหรับ trade setup และสำหรับ entry/exit เพราะอินดิเคเตอร์ใน timeframe ย่อยก็จะเปลี่ยนแปลงเร็วกว่า timeframe ใหญ่ เมื่อท่านดูเป็นท่านจะเห็นว่า เส้น MA ใน timeframe ย่อยยืนยัน price ว่าเป็นไปทางเทรนที่ท่านกำหนด trade setup หรือเปล่า
โดยให้ดูเส้น MA ที่ประกอบ trade setup ว่า setup ที่เกิดขึ้นเป็นการเทรดราคาวิ่งออกจากเส้น MA หรือเทรดราคาวิ่งเข้าหาเส้น MA ดังนั้นก็เทรดใช้เส้น MA หลายเส้น
นอกจากมองเรื่องราคาตัดเส้น MA แลัว ยังสามารมองที่เส้น MA ตัดกันอีกด้วย เส้น MA ที่กำหนด Perioid น้อยก็จะเปลี่ยนแปลงเร็วสุด ก็จะเป็นเส้นแรกที่จะตัดเส้น MA อื่นๆ การตัดกันระหว่างเส้น MA เป็นเรื่องปกติที่ต้องเกิดขึ้นเมื่อใช้หลายเส้น
อย่างแรกที่เห็นคือ การตัดกันระหว่างราคากับเส้น MA ก็จะมาก่อน เพราะเป็นเรื่องปกติการทำงาน เส้น MA ประมวลผลข้อมูลย้อนหลังที่กำหนด มาเทียบกับราคาที่แท่งเทียนนั้นๆ ดังนั้นวิธีการคือใช้หลักการเดียวกันแต่ประยุกต์ใน timeframe ย่อยลงไป ก็จะเห็นการเปลี่ยนแปลงราคากับเส้น MA เกิดขึ้นอย่างไร ดังนั้นโอกาสการเทรดตามเทรนที่เกิดขึ้นก็จะเห็นชัดเมื่อเปิดชาร์ต timeframe ลงมา เช่นอย่างชาร์ตด้านบน H1 ที่เส้นแนวตั้งแรก
ราคาตัดเส้น MA ลงมา ก็จะเปิดโอกาสให้ท่านเทรดเทรนเปลี่ยนและเห็นการเทรดตอนที่ราคาวิ่งออกจากเส้น MA แต่เมื่อท่านมองที่ M15 จะเห็นว่ายังมีการตัดกันระหว่างเส้น MA ด้วย ก็จะเป็นการยืนยันเทรนที่เกิดขึ้น ต้องให้ดูว่า trade setup กำหนดที่ timeframe ไหนและใช้ timefrmae ย่อยให้สัมพันธ์
order flow กับการใช้ Moving Average
เนื่องจากการใช้เส้น MA เป็นการประมวลผลข้อมูลย้อนหลังตามช่วงเวลาที่กำหนดแต่ละ timeframe เทียบกับแท่งเทียนปัจจุบัน เมื่อมองจากเส้น MA ที่ slope ขึ้นอย่างมาก บอกความแรงของเทรนจะเห็นว่า MA เกิดขึ้นเพราะราคานำหน้าก่อน
เมื่อเข้าใจว่าตลาดทำงานอย่างไร อะไรที่ทำให้ราคาขึ้นหรือลง ก็จะทำให้เทรด MA ได้ดี ราคาขึ้นหรือลงเพราะมีแต่เทรดเดอร์เทรดทางนั้นมากกว่าอีกทาง หรือบอกว่า market orders ทางที่ราคาวิ่งไปเกิน order ฝั่งตรงข้าม
เมื่อแต่ละวัน volatility เปลี่ยนไป มุมมองเรื่องออเดอร์ไม่แปลกที่ราคาจะทำเทรนหรือเบรคทำให้เกิดราคาตัดเส้น MA แต่ต้องรู้ที่มาด้วยว่า market orders มาจากไหนบ้าง เพราะการเปิดเทรดเป็นทางแรกที่ทำให้เกิด market orders จากเทรดเดอร์ที่รอเข้าเทรด
ยังมีเทรดเดอร์อีกลุ่มที่ถือ positions อยู่ในตลาด การออกจากตลาดไม่ว่าจะเป็นการปิดเอง หรือการ stop loss หรือการ take profit เมื่อการกระทำพวกนี้เกิดขึ้นที่ position ที่ถืออยู่ในตลาด เท่ากับการเปิด market order ตรงข้ามกับ position ที่เปิดอยู่ในตลาด
แต่ถ้าเป็นเทรดเดอร์ที่ถือ positions ติดลบด้วย ความเดือดร้อนก็จะต่างกันออกไปอีก ยิ่งถ้าเห็นว่า price structure เปลี่ยนไปก็จะหันมาออกเป็นหลักอีก เช่นในกรอบสีเขียว กลุ่มเทรดเดอร์ที่เปิด sell ตอนราคาอยู่ในกรอบ หรือถือ short positions พอราคาเบรคกรอบขึ้น ติดลบ กลายเป็น trapped traders ก็จะหันมาออก
หรือกำหนดไว้ก่อนด้วย stop loss ด้านบน และลักษณะแบบเดียวกันยังดึงดูด breakout traders มากำหนดที่พื้นที่เดียวกันด้วย ดังนั้นเมื่อเข้าใจเรื่อง order flow มองที่ชาร์ตที่เลข 1 ก็จะเห็นว่าราคาได้ตัด MA 20 ตามด้วย 30 และ 50 ก็จะทำให้ราคาขึ้นเป็นหลัก และ MA ยังเป็นการยืนยัน price structure ที่เกิดขึ้นด้วย
Impulsive move กับการใช้เส้น Moving Average
นอกจากเรื่อง order flow แล้ว การรู้ว่าขาใหญ่เข้าเทรดตรงไหนสำคัญมาก impulsive move บอกว่าขาใหญ่เข้าเทรดตรงไหน ก็มักจะตามมาด้วน MA ทางนั้นๆ หมด เมื่อท่านเห็นตรงนี้ก็จะเทรด MA ด้วยความมั่นใจขึ้น ดูที่เลข 1 และ 2 จะเห็นว่า Impulsive move เพราะราคาเอาชนะพื้นที่ตรงข้ามได้ด้วย momentum เมื่อเห็นแบบนี้ โอกาสที่จะเทรดตามเทรน เมื่อเห็นเส้น MA เกิดก็จะตามหมด
จะเห็นว่าการใช้ MA ช่วยในการเทรดก็จะดูง่าย แต่การที่จะเปิดเทรดต้องการมากกว่านั้น เพราะ MA เป็นข้อมูลล่าช้าหรือ Lagging information จึงแนะนำให้ใช้หลาย timeframe ประกอบ
และยิ่งเข้าใจเรื่องตลาดทำงานอย่างไร เช่นเรื่อง Order flow และ impulsive move มีผลต่อเส้น MA อย่างไร และสามารถช่วยให้ท่านเทรดตามเส้น MA ได้ง่าย หรือแม้กระทั่งเทรนก่อนเส้น MA แล้วเมื่อเส้น MA เกิดขึ้นมา ท่านก็สามารถปล่อยให้กำไรวิ่งยาวได้เพราะ Moving Average ยืนยันสิ่งที่เกิดขึ้นให้
ทีมงาน: forexthai.in.th