Forexthai.in.th ย่อให้
- การกำหนด SL และ TP เป็นส่วนสำคัญในการเทรด Forex ช่วยจำกัดความเสี่ยงและทำกำไร
- วิธีกำหนด SL และ TP ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์การเทรด เช่น scalping, day trading, swing trading หรือ position trading
- ต้องพิจารณา price structure, trade setup และ timeframe ที่เหมาะสม หรือใช้เครื่องมือช่วย เช่น Fibonacci
- สุดท้าย ต้องเข้าใจว่าตลาดมีการเปลี่ยนแปลง ต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ เพราะการเทรดเป็นเรื่องของความเป็นไปได้
เมื่อเปิดเทรด Forex สิ่งที่ต้องทำตามมาคือการกำหนด Stop Loss หรือ SL เพื่อจำกัดความเสี่ยง เพราะเรื่องการเทรดเป็นเรื่องของความเป็นไปได้ เปิดเทรดเมื่อเห็นว่าความเป็นไปได้ทางที่เปิดเทรดมากกว่าอีกข้าง “ยิ่งมาก ยิ่งมีความเป็นไปได้สูงขึ้น”
ขณะเดียวกัน ถ้าราคาวิ่งไปในทิศทางที่เปิดเทรด การดูว่าจะปิดกำไร Take Profit หรือ TP ตรงไหนก็สำคัญพอๆ กับการรู้ว่าจะจำกัดความเสี่ยงตรงไหน
สารบัญบทความ click เพื่อเลือกอ่าน !!
SL และ TP เป็นเรื่องของ Risk:Reward
เมื่อเปิดออเดอร์ในตลาด Forex ก็จะตามด้วยสิ่งที่ต้องทำควบคู่กัน คือการกำหนดจุดจำกัดความเสี่ยง Stop Loss (SL) และกำหนดจุดกำไรหรือ Take Profit (TP) การตั้ง SL ช่วยจำกัดความเสี่ยง ในขณะที่ TP ช่วยล็อกกำไรเมื่อราคาเป็นไปตามที่คาดการณ์
ตัวอย่างเช่นภาพด้านบน
- ในการเปิดออเดอร์ Sell เราอาจกำหนด SL ไว้ที่ เลข 1 จุดสูงสุดของแท่งเทียนก่อนหน้า หากราคาพุ่งขึ้นถึงจุดนี้ ออเดอร์จะถูกปิด เพื่อป้องกันการขาดทุนที่มากเกินไป
- ในทางกลับกัน เมื่อราคาวิ่งไปในทิศทางที่เราคาดไว้ (จุดวงกลมสีแดง) เราสามารถลาก SL ให้มาอยู่ที่จุด Break-even ตรง เลข 2 หรือเรียกอีกอย่างว่า “การกันหน้าทุน” ต่างจากแบบแรกคือ วิธีนี้ช่วยป้องกันไม่ให้ออเดอร์ที่กำลังมีกำไรกลับมาขาดทุนได้
ส่วนเรื่องของการทำกำไร หรือการกำหนด TP จริง ๆ มันไม่ได้กระทบต่อพอร์ตโดยตรง จะปรับเปลี่ยนหรือไม่ก็ได้ การกำหนด SL และ TP เป็นเรื่องของ Risk:Reward ของแต่ละออเดอร์ และต้องดูควบคู่กับระยะการถือ position ประกอบกัน
หลักการพื้นฐานในการเทรด Forex คือต้องมีการกำหนด SL และ TP เสมอ เพื่อจำกัดความเสี่ยงเพราะการเทรดเป็นเรื่องความเป็นไปได้ แม้ว่าเราจะมั่นใจใน trade setup มากแค่ไหนก็ตาม แต่ตลาดการเงินมีความไม่แน่นอนสูง อะไรก็เกิดขึ้นได้
สุดท้าย เราต้องยอมรับว่าความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของการเทรดที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องรู้ทันอารมณ์ เข้าใจจุดที่ควรกำหนด SL และ TP และ รวมถึงเลือกใช้กลยุทธ์การเทรดที่เข้ากับเรามากที่สุด
ข้อดีและข้อเสียของการกำหนด SL และ TP
เมื่อมองโดยทั่วไปคุณอาจจะคิดว่า การที่กำหนด SL น่าจะมีแต่ข้อดี ที่เห็นได้ชัดคือ
- ช่วยจำกัดความเสี่ยงไม่ให้เกินกว่าที่ต้องการจะเสี่ยง
- ช่วยปกป้องกำไรที่มีอยู่แล้ว
- ทำให้การเทรดเป็นระบบมากขึ้น
แต่เมื่อมองลึกลงไปถึงกลไกการทำงานของออเดอร์และพฤติกรรมของขาใหญ่ เราจะพบว่ามันมี “ข้อเสีย” เช่นกัน เมื่อเราตั้ง SL ในออเดอร์ เท่ากับเรากำลังส่งคำสั่งในทิศทางตรงข้ามเข้าสู่ตลาด ซึ่งจะทำงานก็ต่อเมื่อราคาตลาดไปถึงจุดที่เรากำหนด
ตัวอย่างเช่นภาพด้านบน ถ้าเราเปิด Buy order และตั้ง SL ไว้ ระบบจะแปลงเป็น Sell order โดยอัตโนมัติเมื่อราคาลงไปถึงจุดนั้น ลองนึกภาพว่า มีเทรดเดอร์จำนวนมากเปิด Buy order ที่บริเวณ Demand zone และตั้ง SL ไว้ที่จุดต่ำสุดของโซนนั้น เมื่อราคากลับมาทดสอบโซนนี้อีกครั้งและขึ้นไปอย่างรวดเร็ว แสดงว่ายังมีความสนใจจากนักลงทุน โดยเฉพาะขาใหญ่ที่สามารถสร้าง Impulsive move ได้
บทความแนะนำสำหรับผู้เริ่มเทรด Forex
ขาใหญ่มักรู้ว่าจุดไหนมี SL orders สะสมอยู่มาก พวกเขาอาจใช้กลยุทธ์ ดังนี้ครับ
- วาง Buy limit orders ไว้ใต้จุดที่มี SL สะสมเล็กน้อย
- กดราคาให้ลงไปแตะ SL ของเทรดเดอร์รายย่อย
- ทำให้เกิดการ sell market orders
เมื่อ Sell orders เหล่านี้ถูก match กับ Buy limit orders ที่ขาใหญ่วางไว้ พวกเขาก็จะได้เข้าซื้อในราคาที่ต้องการ จึงสรุปได้ว่า ข้อเสียของ stop loss คือมันมักจะกลายเป็นเป้าของการเกิด Stop hunt นั่นเองครับ
หลักการกำหนด SL และ TP ขึ้นกับกลยุทธ์การเทรด
การกำหนด SL และ TP จะต่างกันออกไปแล้วแต่กลยุทธ์การเทรด ถ้าแบ่งกลยุทธ์การเทรดตามการถือ positions ก็จะได้เป็น 4 ประเภทหลักๆ ดังนี้
1. Scalping Trading
- เน้นการเทรดระยะสั้นมาก
- เก็บกำไรจากการเคลื่อนราคาเพียงไม่กี่ pip
- ใช้หลักการ “เข้าเร็ว ออกเร็ว” ไม่อยากเปิดออเดอร์นาน เพราะไม่อยากเสี่ยงนาน
- เทรดแบบ momentum trading เป็นหลัก เห็นการเทรดแรงๆ ขอติดไปด้วยแล้วรีบออก
- SL และ TP มักจะตั้งในระยะใกล้ๆ เน้นการเทรดบ่อยครั้งเพื่อสะสมกำไร
2. Day Trading
- ไม่ถือ position ข้ามคืน ปิดการเทรดจบเป็นวันๆ ไป
- หลีกเลี่ยงผลกระทบจาก ความผันผวน (volatility) ที่แตกต่างกันในแต่ละวัน
- ระวังช่วงข่าวเศรษฐกิจหรือการเมืองที่ส่งผลต่อค่าเงิน (ตลาดจะผันผวน สเปรดถ่างและชอบเกิด stop hunt)
- การกำหนด SL และ TP จะขึ้นอยู่กับ trade setup บน timeframe ที่ใช้วิเคราะห์
3. Swing Trading
- เน้นถือ position ตามจุด swing ของราคา
- ระยะเวลาการถือ positions มีตั้งแต่หลายวันจนถึงหลายสัปดาห์
- การกำหนด SL และ TP จะกว้างกว่า Scalping และ Day Trading หลายเท่า
4. Position Trading
- ถือ position เป็นระยะเวลานาน ตั้งแต่หลายสัปดาห์ไปจนถึงหลายเดือน
- ระยะห่างระหว่าง SL และ TP จะกว้างมากที่สุดในบรรดากลยุทธ์ทั้งหมด
ตัวอย่าง กำหนด SL และ TP
การกำหนด SL หรือ TP ต้องดู price structure ประกอบกับ trade setup เป็นหลัก และการเปิดเทรดด้วยว่าท่านเปิดเทรดแบบไหน หลัก ๆ ผมจะแบ่งหลักการ ดังนี้ครับ
- วิเคราะห์โครงสร้างราคาและ Trade Setup
- พิจารณา price structure ควบคู่กับ trade setup
- ยกตัวอย่างวิธีเปิดเทรด เช่น ทันทีที่ราคาถึงจุด trade setup หรือรอสัญญาณยืนยันแบบ price action (เช่น Pin bar, Engulfing bar)
- คำนึงถึง Risk:Reward Ratio
- เทรดเดอร์แต่ละคน จะมีการกำหนด risk:reward ที่ต่างกันออกไป ทำให้การกำหนด SL และ TP ต่างกันออกไปด้วย
- ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น เทรดเดอร์ที่เทรดแบบรอสัญญาณยืนยัน (price action, อินดิเคเตอร์ เพราต้องรอราคาเกิดขึ้นหรือแท่งเทียน) ก็จะทำให้สัดส่วนของ Risk เพิ่มขึ้นและ Reward ลดลงไป
- ระมัดระวังเป็นพิเศษเมื่อเทรดใน timeframe เล็ก
ตัวอย่างภาพด้านบน เป็นการเทรด Swap Suppy ดูต้นตอจะอยู่ที่ด้านบน แต่ตรงนี้เป็นพื้นที่ตอนราคาขึ้นไป พอราคาลงมาเด้งขึ้นตลอด บอกว่ามีเทรดเดอร์ที่ไม่ต้องการให้ราคาผ่านตรงนี้ไปได้ เลยถือว่าเป็นจุดสำคัญ และดูลักษณะราคาเบรคประกอบ ราคาลงแรงด้วย Momentum ปิดล่างได้ บาร์ต่อมาดันขึ้นมาได้แค่ครึ่งแต่บาร์ต่อมาก็ดันลงทันที และราคาเบรคลงไปก็ลงไปถึง Demand ล่างและเอาชนะได้ด้วย
Review Broker Forex
วิเคราะห์ วิจารย์ ข้อดี-ข้อเสีย ข้อมูลจากการเทรดด้วยบัญชีจริง โดยทีมงานหลายคน ...
- การเปิดเทรดหลักการของ Demand/Supply ก็รอราคากลับมาเทส ที่ Sell 1 กำหนด SL ที่จุดเริ่มต้นของการ break ลงมา
- ราคายังมีการขยับขึ้นต่อ จึงทำการเปิดออเดอร์ใน Sell 2 และ ตั้ง SL ในแนวเดียวกับ Sell 1
- เมื่อราคามีการปรับตัวลง จะทำการเปิด Sell 3 หลัง price action ชัดเจน กำหนด Stop loss ต่ำลงมา
- Sell 4 เมื่อราคา break ลงมาแล้ว สามารถกำหนด Stop loss แคบ ๆ ได้
การกำหนด TP ให้ดูตอนที่เกิด Impulsive move ราคาไปได้แค่ไหน ให้กำหนดตรงพื้นที่นั้นเป็นจุดแรก เพราะถ้า trade setup ที่เกิดตาม Impulsiive move ก็จะมาพร้อมกับจุด SL และ TP หาได้ง่าย
การกำหนด Stop Loss Take Profit จะต่างกันออกไปแล้วแต่กลยุทธ์การเทรด แต่สำคัญเมื่อกำหนดจากที่ยกตัวอย่างมา ต้องคำนึงถึงเรื่อง stop hunt เข้าไปประกอบด้วย และควรกำหนดจาก timeframe ที่เกิด trade setup แม้ว่าการเปิดเทรดจะใช้ timeframe ย่อยลงไปก็ตาม เพราะเรื่องของ SL หรือ TP ต้องให้สัมพันธ์กับ Trade Setp ที่เกิดว่าเกิดที่ timeframe ไหน
การกำหนด SL และ TP ด้วย Fibonacci
Fibonacci คือ หนึ่งกลยุทธ์ที่สามารถกำหนด Level ของการเทรดได้ เทรดเดอร์หลาย ๆ ท่านก็เอาข้อดีตรงนี้มากำหนดเป็น SL และ TP เสียเลย โดยระดับ Fibonacci ที่นิยมใช้ก็ คือ Fib 38.2%, 50.0%, และ 61.8% ไปเรื่อย ๆ วิธีนี้มีประสิทธิภาพดีในการจัดการความเสี่ยง และป้องกันเงินทุนของคุณหากราคาตลาดสวนทางกับ Order ของคุณ
ทุกท่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ตามคลิปด้านล่างนี้เลยครับ
การ Set up SL และ TP ด้วย Fibonacci Retracement เครดิต By Tijarotan Lantaboer
การใช้ Trailing Stop เพื่อจัดการ SL และ TP
Trailing Stop คือเครื่องมือที่ช่วยจัดการ SL และ TP แบบอัตโนมัติ ที่ทำให้เราไม่ต้องคอยปรับ SL ด้วยตัวเองตลอดเวลา ซึ่งจะเหมาะกับคนที่ไม่สามารถนั่งเฝ้าหน้าจอได้ตลอด หลักการทำงานของ Trailing Stop คือ มันจะปรับ SL ให้ตามราคาโดยอัตโนมัติ เมื่อออเดอร์มีกำไร แต่จะไม่ขยับถอยหลังหากราคาย้อนกลับ
ตัวอย่างเช่น ถ้าเราตั้ง Trailing Stop ไว้ที่ 20 pips สำหรับออเดอร์ Buy
- เมื่อราคาขึ้นไป 25 pips > SL จะถูกปรับขึ้นมา 5 pips โดยอัตโนมัติ
- ถ้าราคาขึ้นต่อไปอีก 10 pips > SL ก็จะถูกปรับขึ้นตามอีก 10 pips
- แต่ถ้าราคาย้อนลงมา 15 pips > SL จะไม่ขยับลง ยังคงอยู่ที่จุดสูงสุดที่เคยปรับไว้
ข้อดีของ Trailing Stop คือช่วยล็อกกำไรได้อัตโนมัติ แต่ข้อเสียคือ มันจะทำให้มีการปิดออเดอร์เร็วเกินไป ในกรณีที่ราคามีการแกว่งตัวแรง ดังนั้นการตั้งค่า Trailing Stop ให้เหมาะสมกับสไตล์การเทรดและความผันผวนของคู่เงินจึงเป็นเรื่องสำคัญมากครับ
สรุป
การกำหนด SL และ TP เป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอันดับต้น ๆ ในการเทรด Forex เพราะช่วยจำกัดความเสี่ยงและทำให้เกิดระบบเทรดที่ดี แต่ก็ต้องระวังเรื่อง stop hunt วิธีการกำหนดจุดเหล่านี้ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์การเทรดของแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็น scalping, day trading, swing trading หรือ position trading
ที่สำคัญคือต้องดู price structure และ trade setup เป็นหลัก พิจารณา timeframe ที่เหมาะสม บางคนอาจจะใช้ Fibonacci เป็นตัวช่วยได้ แต่ไม่ว่าจะใช้วิธีไหน สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจตลาดและรู้จักปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับสถานการณ์ เพราะการเทรดเป็นเรื่องของความเป็นไปได้ ไม่มีอะไรแน่นอน 100% ครับ
ปริญญาโทเศรษฐศาสตร์การเงิน พัฒนาระบบเทรดอัตโนมัติและพัฒนาเว็บไซต์ควบคู่การเทรดด้วยตนเอง ประสบการณ์เทรด Forex 12+ ปี จากพนักงานบริษัทสู่เทรดเดอร์อาชีพ เน้นกลยุทธ์ Long-term Trading
Nakrob Seareechon
บรรณาธิการ/Web master
Krisorn Himmapan
Content Writer
ทีมงาน: forexthai.in.th