Forexthai.in.th ย่อให้
- RSI (Relative Strength Index) เป็นอินดิเคเตอร์ตระกูล Oscillator ที่ได้รับความนิยมมาก เพราะใช้งานง่ายและมีประสิทธิภาพสูง
- พัฒนาโดย J. Welles Wilder ในปี 1978 ใช้วัดความแรงของทิศทางราคา โดยคำนวณจากอัตราส่วนค่าเฉลี่ยของราคาปิดที่เพิ่มขึ้นเทียบกับราคาที่ลดลง
- สามารถใช้งานได้ทั้งในตลาดเทรนด์และตลาด Sideway โดยเน้นเทรดตามเทรนด์ ส่วนใน Sideway สามารถเทรดได้ทั้ง Buy และ Sell
- ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยคือการเชื่อสัญญาณ Overbought/Oversold มากเกินไป การใช้ค่า Default โดยไม่ปรับตาม Timeframe และการพึ่งพา RSI เพียงตัวเดียว
- ควรใช้ร่วมกับเครื่องมืออื่นๆ เช่น Moving Average หรือ Price Action เพื่อยืนยันสัญญาณและเพิ่มความแม่นยำในการเทรด
ถ้าพูดถึง Indicator ในตระกูล Oscillator ผมขอยกให้ RSI เป็นอันดับ 2 รองจาก Stochastic เลยครับ เพราะเครื่องมือนี้เป็นเครื่องมือที่สามารถเทรดและใช้ได้ผลดีมากที่สุดเครื่องมือหนึ่งและใช้งานได้ผลจริง แถมยังเป็นที่นิยมในหมู่เทรดเดอร์ทั่วโลก แต่น่าเสียดายที่หลายคนยังใช้งานไม่ถูกวิธี วันนี้เราจะมาเจาะลึกวิธีใช้ RSI ให้เห็นผลกันครับ
สารบัญบทความ click เพื่อเลือกอ่าน !!
ข้อมูลเบื้องต้นของ RSI
Relative Strength Index หรือ RSI เป็น Technical Indicator ที่ใช้ในการวิเคราะห์ตลาดการเงิน ถูกพัฒนาขึ้นโดย J. Welles Wilder ในปี 1978 ซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือ New concepts in Technical Trading System and Commodities Magazine
แรกเริ่มเดิมทีใช้สำหรับวิเคราะห์ราคาสินทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์หรือหุ้น แต่ด้วยความแม่นยำสูง ทำให้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในตลาด Forex จนได้รับความนิยมมาถึงปัจจุบัน
RSI จัดอยู่ในกลุ่ม Momentum Oscillator ที่ช่วยวัดความแรงของทิศทางราคา โดยคำนวณจากอัตราส่วนค่าเฉลี่ยของราคาปิดที่เพิ่มขึ้นเทียบกับราคาที่ลดลง ที่สำคัญ อย่าสับสนกับ Relative Strength นะครับ เพราะเป็นคนละตัวกัน
การคำนวณ
สูตรการคำนวณ RSI คือ:
RSI = 100 – [100 / ( 1 + (Average of Upward Price Change / Average of Downward Price Change))]
โดยที่
- Average of Upward Price Change คือ ค่าเฉลี่ยของการเปลี่ยนแปลงราคาขาขึ้น
- Average of Downward Price Change หรือ ค่าเฉลี่ยของการเปลี่ยนแปลงราคาขาลง
- RSI จะเป็นการแสดงค่าเป็น เปอร์เซ็นของการเคลื่อนไหวเมื่อเทียบกับระยะเวลาที่กำหนด เช่น กำหนดให้ระยะเวลาเท่ากับ 3 หรือ 5 วัน นั่นก็คือค่าที่ RSI ใช้ในการคำนวณ และเป็นค่าสำหรับการตั้งค่าการใช้งาน RSI
การใช้งาน RSI
RSI เป็นเครื่องมือบอกการแกว่งตัว ดังนั้น มันจึงสามารถบอกจุดเข้าเทรดของราคาได้ ซึ่งทำให้การใช้งาน RSI สามารถใช้งานได้ 2 แบบ คือสามารถใช้งานได้ทั้งในตลาดที่มีเทรนด์ชัดเจนและการแกว่งตัวในภาวะตลาด Sideway โดยมีหลักการใช้งานที่แตกต่างกัน มาดูกันทีละแบบครับ
การใช้งาน RSI ในตลาด Trend
เมื่อตลาดมีเทรนด์ชัดเจน การใช้ RSI จะต้องระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะในช่วงหลังมานี้ ที่ความผันผวนของตลาดสูงขึ้น
เราจะยกตัวอย่างการใช้งานในเทรนด์ขาลงนะครับ โดยจะใช้การตั้งค่า RSI ที่ Period 4 บนกราฟ 1 ชั่วโมง เพราะจะให้การตอบสนองที่รวดเร็วและแม่นยำกว่า RSI(14) ที่เป็นค่ามาตรฐาน (โดยมากเทรดเดอร์จะไม่ใช้ค่า RSI ที่เร็วแบบนี้เพราะว่า มันทำให้สัญญาณที่ได้นั้นผันผวนสูงมาก)
![การใช้งาน RSI ในตลาด Trend](https://forexthai.in.th/wp-content/uploads/2020/02/RSI1.png)
จากภาพตัวอย่าง เราจะเห็นองค์ประกอบสำคัญในการเทรดดังนี้:
- เส้น Trend Line หรือ Equidistance Channel (เส้นสีน้ำเงิน) กำลังชี้ลง ยืนยันว่าตลาดอยู่ในเทรนด์ขาลง
- จุดวงกลมสีแดงคือจังหวะในการเข้า Sell เพราะ:
- RSI พุ่งขึ้นเข้าโซน Overbought (เหนือระดับ 70)
- ราคาแตะเส้น Trend Line บน
- เทรนด์หลักยังเป็นขาลง
สิ่งสำคัญในการเทรดตามเทรนด์ คือ ในเทรนด์ขาลง ให้มองหาโอกาส Sell เท่านั้นหลีกเลี่ยงการ Buy สวนเทรนด์โดยเด็ดขาด แม้ RSI จะเข้าโซน Oversold และรอให้เห็นทั้งสัญญาณจาก RSI และการยืนยันจาก Trend Line เสมอ
สำหรับเทรนด์ขาขึ้น ก็ใช้หลักการเดียวกันครับ คือ ใช้ Trend Line ที่ชี้ขึ้นเป็นตัวยืนยันทิศทาง และหาจุดเข้า Buy เมื่อ RSI ลงมาที่โซน Oversold (ต่ำกว่า 30)
![](https://forexthai.in.th/wp-content/uploads/2016/03/Forex-Trading-system.jpg)
Review Broker Forex
วิเคราะห์ วิจารย์ ข้อดี-ข้อเสีย ข้อมูลจากการเทรดด้วยบัญชีจริง โดยทีมงานหลายคน ...
การใช้งาน RSI ในตลาด Sideway
การเทรดในช่วง Sideway ถือเป็นจังหวะที่ดีมากครับสำหรับ RSI เพราะราคาแกว่งตัวในกรอบแนวนอน จนกว่าจะเกิด Breakout ออกจากกรอบ ซึ่งต้องอาศัยความชำนาญสูงในการใช้เครื่องมือ เพราะบางครั้งอาจเกิดสัญญาณหลอกได้
![การใช้งาน RSI ในตลาด Sideway](https://forexthai.in.th/wp-content/uploads/2020/02/RSI2.png)
สำหรับ RSI ในการเทรดโดยใช้สัญญาณ Sideway คือ การเทรดได้ทั้ง Buy และ Sell ในสัญญาณเดียวกัน ไม่เหมือนกับการเทรดในตลาดมีเทรนด์ที่จะต้องเทรดทิศทางเดียวกับเทรนด์เท่านั้น
จากภาพตัวอย่าง สังเกตการเกิดสัญญาณ 3 แบบ นั่นคือ
- สัญญาณ Buy (วงกลมสีเหลือง): RSI ต้องอยู่ในโซน Oversold ราคาต้องอยู่ใกล้แนวรับของกรอบ Sideway และต้องรอให้ RSI เริ่มฟื้นตัวขึ้นก่อนที่จะเข้าเทรด
- สัญญาณ Sell (วงกลมสีแดง): RSI ต้องพุ่งขึ้นถึงโซน Overbought ราคาต้องใกล้แนวต้านของกรอบ และต้องรอให้ RSI เริ่มอ่อนตัวลงก่อนที่จะเข้าเทรด
- สัญญาณ Breakout (วงกลมสีฟ้า): เกิดขึ้นเมื่อราคาทะลุกรอบ Sideway อย่างชัดเจน RSI ยังสนับสนุนทิศทางการ Breakout และมี Volume สนับสนุนการ Breakout
อย่างไรก็ตาม การใช้งาน RSI สิ่งที่ต้องพึงระลึกอยู่เสมอ คือ การตั้ง Stop loss เพื่อป้องกันความเสี่ยง
ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยในการใช้ Relative Strength Index
จากประสบการณ์เทรดของผมและการแนะนำเทรดเดอร์มาหลายปี ผมพบว่ามีข้อผิดพลาดสำคัญที่ทำให้หลายคนขาดทุนจากการใช้ RSI ดังนี้ครับ
![ข้อผิดพลาดในการใช้ RSI](https://forexthai.in.th/wp-content/uploads/2020/02/ข้อผิดพลาด-RSI.png)
1. เชื่อสัญญาณ Overbought/Oversold มากเกินไป
- Overbought ไม่ได้หมายความว่าต้อง Sell เสมอไป โดยเฉพาะในตลาดขาขึ้นแรงๆ RSI อาจอยู่ในโซน Overbought ค้างนานหลายวันเลยก็มีครับ
- ในทางกลับกัน Oversold ก็ไม่ได้หมายถึงจุด Buy ที่ดีเสมอ หากเทรนด์ขาลงยังแรง ราคาอาจร่วงลงต่อได้เช่นกัน
- ควรดู Price Action และเทรนด์หลักประกอบเสมอ
2. ใช้ค่า Default (14) โดยไม่ปรับตาม Timeframe
เรื่องนี้สำคัญมากครับ แต่ละ Timeframe ควรใช้ค่า Period ที่ต่างกันไป เช่น เล่นใน M15 ก็ควรใช้ RSI(5-9) เล่นใน D1 ก็ควรใช้ RSI(14) เป็นต้นไป เพราะยิ่งเทรดใน Timeframe ใหญ่ ก็ยิ่งควรใช้ Period ที่มากขึ้นเพื่อลดสัญญาณหลอก
3. พึ่งพา RSI เพียงตัวเดียว
เป็นความผิดพลาดร้ายแรงมากอยู่ทีเดียวครับ เวลาใช้ เราจะดูแค่อินดิเคเตอร์ RSI อย่างเดียวไม่ได้ เพราะอย่างในตัวอย่างที่ผมยกให้เห็นในข้างต้น คือ RSI ไม่สามารถบอกแนวรับ-แนวต้านได้ ไม่สามารถระบุเทรนด์หลักได้ ผมจึงนำมาใช้ร่วมกับเส้นเทรนด์ไลน์เพื่อดูเทรนด์หลักด้วย หรือจะนำไปใช้ร่วมกับอื่น ๆ เช่น Price Action, แนวรับ-แนวต้าน และ Moving Average ก็ได้ผลดีเช่นกันครับ
4. เร่งจังหวะการเทรดมากเกินไป
เมื่อเห็น RSI เข้าโซน Overbought/Oversold แล้วรีบเทรดทันที โดยที่ไม่รอยืนยันการกลับตัวของ RSI หรือไม่ดูว่ามีแนวต้าน-แนวรับสำคัญใกล้ๆ หรือไม่ อย่างนี้ก็อาจเสี่ยงที่จะเจอสัญญาณหลอกได้ครับ
บทความแนะนำสำหรับผู้เริ่มเทรด Forex ![](data:image/svg+xml,%3Csvg%20viewBox%3D%220%200%2027%2027%22%20xmlns%3D%22http%3A%2F%2Fwww.w3.org%2F2000%2Fsvg%22%3E%3C%2Fsvg%3E)
การใช้งาน RSI ร่วมกับกับอินดิเคเตอร์อื่น ๆ
การใช้งาน RSI ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เราสามารถนำไปผสมผสานกับอินดิเคเตอร์อื่น ๆ ได้ โดยเฉพาะการใช้ร่วมกับ Moving Average เพื่อยืนยันทิศทางของเทรนด์ หรือการใช้คู่กับ Stochastic เพื่อหาจุดกลับตัวที่แม่นยำมากขึ้น
สำหรับการเทรดในตลาดที่มีความผันผวนสูง การใช้ RSI ร่วมกับ Bollinger Bands จะช่วยให้เราเห็นภาพรวมของการแกว่งตัวได้ชัดเจนขึ้น ทำให้หลีกเลี่ยงการเข้าเทรดในจังหวะที่ตลาดกำลังผันผวนรุนแรง
ที่สำคัญ การผสมผสานอินดิเคเตอร์ไม่ได้หมายความว่าต้องใช้หลาย ๆ ตัวพร้อมกัน แต่ควรเลือกใช้เฉพาะที่เสริมจุดแข็งและลดจุดอ่อนของ RSI เท่านั้น เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในการวิเคราะห์ครับ
อ้างอิง
https://en.wikipedia.org/wiki/Relative_strength_index
https://school.stockcharts.com/doku.php?id=technical_indicators:relative_strength_index_rsi
https://en.wikipedia.org/wiki/Relative_strength_index
https://www.investopedia.com/terms/r/rsi.asp
ทีมงาน: forexthai.in.th