Forexthai.in.th ย่อให้

  • Rectangle Pattern เป็นรูปแบบกราฟต่อเนื่องที่เกิดจากการพักตัวของราคาในกรอบสี่เหลี่ยม ก่อนจะไปต่อในทิศทางเดิม
  • Bullish Rectangle เกิดในเทรนด์ขาขึ้น ราคาจะ Breakout ออกทางด้านบนของกรอบ ส่วน Bearish Rectangle เกิดในเทรนด์ขาลง ราคาจะ Breakout ออกทางด้านล่าง
  • จุดเข้าเทรดที่ปลอดภัย คือ รอให้ราคาปิดพ้นกรอบชัดเจน หรือรอให้ราคากลับมาเทสแนวรับ/ต้านก่อนเข้า
  • Stop Loss วางเหนือ/ใต้ Swing ก่อนหน้า ส่วนเป้าหมายทำกำไรควรตั้งที่ระยะ 1 เท่าของความกว้างกรอบ
  • แพทเทิร์นนี้เรียบง่าย จดจำง่าย แต่ควรใช้ในไทม์เฟรมใหญ่และวางแผน RR อย่างน้อย 2:1 เพื่อผลตอบแทนที่คุ้มค่า
Rectangle Pattern เบรคกรอบทำกำไร
Rectangle Pattern เบรคกรอบทำกำไร

Rectangle Pattern เป็นรูปแบบต่อเนื่อง (Continuous Pattern) เกิดจากการพักตัวของราคา ก่อนที่จะไปต่อในแนวโน้มเดิม การพักตัวรูปแบบนี้ เป็นการพักตัวรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สร้างเป็นกรอบราคาหรือบางคนอาจจะมองว่าตลาดเป็นช่วงไซต์เวย์

โดยรูปแบบจะคล้ายกับ Triple Top หรือ Triple Buttom แต่จะไม่กลับตัว เพียงแต่จะไปต่อในแนวโน้มเดิม และข้อสังเกตุที่แตกต่างกันระหว่าง Triple Top และ Triple Buttom กับ Rectangle คือ การเคลื่อนไหวอย่างรุนแรง


Bullish Rectangle คืออะไร?

รูปแบบ Bullish Rectangle เกิดขึ้นในแนวโน้มขาขึ้น เป็นรูปแบบต่อเนื่องในแนวโน้มเดิม โดยแพทเทิร์นคล้าย Triple Top แต่ไม่สามารถ Breakout แนวรับ แต่ราคากลับไป Breakout แนวต้าน เพื่อไปต่อแนวโน้มเดิม

การเทรดโดยใช้แพทเทิร์นนี้ อาจจะต้องมีการปรับแผนการเทรดกันสักหน่อย ด้วยระบบเทรดของแพทเทิร์นอาจจะไม่เพียงพอต่อการเก็บกำไรหนึ่งครั้ง หรือใช้เป็นจุดเข้าเพื่อรันเทรนด์ก็ทำได้ดีทีเดียว

 

สร้างการเทรดให้เป็นนิสัย เห็นแพทเทิร์นก็เทรดได้เลย

 

การสร้างรูปแบบ Bullish Rectangle

รูปแบบ Bullish Rectangle
การสร้างรูปแบบ Bullish Rectangle

การสร้างรูปแบบแพทเทิร์น จะเกิดขึ้นเมื่อราคาเคลื่อนที่มาได้สักพัก จากนั้นจะทำการพักตัวเพื่อสะสมพลังหรือแรงซื้อเพื่อไปต่อ บ้างก็มองว่าเป็นไซต์เวย์ บ้างก็รอจังหวะในการกลับตัว เมื่อกราฟยังไม่เลือกข้างเทรดเดอร์จะไม่มีทางรู้ได้เลยว่ากราฟจะไปต่อ หรือจะกลับตัวในไม่ช้า

โดยราคาจะสร้างรูปแบบคล้ายกับ Triple Top ซึ่งเป็นรูปแบบกลับตัว แต่แล้วก็จะทำการ Breakout แนวต้าน เพื่อไปต่อ

 

เมื่อตลาดเฉลย เทรดเดอร์ก็จะต้องคว้าคำตอบ

 

Trade Setup ด้วย Bullish Rectangle

การเทรดด้วย Bullish Rectangle จะเป็นการเทรดเมื่อราคา Breakout ออกจากกรอบ โดยมีวิธีการเทรดดังต่อไปนี้

Trade Setup ด้วย Bullish Rectangle
Trade Setup ด้วย Bullish Rectangle
  • จุดเข้า Buy เมื่อราคา Breakout ออกจากกรอบ โดยรอให้ราคาปิดเหนื้อเส้นแนวต้าน เพื่อลดความผิดพลาด หรือจะรอให้ราคากลับมาเทสแนวรับก็ทำได้
  • Stop Loss จะอยู่ต่ำกว่า Swing ก่อนหน้า
  • เป้าหมายทำกำไร ระยะ 1 เท่าของกรอบราคา

Bearish Rectangle คืออะไร

รูปแบบ Bearish Rectangle เกิดขึ้นในแนวโน้มขาลง เป็นรูปแบบต่อเนื่องในแนวโน้มเดิม โดยแพทเทิร์นคล้าย Triple Buttom แต่ไม่สามารถ Breakout ต้าน แต่ราคากลับมา Breakout แนวรับ เพื่อลงต่อในแนวโน้มเดิม

การสร้างรูปแบบ Bearish Rectangle

รูปแบบ Bearish Rectangle
การสร้างรูปแบบ Bearish Rectangle

การสร้างรูปแบบแพทเทิร์น จะเกิดขึ้นเมื่อราคาเคลื่อนที่มาได้สักพัก จากนั้นจะทำการพักตัวเพื่อสะสมพลังหรือสะสมแรงขายเพื่อลงต่อ รูปแบบนี้จะทำให้เทรดเดอร์สามารถวิเคราะห์ไปได้หลายรูปแบบ อาจจะมองได้ว่ากราฟพยายามที่จะเปลี่ยนแนวโน้ม หรือกำลังทำไซด์เวย์เพราะมีแรงซื้อกับแรงขายที่กำลังสู้กัน

โดยราคาจะสร้างรูปแบบคล้ายกับ Triple Buttom ซึ่งเป็นรูปแบบกลับตัว แต่จะไม่สามารถกลับตัวได้ ก่อนที่จะทำการ Breakout แนวรับ เพื่อไปลงต่อในแนวโน้มเดิม

โดยทั้งแนวโน้มขาขึ้นและขาลง จะมีวิธีการเทรดที่เหมือนกัน และอีกประการหนึ่ง ยิ่งกรอบมีความกว้างเท่าไหร่ เป้าหมายในการทำกำไรก็จะมีมากขึ้นไปด้วย และนี่คือโอกาสทองของแพทเทิร์น

 

การลงทุนมีความเสี่ยง แต่สามารถลดความเสี่ยงได้ด้วย ความรู้

 

Trade Setup ด้วย Bearish Rectangle

การเทรดด้วย Bearish Rectangle เพื่อให้มีความปลอดภัย ควรรอสัญญาณในการ Breakout ให้ชัดเจน โดยมีวิธีการเทรดดังต่อไปนี้

Trade Setup ด้วย Bearish Rectangle
Trade Setup ด้วย Bearish Rectangle
  • จุดเข้า Sell เมื่อราคาทำการ Breakout แนวรับ โดยรอให้ราคาปิดต่ำกว่าแนวรับเป็นที่เรียบร้อย หรือเทรดเดอร์จะรอจังหวะในการกลับไปเทสแนวต้านก็ทำได้
  • Stop Loss เหนือ Swing ก่อนหน้า หรือเหนือเส้นแนวต้าน อีกกรณีหนึ่งถ้ากรอบมีความกว้าง โอกาสทำกำไรก็จะมีมาก และในความกว้างนั่นเองจะมี Swing ย่อย ๆ สามารถวาง SL ไว้เหนือ Swing ได้ เพื่อลดช่องว่างและความเสี่ยงที่มากเกินไป
  • เป้าหมายทำกำไร ระยะ 1 เท่าของกรอบราคา กรณีที่กรอบราคามีความกว้างโอกาสทำกำไรก็จะเพิ่มมากขึ้น แน่นั่นอาจจะไม่แน่นอนเสมอไป โดยอาจจะแบ่ง TP เป็น 2 ระยะก็ทำได้

ข้อดีของการเทรดด้วยแพทเทิร์น Rectangle

  • เป็นอีกหนึ่ง Pattern ที่เกิดขึ้นบ่อย เพียงเห็นกรอบราคา รอจังหวะในการ Breakout ออกจากกรอบก็สามารถเทรดได้เลย
  • จดจำรูปแบบการเทรดได้ง่าย ไม่ซับซ้อน เพียงหาแนวรับและแนวต้าน ตีกรอบบนและกรอบล่างไว้เท่านั้น
  • มีจุดเข้าจุดออกที่ชัดเจน เมื่อกราฟเลือกข้าง นั่นคือสัญญาณในการเข้าเทรด

ข้อควรระวัง

  • การเข้าเทรดด้วยการ Breakout จะต้องรอให้แท่งเทียนปิดเหนือแนวต้าน หรือใต้แนวรับให้เรียบร้อยเสียก่อน ป้องกันสัญญาณหลอกที่อาจจะเกิดขึ้นได้
  • การตั้ง Stop Loss ในแนวโน้มใหญ่ควรคำนึงถึงระยะและ RR และในไทม์เฟรมเล็กการตั้ง Stop Loss แคบเกินไปเมื่อตลาดมีความผันผวนอาจจะเกิดความเสียหายได้
  • เป็นแพทเทิร์นต่อเนื่องหรือตามแนวโน้ม ควรตั้งเป้าหมายทำกำไรให้มากกว่า ความเสี่ยงให้ได้เกิน 2 เท่า

เทคนิคการยืนยันสัญญาณ Rectangle Pattern ให้แม่นยำ

การเทรดด้วย Rectangle จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อเรารู้จักใช้เครื่องมือยืนยันสัญญาณร่วมด้วย โดยเฉพาะในจังหวะ Breakout ที่สำคัญ ควรสังเกตปริมาณการเทรด (Volume) ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ยิ่งถ้ามี Volume สูงขึ้นในแท่งที่ Breakout ยิ่งเป็นการยืนยันว่าการ Breakout นั้นมีโอกาสเป็นของจริง

นอกจากนี้ การใช้ Indicator ทางเทคนิคอย่าง RSI หรือ MACD มาช่วยดูจังหวะก็เป็นตัวช่วยที่ดี แต่ Rectangle Pattern เป็นรูปแบบที่เรียบง่าย บางครั้งการใช้เครื่องมือเสริมมากเกินไปอาจทำให้พลาดโอกาสในการเข้าเทรดไปได้

สรุป

Rectangle Pattern เป็นอีกหนึ่งแพทเทิร์นที่เกิดขึ้นบ่อย ใช้ได้ทุกไทม์เฟรม แต่แนะนำให้ใช้ไทมเฟรมที่ใหญ่ และวางแผนเป้าหมายทำกำไรให้มากกว่าความเสี่ยง หรือ RR 2:1 ขึ้นไป เพราะการเทรดจะมีต้นทุน อาจจะได้ไม่คุ้มเสียถ้าหากขาดการวางแผนในการทำกำไร

ทุกสัญญาณเทรดอาจจะใช้ได้ แต่ไม่อาจจะทำให้มีกำไรได้ในทุกครั้ง ด้วยเป็นรูปแบบแพทเทิร์นที่เรียบง่ายและไม่ซับซ้อน สัดส่วนทำกำไรจึงไม่หวือหวาเท่าไร

แต่สามารถนำมาใช้เทรดได้ โดยการเพิ่มระยะหวังผลทำกำไร หรือเป็นจุดเข้าในการรันเทรนก็ทำได้ เพียงเท่านี้การเทรดก็จะไม่ผิดทาง ที่เหลืออยู่ที่เทรดเดอร์เองว่า จะคาดหวังกำไรจากแพทเทิร์นนี้เท่าไหร่

 

ไม่ชัดไม่เทรด ไม่รู้ไม่เทรด จะต้องแน่ใจทุกครั้งก่อนเทรด

ทีมงาน: forexthai.in.th

แสดงข้อคิดเห็น ให้กำลังใจ

comments