Forexthai.in.th ย่อให้
- แนวคิดของระบบ: เป็นระบบเทรดที่ใช้ความผันผวนของตลาดลอนดอนช่วงเปิดตลาดเพื่อทำกำไร โดยใช้กลยุทธ์ Grid Trading และ Averaging
- เงื่อนไขการเข้าเทรด: ใช้สัญญาณจาก Quantum Indicator โดยเปิด Buy เมื่อมีสัญญาณซื้อและราคาอยู่ใกล้แนวรับ และเปิด Sell เมื่อมีสัญญาณขายและราคาอยู่ใกล้แนวต้าน
- การบริหารออเดอร์: ใช้การเปิดออเดอร์ทั้งแบบ Fixed Lot, Martingale และ Anti-Martingale เพื่อช่วยลดต้นทุนเฉลี่ยและเพิ่มโอกาสปิดกำไรเมื่อราคากลับตัว
- การตั้ง TP และ SL: ใช้ Basket TP เพื่อปิดออเดอร์ทั้งหมดเมื่อรวมแล้วได้กำไร และใช้ Equity Stop หรือ Stop Loss เพื่อป้องกันการขาดทุนหนัก
- จุดอ่อนของระบบ: มีความเสี่ยงสูงเมื่อเจอเทรนด์แรง ๆ และอาจมีปัญหากับ Slippage หรือ Spread กว้างในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนสูง
Quantum London Trading เป็นระบบเทรดที่มีความน่าสนใจเพราะสามารถกำหนดเวลาการเข้าเทรดได้แบบแน่นอนตายตัว คือการเข้าเทรดในช่วงตลาดลอนดอนเปิดนั่นเอง ซึ่งตรงกับเวลาที่ประเทศไทยของเราคือช่วงบ่าย เพียงแต่เป็นระบบเทรดที่ต้องมีการบริหารความเสี่ยงที่ดีเพื่อหลีกเลี่ยงการขาดทุนหนักจากการใช้กลยุทธ์แบบ Grid หรือ Martingale ไปเรียนรู้กลยุทธ์ในการใช้งานระบบเทรดตัวนี้กันเลย
ข้อมูลเบื้องต้น
Quantum London Trading เป็นระบบเทรดซึ่ง เน้นการเทรดแบบ Grid Trading หรือ Martingale ในตลาดที่มีการแกว่งตัวเป็นหลัก ข้อมูลเบื้องต้นของระบบ มีดังนี้
- ระบบนี้อาศัยพฤติกรรมของราคาในตลาดลอนดอนช่วงเช้าซึ่งมักจะมีความผันผวนสูง ในการเข้าเทรด
- ใช้การเปิดออเดอร์เป็นชุดในรูปแบบกริด หรือ Martingale เพื่อลดผลกระทบจากความผันผวนระยะสั้น
- ใช้ Quantum Indicator ในการกำหนดจุดเข้าออเดอร์
- ใช้กลยุทธ์การซื้อหรือขายแบบถัวเฉลี่ย (Averaging) เมื่อราคาวิ่งสวนทาง
- Money Management ใช้การเปิดออเดอร์ขนาดเล็กก่อน แล้วเพิ่มขนาดออเดอร์เมื่อราคาวิ่งสวน
- ใช้การตั้ง Take Profit แบบ Basket TP (ปิดหลายออเดอร์พร้อมกันเมื่อกำไรถึงเป้า)
- ข้อดีของระบบคือทำกำไรได้ดีในตลาดที่แกว่งตัว (Ranging Market)
- ใช้กลยุทธ์การเปิดออเดอร์หลายไม้เพื่อลด Drawdown
- มีความเสี่ยงสูงหากตลาดเกิดเทรนด์แรง ๆ (Trending Market)
- ต้องระวังเพราะอาจเจอ Drawdown สูงหากไม่มีจุดตัดขาดทุน (Stop Loss)
Grid Trading คืออะไร?
Grid Trading เป็นกลยุทธ์ที่ใช้การวางคำสั่งซื้อ (Buy) และขาย (Sell) เป็นตารางหรือ “กริด” โดยมีระยะห่างของออเดอร์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า โดยไม่สนใจแนวโน้มของตลาด
หลักการของ Grid Trading:
- ตั้งออเดอร์ Buy หรือ Sell เป็นช่วง ๆ ห่างกันตามระยะที่กำหนด (เช่น ทุก ๆ 20 pips)
- ถ้าราคาเคลื่อนที่ขึ้นหรือลง ก็จะเปิดออเดอร์เพิ่มเรื่อย ๆ
- ปิดออเดอร์ทั้งหมดเมื่อทำกำไรได้ตามเป้าหมาย

ตัวอย่างการใช้ Grid Trading:
- สมมติว่าคุณเทรดคู่ทองคำ XAU/USD และตั้งกริดห่างกันที่ 2,000 pips
- คุณเปิด Buy 0.1 lot ที่ราคา 2,900.00
- ถ้าราคาลงมาที่ 2,880.00 (ลดลง 2,000 pips) คุณเปิด Buy 0.1 lot เพิ่ม
- ถ้าราคาลงอีกไปที่ 2,860.00 ก็เปิด Buy 0.1 lot อีกครั้ง
- เมื่อราคากลับขึ้นไป 2,920.00 (หรือจุดที่ได้กำไรตามเป้า) คุณปิดทุกออเดอร์
ข้อดีของ Grid Trading:
- ทำกำไรได้ในตลาดที่เคลื่อนที่แบบแกว่ง (Ranging Market)
- ไม่ต้องคาดการณ์แนวโน้มตลาด
ข้อเสียของ Grid Trading:
- ถ้าราคาเทรนด์ไปทางเดียว ออเดอร์ขาดทุนจะสะสมเพิ่มขึ้น
- อาจเกิด Drawdown สูง ถ้าไม่มีการจัดการความเสี่ยงที่ดี
Martingale คืออะไร?
Martingale เป็นกลยุทธ์ที่เพิ่มขนาดของออเดอร์ให้ใหญ่ขึ้นเมื่อผิดทางหรือขาดทุน เพื่อให้เปลี่ยนเป็นกำไรเมื่อออเดอร์ล่าสุดถูกทาง จะสามารถชดเชยการขาดทุนก่อนหน้านี้ทั้งหมดและมีกำไรอีกด้วย
หลักการของ Martingale:
- ถ้าออเดอร์แรกขาดทุน ออเดอร์ถัดไปจะเพิ่ม ขนาดล็อตเป็น 2 เท่า
- เมื่อราคากลับมาทำกำไรได้ ออเดอร์ที่ใหญ่กว่าจะชดเชยการขาดทุนทั้งหมด

ตัวอย่างการใช้ Martingale:
- คุณเปิด Buy 0.1 lot ที่ราคา 2,900.00
- ถ้าราคาลงไป 2,880.00 (ลดลง 2,000 pips) ให้เปิด Buy 0.2 lot
- ถ้าราคาลงไปอีกที่ 1.0960 (ลดลง 4,000 pips) ให้เปิด Buy 0.4 lot อีกที
- ถ้าราคากลับขึ้นไปที่ 2,880.00 หรือสูงกว่านั้น ให้คุณปิดทั้งหมดแล้วจะได้กำไรทันที
ข้อดีของ Martingale:
- ทำให้สามารถกู้คืนการขาดทุนได้อย่างรวดเร็ว
- ใช้ได้ดีในตลาดที่ไม่มีแนวโน้มชัดเจน
ข้อเสียของ Martingale:
- ถ้าตลาดไม่กลับตัว อาจล้างพอร์ตได้เร็วมาก
- ต้องมีทุนเยอะพอที่จะรองรับการเปิดออเดอร์ที่เพิ่มขึ้น

ภาพรวมของระบบ
ทั้งสองกลยุทธ์ต้องใช้ การจัดการความเสี่ยงที่ดี เพราะหากตลาดเคลื่อนที่ผิดทางเป็นเวลานาน อาจทำให้พอร์ตเสียหายได้
- Grid Trading: เหมาะกับตลาดที่แกว่งตัว และต้องมีการตั้งค่า TP ที่ชัดเจน
- Martingale: เหมาะกับตลาดที่ไม่มีเทรนด์ยาว แต่ต้องมีทุนสำรองสูง
เวลาตลาดลอนดอนเทียบกับเวลาไทย
ตลาด Forex ที่ลอนดอนจะเปิดทำการเวลา 08:00 – 16:00 น. (GMT) เวลาแบบ GMT เมื่อแปลงเป็นเวลาไทยจะต้องบวกเพิ่มอีก 7 ชั่วโมง คือ
- ตลาดลอนดอนเปิดเวลา 15:00 น. (บ่ายสาม) และจะปิดเวลา 23:00 น. (ห้าทุ่ม)
ช่วงที่ตลาดลอนดอนมีความผันผวนสูง
- ช่วงเปิดตลาดลอนดอน (15:00 – 17:00 น. ตามเวลาไทย)
- เป็นช่วงที่ตลาด Forex มีสภาพคล่องเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
- เทรดเดอร์จากฝั่งยุโรปจะเริ่มเข้าสู่ตลาด
- ช่วงที่ตลาดลอนดอนและนิวยอร์กเปิดพร้อมกัน (19:00 – 22:00 น. ตามเวลาไทย)
- เวลาในช่วงนี้จะเป็นช่วงที่มีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุดของวัน
- ราคามักเคลื่อนไหวรุนแรงเนื่องจากนักลงทุนจากทั้งยุโรปและอเมริกาทำการซื้อขาย
ดังนั้น หากคุณต้องการใช้กลยุทธ์ Quantum London Trading ซึ่งอาศัยความผันผวนในตลาดลอนดอน ควรจับตาดูช่วง 15:00 – 17:00 น. และอาจเฝ้าต่อเนื่องไปจนถึงช่วงตลาดนิวยอร์กเปิดเพื่อโอกาสในการทำกำไรที่มากขึ้น

เครื่องมือที่ใช้
ระบบเทรดตัวนี้ใช้เครื่องมือ Quantum Moving Average (QMA) ในการช่วยวิเคราะห์แนวโน้มของราคา Forex ซึ่งเป็นเครื่องมือที่มีให้ใช้ได้ฟรี โดยมีวิธีการใช้งานที่ขอยกตัวอย่างการใช้ใน TradingView ดังนี้
Quantum Moving Average (QMA) คืออะไร?
- เป็นอินดิเคเตอร์ที่ออกแบบมาโดยใช้แนวคิดของค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบปรับตัว (Adaptive Moving Average) ร่วมกับองค์ประกอบเชิงควอนตัมเพื่อเพิ่มความแม่นยำ
วิธีการใช้งาน QMA
การเพิ่มอินดิเคเตอร์ใน TradingView
- เปิด TradingView และไปที่ Indicators (อินดิเคเตอร์)
- ค้นหา Quantum Moving Average – QMA (TechnoBlooms)
- คลิกเลือกเพื่อนำมาใช้บนกราฟของคุณ
การตั้งค่าพารามิเตอร์
- Period (คาบเวลา): ตั้งค่าระยะเวลาของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ เช่น 20, 50 หรือ 200
- Quantum Factor: ค่าที่ช่วยปรับแต่งความไวของเส้นค่าเฉลี่ย
- Smoothing Method: เลือกประเภทของการคำนวณ เช่น EMA, SMA, หรือการปรับแต่งพิเศษของ QMA
วิธีการใช้ในกลยุทธ์การเทรด
ให้ดูที่การเกิด Crossovers (การตัดกัน) ระหว่างเส้น QMA และราคา ดังนี้
- หากราคาสามารถตัดขึ้นไปยืนเหนือเส้น QMA และเส้นเปลี่ยนเป็นสีเขียวได้ เป็นสัญญาณซื้อ (Bullish Signal)
- หากราคาสามารถตัดลงไปอยู่ใต้เส้น QMA และเส้นเปลี่ยนเป็นสีแดงได้ เป็นสัญญาณขาย (Bearish Signal)
เงื่อนไขในการเทรด
เงื่อนไขในการเทรด Buy และ Sell ด้วยอินดิเคเตอร์ QMA มีดังนี้

เงื่อนไขการเข้า Buy (Long Entry):
- ราคาตัดขึ้นเหนือ QMA แสดงว่าตลาดมีโมเมนตัมขาขึ้น
- QMA เปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีเขียวอย่างชัดเจน
- แท่งเทียนปิดเป็นสีเขียวและอยู่เหนือเส้น QMA
- เข้า Buy (Long Entry) ที่ราคาเปิดของแท่งถัดไป
- หากราคามีการวิ่งลงหรือผิดทางแต่ยังไม่สามารถลงไปใต้เส้น QMA ได้ ให้เปิดออเดอร์เพิ่มตามกลยุทธ์
- จุดออกจาก Buy (Exit / Take Profit) เมื่อได้กำไรตามที่ต้องการ
- ให้ทำการ Stop Loss ทันที เมื่อราคาวิ่งลงไปใต้เส้น QMA ได้

เงื่อนไขการเข้า Sell (Short Entry):
- ราคาตัดลงไปใต้เส้น QMA แสดงว่าตลาดมีโมเมนตัมขาลง
- QMA เปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีแดงอย่างชัดเจน
- แท่งเทียนปิดเป็นสีแดงและอยู่ใต้เส้น QMA
- เข้า Sell (Short Entry) ที่ราคาเปิดของแท่งถัดไป
- หากราคามีการวิ่งขึ้นหรือผิดทางแต่ยังไม่สามารถขึ้นไปเหนือเส้น QMA ได้ ให้เปิดออเดอร์เพิ่มตามกลยุทธ์
- จุดออกจาก Sell (Exit / Take Profit) เมื่อได้กำไรตามที่ต้องการ
- ให้ทำการ Stop Loss ทันที เมื่อราคาวิ่งขึ้นไปเหนือเส้น QMA ได้
จุดอ่อนของระบบ
ระบบเทรดตัวนี้เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพในตลาดที่มีความผันผวนสูง แต่ต้องมีการบริหารความเสี่ยงและเงินทุนที่เหมาะสมเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาจากแนวโน้มตลาดที่รุนแรง โดยที่จุดอ่อนของระบบจะมีดังนี้
- เสี่ยงต่อการล้างพอร์ตหากตลาดมีเทรนด์แรง:
- เนื่องจากระบบนี้ใช้ Grid และ Averaging ซึ่งจะเพิ่มออเดอร์เมื่อราคาวิ่งสวน หากตลาดมีแนวโน้มแข็งแกร่งและเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวโดยไม่มีการย่อตัว จะทำให้เกิดการสะสมออเดอร์จำนวนมากและอาจขาดทุนหนักจนพอร์ตล้างได้
- ต้องการเงินทุนสูง:
- กลยุทธ์นี้ต้องใช้มาร์จิ้นที่สูงมาก เนื่องจากมีการเปิดออเดอร์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ หากเงินทุนไม่เพียงพอ อาจถูก Margin Call หรือ Stop Out ได้ง่าย
- มีโอกาสโดน Slippage หรือ Spread เพิ่มขึ้น:
- ช่วงตลาดลอนดอนเปิดมีความผันผวนสูง อาจเกิด Slippage ทำให้ราคาที่เปิดหรือปิดออเดอร์ไม่ตรงกับที่ตั้งไว้ นอกจากนี้ คู่เงินบางคู่ เช่น GBP/JPY อาจมี Spread กว้างขึ้น ทำให้ต้นทุนการเทรดสูงขึ้นได้

สรุป
Quantum London Trading เป็นระบบที่ใช้ความผันผวนของตลาดลอนดอนช่วงเปิดตลาดเพื่อทำกำไร โดยใช้กลยุทธ์ Grid Trading และ Averaging ในการบริหารออเดอร์ เงื่อนไขการเข้าเทรดอ้างอิงจากสัญญาณของเครื่องมือประเภท Quantum Indicator
ระบบนี้ใช้การเพิ่มออเดอร์ทั้งแบบ Fixed Lot, Martingale และ Anti-Martingale เพื่อช่วยลดต้นทุนเฉลี่ยและเพิ่มโอกาสปิดกำไรเมื่อราคากลับตัว การตั้งเป้าหมายกำไรและความเสี่ยงทำได้โดยใช้ Basket TP เพื่อปิดออเดอร์ทั้งหมดเมื่อรวมแล้วได้กำไร
อย่างไรก็ตาม ระบบนี้มีความเสี่ยงสูงเมื่อเจอตลาดที่มีแนวโน้มที่แข็งแกร่ง ดังนั้นการบริหารความเสี่ยงและเงินทุนอย่างรอบคอบจึงเป็นสิ่งสำคัญในการใช้ระบบนี้ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ยอมรับว่าเป็นระบบที่ทำกำไรได้ง่ายดีแต่ก็มีความเสี่ยงสูงจริง ๆ ครับ
ทีมงาน: forexthai.in.th