Forexthai.in.th ย่อให้
- Stochastic Oscillator คือ อินดิเคเตอร์ที่ใช้วัดโมเมนตัมการแกว่งตัวของราคา ช่วยบอกจุดกลับตัวของตลาดได้น่าเชื่อถือในระดับหนึ่ง
- เหมาะที่สุดสำหรับตลาด Sideway และการเทรดระยะสั้น โดยเฉพาะในไทม์เฟรม M5 และ M15
- ใช้สัญญาณ 2 เส้นหลัก: เส้น %K (แดง) และเส้น %D (ฟ้า) โดยวิ่งในช่วง 0-100 มีโซนสำคัญคือ Overbought (80+) และ Oversold (20-)
- สร้างสัญญาณซื้อขายจากการตัดกันของเส้น %K และ %D รวมถึงการทะลุโซน Overbought/Oversold
- แนะนำให้ใช้ควบคู่กับการวิเคราะห์แนวโน้มหลักของตลาด และระมัดระวังเป็นพิเศษในช่วงประกาศข่าวสำคัญ
Stochastic Oscillator คือ Indicator ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในวงการ Forex เลยก็ว่าได้ ใคร ๆ ก็ใช้ เพราะเป็น Indicator ที่ให้สัญญาณการซื้อขายเชื่อถือได้ในระดับที่น่าพอใจเลยทีเดียว
สารบัญบทความ click เพื่อเลือกอ่าน !!
ทำความรู้จัก Stochastic Oscillator
Stochastic Oscillator จัดอยู่ในตระกูล Oscillator ครับ ซึ่งเป็นอินดิเคเตอร์ที่เน้นวัดการแกว่งตัวของราคา Forex โดยเฉพาะ เรียกได้ว่าเป็นเครื่องมือที่เหมาะสุดๆ กับการวิเคราะห์ตลาดในช่วง Sideway หรือช่วงที่ราคาแกว่งตัวขึ้นลงในกรอบแคบๆ (ก็คือจะใช้งานได้ดีในสภาวะกราฟที่มีการแกว่งตัวขึ้นลงในช่วงไม่กว้างนัก..)
สิ่งที่น่าสนใจคือ Stochastic จะเคลื่อนไหวตาม Momentum ของราคา ตามคำกล่าวที่ว่า “การเปลี่ยนทิศทางของ momentum จะเกิดขึ้นก่อนการเปลี่ยนทิศทางของราคา” อย่างใน Bullish และ Bearish Divergence จะเห็นได้ว่า Stochastic นำไปใช้แสดงถึงการกลับตัวของราคาที่จะเกิดขึ้นได้ ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้ Stochastic Oscillator ในการคาดการณ์การเกิดขึ้นของแนวโน้มในอนาคต
การเปิดใช้งาน Stochastic
- เปิดโปรแกรม MT4 แล้วเข้ามาที่แถบเมนู Insert > Indicators > Oscillators > Stochastic Oscillator
- จากนั้น เจ้า Stochastic ก็จะปรากฏที่ด้านล่างของกราฟเรียบร้อยแล้วครับ
- ค่า Default ที่มาพร้อมกับอินดิเคเตอร์ ก็จะเป็นค่า 20,80 ครับ ซึ่งเราสามารถปรับแต่งเพิ่มเติมได้
ทำความรู้จักกับเส้นสัญญาณหลัก
Stochastic มีเส้นสัญญาณสำคัญ 2 เส้นครับ ได้แก่
- เส้น %K (สีแดง): นี่คือเส้น Stochastic หลัก
- เส้น %D (สีฟ้า): เป็นเส้นค่าเฉลี่ยของ %K
Stochastic นั้นจะวิ่งอยู่ในช่วง 0-100 โดยแบ่งเป็นโซนสำคัญ คือ
- โซน Overbought จะมีค่าตั้งแต่ 80 ขึ้นไป ซึ่งหมายถึงราคามีแรงซื้อเข้ามามากเกินไป อาจจะมีการปรับตัวลงในเร็วๆ นี้ แถบสีน้ำเงิน
- โซน Oversold จะมีค่าตั้งแต่ 20 ลงไป ซึ่งหมายถึงราคามีแรงขายเข้ามามากเกินไป อาจจะมีการปรับตัวขึ้นในเร็วๆ นี้ แถบสีแดง
Stochastic Oscillator ทำอะไรได้บ้าง?
- บอก Oversold/Overbought ตามหลักการแล้ว เมื่อราคาเข้ามาที่โซน Overbought ราคาอาจจะมีการปรับตัวลงในเร็วๆนี้ เตรียม Sell ถ้าราคาเข้ามาที่โซน Oversold ราคาอาจจะมีการปรับตัวขึ้นในเร็วๆนี้ เตรียม Buy ย้ำว่าเป็นเพียงหลักการครับ ..
- บอกการกลับทิศทางของราคา (Bullish กับ Bearish Divergence) , บอกการกลับทิศทางจากขาขึ้นเป็นขาลง , บอกการกลับทิศทางจากขาลงเป็นขาขึ้น
- บอกจุดเข้าซื้อ – ขาย , เปิดออเดอร์ Buy เมื่อเส้น %K ตกลงโซน Oversold แล้วขยับขึ้นมาเหนือ 20 / เปิด ออร์เดอร์ Sell เมื่อเส้น %K ขึ้นไปถึงโซน Overbought แล้วตกลงมาต่ำกว่า 80
Stochastic จะใช้งานได้ดีในกรณี ดังนี้
เนื่องจาก Stochastic Oscillator เป็น indicator ประเภท momentum oscillator ดังนั้นสัญญาณซื้อ-ขายที่แม่นยำ จึงใช้ได้ดีกับตลาดที่ไม่เกิดแนวโน้ม (Sideway) เพราะตลาดจะแกว่งตัวขึ้นลงไปมา ดังนั้น
- ในตลาดขาขึ้น (Uptrend) Stochastic จึงให้สัญญาณซื้อได้ดีกว่าสัญญาณขาย เพราะหากขายไปหุ้นมักจะขึ้นต่อ เนื่องจากมันแค่ย่อตัวลงมาเท่านั้น momentum ไม่ได้เปลี่ยนทิศทางแต่อย่างใดและตลาดมีลักษณะแกว่งตัวเป็นขาขึ้น
- ในตลาดขาลง (Downtrend) Stochastic จะให้สัญญาณขายที่แม่นยำกว่าสัญญาณซื้อ เพราะ หากซื้อจะทำให้ขาดทุนได้ เนื่องจาก ตลาดแกว่งตัวลง momentum ยังอยู่ในทิศทางขาลง
สัญญาณ Bullish & Bearish Divergence นั้นจะเพิ่มความแม่นยำให้กับผู้ใช้เครื่องมือได้ แต่ต้องดูแนวโน้มประกอบในการตัดสินใจ หากเป็นขาลงที่แข็งแกร่ง การเกิด Bullish Divergence นั้น จะต้องรีบเข้าและรีบออกจากตลาด (โดยเฉลี่ย 3-5 วัน) เพราะแนวต้านของแนวโน้มนั้นจะมีความแข็งแรง ราคาเพียงแค่เกิดการพักฐานในขาลงเท่านั้น
บทความแนะนำสำหรับผู้เริ่มเทรด Forex
การทำกำไรด้วย Divergence
เราสามารถใช้ เจ้า Stochastic ในการที่จะหาจังหวะการเปิดออเดอร์เพื่อทำกำไร กับสภาวะ Divergence ของกราฟได้ โดยใช้คู่ขนานไป
- divergence ขาขึ้น : Stochastic ทะลุ 20 => เปิดออเดอร์ Buy
- Divergence ขาลง : Stochastic หลุด 80 => เปิดออเดอร์ Sell
การทำกำไรด้วย Zone ของ Stochastic
ปกติ Stochastic จะมีค่า Default อยู่ 2 ค่า คือ 80, 20 ซึ่งเป็น Zone บางทีการที่จะรอให้ราคาวิ่งลงมาที่ 20 หรือ ขึ้นไปที่ 80 อาจต้องใช้เวลา ยิ่งใช้ กราฟ TF ที่สูงกว่า H1 คงรอเป็น 2 – 3 วัน ดังนั้น เราสามารถเพิ่มเส้นขึ้นมาเองได้เพื่อกำหนด Zone เพิ่มขึ้น ในการหาโอกาสที่จะเข้าเทรด
ในภาพ ผมเพิ่มอีก 2 เส้น คือ 90 และ 10 เพื่อเพิ่มความชัดเจน และไล่ Zone
- มากกว่า 90 คือ เขต Overbougth เตรียม Sell
- น้อยกว่า 10 คือเขต Oversold เตรียม Buy
การทำกำไรโดยใช้ Stochastic ร่วมกับ MACD
ด้วยความที่เป็น indicator แบบ “การแกว่งตัว” หากจะเพิ่มความแม่นยำในการเปิดออเดอร์ ควรจะหา indicator ตัวอื่นมาร่วมวิเคราะห์ด้วยครับ ก็จะเป็นการดียิ่ง ในตอนนี้ขอนำเอา MACD มาร่วมด้วย
กลยุทธ์การทำกำไรด้วย Stochastic และ MACD นี้ เป็นระบบการซื้อขายที่อิงตาม MT4 โดยจะใช้ MACD เป็นตัวกรองสัญญาณหลอก ส่วน Stochastic จะเป็นตัวส่งสัญญาณเข้าเทรด มาดูวิธีการกันเลยครับ
ข้อมูลพื้นฐานของระบบ
- Indicator: MACD และ Stochastic Oscillator
- คู่สกุลเงิน: ใช้ได้กับทุกคู่
- Timeframe: H1 ขึ้นไป
การเปิดออเดอร์ Buy
- MACD ต้องอยู่เหนือเส้นระดับ 0 เพื่อยืนยันแนวโน้มขาขึ้น เป็นการบอกว่าตลาดกำลังมีโมเมนตัมเป็นขาขึ้น
- Stochastic ต้องอยู่แถวๆ และเพิ่งข้ามขึ้นมาจากเส้น Oversold (ระดับ 20)
- สังเกตแท่งเทียนประกอบ ต้องมีแท่งเทียนที่สอดคล้องกับทิศทางของ Stochastic เป็นการยืนยันสัญญาณอีกชั้น
- การวางออเดอร์
- วาง Pending Order Buy สูงกว่าแท่งเทียนอย่างน้อย 2 pips
- วาง Stop Loss ต่ำกว่าแท่งเทียนที่อย่างน้อย 2-5 pips ถ้า Stop Loss ดูใกล้เกินไป ให้หาจุดต่ำสุดของการแกว่งตัวก่อนหน้าที่ใกล้ที่สุด
- ตั้ง Risk/Reward ที่ 1: 2 ขึ้นไปครับ
การเปิดออเดอร์ Sell
- MACD จะต้องอยู่ต่ำกว่าเส้นระดับ 0 ซึ่งเป็นบ่งบอกว่ากำลังจะเป็นแนวโน้มขาลง
- Stochastic ต้องอยู่แถวๆ และเพิ่งหลุดลงมาจากเส้น Overbought (ระดับ 80)
- สังเกตแท่งเทียนประกอบ ต้องมีแท่งเทียนที่สอดคล้องกับทิศทางของ Stochastic เป็นการยืนยันสัญญาณอีกชั้น
- การวางออเดอร์
- วาง Pending Order Sell ต่ำกว่าแท่งเทียนอย่างน้อย 2 pips
- วาง Stop Loss สูงกว่าแท่งเทียนอย่างน้อย 2-5 pips หาก Stop Loss ใกล้เกินไป ให้ดูจุดสูงสุดของการแกว่งตัวก่อนหน้าที่ใกล้ที่สุดแทน
- Risk/Reward ที่ 1: 2 ขึ้นไปครับ
ทำกำไรในกราฟ 5 นาที กับ Stochastic และ Super Trend
จริงๆ แล้ว Stochastic เหมาะกับ M5 และ M15 มากๆ ในช่วง sideways ครับ วันนี้เลยจะแนะนำระบบเทรดสั้นๆ โดยใช้ SuperTrend ร่วมด้วย มาดูการทำงานของระบบกันเลยครับ
ข้อมูลระบบ
- Indicator: SuperTrend และ Stochastic
- Timeframe: M5
- ช่วงเวลา: ตลาดยุโรป-อเมริกา
- คู่เงิน: EURUSD, GBPUSD, GBPJPY, EURJPY, AUDUSD, USDJPY, USDCHF
การเปิดออเดอร์ BUY
- ราคาจะต้องอยู่เหนือ SuperTrend ตรวจสอบและรอให้ Stochastic วิ่งให้แตะถึงระดับ 20% เมื่อทั้ง 2 เงื่อนไขตรงกันให้ทำการเปิดออเดอร์ Buy
- ให้วาง Stoploss อยู่ใต้ supertrend line (เส้นสีเขียว 50-100 pips)
- เก็บกำไรตั้งแต่ 100 pips ขึ้นไป
การเปิดออเดอร์ Sell
- ราคาจะต้องอยู่ต่ำกว่า SuperTrend ตรวจสอบและรอให้ Stochastic วิ่งให้แตะถึงระดับ 80% เมื่อทั้ง 2 เงื่อนไขตรงกันให้ทำการเปิดออเดอร์ Sell ทันที
- ให้วาง Stoploss อยู่เหนือ supertrend line (เส้นสีเขียว 50-100 pips).
- เก็บกำไรตั้งแต่ 100 pips ขึ้นไป
จริงๆ ยังมีการทำกำไรกับ Stochastic อีกหลายแบบครับ เอาไว้โอกาสหน้าจะมาแชร์กันต่อนะครับ พบกันใหม่ตอนหน้า..
สรุป
Stochastic คือ Indicator ที่ใช้บอก Momentum ของกราฟได้ดี ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากในการหาจุดกลับตัวของกราฟ ยิ่งใช้คู่กับ Indicator อื่นๆ ยิ่งเพิ่มความแม่นยำได้อีก โดยเฉพาะการใช้คู่กับ MACD ที่เราได้เรียนรู้กันไปครับ
ทีมงาน: forexthai.in.th