Forexthai.in.th ย่อให้

  • ระบบเทรด Pivot Trading: เป็นระบบที่ต้องใช้ทั้งประสบการณ์ทางจิตวิทยาและทางเทคนิค โดยมีการกำหนดระดับแนวรับและแนวต้านเพิ่มเติมอีกหลายระดับ
  • เครื่องมือทางเทคนิค: ต้องใช้ส่วนมากก็จะเป็นประเภทที่บ่งชี้ระดับราคาที่มีผลทางจิตวิทยา เพื่อหาระดับแนวรับและแนวต้าน โดยใช้ร่วมกันกับการวิเคราะห์ข้อมูลตัวเลขเศรษฐกิจ
  • Indicator: ที่ใช้คือ Pivot Point (PP) สามารถกำหนดระดับแนวรับและแนวต้านได้หลายระดับ
  • เงื่อนไขในการเข้าเทรด: Buy เมื่อราคาวิ่งอยู่เหนือระดับ Pivot Point และ Sell หากราคาวิ่งอยู่ต่ำกว่าระดับ Pivot Point แสดงว่าตลาดอยู่ในช่วงขาลง
  • จุดอ่อนของระบบเทรด: สัญญาณระดับแนวรับและแนวต้านจาก Pivot Point ไม่ได้แม่นยำเสมอไป และไม่เหมาะกับตลาดที่มีแนวโน้มชัดเจนด้วย

ระบบเทรดแบบ Pivot Trading

การซื้อขาย forex แบบ Pivot Trading ระบบเทรดนี้ จำเป็นต้องใช้ทั้งประสบการณ์ทางจิตวิทยาและทางเทคนิคอย่างมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับระบบเทรดต่าง ๆ ที่มีเทรดเดอร์ใช้ในการเทรด Forex

ด้วยความที่ระบบเทรด Pivot กำลังได้รับความนิยมอย่างสูง จึงขอหยิบยกเอามาพิจารณาองค์ประกอบของระบบเทรดที่ใช้ เพื่อเป็นแนวทางสำหรับนักเทรดทั้งหลาย ได้นำไปปรับใช้กับการเทรดของตัวเองบ้าง ไปพิจารณาด้วยกันเลยครับ

 

“In the time of your life, live—so that in that wondrous time you shall not add to the misery and sorrow of the world, but shall smile to the infinite delight and mystery of it.”

“ในช่วงเวลาของชีวิตของคุณ จงมีชีวิตอยู่ เพื่อว่าในช่วงเวลาที่น่าอัศจรรย์นั้น คุณจะไม่เพิ่มความทุกข์และความโศกเศร้าให้กับโลก แต่คุณจะยิ้มให้กับความสุขและความลึกลับที่ไม่มีที่สิ้นสุด”

― William Saroyan

ข้อมูลเบื้องต้น

ระบบเทรดแบบ Pivot Trading เป็นการซื้อขายซึ่งต้องใช้ทั้งประสบการณ์ทางจิตวิทยาและทางเทคนิคในตลาด Forex เพราะการซื้อขาย forex แบบ Pivot คือกลยุทธ์การวิเคราะห์ทางเทคนิคที่ใช้ Pivot Point ในการระบุระดับแนวรับและแนวต้านที่คาดว่าราคาจะเปลี่ยนทิศทาง

Pivot Point คือ ระดับราคาที่คำนวณจากราคาสูงสุด ราคาต่ำสุด และราคาปิดของช่วงเวลาที่กำหนด โดยทั่วไป นิยมใช้กรอบเวลา 1 วัน แต่สามารถใช้กรอบเวลาอื่น ๆ ได้เช่นกัน

เมื่อมีการคำนวณ Pivot Point แล้ว จะมีระดับแนวรับและแนวต้านเพิ่มเติมอีกหลายระดับ โดยจะเรียกว่า S1, S2, S3 สำหรับแนวรับ และ R1, R2, R3 สำหรับแนวต้าน

Pivot Point & Fibonacci retracement levels
Pivot Point & Fibonacci retracement levels เป็นระบบเทรดที่ให้ความสำคัญกับระดับแนวรับและแนวต้าน

เครื่องมือที่ใช้

ระบบเทรดแบบ Pivot Trading ให้ความสำคัญกับระดับแนวรับและแนวต้าน ที่มีในระดับราคาต่าง ๆ หลายระดับ ดังนั้นเครื่องมือทางเทคนิคที่ต้องใช้ส่วนมากก็จะเป็นประเภทที่บ่งชี้ระดับราคาที่มีผลทางจิตวิทยาร่วมกับข้อมูลตัวเลขเศรษฐกิจ ดังนี้

  • ราคาที่คำนวณจาก Pivot Point ประกอบกับเครื่องมือ Fibonacci retracement levels
  • รายงานการประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจ

การเทรดแบบ Pivot Trading ในตลาด Forex จะใช้องค์ประกอบของการวิเคราะห์จากข้อมูลสองส่วนนี้ เป็นปัจจัยในการพิจารณาก่อนตัดสินใจซื้อหรือขาย

วิธีคำนวณหาจุด Pivot Point ของคู่เงิน

วิธีการคำนวณหาระดับราคาที่เป็น Pivot Point (PP) ข้อมูลจำเป็นที่ต้องใช้เพื่อนำมาคำนวนประกอบไปด้วย

  • ราคาสูงสุด (High) ของคู่เงินนั้น ๆ ในวันก่อนหน้า
  • ราคาต่ำสุด (Low) ของคู่เงินนั้น ๆ ในวันก่อนหน้า
  • ราคาปิด (Close) ของคู่เงินนั้น ๆ ในวันก่อนหน้า

ตัวอย่าง: EUR/USD สมมติว่าราคา EUR/USD ในวันก่อนหน้า ดังนี้

  • High: 1.1450
  • Low: 1.1200
  • Close: 1.1325

สูตรคำนวณ: ที่ต้องใช้

ตารางสูตรการคำนวณ Pivot Point

การคำนวณ: จากข้อมูลที่มี

ผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณ

ผลลัพธ์: ที่คำนวนได้คือ

  • Pivot Point (PP): 1.1325
  • Resistance 1 (R1): 1.1450
  • Support 1 (S1): 1.1200
  • Resistance 2 (R2): 1.1575
  • Support 2 (S2): 1.1100
  • Resistance 3 (R3): 1.1800
  • Support 3 (S3): 1.0650
การคำนวณหาแนวรับและแนวต้าน
การคำนวณหาแนวรับและแนวต้าน ระดับต่าง ๆ ตามสูตรการคำนวณของ Pivot Point

การวิเคราะห์

จากตัวอย่างข้างต้น เราสามารถวิเคราะห์แนวโน้มของราคาที่จะเกิดได้ ดังนี้

Resistance แนวต้าน: ระดับราคาที่คาดว่าราคาอาจจะวิ่งขึ้นไปหา

  • R1: 1.1450
  • R2: 1.1575
  • R3: 1.1800

Support แนวรับ: ระดับราคาที่คาดว่าราคาอาจจะวิ่งลงไปทดสอบ

  • S1: 1.1200
  • S2: 1.1100
  • S3: 1.0650

วิธีการใช้ Pivot Point

วิธีการใช้ Pivot Point ในการซื้อขาย forex ในระบบเทรดแบบ Pivot Trading นั้น มีวิธีการใช้ ดังนี้

แนวโน้มขาขึ้น:

  • หากราคาอยู่เหนือ Pivot Point แสดงว่าตลาดเป็นขาขึ้น
  • ให้ซื้อเมื่อราคาดีดตัวขึ้นจากแนวรับ (S1, S2, S3)
  • วางจุด Take Profit ไว้ที่แนวต้าน (R1, R2, R3)
  • วาง Stop Loss ไว้ต่ำกว่าแนวรับที่ราคาดีดตัวขึ้น

แนวโน้มขาลง:

  • หากราคาอยู่ต่ำกว่า Pivot Point แสดงว่าตลาดเป็นขาลง
  • ให้ขายเมื่อราคาทะลุแนวต้าน (R1, R2, R3)
  • วางจุด Take Profit ไว้ที่แนวรับ (S1, S2, S3)
  • วาง Stop Loss ไว้เหนือแนวต้านที่ราคาทะลุ
ปฏิทินรายการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ที่มีผลต่อค่าเงินของเว็บ Forexfactory.com

การประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจ

การหาข้อมูลของการประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจ ที่จะมีผลกระทบต่อค่าเงินสกุลต่าง ๆ นั้น สามารถหาดูได้จากข่าวกิจกรรมปฏิทินที่รายงานประจำวันในเว็บไซต์อย่างเช่น Forexfactory.com หรือเว็บไซต์อื่น ๆ อีกหลายเว็บไซต์ จะมีเมนูข่าวให้ติดตามดูได้ฟรี

อีกอย่างสิ่งที่ต้องมองหาในปัจจัยพื้นฐานก็คือโพสต์สำคัญที่เกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐาน การรายงานเศรษฐกิจ รวมทั้งตัวบ่งชี้สำคัญสำหรับรายงานเศรษฐกิจของประเทศเจ้าของค่าเงินนั้น ๆ ด้วย ข้อมูลเหล่านี้ล้วนมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินทั้งสิ้น

ตัวเลขทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อค่าเงิน Forex

สำหรับตัวเลขทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อค่าเงินที่เปิดให้ซื้อขายในตลาด Forex นั้น จะขอนำเสนอข่าวของตัวเลขที่ต้องดู ที่จะมีผลกระทบต่อค่าเงินต่าง ๆ ดังนี้

USD – ดอลลาร์สหรัฐ

  1. Non-Farm Payrolls > ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร ซึ่งเป็นองค์ประกอบการจ้างงานของ ISM นอกภาคการผลิต
  2. Retail Sales > รายงานยอดขายปลีกของร้านค้าในเครือ ICSC และการสำรวจ Johnson Redbook
  3. ISM Manufacturing > ตัวเลขภาคการผลิต ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อของชิคาโก เฟดของฟิลาเดลเฟีย และการสำรวจการผลิตของ Empire State
  4. ISM Non-Manufacturing > การผลิตนอกภาคการผลิตของ ISM
  5. Producer Prices > ตัวเลขราคาผู้ผลิต ราคาสินค้านำเข้า
  6. Consumer Prices > ตัวเลขราคาผู้บริโภค ราคาผู้ผลิต
  7. GDP > ยอดขายปลีกและดุลการค้า
  8. Trade การค้า > การผลิต ส่วนประกอบของรายงาน ISM และคำสั่งซื้อส่งออก
  9. University of Michigan Consumer Sentiment Index (UMich) > ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของมหาวิทยาลัยมิชิแกน (UMich) ความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ IBD/TIPP
  10. Conference Board Consumer Confidence > ความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ Conference Board การสำรวจ UMich และ IBD
  11. Personal Income > รายได้ส่วนบุคคล รายได้ส่วนบุคคลที่เฉลี่ยเป็นรายสัปดาห์
  12. Personal Spending > การใช้จ่ายส่วนบุคคล เป็นตัวเลขที่ได้จากยอดขายปลีกทั่วไป
  13. New Home Sales > ยอดขายบ้านใหม่ ยอดขายบ้านที่สร้างขึ้นมาใหม่ ที่มีอยู่ในตลาดทั้งหมด
ปฏิทินตัวเลขทางเศรษฐกิจ
ปฏิทินรายการประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจของอเมริกา ที่มีผลกระทบต่อค่าเงิน USD

EUR – EUROZONE

  1. German Unemployment Change > การเปลี่ยนแปลงอัตราการว่างงานของเยอรมนี องค์ประกอบการจ้างงานของการสำรวจ PMI
  2. German IFO Report > รายงาน IFO ของเยอรมนี ZEW ของเยอรมนี PMI ภาคการผลิต และคำสั่งซื้อจากโรงงาน
  3. German Retail Sales > ยอดขายปลีกของเยอรมนี PMI ภาคการขายปลีกของเยอรมนี การจ้างงาน และความเชื่อมั่น
  4. German Producer Prices > ราคาผู้ผลิตของเยอรมนี ราคาขายส่งของเยอรมนี
  5. PMI Services > รายงานตัวเลข PMI ภาคบริการ และตัวเลข PMI ภาคการผลิต
  6. German Consumer Prices > ราคาผู้บริโภคของเยอรมนี PPI ของเยอรมนี
  7. German GDP > รายงานตัวเลข GDP ของเยอรมนี ซึ่งเป็นยอดขายปลีกและการค้า
  8. German Manufacturing PMI > รายงานตัวเลข PMI ภาคการผลิตของเยอรมนี IFO การผลิตภาคอุตสาหกรรม ZEW
  9. German Industrial Production > การผลิตภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนี คำสั่งซื้อจากโรงงาน และ PMI ภาคการผลิต
ปฏิทินตัวเลขทางเศรษฐกิจ
ปฏิทินรายการประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจของฝรั่งเศสและเยอรมัน ที่มีผลกระทบต่อค่าเงิน EUR

** สำหรับข้อมูลตัวเลขที่กระทบต่อ EUR – EUROZONE ให้ดูข้อมูลของเยอรมนีและฝรั่งเศสเป็นหลัก เนื่องจากเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในยูโรโซน ข้อมูลของเยอรมนีจึงมีผลกระทบต่อ EUR อย่างมากสุด

GBP – สหราชอาณาจักร

  1. Claimant Count > จำนวนผู้เรียกร้องขอรับสวัสดิการ องค์ประกอบการจ้างงานของ PMI ภาคการผลิตและบริการ
  2. Retail Sales > ยอดขายปลีก รายงานยอดขายปลีก BRC และความเชื่อมั่นของผู้บริโภค
  3. PMI Manufacturing > ตัวเลข PMI ภาคการผลิต การสำรวจแนวโน้มภาคอุตสาหกรรมของ CBI
  4. PMI Services PMI > ตัวเลขภาคบริการ PMI ภาคการผลิต
  5. Producer Prices > ราคาผู้ผลิต องค์ประกอบราคาในรายงาน PMI ภาคการผลิตและบริการ
  6. Consumer Prices > ราคาผู้บริโภค ราคาผู้ผลิต
  7. GDP > ตัวเลขยอดขายปลีกและการค้า
  8. Visible Trade Balance > ดุลการค้าที่มองเห็นได้ PMI ภาคการผลิต คำสั่งซื้อใหม่ และคำสั่งซื้อส่งออก

CAD – แคนาดา

  1. Employment > ตัวเลขการจ้างงาน องค์ประกอบการจ้างงานของ IVEY PMI
  2. Retail Sales > ยอดขายปลีก ยอดขายส่ง
  3. IVEY PMI > ยอดขายส่งและตัวบ่งชี้สำคัญ
  4. Consumer Prices > ราคาผู้บริโภค องค์ประกอบราคาของ IVEY
  5. GDP > ยอดขายปลีกและการค้า
  6. Trade > การค้า IVEY สินค้าคงคลังและการจัดส่งของซัพพลายเออร์
การประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจของแคนาดา
การประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจของแคนาดาที่มีผลกระทบต่อค่าเงิน CAD ถ้าเป็นแฟ้มสีแดงจะยิ่งมีผลกระทบมากขึ้น

AUD – ดอลลาร์ออสเตรเลีย

  1. Employment > การจ้างงาน องค์ประกอบการจ้างงานของดัชนี PMI ภาคการผลิตและบริการ
  2. Retail Sales > ยอดขายปลีก องค์ประกอบการขายของดัชนี PMI ภาคบริการ
  3. PMI Services > ดัชนี PMI ภาคบริการ ดัชนี PMI ภาคการผลิต
  4. Producer Prices > ราคาผู้ผลิต ราคาผู้บริโภค
  5. GDP > ยอดขายปลีกและการค้า
  6. Trade > ตัวเลขการค้า ดัชนี PMI ภาคการผลิต

ตัวเลขทางเศรษกิจที่ประกาศออกมาดีก็จะส่งผลให้ค่าเงินของประเทศเหล่านั้นแข็งค่าขึ้น ในทางที่ตรงข้ามกัน หากมีการประกาศตัวเลขที่ออกมาแย่กว่าเดิม ค่าเงินของประเทศนั้น ๆ ก็จะอ่อนค่าลงนั่นเอง

ข้อดีของระบบเทรด Pivot Trading

ข้อดีของการซื้อขาย forex ด้วยระบบเทรด Pivot Trading นั้น มีข้อดีที่น่าสนใจ ดังนี้

  • เป็นกลยุทธ์ที่เรียบง่าย เข้าใจง่าย
  • สามารถใช้กับคู่สกุลเงิน forex ได้แทบจะทุกคู่ในตลาด
  • มีประสิทธิภาพในการระบุจุดกลับตัวของราคา
  • สามารถใช้ร่วมกับเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคอื่น ๆ ได้

เงื่อนไขการเข้าเทรด

ระบบเทรดแบบ Pivot Trading เป็นการซื้อขาย Forex ซึ่งต้องใช้ทั้งประสบการณ์ทางจิตวิทยาและทางเทคนิค โดยคำนวณหาจุดพลิกผันของราคาที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งมีเงื่อนไขในการเข้าเทรด ดังนี้

เมื่อราคาวิ่งอยู่เหนือระดับ Pivot Point แสดงว่าตลาดกำลังเป็นขาขึ้น ให้ทำการ BUY

การเข้า BUY: ในแนวโน้มขาขึ้น

  • เมื่อราคาวิ่งอยู่เหนือระดับ Pivot Point แสดงว่าตลาดกำลังเป็นขาขึ้น ถ้าหากมีข่าวการประกาศตัวเลขสนับสนุนที่ดีประกอบด้วย ยิ่งดีขึ้นอีก
  • ให้ทำการ BUY เมื่อราคาทดสอบระดับแนวรับ (S1, S2, S3) แล้วมีการดีดกลับขึ้นมา
  • ตัวเลขของ Fibonacci ควรอยู่ในโซน 61-100% เมื่อเทียบกับระดับแนวรับที่คำนวนได้
  • วางจุด Take Profit ไว้ที่บริเวณแนวต้าน (R1, R2, R3)
  • วาง Stop Loss ไว้ต่ำกว่าแนวรับที่ราคาดีดตัวขึ้น

การเข้า SELL: ในแนวโน้มขาลง

  • หากราคาเคลื่อนไหวอยู่ต่ำกว่าระดับ Pivot Point แสดงว่าตลาดอยู่ในช่วงขาลง ถ้าหากมีการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจที่แย่สนับสนุนอีก ราคายิ่งมีแนวโน้มวิ่งลงมากขึ้น
  • ให้ทำการ Sell เมื่อเห็นว่าราคาทำการทดสอบแนวต้าน (R1, R2, R3) แล้วไม่ผ่าน
  • ตัวเลขของ Fibonacci ควรอยู่ในโซน 61-100% เมื่อเทียบกับระดับแนวต้านที่คำนวนได้
  • วางจุด Take Profit ไว้ที่บริเวณแนวรับ (S1, S2, S3)
  • วาง Stop Loss ไว้สูงกว่าระดับแนวต้านขึ้นไปเล็กน้อย

ระดับราคาที่อยู่ในโซนของตัวเลข Fibonacci ระหว่าง 61-100% มักจะเป็นบริเวณที่การวิ่งของราคามีการกลับตัว ราคาจะมีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนทิศทาง โซนสำคัญคือระดับ S/R ที่ตรงกับตำแหน่งตัวเลข 61% และ 78% ที่มักจะเข้าไปทำดการซื้อขายได้ดีที่สุด

เมื่อราคาวิ่งอยู่ใต้ระดับ Pivot Point แสดงว่าตลาดกำลังเป็นขาลง ให้ทำการ Sell

คู่เงินที่แนะนำในการเทรดด้วย Pivot Trading

คู่เงินหลักทั้งหมดที่เปิดให้ซื้อขายในตลาด Forex ล้วนใช้ระบบเทรด Pivot Trading ได้เป็นอย่างดี คู่เงินข้ามคู่ที่อยากแนะนำคือ CJ, AJ, NJ, NC, AC, AN, EC, EG, และ EA

*ไม่แนะนำให้ใช้กับคู่เงิน USD/CHF เท่านั้น เพราะเป็นคู่เงินที่วิ่งในกรอบค่อนข้างแคบ โอกาสในการทำกำไรจึงมีน้อย ประเภทคู่เงินข้ามคู่ที่ควรหลีกเลี่ยงคือ GN, GJ, และ GA ไม่ควรนำไปเทรดจะดีกว่า

จุดอ่อนของระบบ

ระบบเทรด Pivot Trading แม้จะให้ผลการเทรดที่ดี แต่ก็มีจุดอ่อนที่เป็นปัญหาในการใช้งานอยู่บ้าง ดังนี้

  • สัญญาณจาก Pivot Point ไม่ได้แม่นยำเสมอไป
  • กลยุทธ์นี้ไม่เหมาะกับตลาดที่มีแนวโน้มชัดเจน
  • เทรดเดอร์จำเป็นต้องมีประสบการณ์ในตลาด Forex พอสมควร และต้องมีการจัดการความเสี่ยงที่ดีด้วย
  • มี Stop Loss ในตำแหน่งที่ไม่แน่นอนในแต่ละครั้ง

อ้างอิง

https://www.forexfactory.com/attachment/file/3060407?d=1540597510

https://www.forexfactory.com/attachment/file/4046768?d=1632834924

ทีมงาน: forexthai.in.th

แสดงข้อคิดเห็น ให้กำลังใจ

comments