Indicator Parabolic SAR มีชื่อเต็มว่า Parabolic Support and Resistance ถือเป็นหนึ่งใน indicator เก่าแก่อีกตัวหนึ่งที่อยู่ในตลาดมานาน เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ทิศทางของราคาตลาด Forex ด้วยลักษณะเครื่องมือที่โดดเด่นและมีเอกลักษณะเฉพาะตัว ทำให้การประยุกต์ใช้นั้นค่อนข้างง่ายและสามารถทำการวิเคราะห์ได้อย่างตรงไปตรงมา สำหรับรายละเอียดด้านอื่นๆ และการใช้งาน Parabolic SAR นั้น ยังเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ต้องทำความเข้าใจเพิ่มเติมสำหรับเทรดเดอร์หลายคน นอกจากนี้ ความละเอียดอ่อนในการตั้งค่าเครื่องมือ ก็เป็นสิ่งที่ละเลยไม่ได้
สารบัญบทความ click เพื่อเลือกอ่าน !!
ข้อมูลทั่วไป
ในการวิเคราะห์ราคาหลักทรัพย์ หรือ การวิเคราะห์ตลาด Forex เครื่องมือหนึ่งที่มีความสำคัญ และมีบทบาทในการวิเคราะห์ ราคามาอย่างยาวนานคือ Parabolic SAR ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ J. Wellles Wilder, Jr คิดค้นขึ้นมา วัตถุประสงค์ของเขา คือ ต้องการที่จะบอกจุดกลับตัวของราคา ว่าตอนนี้เทรนด์เปลี่ยนทิศทางหรือยัง ซึ่งการวิเคราะห์นี้สามารถใช้ได้ทุกตลาด และจะมีประสิทธิภาพสูงในตลาด Forex เครื่องมือนี้ เป็นเครื่องมือประเภทบอกเทรนด์ของราคา และเป็นเครื่องมือประเภท Lagging System หรือก็คือ เมื่อราคาเปลี่ยนแปลงแล้วจึงทำให้การวิเคราะห์เปลี่ยน
Parabolic SAR มีการใช้ในการวิเคราะห์ ในตลาด Forex ที่หลากหลายเช่น การวิเคราะห์แนวรับแนวต้าน บ่อยครั้งที่มันจะใช้เป็น Stop loss เพราะว่า ถ้าหากนั่นคือ จุดกลับตัวก็หมายความว่า จุด Stop loss ที่ดีก็สามารถสร้างขึ้นจาด Parabolic SAR ด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ผู้สร้าง หรือ Wilder ได้แนะนำว่า เครื่องมือนี้ทำงานได้ดีในช่วงที่ตลาดมีเทรนด์ ซึ่งเขาบอกว่า ควรจะใช้ในช่วงต้นเทรนด์ และควรจะใช้เครื่องมือที่บอกความแข็งแกร่งของเทรนด์เป็นตัวช่วย ตัวอย่างเช่น Average Directional Index หรือ ADX ประกอบ
การคำนวณ
การคำนวณ SAR จะค่อนข้างซับซ้อนและมีการคำนวณเฉพาะตัว เป็น indicator ที่ไม่ได้มีหลักการคล้ายคลึงกับ indicator อื่น ๆ เลย โดยมีการคำนวณดังนี้
การตั้งค่า แนวรับแนวต้านจากช่วงก่อนเวลาก่อนหน้า
จุดสูงสุด (Extreme Point หรือ EP) = ราคาสูงสุดของเทรนด์ปัจจุบัน หรือว่า ต่ำสุดของเทรนด์ปัจจันในเทรนด์ขาลง
Acceleration Factor (AF) = วัดความอ่อนไหวของแนวรับและแนวต้าน (SAR)
AF จะเริ่มที่ .02 และเพิ่มครั้งละ .02 ทุกครั้งเมื่อ EP เพิ่มขึ้น SAR จะเพิ่ม และในทางกลับกัน ขาลง EP จะลดลง
สำหรับการคำนวณ Parabolic SAR ขาขึ้น และ ขาลง Parabolic SAR จะแตกต่างกัน ดังนี้
- Parabolic SAR ขาขึ้น
SAR ก่อนหน้า + AF ก่อนหน้า (EP ก่อนหน้า – SAR ก่อนหน้า ) = SAR ปัจจุบัน
- Parabolic SAR ขาลง
SAR ก่อนหน้า – AFก่อนหน้า (SAR ก่อนหน้า – EP ก่อนหน้า) = SAR ปัจจุบัน
การใช้งาน
สำหรับการใช้งาน Parabolic SAR นั้น อย่างที่ได้เกริ่นตั้งแต่ตอนแรก นั่นก็คือ สามารถใช้ได้เฉพาะช่วงที่ตลาดมีเทรนด์เท่านั้น ดังนั้นในการใช้งานครั้งนี้ จึงมีรูปแบบเดียว แต่สิ่งสำคัญสำหรับ Parabolic SAR คือ การตั้งค่าซึ่งค่าที่เหมาะสมก็เป็นค่ามาตรฐานของมันเองอยู่แล้ว
โดยในภาพเป็น ค่ามาตรฐาน ซึ่งจะใช้ค่านี้ก็ไม่ผิดครับ และผมก็ใช้ค่ามาตรฐานเช่นเดียวกัน ซึ่งการใช้งาน Parabolic SAR นั้นเป็นไปตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
เงื่อนไขการซื้อขาย
เงื่อนไขการซื้อและขายของ Parabolic SAR นั้น คือ การที่ Parabolic SAR นั้นอยู่ด้านล่างของราคา ให้ใช้เป็นสัญญาณ Buy และเมื่อ Parabolic SAR นั้นอยู่ด้านบนก็ให้ใช้เป็นสัญญาณ SELL
ในรูปจะเห็นว่า เราได้ทำการ Post highlight สีแดงและสีฟ้า ซึ่งสีฟ้าคือจุดเข้า Buy ส่วนสีแดงคือจุดเข้า Sell ก็ง่ายๆ ครับเพราะว่าถ้าหากมันเลื่อนจุดประไข่ปลาออกไปก็คือการเลื่อน Stop loss แต่ ต้องไม่ลืมว่า จุด Stop loss นั้นไม่ใช่ Take Profit นะครับ จุด Stop loss กับจุด Take Profit มันคนละเรื่อง
สำหรับการบอก Sideway เราสามารถความชันของกลุ่มแท่งเทียน บอกได้ซึ่งตัวอย่างในภาพสีเหลี่ยมสีเหลือง คือ ช่วง Sideway ซึ่งเป็นช่วงที่ Parabolic SAR นั้นไม่สามารถใช้ได้ผล ซึ่งเป็นช่วงที่ควรหลีกเลี่ยงในการเทรด อย่างไรก็ตามเราก็ไม่รู้หรอกว่า การเทรดจะออก Sideway เมื่อไหร่ สิ่งที่เราทำได้คือ การตั้ง Stop loss ไว้ก่อน
สรุป
สำหรับการใช้งาน Parabolic SAR ก็มีเพียงเท่านี้ครับ สิ่งสำคัญสำหรับ Parabolic SAR คือ การตั้งค่า Parabolic SAR ซึ่งหลายคนอาจจะทำได้ดีกว่าการใช้ค่ามาตรฐาน และที่สำคัญ สิ่งที่ต้องใช้ประกอบคือ ใช้เครื่องมืออื่น ๆ ในการบอก Sideway ก็ได้ แต่ในนี้ผมแนะนำให้ใช้กราฟแท่งเทียนนั่นแหละ อย่างไรก็ตาม ก็ต้องบอกก่อนว่า เราจะไม่มีทางรู้ว่ามันจะ Sideway หรือไม่เพราะว่า สัญญาณ Parabolic SAR นั้นจะเกิดขึ้นก่อน ก็ถ้ามันไม่ Sideway ก็จะกลายเป็นว่าเราตกรถ ฉะนั้นตัวเลือกที่ดีคือการส่งคำสั่งก่อน ตั้ง Stop loss ไว้ถ้าหากเห็นแล้วว่ามัน Sideway ค่อยหาจังหวะออกตอนที่มันมีกำไรก็ได้เช่นกัน
Review Broker Forex
วิเคราะห์ วิจารย์ ข้อดี-ข้อเสีย ข้อมูลจากการเทรดด้วยบัญชีจริง โดยทีมงานหลายคน ...
อ้างอิง
https://en.wikipedia.org/wiki/Parabolic_SAR
https://www.tradingview.com/wiki/Parabolic_SAR_(SAR)
https://www.investopedia.com/trading/introduction-to-parabolic-sar/
https://school.stockcharts.com/doku.php?id=technical_indicators:parabolic_sar
https://wiki.timetotrade.com/Parabolic_SAR
ทีมงาน: forexthai.in.th
Pingback: พื้นฐาน Parabolic Sar เคล็ดลับที่ไม่มีใครบอก|ThaiForexBroker