Forexthai.in.th ย่อให้
- Moving Average Oscillator (OSMA) คือ Indicator ที่ช่วยวิเคราะห์การแกว่งตัวของราคา มีลักษณะคล้ายกับ MACD
- นำมาใช้วิเคราะห์การแกว่งตัวของราคาในกราฟ Sideway โดยดูเป็นสัญญาณ Overbought และ Oversold ในการเทรด
- ใช้ค่ามาตรฐาน MA 12, 26, 9 และดูการทับซ้อนของ OSMA สองเส้น (ราคาเปิดและปิด) บนกราฟ 1 ชั่วโมง เพื่อหาจังหวะเข้า-ออก
- เงื่อนไขเทรด: OSMA อยู่เหนือ/ใต้เส้น 0, สีแดงทับสีเทา, Histogram สั้นลง เป็นต้น
- ข้อควรระวัง: อาจเกิดสัญญาณหลอกเมื่อใช้ร่วมกับ Indicator อย่าง RSI เนื่องจาก Scale ต่างกัน
สารบัญบทความ click เพื่อเลือกอ่าน !!
Moving Average Oscillator คืออะไร?
OSMA หรือ Moving Average Oscillator คือ เครื่องมือประเภท Oscillator ที่สร้างขึ้นจากเครื่องมือวัดเทรนด์อย่าง Moving Average มีลักษณะคล้ายกับ MACD ตรงที่เป็นแท่ง Histogram เหมือนกัน แถมยังใช้ค่าพื้นฐานในการตั้งค่าเหมือนกันอีกด้วย
และแน่นอนว่าทางทีมงาน forexthai จะมีการนำมาใช้งานที่ไม่ธรรมดาแน่นอน เพราะเราจะเอามันไปประยุกต์ใช้กับกราฟช่วงแกว่งตัว อย่างกราฟแบบ Sideway ที่ราคาจะมีการแกว่งตัวไปมา โดยใช้เป็นตัวบอกสัญญาณ Overbought และ Oversold เป็นหลัก
ข้อมูลเบื้องต้น
Moving Average Oscillator คือ indicator ที่สร้างมาจากเส้น Moving Average 3 เส้นที่มีความเร็วต่างกัน นั่นคือ ค่า MA 12, 26 และ 9 ซึ่งเป็นค่ามาตรฐานเดียวกับที่ใช้ใน MACD เลย แต่ที่น่าเสียดายคือ เราไม่รู้แน่ชัดว่าใครเป็นคนคิดค้นมันขึ้นมา จึงทำให้ไม่สามารถบอกประวัติความเป็นมาและวิธีใช้คร่าว ๆ ได้อย่างชัดเจนมากนัก
Oscillator of Moving Average มีสูตรในการคำนวณ ดังนี้
Oscillator Value – Moving Average Value
ค่าที่ได้จะแสดงเป็นจุดทศนิยม เพราะมันคือผลต่างของ Moving Average ทำให้ได้คือจำนวนการเคลื่อนไหวของราคาที่ได้รับการปรับค่าเฉลี่ยแล้ว แต่การใช้งานแบบนี้อาจจะยากไปหน่อย เดี๋ยวเราจะมาดูวิธีปรับปรุงให้ใช้งานง่ายขึ้นกันครับ
วิธีการใช้งาน
สำหรับการใช้งาน Moving Average Oscillator นั้น ต้องใช้งานในกราฟ 1 ชั่วโมง เพราะว่า Oscillator เป็นกราฟที่บอกการแกว่งตัว และกราฟ 1 ชั่วโมงจะแสดงการเคลื่อนไหวของราคาได้ชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาอื่น
เคล็ดลับที่ผมนำมาแชร์คือ ใช้ OSMA ร่วมกับ indicator ตัวอื่นที่บอก Overbought และ Oversold ได้ด้วย แล้วเราจะใช้ OSMA 2 ตัวพร้อมกัน โดยตัวนึงคำนวณจากราคาเปิด อีกตัวคำนวณจากราคาปิด
ในภาพข้างต้น คือ OSMA 2 ตัว โดยเราต้องเปลี่ยนสีให้มันตัดกัน เมื่อซ้อนกันจึงได้การทับกันที่ไม่สนิท เพราะว่าราคาเปิดย่อมช้ากว่าราคาปิดเสมอ
- ใส่ OSMA สีเทา สำหรับราคาเปิด
- ใส่ OSMA สีแดง สำหรับราคาปิด
เงื่อนไขการซื้อขายใช้ 2 เงื่อนไข ได้แก่ เงื่อนไขความสูงของแท่งเทียน และเงื่อนไขการทับกันของสี ดังนี้
เงื่อนไข Buy
- เข้าเมื่อ OSMA อยู่ต่ำกว่าเส้น 0 เท่านั้น โดยที่เมื่อเส้นสีแดงทับเส้นสีเทาจนไม่เห็นเส้นสีเทา (วงกลมสีฟ้า)
- แท่ง Histogram นั้นสั้นกว่าแท่งก่อนหน้า (วงกลมสีฟ้า)
เงื่อนไข Sell
- เมื่อเข้า OSMA อยู่สูงกว่าเส้น 0 เท่านั้น โดยที่เมื่อเส้นสีแดงทับเส้นสีเทาจนมองไม่เห็นเส้นสีเทา (วงกลมสีเหลือง)
- แท่ง Histogram นั้นสั้นกว่าแท่งก่อนหน้า (วงกลมสีเหลือง)
ส่วนการทำกำไรนั้น ให้ดูเมื่อราคาเลยจุด 0 ไปแล้ว 1-2 แท่ง หรือจะใช้ตั้ง Stop loss ก็ได้เช่นเดียวกัน เนื่องจากการตั้ง TP Profit ของ indicator ต้องรอให้ OSMA เปลี่ยนสีเป็นสัญญาณ Sell นั้นจะทำให้เราไปเข้าเทรดในจุดที่ช้าไป และตลาดอาจจะกลับตัวได้ทุกเมื่อ
สรุป
OSMA หรือ Oscillator of Moving Average เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์การแกว่งตัว แม้ว่ามันจะมีข้อจำกัดบ้างเพราะสร้างมาจาก Moving Average ซึ่งเป็นเครื่องมือวัดเทรนด์ ทำให้มันวัดสัญญาณได้ไม่ค่อยดีเท่าที่ควร แต่การใช้งานก็สามารถทำได้ไม่แตกต่างจากเครื่องมืออื่น โดยการประยุกต์ใช้นิดหน่อย
ข้อควรระวังนิดนึงคือ การใช้ OSMA ร่วมกับ indicator ประเภท Overbought และ Oversold อย่าง RSI อาจทำให้เกิดสัญญาณหลอกได้บ้าง เพราะ Scale ที่ใช้เปรียบเทียบนั้นต่างกัน แต่ถ้าคุณมีการฝึกฝนและทดลองใช้ คุณจะสามารถใช้ OSMA เป็นเครื่องมือช่วยในการเทรดได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกตัวหนึ่งเลย
Review Broker Forex
วิเคราะห์ วิจารย์ ข้อดี-ข้อเสีย ข้อมูลจากการเทรดด้วยบัญชีจริง โดยทีมงานหลายคน ...
อ้างอิง
https://www.incrediblecharts.com/indicators/moving_average_oscillator.php
https://admiralmarkets.com/education/articles/forex-indicators/osma-indicator
https://www.investopedia.com/terms/o/osma.asp
ทีมงาน: forexthai.in.th
Pingback: วิธีใช้งาน Moving Average Oscillator คือ ?| ThaiForexBroker