Moving Average Oscillator คือ เครื่องมือประเภท Oscillator ในกลุ่มที่สร้างจากเครื่องมือประเภทเทรนด์ ซึ่งจะมีความคล้ายคลึงกับ MACD คือ มีลักษระเป็นแท่ง Histogram เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ค่าพื้นฐานก็ คือ การตั้งค่ายังเหมือนกันอีก แต่อย่างไรก็ตาม เนื้อหาของเว็บเรามีการใช้งานที่ไม่ธรรมดาแน่นอน เพราะว่ามันจะถูกนำไปประยุกต์ใช้กับกราฟช่วงแกว่งตัวอย่างกราฟ Sideway โดยมันจะใช้เป็นตัวให้สัญญาณ Overbought และ Oversold ในการเทรดเป็นหลัก ถ้าหากท่านสงสัยว่ามันจะสามารถให้สัญญาณ Overbought และ Oversold อย่างไร ต้องอ่านบทความนี้แล้วหล่ะ
สารบัญบทความ click เพื่อเลือกอ่าน !!
ข้อมูลเบื้องต้น
Moving Average Oscillator คือ indicator ที่สร้างมาจากเส้น Moving Average โดยใช้ความแตกต่างกันของเส้น Moving Average ที่มีความเร็วแตกต่างกัน 3 เส้น นั่นคือ ค่า MA 12,26,9 ซึ่งเป็นค่ามาตรฐานที่ใช้ในการตั้งค่า MACD เช่นกัน เนื่องจากว่า มันไม่ทราบแน่ชัดว่า เครื่องมือประเภทนี้ใครเป็นคนคิดค้นจึงทำให้ไม่สามารถบอกประวัติความเป็นมาและวิธีใช้คร่าว ๆ ได้อย่างชัดเจน
สำหรับการคำนวณ Oscillator of Moving Average มีสูตรในการคำนวณดังต่อไปนี้
Oscillator Value−Moving Average Value
ค่าที่ได้จะแสดงเป็นจุดทศนิยม เพราะว่ามันคือเอา Moving Average นั้นมาลบกันทำให้ได้คือจำนวน การเคลื่อนไหวของราคาที่ได้รับการปรับค่าเฉลี่ยแล้ว อย่างไรก็ตาม การใช้งานแบบนี้จึงค่อนข้างยาก ซึ่งเราต้องมีการปรับปรุงซะหน่อย โดยสามารถอ่านต่อได้ในหมวดของการใช้งาน
วิธีการใช้งาน
สำหรับการใช้งาน Moving Average Oscillator นั้นต้อง ใช้งานในกราฟ 1 ชั่วโมงเพราะว่า Oscillator เป็นกราฟที่บอกการแกว่งตัว เพื่อให้การแกว่งตัวนั้นเกิดขึ้นชัดเจน กราฟ 1 ชั่วโมงจะมีการเคลื่อนไหวของราคาที่ชัดเจนกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาอื่น โดยการใช้ Indicator Oscillator of Moving Average ร่วมกับ indicator ตัวอื่น ที่สามารถบอกว่าจะเข้าสู่ Zone Overbought และ Oversold ได้
สำหรับเครื่องมือที่เราจะใช้ร่วมกันนี้คือ Oscillator of Moving average อีกตัวหนึ่ง โดยใช้ช่วงการคำนวณที่แตกต่างกันได้แก่ การใช้ราคาปิดและราคาเปิดในการใช้งาน โดยตั้งค่า Oscillator of Moving Average

ในภาพข้างต้น คือ OSMA 2 ตัว โดยเราต้องเปลี่ยนสีให้มันตัดกัน เราใส่ OSMA ตัวสีเทาคือ ราคาเปิด และ ตัว OSMA สีแดงคือราคาปิด เมื่อซ้อนกันจึงได้การทับกันที่ไม่สนิท เพราะว่า ราคาเปิดย่อมช้ากว่า ราคาปิดเสมอ สำหรับการใช้งาน ในกราฟ ดูได้ดังต่อไปนี้
เงื่อนไขการซื้อขายใช้ 2 เงื่อนไข ได้แก่ เงื่อนไขความสูงของแท่งเทียน และเงื่อนไขการทับกันของสี ดังนี้
เงื่อนไข Buy
- เข้าเมื่อ OSMA อยู่ต่ำกว่าเส้น 0 เท่านั้น โดยที่เมื่อเส้นสีแดงทับเส้นสีเทาจนไม่เห็นเส้นสีเทา (วงกลมสีฟ้า)
- แท่ง Histogram นั้นสั้นกว่าแท่งก่อนหน้า (วงกลมสีฟ้า)
เงื่อนไข Sell
- เมื่อเข้า OSMA อยู่สูงกว่าเส้น 0 เท่านั้น โดยที่เมื่อเส้นสีแดงทับเส้นสีเทาจนมองไม่เห็นเส้นสีเทา (วงกลมสีเหลือง)
- แท่ง Histogram นั้นสั้นกว่าแท่งก่อนหน้า (วงกลมสีเหลือง)
สำหรับการทำกำไรนั้น สามารถใช้การเคลื่อนไหวเมื่อ ราคาเลยจุด 0 ไปแล้วประมาณ 1 – 2 แท่งก็สามารถใช้ได้ หรือจะตั้ง Stop loss ก็ได้เช่นเดียวกัน เนื่องจากการตั้ง Tp Profit ของ indicator โดยต้องรอให้ OSMA เปลี่ยนสีเป็นสัญญาณ Sell นั้นจะทำให้เราไปเข้าเทรดในจุดที่ช้าไป ขณะเดียวกัน บางครั้งตลาดจะสามารถกลับตัวได้ทุกเมื่อ
สรุป
OSMA หรือ Oscillator of Moving Average เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์การแกว่งตัว ข้อจำกัดของมันคือ การที่มันสร้างจาก Moving Average ซึ่งเป็นเครื่องมือวัดเทรนด์ ทำให้มันวัดสัญญาณได้ไม่ค่อยดีเท่าทีควร แต่การใช้งานก็สามารถทำได้ไม่แตกต่างจากเครื่องมืออื่น โดยการประยุกต์ใช้นิดหน่อย ข้อจำกัดของการใช้งานร่วมกับ indicator ประเภท Overbought และ Oversold เช่น RSI อาจจะทำให้เกิดสัญญาณหลอกไปบ้างเนื่องจาก Scale ที่ใช้เปรียบเทียบคนละ Scale กัน
Review Broker Forex
วิเคราะห์ วิจารย์ ข้อดี-ข้อเสีย ข้อมูลจากการเทรดด้วยบัญชีจริง โดยทีมงานหลายคน ...
อ้างอิง
https://www.incrediblecharts.com/indicators/moving_average_oscillator.php
https://admiralmarkets.com/education/articles/forex-indicators/osma-indicator
https://www.investopedia.com/terms/o/osma.asp
ทีมงาน: forexthai.in.th