Forexthai.in.th ย่อให้

  • Moving Average (MA) เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคที่เรียบง่ายที่สุดแต่ทรงพลัง ช่วยให้เห็นแนวโน้มตลาดชัดเจนขึ้นผ่านการคำนวณค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของราคา
  • มีปลายประเภท เช่น SMA, EMA และ WMA
  • ใช้วิเคราะห์เทรนด์เป็นหลัก แต่สามารถประยุกต์ใช้หาจุดเข้า-ออก และใช้เป็นแนวรับ-แนวต้านได้ด้วย
  • การตั้งค่า MA มีผลต่อความแม่นยำ – ตั้งเร็วหรือช้าเกินไปอาจทำให้สัญญาณผิดพลาด ต้องปรับให้เหมาะกับสไตล์การเทรด

Moving Average (MA) สอนการใช้งาน Indicator forex ฟรี

Moving Average คือ เครื่องมือการวิเคราะห์ทางเทคนิคในตลาด Forex ที่เรียบง่ายที่สุด และเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังที่สุดในบรรดาเครื่องมือทั้งหมด มันถูกใช้ประยุกต์เพื่อสร้างเครื่องมืออื่น ๆ หลาย ๆ ด้าน ความเรียบง่ายของมันทำให้มันสามารถใช้ในการวิเคราะห์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งตลาดที่มีเทรนด์และตลาดแกว่งตัว

อย่างไรก็ตาม… เทรดเดอร์ในตลาด Forex นิยมจะใช้ Moving  Average ในการวิเคราะห์ทิศทางของตลาดมากกว่า โดยในบทความการใช้จะพูดถึงความเป็นมา การคำนวณ การใช้งาน Moving Average ที่จะไม่เจอที่ไหน


Moving Average (MA) คืออะไร?

Moving Average หรือ “ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่” คือเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคที่ช่วยให้เราเห็นแนวโน้มของตลาดได้ชัดเจนขึ้น โดยการคำนวณค่าเฉลี่ยของราคาในช่วงเวลาที่เรากำหนด ในทางสถิติมันมีอีกชื่อว่า Moving Average หรือ Running Average ก็คือการที่ใช้ค่าขยับไปข้างหน้าทุกครั้งเพื่อคำนวณ ค่าเฉลี่ยต่อไปข้างหน้า

ลองนึกภาพว่าเรากำลังมองดูคลื่นในทะเล ถ้าเรามองแค่คลื่นแต่ละลูก เราอาจจะงงว่าน้ำกำลังไหลไปทางไหน แต่ถ้าเราถอยออกมามองภาพรวม เราจะเห็นทิศทางการเคลื่อนที่ของน้ำได้ชัดเจน

Moving Average ทำหน้าที่คล้ายกับการ “ถอยออกมามอง” ตลาด โดยการกรองความผันผวนระยะสั้นออกไป ทำให้เราเห็นภาพใหญ่และทิศทางหลักของตลาดได้ชัดเจนยิ่งขึ้นนั่นเอง

ความเป็นมาของ Moving Average

Moving Average มีประวัติศาสตร์อันยาวนานในการวิเคราะห์ตลาดการเงิน โดยถูกใช้ครั้งแรกในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มของตลาดหุ้น จากนั้นได้ถูกพัฒนาและประยุกต์ใช้ในตลาดอื่นๆ รวมถึง Forex ด้วยความที่เป็นเครื่องมือที่เข้าใจง่ายแต่มีประสิทธิภาพสูง ทำให้ MA ยังคงเป็นที่นิยมมาจนถึงปัจจุบัน

Moving Average
เส้น MA ในกราฟของ EUR/USD

หลักการทำงานของ Moving Average

Moving Average ทำงานโดยใช้หลักการทางคณิตศาสตร์ที่เรียบง่าย นั่นคือการคำนวณค่าเฉลี่ยของราคาย้อนหลังตามระยะเวลาที่เรากำหนด เพื่อสร้างเส้นเรียบที่ช่วยให้เรามองเห็นทิศทางหลักของตลาด, หาจุดเข้าซื้อ-ขาย รวมถึงสามารถใช้เป็นแนวรับและแนวต้านได้อีกด้วย

การคำนวณ Moving Average แบบง่าย (Simple Moving Average)

สำหรับการคำนวณ Moving Average นั้น เราจะใช้ราคาปิดย้อนหลังตามระยะเวลาที่ต้องการ มารวมกันแล้วหารด้วยจำนวนวัน ลองมาดูตัวอย่างที่จะช่วยให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นกัน

ตัวอย่างการคำนวณ MA 3 วัน

สมมติว่าเรามีราคาปิดของค่าเงิน EUR/USD 5 วันดังนี้:

  • วันที่ 1: 1.3000
  • วันที่ 2: 1.3050
  • วันที่ 3: 1.3100
  • วันที่ 4: 1.3025
  • วันที่ 5: 1.3075

วิธีการคำนวณ:

  1. MA วันที่ 3:
    • เอาราคา 3 วันแรกมารวมกัน: 1.3000 + 1.3050 + 1.3100
    • หารด้วย 3: (1.3000 + 1.3050 + 1.3100) ÷ 3 = 1.3050
  2. MA วันที่ 4:
    • เลื่อนช่วงเวลาไป 1 วัน: 1.3050 + 1.3100 + 1.3025
    • หารด้วย 3: (1.3050 + 1.3100 + 1.3025) ÷ 3 = 1.3058
  3. MA วันที่ 5:
    • เลื่อนช่วงเวลาไปอีก 1 วัน: 1.3100 + 1.3025 + 1.3075
    • หารด้วย 3: (1.3100 + 1.3025 + 1.3075) ÷ 3 = 1.3067

ข้อสังเกตสำคัญ:

  • เราจะเห็นว่าค่า MA จะเริ่มคำนวณได้ในวันที่ 3 เป็นวันแรก เพราะต้องรอให้มีข้อมูลครบ 3 วันก่อน
  • ทุกครั้งที่คำนวณ จะเลื่อน (Moving) ช่วงเวลาไปข้างหน้า 1 วัน
  • ค่า MA ที่ได้จะราบเรียบกว่าราคาจริง ช่วยให้มองเห็นแนวโน้มได้ชัดเจนขึ้น

นี่คือหลักการพื้นฐานของ Simple Moving Average (SMA) ซึ่งให้น้ำหนักกับทุกราคาเท่ากัน ต่างจาก Exponential Moving Average (EMA) ที่จะให้น้ำหนักกับราคาล่าสุดมากกว่า

คลังคำศัพท์ เกี่ยวกับ Forex และการลงทุน ที่ควรรู้ เรียงตามลำดับอักษร ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เราตั้งใจทำให้ง่ายต่อการค้นหา...

รีวิวโบรกเกอร์ Forex จากการทดสอบระบบในแง่มุมต่างๆด้วยบัญชีจริง เทรดจริง เราตั้งใจทำเพื่อเคียงข้างเทรดเดอร์อย่างแท้จริง...

ประเภทของ Moving Average ที่ควรรู้จัก

1. Simple Moving Average (SMA)

Simple Moving Average (SMA)

SMA เป็นประเภทที่ง่ายที่สุดและเป็นพื้นฐานของ MA ทุกประเภท โดยมีลักษณะเด่นคือ:

  • ให้น้ำหนักราคาทุกจุดเท่ากัน
  • สัญญาณมีความเสถียรสูง แต่อาจช้ากว่า EMA
  • เหมาะกับการวิเคราะห์เทรนด์ระยะยาว

2. Exponential Moving Average (EMA)

Exponential Moving Average (EMA)

EMA เป็นการพัฒนาต่อยอดจาก SMA เพื่อให้ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาได้ไวขึ้น:

  • ให้น้ำหนักราคาล่าสุดมากกว่าราคาเก่า
  • สัญญาณไวกว่า SMA แต่อาจเกิดสัญญาณหลอกได้ง่ายกว่า
  • เหมาะกับการเทรดระยะสั้น ใช้หาจุดกลับตัว

3. Weighted Moving Average (WMA)

  • ให้น้ำหนักราคาแบบเป็นลำดับขั้นชัดเจน (เช่น วันล่าสุดคูณ 5, วันรองลงมาคูณ 4, 3, 2, 1 ตามลำดับ)
  • มีความไวต่อราคามากที่สุดในบรรดา MA ทั้งหมด เพราะให้น้ำหนักกับราคาล่าสุดมากที่สุด
  • เหมาะสำหรับการเทรดที่ต้องการจับการเปลี่ยนแปลงราคาอย่างรวดเร็ว
  • ข้อควรระวัง: อาจเกิดสัญญาณหลอกได้บ่อยเนื่องจากความไวสูง

การใช้งาน

การใช้งาน Moving Average สามารถใช้วัดเทรนด์ได้เพียงอย่างเดียว แต่อย่างไรก็ตาม การใช้ Moving Average ก็มีหลายแบบ เช่น การใช้ Moving Average เพียงเส้นเดียว และก็การใช้ Moving Average 2 เส้นขึ้นไป โดยมีรายละเอียดหลักการใช้ดังต่อไปนี้

หลักการใช้งาน Moving Average เส้นเดียว คือการวิเคราะห์โดยใช้ราคา กับ เส้น Moving Average โดยสัญญาณ Sell ก็คือวงกลมสีแดง ขณะที่สัญญาณ Buy ก็คือ วงกลมสีฟ้า ซึ่งการใช้ Moving Average ในการวิเคราะห์การเคลื่อนไหวของตลาด Forex นั้นจะสามารถทำได้แค่การวิเคราะห์เทรนด์เท่านั้น

Moving Average
ราคาตัดขึ้นเหนือเส้น Moving Average ตามวงกลมสีฟ้า เทรนด์ขาขึ้นมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น

จากภาพจะเห็นว่า เมื่อราคาตัดขึ้นเหนือเส้น Moving Average ตามวงกลมสีฟ้า เทรนด์ขาขึ้นมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น ซึ่งการเคลื่อนไหวระยะยาวก็จะเกิดขึ้นตามไปด้วย และในทางกลับกับ คือเทรนด์ขาลง จะเกิดขึ้นเมื่อ ราคาตัดลงต่ำกว่าเส้น MA ซึ่งปรากฏในวงกลมสีแดง

สำหรับการใช้เส้น MA 2 เส้นในการวิเคราะห์การเทรด สามารถใช้ได้ในวิธีเดียวกัน แต่สิ่งสำคัญ คือ ต้องใช้เส้น Moving Average Fast และ Slow ตัดกัน โดยที่ค่าของ MA จะต้องช้าและเร็วกว่ากันนั่นเอง ดังต่อไปนี้

Moving Average
Moving Average 2 เส้น ที่เส้นสีน้ำเงินเคลื่อนไหวเร็วกว่าเส้นสีแดง

ภาพข้างต้น เป็นภาพการใช้งาน เส้น Moving Average 2 เส้น จะเห็นได้ว่า เส้นน้ำเงินเคลื่อนไหวเร็วกว่า เส้นสีแดง ซึ่งในภาพ คือ Moving Average มีค่าเท่ากับ 10 และเส้นสีน้ำเงิน มีค่าเท่ากับ 5 เมื่อเส้นสีน้ำเงินตัดขึ้นเหนือเส้นสีแดง คือ การส่งสัญญาณ Buy และ เมื่อเส้น Moving Average สีน้ำเงินตัดลง คือสัญญาณ Sell

สิ่งที่สำคัญก็คือ เมื่อมองเปรียบเทียบกราฟ MA 1 เส้นและ MA 2 เส้น นั้นจะเห็นความไม่แตกต่างกันมากนักของจุดเข้าเทรด ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวนี้เกิดขึ้นได้ ขึ้นอยู่กับการตั้งค่า Moving Average ด้วย ถ้าหากการตั้งค่าช้ากว่าความเป็นจริงทำให้โอกาสที่มันจะให้สัญญาณช้ากว่าก็เกิดขึ้นได้สูง

สรุป

จากที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นว่าเส้น MA นั้น สามารถใช้ในการวิเคราะห์เทรนด์ได้เพียงอย่างเดียว (แต่สามารถนำไปใช้หาจุดเข้าซื้อ-ขาย รวมถึงสามารถใช้โดยการประยุกต์เป็นแนวรับและแนวต้านก็ได้)

โดยที่สามารถใช้เส้นเทรนด์ 1 หรือ 2 เส้นก็ได้ในการวิเคราะห์เทรนด์ สิ่งสำคัญของการใช้ Moving Average ในการวิเคราะห์เทรนด์คือ การตั้งค่า Moving Average เพราะว่า ถ้าหากตั้งค่า Moving Average เร็วหรือช้าเกินไปจะทำให้การเข้าเทรด หรือสัญญาณที่ได้จากการตั้งค่านั้น ผิดพลาดได้

 Review Broker Forex

วิเคราะห์ วิจารย์ ข้อดี-ข้อเสีย ข้อมูลจากการเทรดด้วยบัญชีจริง โดยทีมงานหลายคน ...

อ้างอิง

  1. https://en.wikipedia.org/wiki/Moving_average
  2. https://en.wikiversity.org/wiki/Moving_Average
  3. https://www.tradingview.com/wiki/Moving_Average
  4. https://www.investopedia.com/terms/e/ema.asp

ทีมงาน: forexthai.in.th

แสดงข้อคิดเห็น ให้กำลังใจ

comments

1 thoughts on “Moving Average (MA) สอนการใช้งาน Indicator forex ฟรี

  1. Pingback: Moving average ขั้นพื้นฐานง่ายๆกับเทคนิคลับ| ThaiForexBroker

Comments are closed.

สารบัญบทความ