วันนี้เราจะมาเครื่องมือตัวถัดไปซึ่งเป็น indicator ที่ใช้ในตลาด Forex ได้อีกตัวหนึ่ง เพื่อสร้างความรู้ให้กับเทรดเดอร์และเทรดเดอร์สามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกวิธี ซึ่งเครื่องมือที่ว่านี้ก็คือ Money Flow Index ตัว Money Flow index มันคือ ดัชนีการวัดกระแสเงิน คือการที่จะพยายามวัดว่า ตอนนี้กระแสเงินนั้นไหลไปที่ไหน ฝั่ง Buy หรือฝั่ง Sell เครื่องมือนี้มีความตั้งใจว่าจะเป็นอย่างนั้นครับ แต่ว่า ตอนใช้งานจริง ๆ มันก็ไม่ได้เป็นอย่างนั้น ซึ่งเทรดเดอร์ต้องหัดทำความรู้จักและทำความคุ้นเคยกับกราฟให้ได้เสียก่อน บทความวันนี้จึงเป็นเรื่องของ Money Flow Index (MFI)
สารบัญบทความ click เพื่อเลือกอ่าน !!
ข้อมูลเบื้องต้น
Money Flow Index ชื่อของมันน่าจะเป็นการบอกดัชนีกระแสการเคลื่อนไหวของเงิน ที่น่าจะบอกปริมาณการเทรดเป็นหลัก และบอกว่า ตอนนี้เงินไปทางซ้ายหรือทางขวา จะขึ้นหรือจะลง จะ Buy หรือ Sell ซึ่งถ้าแบบนี้ก็น่าจะใช้ปริมาณในการคำนวณ แต่!!! มันเป็น indicator ที่อยู่ในหมวดของ Oscillator ในโปรแกรม MT4 ของตลาด Forex ลักษณะของมันจะแกว่งตัวตั้งแต่ 0 – 100 ซึ่งมันใช้ในการแสดงการเคลื่อนไหวของเงินอย่างที่บอก (ค่าประมาณการของเงินดอลล่าร์ในการเทรดในกรอบการคำนวณ)
โดยหน้าตาของ MFI นั้นแทบจะไม่มีความแตกต่างกับ RSI เลยเสียด้วยซ้ำ เพียงแต่ใช้ปริมาณในการคำนวณ (Volume) ซึ่งสามารถใช้ MFI ในการเทรดคล้ายคลึงกับ RSI ได้เช่นกัน นั่นคือใช้สัญญาณ Overbought และ Oversold
วิธีการคำนวณ
การคำนวณ MFI ไม่ได้มีขั้นตอนเดียวแต่เป็นหลายขั้นตอนประกอบกัน
-
คำนวณ Typical Price
(High + Low + Close) / 3 = Typical Price
-
คำนวณ Raw Money Flow
Typical Price x Volume = Raw Money Flow
-
คำนวณอัตรากระแสเงิน Money Flow Ratio
(14 Period Positive Money Flow) / (14 Period Negative Money Flow)
-Positive Money Flow จะคำนวณจาก ผลรวมของ Money Flow ของทุกวันในช่วงเวลาที่กำหนด ซึ่ง ราคา Typical Price อยู่สูงกว่า ราคา Typical Price ก่อนหน้า
-Negative Money Flow จะคำนวณจากยอดรวมของ Money Flow ของทุกวันในช่วงเวลาที่กำหนดซึ่ง Typical Price อยู่ต่ำกว่า Typical Price ก่อนหน้า
-
Calculate the Money Flow Index.
100 – 100/(1 + Money Flow Ratio) = Money Flow Index)
วิธีการใช้งาน
สำหรับการใช้งาน MFI นั้นสามารถใช้งานในฐานะเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ Zone Overbought และ Oversold ข้อดีของมันมาก ๆ เลยก็คือ มันไม่ใช่เครื่องมือที่คำนวณอยู่บนฐานของราคาทำให้มันจะไม่มีภาวะที่ทำให้การเคลื่อนไหวของเทรนด์ที่เป็นแบบแกว่งตัวทยอยลงนั้นส่งผลต่อราคาในระยะยาว ดังนั้น บางจุดบางช่วง MFI มีความแม่นยำกว่า RSI หรือ indicator ที่คำนวณมากจาก ราคาเสียอีก

เงื่อนไขการ Buy และ Sell
สำหรับเงื่อนไขการ Buy นั้นง่ายมาก ในภาพเป็นการใช้ MFI (7) ในกราฟ Daily ซึ่งทุกคนสามารถประยุกต์ใช้ indicator นี้ในกราฟ 1 ชั่วโมงก็สามารถทำได้เช่นกัน หรือจะใช้ในกราฟ 4 ชั่วโมงก็ได้ เพียงแต่กราฟที่เหมาะที่สุดคือ กราฟ 1 ชั่วโมงเนื่องจากเป็นการวัดการสวิงของราคา ดังนั้นกรอบ 1 ชั่วโมงจึงมีความชัดเจนมาก
ในการส่งเงื่อนไขการ Buy นั้น เราต้องทำการกำหนด Zone Overbought และ Oversold ในกราฟขึ้นมาก่อนซึ่งกราฟดังกล่าว ทำการกำหนด zone Overbought และ Oversold ไว้ที่ระดับ 20 % และระดับ 80 % ตามลำดับ โดยในภาพจะเห็นว่า ผมได้ทำเครื่องหมายวงกลมสีเหลืองและสีแดงซึ่ง ก็คือ จุดให้สัญญาณเทรดของ MFI โดยที่ราคาเคลื่อนไหวและปริมาณการเทรด ทำให้ MFI อยู่ต่ำกว่าโซน oversold เราจะทำการ Buy ค่าเงินนั้น ขณะที่ในฝั่งตรงข้าม กรณีที่ MFI เคลื่อนไหวสูงกว่า โซน Overbought เราจะทำการส่งคำสั่ง Sell ณ ราคาช่วงนั้น การส่งคำสั่งสามารถส่งคำสั่งเป็นช่วงได้ โดยที่ไม่ได้ต้อง จำกัดว่าจะต้องส่งเมื่อไหร่ สามารถส่งช่วงไหนก็ได้
ข้อควรสังเกตุสำหรับการส่งคำสั่งของ MFI นั้นจะต้องดูก่อนว่า กราฟแท่งเทียนนั้นเพิ่งเคลื่อนไหวเป็นเหตุให้ MFI เข้าสู่ overbought หรือ oversold หรือเปล่าซึ่งเราไม่ควรจะเข้าเทรดเมื่อแท่งเทียนแรกเข้าสู่โซน เราควรรอแท่งที่ 2 เป็นต้นไป
สรุป
การเทรดโดยใช้ MFI ในตลาด Forex นั้นถือว่าเป็น indicator ที่ดีตัวหนึ่ง เนื่องจาก มันไม่มีผลของราคาที่ทยอยขยับลงทำให้การเคลื่อนไหวของ Oscillator ค่อนข้างคงที่และมีความสมบูรณ์ ณ จุดหนึ่ง แต่ก็มีบ้างที่เครื่องมือนั้นผิดพลาด ดังนั้นเทรดเดอร์ก็ไม่ควรจะละทิ้งการตั้ง Stop loss สำหรับ indicator MFI เช่นกัน นอกจากนี้ Money management ก็ยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารจัดการพอร์ทลงทุนอยู่
Review Broker Forex
วิเคราะห์ วิจารย์ ข้อดี-ข้อเสีย ข้อมูลจากการเทรดด้วยบัญชีจริง โดยทีมงานหลายคน ...
อ้างอิง
https://en.wikipedia.org/wiki/Money_flow_index
https://www.tradingview.com/wiki/Money_Flow_(MFI)
https://www.investopedia.com/terms/m/mfi.asp
ทีมงาน: forexthai.in.th